วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

4.5.1 สัตว์มีกระดูกสันหลัง


อาณาจักรสัตว์ : สัตว์มีกระดูกสันหลัง
           สัตว์มีกระดูกสันหลัง(vertebrate) 
           แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
           2.1 สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีขากรรไกร
            สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีขากรรไกรเป็นสัตว์น้ำ ได้แก่ปลาไม่มีขากรรไกรส่วนใหญ่สูญพันธุ์ไปแล้ว ที่พบในปัจจุบัน คือ ปลาปากกลม ซึ่งได้แก่ แฮกฟิช (hagfish) เป็นปรสิตภายนอกของปลาหลายชนิด และแลมเพรย์(lamprey) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายปลาไหล มีโครงร่างเป็นกระดูกอ่อนและไม่มีครีบคู่เหมือนปลาทั่วไป

ภาพแฮกฟิช ก. ภาพถ่าย ข. ภาพถ่ายส่วนปาก(ที่มา : สสวท., 2548. หน้า 222)
           2.2 สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขากรรไกร 
           ระหว่างปลายยุคซิลูเรียนและช่วงต้นของยุคดีโวเนียนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ขากรรไกรได้มีวิวัฒนาการเกิดขึ้น โดยพบซากดึกดำบรรพ์เป็นปลามีขากรรไกรที่เชื่อว่าน่าจะมีบรรพำบุรุษร่วมกับฉลามและปลากระดูกแข็ง ซึ่งกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 450 ถึง 425 ล้านปีที่ผ่านมา ปลามีขากรรไกรที่พบในปัจจุบันมี2 กลุ่ม คือ ปลากระดูกอ่อนและปลากระดูกแข็ง
           การจำแนกสัตว์มีกระดูกสันหลัง แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างดังนี้
           1. คลาสคอนดริคไทอิส(Class Chondrichthyes) เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่าปลากระดูกอ่อนมีโครงร่างเป็นกระดูกอ่อนที่ยืดหยุ่นตัวดี มีขากรรไกรและครีบคู่ที่เจริญดี เช่น ฉลามและกระเบน มีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยใช้เหงือกภายนอก มีการปฏิสนธิภายในและออกลูกเป็นตัว ฉลามส่วนใหญ่มีบทบาทเป็นผู้ล่าที่ดีกว่าปลากระดูกแข็งโดยใช้ขากรรไกรและฟันที่แหลมคม มีเกล็ดที่คมปกคลุมผิวหนัง
ภาพปลากระดูกอ่อน ก. กระเบน ข. ฉลาม (ที่มา : สสวท., 2548. หน้า 223)
           2. คลาสออสติอิคไทอิส(Class Osteicthyes) เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า ปลากระดูกแข็ง พบดำรงชีวิตทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีโครงร่างแข็งภายในเป็นกระดูกแข็งที่มีสารประกอบแคลเซียมฟอสเฟต มีลำตัวแบน ส่วนใหญ่ผิวหนังมีเกล็ดปกคลุม มีครีบคู่ 2 คู่ คือ ครีบออกและครีบสะโพก หายใจโดยใช้เหงือกมีแผ่นปิดเหงือก มีถุงลม (air bladder) ช่วยควบคุมการลอยตัวในน้ำ ส่วนใหญ่มีการปฏิสนธิภายนอก เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญของคน เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทำให้มีแนวโน้มในการจับปลาเพิ่มมากขึ้น และแหล่งน้ำธรรมชาติที่เกิดมลภาวะจะทำให้จำนวนปลาและชนิดพันธุ์ของปลาลดลงอย่างมาก

ภาพที่ 20-125 ปลากระดูกแข็งชนิดต่าง ๆ (ที่มา : สสวท., 2548. หน้า223)
           ปลากระดูกแข็งส่วนใหญ่ที่พบในปัจจุบันดำรงชีวิตในน้ำโดยอาศัยแก๊สออกซิเจนที่ละลายในน้ำหายใจ แต่มีปลากระดูกแข็ง 2 กลุ่ม คือ ปลาที่มีครีบเนื้อและปลาปอดที่สามารถหายใจจากอากาศได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ปลาทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นหลักฐานในสนับสนุนการเกิดวิวัฒนาการเพื่อมาดำรงชีวิตบนพื้นดิน โดยการพัฒนาถุงลมไปทำหน้าที่เป็นปอดและครีบอกมีวิวัฒนาการเป็นขาในสัตว์บกนั่นเอง

ภาพที่ 20-126 ก. ปลาปอดแอฟริกัน ข. ปลาที่มีครีบเนื้อ (ที่มา :สสวท., 2548. หน้า 224)
           จากการสืบค้นข้อมูลของสัตว์ในคลาสคอนดริคไทอิสและคลาสออสติอิคไทอิส ให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย และสรุปได้ว่ากระดูกของปลากระเบนมีลักษณะอ่อนและสามารถเคี้ยวง่ายกว่ากระดูกของปลาทูที่มีลักษณะแข็ง และให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับ ปลากระดูกอ่อนและปลากระดูกแข็ง จากคำถามดังนี้
           1. ปลากระดูกอ่อน เช่น ฉลามมีบทบาทอย่างไรในระบบนิวศ ?
           คำตอบ เป็นผู้ล่าที่สำคัญในระบบนิเวศ
           2. นักเรียนคิดว่าการรับประทานหูฉลามจะมีผลต่อระบบนิเวศในทะเลอย่างไร
            คำตอบ การรับประทานหูฉลามจะต้องฆ่าฉลามเพื่อนำครีบอกของฉลามมาใช้ในการรับประทานทำให้มีผลกระทบต่อสายใยอาหารของระบบนิเวศในทะเล
           3. มีวิธีการอย่างไรในการแก้ปัญหาจำนวนปลากระดูกแข็งที่มีแนวโน้มลดลง
           คำตอบ เพาะพันธุ์ปลามากขึ้นและรณรงค์การใช้เครื่องมือจับปลาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่จับปลาในฤดูวางไข่ เป็นต้น
           4. ปลากระดูกอ่อนและปลากระดูกแข็งมีลักษณะใดบ้างที่แตกต่างกัน
           คำตอบ ปลากระดูกอ่อนมีช่องเหงือกเห็นได้ชัดเจน แต่ปลากระดูกแข็งช่องเหงือกจะมีแผ่นปิดเหงือกปิดอยู่จึงมองไม่เห็นช่องเหงือก กระดูกของปลากระดูกอ่อนไม่มีสารประกอบแคลเซียมฟอสเฟตเหมือนปลากระดูกแข็ง
           3. คลาสแอมฟิเบีย (Class Amphibia) เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ปัจจุบันพบประมาณ 4,800 สปีชีส์ แบ่งออกเป็น 3กลุ่ม คือ กลุ่มซาลามานเดอร์ กลุ่มกบและกลุ่มงูดิน
สัตว์สะเทินน้ำทะเทินบกเป็นสัตว์เลือดเย็น มีผิวหนังเปียกชื้นทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส ไม่มีเกล็ดปกคลุม มีการปฏิสนธิภายนอกตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำและหายใจด้วยเหงือกภายนอก เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะดำรงชีวิตบนบกและใช้ปอดในการหายใจ ยกเว้น ซาลามานเดอร์บางชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำตลอดชีวิต
           สัตว์เลือดเย็น(poikiloterm) หมายถึง สัตว์ที่มีอุณหภูมิของร่างกายไม่คงที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมได้แก่ ปลา สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลือดอุ่น (homeotherm) หมายถึง สัตว์ที่กลไกในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ ได้แก่ สัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
ภาพสัตว์สะเมินน้ำสะเทินบก ก. ซาลามานเดอร์ ข. คางคก ค. งูดิน (ที่มา : สสวท.,2548. หน้า 224)
           กบ อึ่งอ่าง คางคก มีขาหลังที่แข็งแรงสามารถกระโดดได้ไกล นอกจากนี้กบยังสามารถเปลี่ยนสีที่ผิวหนังเพื่อการพรางตัวและอึ่งอ่างสามารถปล่อยสารเมือกจากต่อมที่ใต้ผิวหนัง ทำให้มีความสามารถในการหลบหลีกอันตรายจากผู้ล่าที่มีขนาดใหญ่ได้ดี
           4. คลาสเรปทิเลีย (Class Reptilia) เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า สัตว์เลื้อยคลาน (reptile)เป็นมีกระดูกสันหลังกลุ่มแรกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้ยคลานมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในยุคไทรแอสซิก และมีการแพร่กระจายมากที่สุดในยุตจูแรสซิกและครีเทเชียส จึงเรียกโลกในยุคนั้นว่ายุคของสัตว์เลื้อยคลาน
           สัตว์เลื้อยคลานในอดีตที่รูกจักกันดี คือ ไดโนเสาร์ (dinosaurs) มีทั้งขนาดตั้งแต่ความยาวไม่เกิน 1 เมตร จนถึงความยาวประมาณ 24 เมตรและมีน้ำหนักประมาณ 50,000 กิโลกรัม ซึ่งไดโนเสาร์ส่วนใหญ่ที่พบมีขนาดใหญ่มาก มีทั้งเดิน 2 ขา และเดิน 4 ขา ดำรงชีวิตโดยการกินพืชหรือกินเนื้อสัตว์
สัตว์เลื้อยคลานที่พบในปัจจุบัน เช่น เต่า ตะพาบน้ำ จิ้งจก ตุ๊กแก จิ้งเหลนและจระเข้


ภาพสัตว์เลื้อยคลาน ก. จระเข้ ข. เต่า ค. จิ้งเหลน
           จากการสืบค้นข้อมูลคลาสแอมฟิเบียและคลาสเรปทิเลีย ให้นักเรียน อภิปราย สรุปเพิ่มเติมและตอบคำถามดังนี้
           1. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานมีลักษณะใดบ้างที่เหมือนกัน และลักษณะใดบ้างที่แตกต่างกัน
           คำตอบ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานมีลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกันดังนี้
           2. สัตว์เลือดเย็นมีลักษณะแตกต่างจากสัตว์เลือดอุ่นอย่างไร
           คำตอบ สัตว์เลือดเย็นมีอุณหภูมิของร่างกายไม่คงที่จะเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม
           3. ในช่วงเวลาประมาณ 30ปีที่ผ่านมามีรายงานว่าสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว นักเรียนคิดว่าเป็นเพราะสาเหตุใด
           คำตอบ อาจเป็นเพราะสภาพแวดล้อมในแหล่งน้ำเสื่อมโทรม จะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์กลุ่มนี้ที่ต้องอาศัยแหล่งน้ำในการดำรงชีวิต
           4. จากตารางธรณีกาลสัตว์เลื้อยคลานเริ่มมีวิวัฒนาการเกิดขึ้นมาในยุคใด และมีการแพร่กระจายพันธ์มากที่สุดในยุคใด
           คำตอบ เริ่มปรากฏในยุคไทรแอสซิกและแพร่กระจายมากสุดในยุคจูแรสซิก
           5. สัตว์เลื้อยคลานมีลักษณะใดบ้างที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตบนบก
           คำตอบ มีผิวหนังปกคลุมด้วยสารเคราทิน เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ มีการปฏิสนธิภายในและไข่มีเปลือกแข็งหุ้ม
           6. นักเรียนคิดว่า สัตว์เลื้อยคลานมีประโยชน์อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
            คำตอบ สัตว์เลื้อยคลานให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ในแง่เป็นผู้บริโภคที่ทำลายแมลงศัตรูพืช บางชนิด เช่น ตุ๊กแก จิ้งเหลน กิ้งก่า เป็นอาหารของสัตว์อื่น
           5. คลาสเอวิส (Class Aves) เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า สัตว์ปีก มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานในช่วงมหายุคมีโซโซอิก โดยพบซากดึกดำบรรพ์ของอาร์คีออพเทริกซ์(Archaeopteryx) ที่มีลักษณะเหมือนสัตว์เลื้อยคลาน แต่มีขนเหมือนขนนก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าอาร์คีออฟเทริกซ์มีบรรพบุรุษร่วมกันกับนกในปัจจุบันนั่นเอง


ภาพอาร์คีออพเทริกซ์และ ก. โครงสร้างขนนก ข. กระดูกของนก (ที่มา: สสวท., 2548. หน้า 226)
           นกเป็นสัตว์เลือดอุ่นที่มีการปรับเปลี่ยนรูปร่างเพื่อช่วยในการบินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระดูกมีรูพรุน ทำให้มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง มีการปรับเปลี่ยนอวัยวะที่ไม่จำเป็นให้มีขนาดเล็กลงมีการปฏิสนธิภายในและพออกลูกเป็นไข่ ปัจจุบันมีนกหลายชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรและนกบางชนิดใกล้สูญพันธุ์ เช่น นกเงือก ทั้งนี้เนื่องจากป่าซึ่งเป็นแหล่งที่อาสัยได้ถูกทำลายโดยฝีมือของมนุษย์นั่นเอง นอกจากนี้การจับนกหายากมาขายท้องตลาดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จำนวนนกลดน้อยลงและอาจสูญพันธุ์ไปได้
ภาพที่ 20-130 นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (ที่มา : คลิก)
           กิจกรรมเสริม
           หลังจากนักเรียนอภิปรายและสรุปคลาสเอวีส แล้วให้นักเรียนตอบคำถามเพิ่มเติมดังนี้
           1. สัตว์ปีกมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์กลุ่มใด และมีหลักฐานใดที่สนับสนุนแนวคิดนี้ ?
           คำตอบ สัตว์ปีกมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน โดยพบซากดึกดำบรรพ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสัตว์เลื้อยคลานและมีขนเหมือนนก
           2. สัตว์ปีกมีวิวัฒนาการที่เหมาะสมต่อการอยู่บนบกและบินได้อย่างไร?
           คำตอบ สัตว์ปีกมีกระดูกที่เป็นรูพรุนทำให้น้ำหนักเบา ขนนกมีลักษณะเบา แข็งแรง มีสารเคราทินเคลือบ ทำให้เหมาะสมต่อการบินในอากาศ
           3. นกในท้องถิ่นของนักเรียนมีชนิดใดบ้างและนกเหล่านี้มีความสำคัญต่อระบบนิเวศอย่างไร?
คำตอบ ในข้อนี้ขึ้นอยู่กับสภาพท้องถิ่นที่นักเรียนอาศัยอยู่ แต่โดยรวมแล้วนกมีความสำคัญต่อระบบนิเวศแตกต่างกัน เช่น นกบางชนิดกินหนอนหรือแมลง บางชนิดกินเมล็ดพืชเมื่อบินไปในที่ต่าง ๆ จะถ่ายอุจจาระออกมาเป็นการช่วยกระจายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่งและนกยังเป็นอาหารของสัตว์อื่น
           6. คลาสแมมมาเลีย (Class Mammalia) เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (mammal) ได้มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานตั้งแต่ยุคมีโซโซอิก เมื่อไดโนเสาร์เริ่มสูญพันธุ์ สัตวืเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเริ่มแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
           ในเพศของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิดมีต่อมน้ำนมทำหน้าที่ผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูกอ่อนและมีขนปกคลุมลำตัวเนื่องจากเป็นสัตว์เลือดอุ่น อุณหภูมิของร่างกายจึงค่อนข้างจะคงที่ มีการปฏิสนธิภายในร่างกาย และเกือบทุกชนิดออกลุกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญอยู่ภายในมดลูกและได้รับสารอาหารจากแม่ผ่านรกที่เชื่อมระหว่างตัวอ่อนกับแม่
           สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในปัจจุบันแบ่งออเป็น3 กลุ่มใหญ่ดังนี้
           6.1 กลุ่มมอโนทรีม (Monotremes) เช่น ตุ่นปากเป็ดและตัวกินมดมีหนาม(spiny anteaters) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีลักษณะโบราณ คือ ออกลูกเป็นไข่ แต่มีขนและต่อมน้ำนมตัวอ่อนฟักออกจากไข่แล้วจะเลียน้ำนมบริเวณหน้าท้องของแม่กิน ตุ่นปากเป็ดและตัวกินมดมีหนามที่มีขนแข็งคล้ายเม่น เป็นสัตว์ที่พบเฉพาะในประเทศออสเตรเลียและนิวกินีเท่านั้น
ภาพที่ 20-131 สัตว์กลุ่มมอโนทรีม ก. ตุ่นปากเป็ด ข. ตัวกินมดมีหนาม
           6.2 กลุ่มมาร์ซูเพียล (Marsupials) เช่น โอพอสวัม จิงโจ้และโคอาลา สัตว์กลุ่มนี้จะตั้งท้องในระยะเวลาสั้นมาก ทำให้ลูกอ่อนที่คลอดออกมามีขนาดเล้กและจะคลานเข้าไปอยู่ในถุงหน้าท้องของแม่ ซึ่งภายในจะมีต่อมน้ำนมที่มีหัวนมสำหรับเลี้ยงลูกอ่อน ลูกจะอยู่ในถุงหน้าท้องจนกว่าจะเจริญเติบโตเต็มที่จึงจะออกจากถุงหน้าท้องของแม่
ภาพที่ 20-132 จิงโจ้
           6.3 กลุ่มยูเทเรียน (Eutherians) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีรกมีวิวัฒนาการเกิดขึ้นในยุคครีเทเชียสเมื่อประมาณ100 ล้านปีที่ผ่านมา ยูเทเรียนมีระยะเวลาในการตั้งท้องนานกว่ามาร์ซูเพียล ตัวอ่อนจะมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ภายในมดลูกของแม่และได้รับสารอาหารจากแม่ผ่านทางรก ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่รวมทั้งสัตว์กลุ่มไพรเมต
Eutherians

.......................................................................................
เอกสารอ้างอิงและแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือครูสาระ
การเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5. องค์การค้าคุรุสภา. กรุงเทพฯ. 2547.

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการค. หนังสือเรียนสาระ
การเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5. องค์การค้าคุรุสภา. กรุงเทพฯ. 2547.

Bauer, Penelope Hanchey, Magnoli, Micheal A., Alarez, Armand, Chang-Van Horn, Dorothy and
Gomes, Delilah Taylor. Experiences in Biology. Laidlaw Brothers Publishers. Illinois.
1977.

1 ความคิดเห็น:

THE ENDOCRINE SYSTEM

THE ENDOCRINE SYSTEM Contents Hormones Evolution of Endocrine Systems Endocrine Systems and Feedback Mechanisms of Hormone Action ...