วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2565

General Biology บทที่ 1 ชีววิทยาคืออะไร

General Biology บทที่ 1 ชีววิทยาคืออะไร ผลการเรียนที่คาดหวัง 1. บอกความหมายและขอบเขตและความสำคัญของวิชาชีววิทยาได้ 2. สามารถนำความรู้เกี่ยวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3. อธิบายการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตได้ 4. บอกคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตและความคล้ายคลึงกันของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตได้ บทนำ ชีววิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ การศึกษาลักษณะรูปร่าง การดำรงชีวิต และการจัดจำแนก สิ่งมีชีวิต สำหรับการศึกษาในระดับย่อยลงมา เช่น การศึกษาองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ อวัยวะ เนื้อเยื่อ และเซลล์ ในด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน นอกจากนี้ชีววิทยายังครอบคลุมถึงการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในระดับโมเลกุล อะตอมที่เป็น องค์ประกอบทางเคมีของเซลล์ เช่น โมเลกุลดีเอ็นเอ (DNA) อาร์เอ็นเอ (RNA) โมเลกุลของสารอินทรีย์ และอะตอมของ ธาตุต่างๆ ที่พบในสิ่งมีชีวิตรวมถึงการศึกษาเรื่องปฏิกิริยาเคมี และพลังงาน ที่เกิดขึ้น ในร่างกายสิ่งมีชีวิตอีกด้วย จะเห็นได้ว่าชีววิทยานั้นเกี่ยวข้องกับความรู้ต่างๆหลายสาขา ทั้งทางด้านเคมี ฟิสิกส์คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประยุกต์นำมาใช้อธิบายหรือจำลองความ เป็นไปของสิ่งมีชีวิต ทั้งหลาย เพื่อตอบปัญหาต่างๆที่มนุษย์สงสัย เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตได้ ความหมายของชีววิทยาและความสำคัญของชีววิทยา คำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากรากศัพท์ ภาษากรีก 2 คำ คือ ไบออส (Bios) หมายถึง ชีวิตและโลกอส (Logos) แปลว่า การศึกษา หรือความรู้ ชีววิทยา มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมเป็น อย่างมากเช่น 1. ด้านโภชนาการ เรานำความรู้ทางชีววิทยาไปใช้ประโยชน์ในทางโภชนาการ เช่น การเลือก ชนิดของอาหาร การบริโภค อาหารให้ถูกสัดส่วน นำความรู้ทางชีววิทยาไปใช้เพิ่มผลผลิตอาหาร ในทาง การเกษตรโดยการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ โดยอาศัยความรู้ในสาขาพันธุศาสตร์ ชีวเคมีและ โภชนาการ ฯลฯ 2. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เกี่ยวกับการดูแลรักษาร่างกาย การป้องกันโรคและการ รักษาโรค ซึ่งชีววิทยา เป็นพื้นฐานสำคัญในทางแพทยศาสตร์และสาธารณสุข 3. การควบคุมศัตรูพืชและสัตว์ โดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาในสาขาอนุกรมวิธาน นิเวศวิทยา โดยเฉพาะการควบคุม ศัตรูพืช และสัตว์โดยวิธีทางชีววิธี (Biological Control) 4. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการป้องกันมลภาวะของสิ่งแวดล้อม หมายถึงการใช้ทรัพยากร ให้คุ้มค่าและใช้ได้นานโดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 5. การพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านเศรฐกิจ เช่น พืชผัก ธัญพืช ที่ใช้ บริโดภคและส่งเป็นสินค้าออก การใช้พลังงานทดแทน เช่น มูลสัตว์ ซากสัตว์ ใช้ผลิตก๊าซ ชีวภาพอ้อยและมันสำปะหลังใช้ผลิตแอลกอฮอล์ สิ่งเหล่านี้ต้องใช้ความรู้พื้นฐานทาง พฤกษศาสตร์และสาขาอื่น ๆ ทางชีววิทยาร่วมกันเป็นอย่างมาก การศึกษาชีววิทยา การศึกษาชีววิทยาจำแนกออกเป็นแขนงต่างๆมากมายโดยจัดเป็นกลุ่มใหญ่ ๆได้ 2 กลุ่ม คือ 1. จำแนกตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต เช่น 1.1) พฤกษศาสตร์ หรือ พฤกษวิทยา (Botany) 1.2) สัตวศาสตร์ หรือ สัตววิทยา (Zoology) 2. จำแนกตามวิธีการของการศึกษาถึงสิ่งมีชีวิต เช่น 2.1) ศึกษาถึงสิ่งมีชีวิตแต่ละหน่วย 2.2) ศึกษาถึงสิ่งมีชีวิตเป็นหมู่เป็นเหล่าสัมพันธ์กัน จำแนกตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต จำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ1. พฤกษศาสตร์ หรือ พฤกษวิทยา (Botany) ศึกษาเกี่ยวกับพืช ซึ่งยังแยกออกเป็น กลุ่มย่อย ๆ ได้อีกมากมายเช่นตฤณวิทยา (Agrostology) ศึกษาเกี่ยวกับหญ้า 2. สัตวศาสตร์ หรือ สัตววิทยา (Zoology) ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ ซึ่งแยกออกเป็น.กลุ่มย่อย ๆ ได้อีกมากมาย เช่น สังขวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับหอย มีนวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับปลา ปักษีวิทยาศึกษาเกี่ยวกับนก เป็นต้น จำแนกตามวิธีการของการศึกษาถึงสิ่งมีชีวิต จำแนกได้ 2 กลุ่มคือ 1. ศึกษาถึงสิ่งมีชีวิตแต่ละหน่วย แบ่งเป็น 3 แขนง ย่อยๆ คือ - สัณฐานวิทยา (Morphology) ศึกษาเกี่ยวกับ รูปร่าง ลักษณะและโครงสร้าง ของสิ่งมีชีวิตทั้งภายในและภายนอก ยังจำแนก ย่อยลงไปได้อีกคือ ก. กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) ศึกษา เกี่ยวกับ โครงสร้าง ได้แก่ กระดูกและกล้ามเนื้อ โครงสร้าง ของ ระบบต่าง ๆ
ภาพที่ 1-1 การศึกษาระบบกล้ามเนื้อมนุษย์ ข. เซลล์วิทยา (Cytology) ศึกษาเกี่ยวกับ เซลล์
ภาพที่ 1-2 การศึกษาเซลล์ ค. มิชญวิทยา (Histology) ศึกษาเกี่ยวกับ เนื้อเยื่อ
ภาพที่ 1-3 การศึกษาเนื้อเยื่อ - สรีรวิทยา (Physiology) ศึกษาเกี่ยวกับ หน้าที่และ การทำงาน ของระบบต่างๆ ภายใน สิ่งมีชีวิต
ภาพที่ 1-4 การศึกษาระบบต่าง ๆ ของร่างกาย - คัพภวิทยา (Embryology) ศึกษาเกี่ยวกับ การ เจริญเติบโต เปลี่ยนแปลงขั้นต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ ตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย
ภาพที่ 1-5 การศึกษาคัพวิทยา 2. ศึกษาถึงสิ่งมีชีวิตเป็นหมู่เป็นเหล่าสัมพันธ์กัน จำแนก เป็นสาขาย่อย ๆ 5 สาขา ด้วยกันคือ - อนุกรมวิธาน (Taxonomy) ศึกษาเกี่ยวกับการจัด หมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต
ภาพที่ 1-6 การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต - นิเวศน์วิทยา (Ecology) ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับ สิ่งมีชีวิตและ สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ภาพที่ 1-7 การศึกษาระบบนิเวศน์ - ชีวภูมิศาสตร์ (Biogeography) ศึกษา เกี่ยวกับ การกระจายพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิตไปตามเขต ภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ของโลก
ภาพที่ 1-8 ชีวภูมิศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต - พันธุศาสตร์ (Genetics) ศึกษาเกี่ยวกับ การถ่ายทอด ลักษณะต่าง ๆ ของ สิ่งมีชีวิตจาก บรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน และ ปัจจัยในการควบคุม ลักษณะความคล้ายคลึง และความแตกต่าง ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
ภาพที่ 1-9 การศึกษาพันธุศาสตร์ - วิวัฒนาการ (Evolution) ศึกษาเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการเจริญเติบโต ของสิ่งมีชีวิตจากอดีตจนถึง ปัจจุบันว่ามี การเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
ภาพที่ 1-10 การศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์ 5. วิธีการศึกษาชีววิทยา การศึกษาทางชีววิทยาเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งดังนั้นจึงขอกล่าวถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) ซึ่งมีวิธีการแบ่งเป็นขั้นดังนี้ 1. การสังเกต (observation) วิทยาศาสตร์ทุกแขนงเริ่มต้นด้วยการสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอ 2. ปัญหา (Problem) เมื่อสังเกตแล้วจะทำให้มีปัญหาเกิดขึ้นตามมา 3. สมมติฐาน (Hypothesis) การตั้งสมมติฐานเป็นการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากข้อมูล ที่ค้นคว้ามา หรือจาก ประสบการณ์เดิม อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ จนกว่าจะได้ทำการทดลองนั้น 4. การทดลอง(Experimentation) เพื่อเป็นการพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งขึ้นว่าถูกต้องหรือไม่ ขณะที่ทดลอง ต้องมีการเก็บข้อมูลด้วย เพื่อนำไปวิเคราะห์ผลด้วย 5. ทฤษฎี (Theory ) เมื่อพิสูจน์สมมติฐานได้ว่ามีโอกาสเป็นความจริงมาก สมมติฐานนั้นก็จะกลายเป็น ทฤษฎีไป ซึ่งเราสามารถนำไปใช้เป็นหลัก ในการอธิบายหรือทำนายปรากฏการณ์ได้ 6. สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตบนโลกประกอบด้วยธาตุหลัก 4 ธาตุ คือ ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) ไนโตรเจน (N) คาร์บอน (C) ซึ่งเป็นธาตุเบาที่มีอยู่ทั่วไปบนโลกและในจักรวาล นอกจากนั้นเซลล์ยังใช้ฟอสฟอรัส(P) และกำมะถัน (S) ในการสร้างวัสดุโครงสร้างของเซลล์ และกระบวนการเผาผลาญอาหาร เพื่อสร้างพลังงาน ธาตุทั้งหกนี้พบทั่วไปในสารอินทรีย์ของเซลล์ โดยประกอบกันเป็นโมเลกุล ดังนี้ 1. น้ำ เป็นองค์ประกอบหลักของเซลล์ มีอยู่ประมาณร้อยละ 70 ของน้ำหนักเซลล์ทั้งหมด 2. ไขมัน (Lipids) มีโครงสร้างเป็นไฮโดรคาร์บอน ไม่ละลายน้ำ เป็นองค์ประกอบหลักของ เนื้อเยื้อต่างๆ และมีหน้าที่เก็บสะสมพลังงานเคมี 3. คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) มีโครงสร้างเป็นไฮโดรคาร์บอนเช่นเดียวกับไขมัน แต่มีกลุ่มไฮดรอกซิล (-OH) ซึ่งมีคุณสมบัติในการละลายน้ำ ประกอบด้วยวงแหวนโมเลกุล ของน้ำตาล ซึ่งเมื่อแตกตัวแล้วให้พลังงานออกมา 4. โปรตีน (Protein) เป็นโมเลกุลที่มีความสลับซับซ้อนมากที่สุด ประกอบขึ้นด้วยกรดอะมิโน (Amino acid) หลายชนิดเรียงต่อกันเป็นสายยาวสลับซับซ้อน คอยทำหน้าที่ต่างๆ ภายในเซลล์ นับตั้งแต่ควบคุมปฏิกิริยาเคมีไปจนถึงเป็นโครงสร้างของร่างกาย ได้แก่ โปรตีนโครงสร้าง เช่น ขน เล็บ เอ็น; โปรตีนขนส่ง เช่น เฮโมโกลบิน ในเม็ดเลือด; โปรตีนภูมิคุ้มกัน เช่น แอนติบอดี; โปรตีนเร่งปฏิกิริยา เช่น เอนไซม์ เป็นต้น (สิ่งชีวิตสร้างโปรตีนมากมายหลายพันชนิด ขึ้นจากกรดอะมิโนเพียง 20 ชนิด)
ภาพที่ 1-11 โครงสร้างโปรตีนซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลของกรดอะมิโนชนิดต่างๆ เรียงต่อกัน กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) เป็นโมเลกุลที่ใหญ่ที่สุดในเซลล์ เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล คำสั่ง ซึ่งระบุหน้าที่การทำงานของเซลล์ รวมถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย กรดนิวคลีอิกมี 2 ชนิดคือ DNA และ RNA
ภาพที่ 1-12 ตัวอย่างโครงสร้างโมเลกุลของสารอินทรีย์ 7. ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต โดยปกติแล้วสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีลักษณะสำคัญดังนี้ 1. มีโครงสร้างและการทำหน้าที่อย่างเป็นระบบ (organization) ในสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตชั้นสูงจะมีการทำงานประสานกันตั้งแต่ ระดับหน่วยย่อยภายในเซลล์ (organelle) กลุ่มเซลล์ (tissue) และอวัยวะ (organ) ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 2. มีการรักษาสมดุลภายในร่างกาย (homeostasis) การรักษาสมดุลภายในร่างกาย เช่น ระดับอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-เบส (pH) และความเข้มข้นของสาร ต่างๆให้อยู่ ในจุดที่ ไม่เป็นอันตราย ต่อเซลล์
ภาพที่ 1-13 การรักษาสมดุลของน้ำ ที่มา: http://gotoknow.org/file/somluckv/Cell_membrane04.jpg 3. มีการปรับตัว (adaptation) สิ่งมีชีวิตพยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ เช่น การเปลี่ยนสี ของผิวหนัง ในสัตว์เลื้อยคลานเพื่ออำพรางศัตรู การที่ปลามีรูปร่างเพรียว ไม่ต้านกระแสน้ำ การลดรูปของใบ จนมีลักษณะคล้ายเข็ม ในต้นกระบองเพ็ด จนมี ลักษณะคล้าย เข็มในต้นกระบองเพ็ด กระบองเพ็ดเพื่อลดการสูญเสียน้ำ เพราะเจริญอยู่ใน สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่เป็นทะเลทราย การปรับตัวของ สิ่งมีชีวิตเป็นไป ก็เพื่อเพื่อให้สามารถ อยู่รอดในสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัย อยู่และสามารถสืบทอด ลูกหลานต่อไปได้นั่นเอง
ภาพที่ 1-14 การปรับตัวของแมลง ที่มา : http://www.bioquip.com/ prod_images/9487-004-Adaptation.jpg 4. มีการสืบพันธุ์และถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม (reproduction and heredity) สิ่งมีชีวิตต้องสามารถสืบพันธุ์ได้ เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ไม่ให้สูญสิ้นไป โดยอาจอาศัยวิธีสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ (sexual reproduction) หรือไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction)อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองวิธีก็ได้ เมื่อมีการสืบพันธุ์ สิ่งมีชีวิตจะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปยังลูกหลานโดยอาศัยสารพันธุกรรมซึ่งได้แก่ ดีเอ็นเอ และอาร์เอ็นเอ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นตัวเก็บรหัสทางพันธุกรรมของรุ่นพ่อ-แม่ไว้นั่นเอง 5. มีการเจริญเติบโตและพัฒนารูปร่าง (growth and development) ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หลังจากมีการสืบพันธุ์ให้ลูกหลานแล้ว เซลล์ลูกเริ่มแรก จะมีขนาดเล็ก หลังจากได้รับสารอาหาร จะมีการ เจริญเติบโตขยายขนาดใหญ่ขึ้นและพัฒนาจนเป็นเซลล์ ที่พร้อมจะสืบพันธุ์ได้ (mature cell) ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ จะมีกระบวนการเจริญเติบโต และพัฒนาที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์ (cell differentiation) เพื่อให้เหมาะกับการทำหน้าที่แต่ละอย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปร่างเซลล์ ต้นกำเนิดของเซลล์กล้ามเนื้อ เพื่อให้เหมาะสมกับการทำหน้าที่เคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นต้น
ภาพที่ 1-15 การเจริญเติบโตของพืช ที่มา : http://www.ag.ndsu.edu/pubs/plantsci/hay/r648-5.gif 6. ต้องการพลังงาน (energy) และสร้างพลังงาน สิ่งมีชีวิตต้องการพลังงานเพื่อนำมาสร้างสาร ATP (adenosine triphosphate) โดยผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึม (metabolism) ATP เป็นสารที่ใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆภายในร่างกายสิ่งมีชีวิต เช่น การสืบพันธุ์ การเจริญเติบโต การเคลื่อนไหว ฯลฯ พลังงานที่สิ่งมีชีวิตต้องการดังกล่าวอาจได้มาจากแหล่งต่างๆ เช่น พืช ได้พลังงานจากแสงอาทิตย์ สัตว์ได้พลังงานจากปฏิกิริยาเคมีของสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ไวรัส ได้พลังงานจากสิ่งมีชีวิตอื่น นอกจากนี้ยังพบว่าสิ่งมีชีวิตยังสมบัติอื่น ๆ เช่น 1. คุณสมบัติทางสสาร ต่างก็มีเหมือน ๆ กัน กล่าวคือ ต่างก็มีตัวตน มีน้ำหนักต้องการที่อยู่ อยู่ใน อากาศและสัมผัสได้ด้วยอาการทั้งห้า 2. ส่วนประกอบทางเคมี ต่างก็มีคล้ายกัน เช่น ประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และเกลือแร่ ซึ่งประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ไนโตรเจน (N)และออกซิเจน (O) เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนประกอบของสิ่งที่มีชีวิตเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของสิ่งที่มีชีวิต สำหรับสิ่งไม่มีชีวิตก็ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆดังกล่าวด้วยเช่นกัน 3. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่นการเกิดพลังงานในสิ่งที่มีชีวิตก็คล้ายกับในสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่นการย่อยอาหารของสิ่งมีชีวิตกับการเผาไหม้ของไม้ ก็มีปฏิกิริยาคล้ายกันดังนี้ ปฏิกิริยาการสลายน้ำตาลกลูโคส
ปฏิกิริยาการเผาไหม้ของไม้
4. คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นต้นว่าการเปลี่ยนแปลงพลังงานแบบหนึ่งให้เป็นพลังงานอีก แบบหนึ่ง ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตก็คล้ายกัน เช่น ความร้อนที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ ไม่มีชีวิตก็คล้ายกัน ไฟฟ้าที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น ปลากระเบนไฟฟ้า กับไฟฟ้าที่ได้จากสิ่งที่ ไม่มี ชีวิต เช่น เครื่องปั่นไฟ ก็คล้ายกัน 8. ทฤษฎีกำเนิดของสิ่งมีชีวิต เกี่ยวกับเรื่องกำเนิดของสิ่งมีชีวิตนี้ได้มีผู้สันนิษฐานกันไว้อย่างกว้างขวาง โดยได้ตั้งทฤษฎีต่าง ๆ เอาไว้มากมาย สรุปเป็นทฤษฎี ได้เป็น 5 ทฤษฏี คือ 1. สิ่งมีชีวิตเกิดจากอำนาจวิเศษ (special creation) เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่า ชีวิตทุกชนิดเกิดขึ้นพร้อมกันจากการสร้างของอำนาจวิเศษ โดยอ้างว่ามีอำนาจ เหนือธรรมชาติอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นผู้สร้างชีวิตขึ้น เช่น พระเจ้าเป็นผู้บันดาลให้เกิดขึ้น เป็นความเชื่อ ที่ไม่มีเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงไม่ยอมรับ แต่ยังเป็นความเชื่อถือของศาสนาบางศาสนาอยู่ 2. สิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (spontaneous generation หรือ abiogenisis) เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่า “ชีวิตเกิดขึ้นได้เองเรื่อย ๆ จากสิ่งที่ไม่มีชีวิต” เช่น ปลาบางชนิด เกิดจากโคลนและทราย หนูเกิดจากเศษผงและเศษกระดาษตามช่องที่อาศัยอยู่ จิ้งหรีดเกิดจากน้ำค้างบนใบหญ้า เป็นต้น ความเชื่อดังกล่าวนี้ นักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง ๆ ต่อมาได้ทำการทดลองคัดค้านและหักล้างความเชื่อนั้นไป เพราะจากการทดลองปรากฏว่าสิ่งมีชีวิตจะต้องเกิดจากสิ่งมีชีวิตที่มีมาก่อนแล้ว 3. สิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งมีชีวิต (biogenesis) เป็นทฤษฎีที่กล่าวว่า “ชีวิตเกิดมาจากชีวิตที่มีมาก่อนแล้ว” กล่าวคือ สิ่งมีชีวิตบนโลกทั้งหมด ขณะนี้มาจากสิ่งที่มีชีวิต (บรรพบุรุษ) เท่านั้น ทฤษฎีนี้มีการทดลองสนับสนุนมากมาย แต่ยังมีปัญหาอยู่อีกว่า ชีวิตที่เกิดมาก่อนหรือชีวิตแรกเริ่มนั้นมาจากไหนและอย่างไร 4. สิ่งมีชีวิตมาจากนอกโลก (cosmozoic theory) เป็นทฤษฎีที่กล่าวว่าชีวิตไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีใครสร้างขึ้น และไม่ได้มาจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น บางคนอ้างว่าชีวิตในโลกนี้เกิดมาจากโลกหรือดาวดวงอื่นพร้อมกับลูกอุกกาบาตหรือสะเก็ดดาวตก โดยเกิดจากสปอร์ (Spore) ซึ่งติดมากับสะเก็ดดาวตก ดังนี้เป็นต้น แต่ยังมีปัญหาอีกว่าสปอร์เหล่านั้นเกิดมาจากอะไรและอย่างไร 5. สิ่งมีชีวิตเกิดมาจากการวิวัฒนาการของสารอินทรีย์ (organic evolution) เป็นทฤษฎีที่อ้างว่า เมื่อโลกเย็นลงมากและมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่สิ่งมีชีวิตจะอยู่ได้ ชีวิตจะค่อย ๆ เกิดขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่มีชีวิตพวกสารประกอบง่าย ๆ รวมตัวกันโดยการบังเอิญอย่างที่สุด (ความเหมาะสมและสารประกอบที่กล่าวถึงนั้นจะมีเฉพาะในสมัยนั้นเท่านั้น ต่อๆ มาจะไม่มีอีก เช่นในสมัยนี้ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ไม่สามารถที่จำทำให้สิ่งที่ไม่มีชีวิตกลายเป็นสิ่งที่มีชีวิตไปได้อีก) สารประกอบอย่างง่าย ๆ ตามทฤษฎีนี้ ก็คือ พวกอนินทรียสาร ซึ่งเข้าใจว่าในบรรยากาศของโลกยุคแรก คงจะมีก๊าซมีเธน แอมโมเนีย ไอน้ำ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ และไฮโดรเจน เหล่านี้จะค่อย ๆ รวมตัวและ วิวัฒนาการไปเป็นอินทรียสาร ที่มีอณูซับซ้อนมากขึ้นทุกทีและในที่สุดก็เปลี่ยนเป็นสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มง่าย ๆ ขึ้น จากนั้นค่อย ๆ มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ สันนิษฐานว่าสิ่งมีชีวิต แรกเริ่มนั้นคงจะเป็นกรดนิวคลิอิค ซึ่งทำหน้าที่เป็นแม่พิมพ์สามารถสร้างสารที่เหมือนตนเองขึ้นใหม่ได้ 9. ประวัติการศึกษาการกำเนิดของสิ่งมีชีวิต โลกมีกำเนิดมาได้ประมาณ 4.5 - 6พันล้านปีแล้วแต่สันนิษฐานว่า สิ่งมีชีวิตเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ ประมาณ 3.3 พันล้านปีมานี้ เนื่องจากพบซากดึกดำบรรพ์ (fossil) ของแบคทีเรียซึ่งนับว่ามีอายุมาก ที่สุดประมาณ 3 พันล้านปี ซึ่งมี นักวิทยาศาสตร์ในยุคต่าง ๆ ได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวสิ่งมีชีวิต ที่แตกต่างกัน
ภาพที่ 1-16 จินตนาการของโลกในยุคแรกเริ่ม ทฤษฎีการกำเนิดชีวิตในยุคต่างๆ ตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาลประมาณ 300 - 400 ปีเศษ ชาวกรีกชื่อเอมเพโดคลีส (Empedocles) เดโมคริตุส (Democritus) และอริสโตเติล (Aristotle) ได้มีความคิดเกี่ยวกับการเกิดสิ่งมีชีวิต และวิวัฒนาการ แต่ขาดสิ่งสนับสนุน การเกิดสิ่งมีชีวิตของโลกได้รับความสนใจจาก นักวิทยาศาสตร์ในศตวรรษนี้อีก โดยเฉพาะทฤษฎีที่ว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้เอง (spontaneous generation) ซึ่งได้กล่าวไว้เมื่อประมาณสองศตวรรษมาแล้วนับตั้งแต่นักปราชญ์ ชาวกรีกชื่อ อริสโตเติลเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้เองจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ยุง หรือหมัด เกิดจากสิ่งเน่าเปื่อย แมลงวันเกิดจากสิ่งปฏิกูล ทฤษฎีดังกล่าวนี้ยังคงมีอิทธิพลต่อมาอีกชั่วระยะหนึ่ง แม้แต่นิวตัน(Newton) วิลเลี่ยม ฮาร์วีย ์(William Harvey) เดสคาร์ตส (Descartes)แวน เฮลมอนต์ (Van Helmont) ก็ยังยอมรับทฤษฎีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นเองได้ ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานเซสโก เรดิ (Francesco Redi) แพทย์ชาว อิตาเลียน ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เมื่อปิดภาชนะใส่เนื้อไม่ให้แมลงวันเข้าไปได้ไม่ปรากฏว่า มีหนอน เกิดขึ้นในเนื้อที่ เน่านั้น ในศตวรรษต่อมาพระชาวอิตาเลียน ชื่อลาซซาโร สปาลลันซานี (Lazzaro Spallanzani) ได้แสดงให้เห็นว่าน้ำต้มเนื้อเมื่อปิดผนึกให้ดี ไม่ให้อากาศผ่าน เข้าได้ หลังจาก นึ่งต้มแล้วปรากฏว่า ไม่มีจุลินทรีย์เลยและไม่เน่าอีกด้วย แต่เมื่อเปิดให้อากาศเข้าไป น้ำต้มเนื้อนั้น เกิดเน่าเสียแต่ เขาก็ไม่สามารถอธิบายได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุ ในปี ค.ศ. 1860 หลุย ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) ชาวฝรั่งเศส ได้ดัดแปลง การทดลองของ สปาลลันซานี โดยมีอุปกรณ์เป็นรูปตัว S ปลายด้านหนึ่งบรรจุน้ำต้มเนื้อปลายอีกด้านหนึ่งเปิด ให้ อากาศ ฃผ่านเข้าได้ เขาได้พิสูจน์ว่า เมื่ออากาศที่ผ่านเข้าไปในปลายอีกข้างหนึ่ง ปราศจากเชื้อ จุลินทรีย์ โดยที่เชื้อจุลินทรีย์หรือเศษผงจะถูกดักอยู่ตรงข้องอรูปตัว S นี้อากาศที่เข้าไปถึง น้ำต้ม เนื้อ จึงบริสุทธิ์ น้ำต้มเนื้อก็ไม่เน่าเปื่อย ซึ่งการทดลองนี้ได้คัดค้านทฤษฎีการเกิดขึ้นได้เองโดยสิ้นเชิง ต่อมาปี ค.ศ. 1936 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ชื่อ เอ. ไอ. โอเปริน (A.I.Oparin)ได้เขียน บทความเป็นภาษารัสเซียเรื่อง "The Origin of Life" อีกห้าปีต่อมานักวิทยาศาสตร์ ชาวอังกฤษ ชื่อ เจ. บี. เอส. ฮัลเดน (J.B.S.Haldane) ได้พิมพ์บทความแสดงความคิดของเขา ในวารสาร The Rational Annual ทั้งโอปารินและฮัลเดน ได้เสนอแนวความคิด คล้ายคลึงกันกล่าวว่า หลังจาก เกิดโลกแล้วบรรยากาศมีธาตุออกซิเจนน้อยหรือไม่มีเลยส่วนมากเป็นไอน้ำ แก๊สคาร์บอน ไดออกไซด์ และไนโตรเจนมีแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ มีเทน และแอมโมเนียบ้างเล็กน้อย ในมหาสมุทรอาจมี แก๊สคาร์บอน ไดออกไซด์ แอมโมเนีย มีเทน และไฮโดรเจนไซยาไนด์ซึ่งต่างก็มีสถานะเป็นแก๊ส ที่อุณหภูมิซึ่งน้ำเป็นของเหลวละลายอยู่ นอกจากนี้ในมหาสมุทรยังมีสารประกอบอื่นๆ ของพวกโลหะ คลอไรด์สารประกอบฟอสฟอรัส เกลือและแร่ธาตุต่างๆ สะสมอยู่ แม้แต่เดิมจะไม่มีก็ตาม แต่เนื่องจากแม่น้ำกัดเซาะด้านข้างของภูเขาออกไป รวมทั้งมี คลื่นกระทบฝั่งด้วยกำลังแรง ทำให้ ปริมาณเกลือและแร่ธาตุต่างๆ ในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ลาวาใต้ทะเลที่ระเบิดออกมา ยังอาจช่วยเพิ่มปริมาณ ของเกลือแร่ของน้ำในมหาสมุทรได้ ความเค็มของเกลือจึงเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ การเกิดของน้ำที่เป็นส่วนของบรรยากาศแรกเริ่มและเกลือแร่หลายชนิดในรูปของสารละลาย เป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ การกำเนิดของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากน้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดของสิ่ง มีชีวิต ทั้งในอดีตและปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าน้ำ เป็นตัว ทำละลายที่ดีที่สุด มีสมบัติเป็นตัวกลาง ของ ปฏิกิริยา เคมีได้อย่างวิเศษ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งสำคัญของไฮโดรเจน และออกซิเจนอีกด้วย ด้วยเหตุผลดังกล่าวน้ำในมหาสมุทรจึงน่าจะก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตได้ ถึงแม้ว่าชั้นของเมฆ ที่หนาจะป้องกัน ไม่ให้แสงอาทิตย์ส่องถึงโลกครั้งแรก เป็นผลให้โลกมืดมากเป็นเวลานานแต่รังสี อุลตรา ไวโอเลต รังสีเอกซ์ และอื่นๆ ที่มี พลังงานสูงของดวงอาทิตย์ยังสามารถ ผ่านเมฆได้และทำให้เกิด พลังงานที่จำเป็นสำหรับ ปฏิกิริยาระหว่างมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจนไซยาไนด์และน้ำ แหล่ง พลังงานที่สอง ได้แก่ ประจุไฟฟ้าที่เกิดต่อเนื่องกันในบรรยากาศ ของเมฆและพายุฝน แสงทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้ เช่นเดียวกับรังสี จากดวงอาทิตย์ พลังงานจาก แหล่งทั้งสองจะทำให้โมเลกุล ของแก๊สเกิด ปฏิกิริยาเคมีโดยตรงเช่นที่ยังเกิดอยู่ในปัจจุบัน ผลผลิต ที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีในอากาศจะถูกฝนชะล้าง ลงในทะเล ปฏิกิริยาเหล่านี้อาจเกิดในน้ำที่มี มีเทน และสารอื่นๆ ละลายอยู่ เนื่องจากกรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบหลักของโปรตีน ดังนั้นผลการทดลองดังกล่าวนี้ จึงเป็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการ กำเนิดของชีวิตในโลก หลังจากที่มิลเลอร์ประสบความสำเร็จ ดังกล่าว ต่อมาก็ได้มีการสังเคราะห์กรดอะมิโนหลายชนิดขึ้นอีก โดยส่วนประกอบของแก๊สต่างๆ ได้รับประจุ ไฟฟ้าหรือรังสีอุลตราไวโอเลตและความร้อน จึงเป็นการยืนยันว่า กรดอะมิโน สามารถเกิดขึ้นได้ โดยกระบวนการต่างๆ ตั้งแต่สมัยก่อนที่จะมีสิ่งมีชีวิต อุบัติขึ้นในโลก ในสภาพที่เหมาะสมกรดอะมิโน ก็ก่อตัวเป็นเส้นยาวลักษณะคล้ายโปรตีนเรียก โปรตีนอยด์ (protenoid) เมื่อโลกค่อยๆ เย็นลง สารโปรตีนอยด์ก็เกิดขึ้นมากมาย มีรูปร่างค่อนข้างกลมขนาดเล็กซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ อาจเกิดขึ้น ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์โลก เพราะว่าในบรรยากาศ มีแก๊สมีเทน ไฮโดรเจน และ ไอน้ำ เมื่อถูกรังสี ต่างๆ หรือประจุไฟฟ้าจากฟ้าแลบก็จะทำให้เกิดสารประกอบอินทรีย์ต่างๆ รวมทั้งกรดอะมิโนการค้นพบ การสังเคราะห์กรดอะมิโนนับเป็นปัจจัย สำคัญในการเกิดสารประกอบพวกโปรตีน ซึ่งเป็น องค์ประกอบที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตได้กำเนิดขึ้นในโลกครั้งแรก เมื่อประมาณ 3,000 ล้านปีมาแล้ว ต่อมามีการทดลองในทำนองเดียวกันนี้ โดยใช้แหล่งพลังงานต่างๆ กันไปปรากฏว่า ได้ผลคล้ายคลึงกัน ทำให้คาดว่าครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในโลกเรานี้มีสารเคมีที่มีโครงสร้างซับซ้อน ของสิ่งมีชีวิต เกิดขึ้นได้เอง จากสารเคมี ที่มีอยู่ในบรรยากาศขณะนั้น ซึ่งเหมือนกับที่นักวิทยาศาตร์ ได้ทดลอง ทำให้เกิดขึ้น ในห้องปฏิบัติการแต่ในสภาพความเป็นจริง ในปัจจุบัน สภาพบรรยากาศ ที่เต็มไปด้วย แก๊ส อิสระมากมายต่างไปจากอดีต สารอินทรีย์สามารถทำปฏิกิริยากับ ออกซิเจน เกิดการ สลายตัว การที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปการเกิดสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายสิ่งมีชีวิต ริ่มแรก จึงไม่ สามารถเกิดขึ้น ได้อีก สิ่งมีชีวิตรุ่นต่อมาจึงกำเนิดจากสิ่งมีชีวิตที่กำเนิดมาก่อน หรือกล่าวได้ว่า “สิ่งมีชีวิตต้องเกิดจากสิ่งมีชีวิตด้วยกัน” นักวิทยาศาสตร์ในยุคต่างๆ
ภาพที่ 1-17 เอมเพโดคลีส , เดโมคริตุส และ อริสโตเติล เรียงตามลำดีบ
ภาพที่ 1-18 นิวตัน , วิลเลียม ฮาร์วีย์ และ เดคาร์ต ์เรียงตามลำดับ
ภาพที่ 1-19 แวน เฮลมอนต , ฟรานเซสโก เรดิ และ ลาซซาโร สปาลลันซานี ตามลำดับ
ภาพที่ 1-20 การทดลองของสปาลลันซานี
ภาพที่ 1-21 หลุย ปาสเตอร์ กับการทดลองของเขา
ภาพที่ 1-22 โอเปริน
ภาพที่ 1-23 การทดลองของมิลเลอร์ คำถามท้ายบท 1. ชีววิทยาคืออะไร มาจากรากศัพท์ภาษากรีก 2 คำ คืออะไรบ้าง 2. จงบอกสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีววิทยามาอย่างน้อย 5 วิชา 3. สารประกอบทางเคมีที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตมีอะไรบ้าง 4. คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตมีอะไรบ้าง

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ทรัพยากรธรรมชาติ : Kasana Pharayat

ทรัพยากรธรรมชาติ : Kasana Pharayat ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) หมายถึงสิ่งที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติหรือสิ่งที่ขึ้นเอง อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์และธรรมชาติด้วยกันเอง (ทวี ทองสว่าง และทัศนีย์ ทองสว่าง,2523:4) ถ้าสิ่งนั้นยังไม่ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ (เกษม จันทร์แก้ว,2525:4) ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติมักจะมองในแง่ที่ว่า เป็นสิ่งอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม หากไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรเลยก็คงไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีการจัดประเภททรัพยากรธรรมชาติไว้หลายประเภทด้วยกัน เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ ฯลฯ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญ การใช้คำว่า "ทรัพยากรธรรมชาติ" และคำว่า "สิ่งแวดล้อม" บางครั้งผู้ใช้อาจจะเกิดความสับสนไม่ทราบว่าจะใช้คำไหนดี จึงน่าพิจารณาว่าคำทั้งสองนี้มีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันอย่างไร ในเรื่องนี้ เกษม จันทร์แก้ว (2525:7-8) ได้เสนอไว้ดังนี้ 1. ความคล้ายคลึงกัน ในแง่นี้พิจารณาจากที่เกิด คือ เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหมือนกัน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์เช่นกัน มนุษย์รู้จักใช้ รู้จักคิดในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ และมนุษย์อาศัยอยู่ในทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ก็ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติ แล้วมนุษย์ก็เรียกสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดว่า "สิ่งแวดล้อม" ความคล้ายคลึงกันของคำว่า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ที่ว่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม 2. ความแตกต่าง ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่สิ่งแวดล้อมนั้นประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ หากขาดทรัพยากรธรรมชาติ มนุษย์จะไม่สามารถสร้างสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ได้เลย ถ้าแยกมนุษย์ออกมาในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงควรใช้คำว่า "ทรัพยากรธรรมชาติ" แต่ถ้าต้องการกล่าวรวม ๆ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นก็ควรใช้คำว่า "สิ่งแวดล้อม" แต่ถ้าต้องการเน้นเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ก็ควรใช้คำว่า "ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" เมื่อกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมหลาย ๆ คน จะเข้าใจถึงเรื่องของน้ำเสีย ควันพิษในอากาศ ไอเสียจากรถยนต์ ขยะมูลฝอย ฯลฯ ซึ่งในความเป็นจริง สิ่งแวดล้อม มีความหมายกว้างมาก มีความสัมพันธ์กับทุก ๆ สิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ใน Module นี้ จะสนทนากัน ในเรื่องของคน มีความสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมอย่างไร โดยที่ตระหนักอยู่เสมอว่า ในอดีตที่ผ่านมา ปัญหาเรื่อง ความสมดุลย์ของ ธรรมชาติกับคนยังไม่มี คนส่วนใหญ่ในยุคต้น ๆ จึงมีชีวิตอยู่ใต้ อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลง ทางด้านธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม มีลักษณะที่ ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมมากนัก แต่เนื่องจาก มีความเจริญก้าวหน้า ด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ขยายตัวมากขึ้น ประกอบด้วย ความต้องการของมนุษย์ มีอยู่ไม่จำกัด จึงทำให้เกิดปัญหา ทางด้านสิ่งแวดล้อม ขึ้นในโลกสีเขียวของเรา เช่น ปัญหาทางด้าน ภาวะมลพิษทางเสียและน้ำ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ เสื่อมสลาย ปัญหาการตั้งถิ่นฐาน และชุมชน ดังนั้น จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องกล่าวถึง มนุษย์กับความสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ การแบ่งประเภทของทรัพยากรธรรมชาติมีการแบ่งกันหลายลักษณะ แต่ในทีนี้ แบ่งโดยใช้เกณฑ์ของการนำมาใช้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Inexhaustible natural resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีมนุษย์ เมื่อมีมนุษย์เกิดขึ้นมาสิ่งเหล่านี้ก็มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ จำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.1 ประเภทที่คงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง (Immutuable) ได้แก่ พลังงานจากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น แม้กาลเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตามสิ่งเหล่านี้ก็ยังคงมีไม่เปลี่ยนแปลง 1.2 ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลง (Mutuable) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการใช้ประโยชน์อย่างผิดวิธี เช่น การใช้ที่ดิน การใช้นำโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพ และด้านคุณภาพ 2. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วทดแทนได้ (renewable natural resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไปแล้วสามารถเกิดขึ้นทดแทนได้ ซึ่งอาจจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กันชนิดของทรัพยากรธรรมชาติประเภทนั้น ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วทดแทนได้ เช่น พืช ป่าไม้ สัตว์ป่า มนุษย์ ความสมบูรณ์ของดิน คุณภาพของน้ำ และทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นต้น 3. ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ (Recycleable natural resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติจำพวกแร่ธาตุที่นำมาใช้แล้วสามารถนำไปแปรรูปให้กลับไปสู่สภาพเดิมได้ แล้วนำกลับมาใช้ใหม่อีก (อู่แก้ว ประกอบไวยกิจ เวอร์,2525:208) เช่น แร่โลหะ แร่อโลหะ ได้แก่ เหล็ก ทองแดง อะลูมิเนียม แก้ว ฯลฯ 4. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป (Exhausting natural resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้แล้วจะหมดไปจากโลกนี้ หรือสามารถเกิดขึ้นทดแทนได้ แต่ต้องใช้เวลายาวนานมาก ทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน เป็นต้น ความสำคัญและผลกระทบของทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติมีความสำคัญต่อมนุษย์มากมายหลายด้านดังนี้ 1. การดำรงชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้นกำเนิดของปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตของมนุษย์พบว่า มนุษย์จะต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสนองความต้องการทางด้านปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค - อาหารที่มนุษย์บริโภคแรกเริ่มส่วนหนึ่งได้จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เผือก มัน ปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็ม เป็นต้น - เครื่องนุ่งห่ม แรกเริ่มมนุษย์ประดิษฐ์เครื่องนุ่งห่มจากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น จากฝ้าย ป่าน ลินิน ขนสัตว์ ฯลฯ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ต่อมาเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการเครื่องนุ่งห่มก็เพิ่มขึ้นด้วย จึงจำเป็นต้องปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ เพื่อการทำเครื่องนุ่งห่มเอง และในที่สุดก็ทำเป็นอุตสาหกรรม - ที่อยู่อาศัย การสร้างที่อยู่อาศัยของชนเผ่าต่าง ๆ จะพยายามหาทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเป็นองค์ประกอบหลักในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้ง บ้านที่สร้างขึ้นในเขตภูเขาจะทำด้วยดินเหนียว แต่ถ้าเป็นบริเวณที่แห้งแล้ง และไร้พืชพรรณธรรมชาติ บ้านที่สร้างขึ้นอาจจะเจาะเป็นอุโมงค์เข้าไปตามหน้าผา บ้านคนไทยในชนบทสร้างด้วยไม้ ไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยจากหรือหญ้า เป็นต้น - ยารักษาโรค ตั้งแต่สมัยโบราณมนุษย์รู้จักนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรค เช่น คนไทยใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโรคหวัด หอบ หืด หัวไพล ขมิ้น น้ำผึ้งใช้บำรุงผิว 2. การตั้งถิ่นฐานและการประกอบอาชีพ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐานในการตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพของมนุษย์ เช่น แถบลุ่มแม่น้ำหรือชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชและสัตว์ จะมีประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมประมง เป็นต้น 3. การพัฒนาทางเศรษฐกิจ จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ 4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร เครื่องผ่อนแรง ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ 5. การรักษาสมดุลธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยในการรักษาสมดุลธรรมชาติ กิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ 1. กิจกรรมทางด้านอุตสหกรรม โดยไม่มีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีการนำใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากมาย และก่อให้เกิดมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ มีการเปิดหน้าดิน ก่อให้เกิดปัญหาการชะล้าง พังทลายของดิน และปัญหาน้ำทิ้ง จากเหมืองลงสู่แหล่งน้ำ ก่อให้เกิดพลพิษทางน้ำ 2. กิจกรรมทางการเกษตร เช่น มีการใช้ยาฆ่าแมลง เพื่อเพิ่มผลผลิต ส่งผลให้เกิดอันตราย ต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เนื่องจากมีการสะสมสารพิษ ไว้ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดอันตราย ในระยะยาวและเกิดความสูญ ทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากการเจ็บป่วย ของประชาชน และคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่แย่ลง 3. กิจกรรมการบริโภคของมนุษย์ ส่งผลให้ มีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ขาดการคำนึงถือสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อมตามมา เช่น ปริมาณขยะที่มากขึ้น จากการบริโภคของเรานี้ ที่มากขึ้นซึ่งยากต่อการกำจัด โดยเกิดจาการใช้ทรัพยากร อย่างไม่คุ้มค่า ทำให้ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติ ลดน้อยลง เป็นต้น สาเหตุที่มนุษย์ลำบายสิ่งแวดล้อมมีหลายสาเหตุดังนี้ 1. การเพิ่มของประชากร การเพิ่มของประชากรโลก เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความเจริญ ทางด้านการแพทย์ ช่วยลดอัตราการตาย โดยการเพิ่มประชากรนี้ ก่อให้เกิดการบริโภคทรัพยากรมากขึ้น มีของเสียมากขึ้น 2. พฤติกรรมการบริโภค อันเนื่องมาจาก ต้องการให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีความสุขสบาย มากขึ้น มีการนำใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างสิ้นเปลือง มีขยะและของเสียมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและตัวมนุษย์เอง 3. ความโลภของมนุษย์ โดยนำทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมาใช้ เพื่อให้ตนเองมีความร่ำรวย มีความสะดวกสบาย มีความเห็นแก่ตัว ขาดสติยั้งคิด ถึงสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นผลส่งให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อม ที่มากระทบต่อมนุษย์เองในที่สุด 4. ความไม่รู้ สิ่งที่ทำให้มนุษย์ ขาดการรู้เท่าทัน บนรากฐานแห่งความจริง อย่างลึกซึ้งใน สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ ส่งผลให้มนุษย์ขาดสต ิในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มีพฤติกรรมการบริโภค อันเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม โดยขาดการคาดการณ์ ผลที่จะเกิดตามมา จะส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่ง แวดล้อม และนำไปสู่ความเสียหาย ทั้งตนเองและธรรมชาติ วิกฤตการทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบัน ทรัพยากรธรรมชาติมีความสำคัญต่อมนุษย์มากมายหลายด้านดังนี้ ประเภทของสัตว์ป่า พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ในพระปรมาภิไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้ไว้ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2535 เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน แบ่งสัตว์ป่าออกเป็น 2ประเภท คือ 1. สัตว์ป่าสงวน เป็นสัตว์ป่าที่หายากและปัจจุบันมีจำนวนน้อยชนิดมาก บางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว มี 15 ชนิด คือ นกเจ้าฟ้าหญิงสิริธร แรด กระซู่ กูปรีหรือโคไพร ควายป่า ละอง หรือละมั่ง สมันหรือเนื้อสมัน เลียงผา นกแต้วแล้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ และพยูนหรือหมูน้ำ 2. สัตวป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ที่ทั้งปกติไม่นิยมใช้ใช้เป็นอาหารและใช้เป็นอาหาร ทั้งที่ไม่ใช่ล่าเพื่อการกีฬาและล่าเพื่อการกีฬา ตามที่กฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดไว้ มากกว่า 200 ชนิด เช่น ค่าง ชะนี อีเห็น ไก่ฟ้า เหยี่ยว ช้างป่า แร้ง กระทิง หมีควาย อีเก้ง นกเป็ดน้ำ เป็นต้น บทลงโทษ ทั้งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง และซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ามมิให้ผู้ใดทำการล่า มีไว้ในครอบครอง ค้าขายและนำเข้า หรือส่งออก หากผู้ใดฝ่าฝืนระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ขาดไม่ได้ต่อการดำเนินชีวิต เพราะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตตลอดเวลา จึงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และจะต้องเอาใจใส่ดูแลเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาตินั้นให้คงไว้ใช้ได้นาน ทรัพยากรธรรมชาติที่ว่านั้น ได้แก่ - ทรัพยากรน้ำ - ทรัพยากรดิน - ทรัพยากรป่าไม้ - ทรัพยากรสัตว์ป่า - ทรัพยากรแร่ธาตุ - ทรัพยากรพลังงาน - ทรัพยากรป่าชายเลน - ทรัพยากรปะการัง ทรัพยากรน้ำ น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อชีวิตคน พืช และสัตว์มากที่สุดแต่ก็มีค่าน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ 1. ใช้สำหรับการบริโภคและอุปโภค เพื่อดื่มกิน ประกอบอาหาร ชำระร่างกาย ทำความสะอาด ฯลฯ 2. ใช้สำหรับการเกษตร ได้ แก่ การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งคนเราใช้เป็นอาหาร 3. ด้านอุตสาหกรรม ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิต ล้างของเสีย หล่อเครื่องจักร และระบายความร้อน ฯลฯ 4. การทำนาเกลือ โดยการระเหยน้ำเค็มจากทะเล หรือระเหยน้ำที่ใช้ละลายเกลือสินเธาว์ 5. น้ำเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้า 6. เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 7. เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทัศนียภาพของริมฝั่งทะเล และแหล่งน้ำที่ใสสะอาดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของมนุษย์ ประโยชน์ของน้ำ น้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิตของสัตว์และพืชคนเรามีชีวิตอยู่โดยขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน และน้ำยังมีความจำเป็นทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ประโยชน์ของน้ำ ได้แก่ - น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่เราใช้สำหรับการดื่มกิน การประกอบอาหาร ชำระร่างกาย ฯลฯ - น้ำมีความจำเป็นสำหรับการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งคนเราใช้เป็นอาหาร - ในการอุตสาหกรรม ต้องใช้น้ำในขบวนการผลิตใช้ล้างของเสียใช้หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อน ฯลฯ - การทำนาเกลือโดยการระเหยน้ำเค็มจากทะเล - น้ำเป็นแหล่งพลังงาน พลังงานจากน้ำใช้ทำระหัด ทำเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าได้ - แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญ - ทัศนียภาพของริมฝั่งทะเลและน้ำที่ใสสะอาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของมนุษย์ ปัญหาทรัพยากรน้ำ ที่สำคัญมีดังนี้ 1. เพิ่มปริมาณความต้องการใช้น้ำ ในปัจจุบันนอกจากการใช้น้ำเพื่อการบริโภคซึ่งเพิ่มขึ้นแล้วประมาณ 30% ถึง 40% ในการผลิตอาหารของโลกจำเป็นต้องใช้น้ำจากการชลประทานภายในระยะเวลาประมาณ 15-20 ปีข้างหน้านี้ บริเวณพื้นที่ชลประทานจะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ของปริมาณ พื้นที่ในปัจจุบัน เพื่อที่จะผลิตอาหารให้ได้เพียงพอแก่จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น 2. การกระจานน้ำไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพื้นที่ไม่เท่าเทียมกัน ในบางพื้นที่ของโลกเกิดฝน ตกหนักบ้านเรือนไร่นาเสียหาย แต่ในบางพื้นที่ก็แห้งแล้งขาดแคลนน้ำเพื่อการบริโภค และเพื่อการเพาะปลูก 3. การเพิ่มมลพิษในน้ำ เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายรวมทั้งมนุษย์ เมื่อจำนวนประชากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้น มนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่เพิ่มมลพิษให้กับแหล่งน้ำต่าง ๆ โดยการปล่อยน้ำเสีย คราบน้ำมัน จากบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม การทิ้งขยะมูลฝอยลงไปในแหล่ง เป็นต้น ผลกระทบของน้ำเสียต่อสิ่งแวดล้อม - เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด ท้องเสีย - เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรคต่าง ๆ - ทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อดิน น้ำ และอากาศ - ทำให้เกิดเหตุรำคาญ เช่น กลิ่นเหม็นของน้ำโสโครก - ทำให้เกิดการสูญเสียทัศนียภาพ เกิดสภาพที่ไม่น่าดู เช่น สภาพน้ำที่มีสีดำคล้ำไปด้วยขยะ และสิ่งปฎิกูล - ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น การสูญเสียพันธุ์ปลาบางชนิดจำนวนสัตว์น้ำลดลง - ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในระยะยาว ทรัพยากรดิน ดินหมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมผิวโลก เกิดจากการแปรสภาพหรือสลายตัวของหินแร่ธาตุ และอินทรีย์วัตถุผสมคลุกเคล้ากันตามธรรมชาติรวมกันเป็นชั้นบาง ๆ เมื่อมีน้ำและอากาศที่เหมาะสมก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตและยังชีพอยู่ได้ เนื่องจากภาคตะวันตกส่วนใหญ่เป็นเขตเทือกเขาสูง เพราะฉะนั้นวัตถุแม่ดิน หรือแหล่งกำเนิดดินต้องเกิดจากการสลายตัวของหินที่เป็นกรด ดังนั้นดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ ค่อนข้างต่ำ ดินชนิดนี้ เรียกว่า ดินเรดเยลโล-พอดโซลิก (Red-yellow Podzolic Soils) ดินชนิดนี้ มีในเขตภูเขาที่เป็นกรด ส่วนในเขตที่มีหินปูน เช่น บริเวณเทือกเขาในเขตอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และบริเวณปลายเทือกเขาถนนธงชัยระหว่างแม่น้ำแควใหญ่กับแควน้อยจะเป็นพวกเรด-บราวด์ เอิท (Red-Brown earth) นอกจากนั้นยังมีดินที่เกิดจากการสลายตัวของสารหรือ หินภูเขาไฟ เราเรียกว่า ดินภูเขาไฟ ได้แก่พื้นที่บริเวณจังหวัดตาก เขตอำเภออุ้มผาง ที่ราบลุ่มน้ำแควน้อย เขตอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค และบริเวณแก่งกระจาน เป็นต้น ในด้านสมรรถนะของที่ดินในภาคตะวันตกปรากฏว่าพื้นที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชไร่ มีประมาณ 25 % ของเนื้อที่ภาค ทำนา 5% ที่เหลือ 70 % ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก เพราะเป็น ที่ลาดชันมาก หรือ มีดินเป็นทรายจัด ความสำคัญของทรัพยากรดิน ดินมีประโยชน์มากมายมหาศาลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ คือ 1. ใช้ในการเกษตรกรรม ดินเป็นต้นกำเนิดของการเกษตรกรรม เป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ อาหารที่มนุษย์เราบริโภคทุกวันนี้มาจากการเกษตรกรรมถึง 90 % 2. ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ พืชและหญ้าที่ขึ้นอยู่บนดินเป็นแหล่งอาหารสัตว์ ตลอดจนเป็น แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด เช่น งู หนู แมลง นาก ฯลฯ 3. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย พื้นดินเป็นแหล่งที่ตั้งของเมือง บ้านเรือน ทำให้เกิดวัฒนธรรม และอารยธรรมของชุมชนต่าง ๆ มากมาย 4. เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ถ้าน้ำซึ่งอยู่ในรูปของความชื้นในดินมีอยู่มาก ๆ ก็จะกลายเป็นน้ำซึมอยู่ในดิน คือน้ำใต้ดิน น้ำเหล่านี้จะค่อย ๆ ซึมลงที่ต่ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ทำให้เรามีน้ำใช้ตลอดปี ประโยชน์ของดิน ดินมีประโยชน์มากมายมหาศาลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ คือ 1. ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม เพราะดินเป็นต้นกำเนิดของการเกษตรกรรมเป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ ในดินจะมีอินทรียวัตถุและธาตุอาหารรวมทั้งน้ำที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช อาหารที่คนเราบริโภคในทุกวันนี้มาจากการเกษตรกรรมถึง 90% 2. การเลี้ยงสัตว์ ดินเป็นแหล่งอาหารสัตว์ทั้งพวกพืชและหญ้าที่ขึ้นอยู่ ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด เช่น งู แมลง นาก ฯลฯ 3. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แผ่นดินเป็นที่ตั้งของเมือง บ้านเรือน ทำให้เกิดวัฒนธรรมและอารยธรรมของชุมชนต่าง ๆ มากมาย 4. เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ เนื้อดินจะมีส่วนประกอบสำคัญ ๆ คือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ กรวด ทราย ตะกอน และส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำซึ่งอยู่ในรูปของความชื้นในดินซึ่งถ้ามีอยู่มาก ๆ ก็จะกลายเป็นน้ำซึมอยู่คือน้ำใต้ดิน น้ำเหล่านี้จะค่อย ๆ ซึมลงที่ต่ำ เช่น แม่น้ำลำคลองทำให้เรามีน้ำใช้ได้ตลอดปี ชนิดของดิน อนุภาคของดินจะรวมตัวกันเข้าเกิดเป็นเม็ดดิน อนุภาคเหล่านี้จะมีขนาดไม่เท่ากัน ขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว อนุภาคขนาดกลางเรียกอนุภาคทรายแป้ง อนุภาคขนาดใหญ่เรียกว่า อนุภาคทรายเนื้อดิน จะมีอนุภาคทั้ง 3 กลุ่มนี้ผสมกันอยู่ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันทำให้เกิดลักษณะของดิน 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ดินเหนียว ดินทราย และดินร่วน 1. ดินเหนียว เป็นดินที่เมื่อเปียกแล้วมีความยืดหยุ่น อาจปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้เหนียวเหนอะหนะติดมือ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี มีความสามารถในการจับยึดและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้สูง หรือค่อนข้างสูง เป็นดินที่มีก้อนเนื้อละเอียด เพราะมีปริมาณอนุภาคดินเหนียวอยู่มาก เหมาะที่จะใช้ทำนาปลูกข้าวเพราะเก็บน้ำได้นาน 2. ดินทราย เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดีมาก มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะความสามารถในการจับยึดธาตุอาหารพืชมีน้อย พืชที่ชั้นบนดินทรายจึงมักขาดทั้งอาหารและน้ำเป็นดินที่มีเนื้อดินทรายเพราะมีปริมาณอนุภาคทรายมาก 3. ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างละเอียดนุ่มมือ ยืดหยุ่นได้บ้าง มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกในธรรมชาติมักไม่ค่อยพบ แต่จะพบดินที่มีเนื้อดินใกล้เคียงกันมากกว่า สีของดิน สีของดินจะทำให้เราทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ปริมาณอินทรียวัตถุที่ปะปนอยู่และแปรสภาพเป็นฮิวมัสในดิน ทำให้สีของดินต่างกันถ้ามีฮิวมัสน้อยสีจะจางลงมีความอุดมสมบูรณ์น้อย สาเหตุและผลกระทบของทรัพยากรดิน ดินส่วนใหญ่ถูกทำลายให้สูญเสียความอุดมสมบูรณ์หรือตัวเนื้อดินไป เนื่องจากการกระทำของมนุษย์และการสูญเสียตามธรรมชาติ ทำให้เราไม่สามารถใช้ประโยชน์จากดินได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินเกิดจาก 1. การกัดเซาะดิน อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ 1.1 การกัดเซาะโดยธรรมชาติ หมายถึง การกัดเซาะซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยการกระทำของน้ำ ลม แรงดึงดูดของโลก และน้ำแข็ง เช่นการชะล้าง แผ่นดินเลื่อน การไหลของธาร น้ำ คลื่น เป็นต้น 1.2 การกัดเซาะที่มีตัวเร่ง หมายถึง การกัดเซาะที่มนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงเข้ามาช่วยเร่งให้มีการพังทลายเพิ่มขึ้นจากธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น การตัดต้นไม้ทำลายป่า การทำการเพาะปลูกอย่างขาดหลักวิชา ทำให้ดินไม่มีสิ่งปกคลุม จึงทำให้น้ำ ลม ซึ่งเป็นตัวการ กัดเซาะที่สำคัญพัดพาอนุภาคดินสูญหายไป 2. การเพาะปลูกและเตรียมดินอย่างไม่ถูกวิธี จะก่อให้เกิดความเสียหายกับดินได้มาก เช่น การปลูกพืชบางชนิดจะทำให้ดินเสื่อมเร็ว การเผาป่าไม้หรือตอข้าวในนา จะทำให้ฮิวมัสในดินเสื่อม สลายเกิดผลเสียกับดินมาก ทรัพยากรป่าไม้ ความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้ 1. ประโยชน์ทางตรง (Direct benefits) ได้แก่การนำมาใช้สนองปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ 4 ประการ ได้แก่ 1. นำมาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ฟืน เป็นต้น 2. ใช้เป็นอาหาร 3. ใช้เส้นใยที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์ มาถักทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม เชือก และอื่น ๆ 4. ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ 2. ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect benefits) 1. ป่าไม้เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร เพราะต้นไม้จำนวนมากในป่า จะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดิน กลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี 2. ป่าไม้ทำให้เกิดความชุมชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืชจำนวนมากในป่า ทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูง เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำ เหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา ทำให้บริเวณที่มีพื้นที่ป่าไม้มีความชุมชื้นอยู่เสมอ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง 3. ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาหาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่ สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้ดี นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้ 4. ป่าไม้ช่วยบรรเท่าความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่ 11-44% ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิดจึงช่วยให้บ้านเมือง รอดพ้นจากวาตภัยได้ ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นอย่างมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย 5. ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลง การหลุดเลื่อนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆ ไม่ ตื้นเขินขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน 6. ช่วยให้เกิดวัฎจักรของน้ำ (Water Cycling) วัฎจักรของออกซิเจน วัฎจักรของคาร์บอน และวัฎจักรของไนโตรเจน ในเขตนิเวศ(Ecosphere) 7. ช่วยดูดซับมลพิษของอากาศ ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย ประเภทของป่าไม้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจายของฝน ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝนทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ก. ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen) ข. ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous) ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen) ป่าประเภทนี้มองดูเขียวชอุ่มตลอดปี เนื่องจากต้นไม้แทบทั้งหมดที่ขึ้นอยู่เป็นประเภทที่ไม่ผลัดใบ ป่าชนิดสำคัญซึ่งจัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ 1. ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest or Rain Forest) ป่าดงดิบที่มีอยู่ทั่วในทุกภาคของประเทศ แต่ที่มีมากที่สุด ได้แก่ ภาคใต้และภาคตะวันออก ในบริเวณนี้มีฝนตกมากและมีความชื้นมากในท้องที่ภาคอื่น ป่าดงดิบมักกระจายอยู่บริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก ๆ เช่น ตามหุบเขาริมแม่น้ำลำธาร ห้วย แหล่งน้ำ และบนภูเขา ซึ่งสามารถแยกออกเป็นป่าดงดิบชนิดต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest) เป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดปีมีพันธุ์ไม้หลายร้อยชนิดขึ้นเบียดเสียดกันอยู่มักจะพบกระจัดกระจายตั้งแต่ความสูง 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ไม้ที่สำคัญก็คือ ไม้ตระกูลยางต่าง ๆ เช่น ยางนา ยางเสียน ส่วนไม้ชั้นรอง คือ พวกไม้กอ เช่น กอน้ำ กอเดือย 1.2 ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบมีความชุ่มชื้นน้อย เช่น ในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะคาโมง ยางนา พยอม ตะเคียนแดง กระเบากลัก และตาเสือ 1.3 ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) ป่าชนิดนี้เกิดขึ้นในพื้นที่สูง ๆ หรือบนภูเขาตั้งแต่ 1,000-1,200 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล ไม้ส่วนมากเป็นพวก Gymonosperm ได้แก่ พวกไม้ขุนและสนสามพันปี นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลกอขึ้นอยู่ พวกไม้ชั้นที่สองรองลงมาได้แก่ เป้ง สะเดาช้าง และขมิ้นต้น 2. ป่าสนเขา (Pine Forest) ป่าสนเขามักปรากฎอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงประมาณ 200-1800 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางทีอาจปรากฎในพื้นที่สูง 200-300 เมตร จากระดับน้ำทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ป่าสนเขามีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้คือ สนสองใบ และสนสามใบ ส่วนไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นอยู่ด้วยได้แก่พันธุ์ไม้ป่าดิบเขา เช่น กอชนิดต่าง ๆ หรือพันธุ์ไม้ป่าแดงบางชนิด คือ เต็ง รัง เหียง พลวง เป็นต้น 3. ป่าชายเลน (Mangrove Forest) บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็ม" หรือป่าเลน มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ ป่าชนิดนี้ปรากฎอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ ๆ ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงในพื้นที่ภาคใต้มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน ตามชายทะเลภาคตะวันออกมีอยู่ทุกจังหวัดแต่ที่มากที่สุดคือ บริเวณปากน้ำเวฬุ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง ประสัก ถั่วขาว ถั่วขำ โปรง ตะบูน แสมทะเล ลำพูนและลำแพน ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวก ปรงทะเลเหงือกปลายหมอ ปอทะเล และเป้ง เป็นต้น 4. ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Swamp Forest) ป่าชนิดนี้มักปรากฎในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมมาก ๆ ดินระบายน้ำไม่ดีป่าพรุในภาคกลาง มีลักษณะโปร่งและมีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ เช่น ครอเทียน สนุ่น จิก โมกบ้าน หวายน้ำ หวายโปร่ง ระกำ อ้อ และแขม ในภาคใต้ป่าพรุมีขึ้นอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปีดินป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดอยู่ในบริเวณจังหวัดนราธิวาสดินเป็นพีท ซึ่งเป็นซากพืชผุสลายทับถมกัน เป็นเวลานานป่าพรุแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ตามบริเวณซึ่งเป็นพรุน้ำกร่อยใกล้ชายทะเลต้นเสม็ดจะขึ้นอยู่หนาแน่นพื้นที่มีต้นกกชนิดต่าง ๆ เรียก "ป่าพรุเสม็ด หรือ ป่าเสม็ด" อีกลักษณะเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ มากชนิดขึ้นปะปนกัน ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าพรุ ได้แก่ อินทนิล น้ำหว้า จิก โสกน้ำ กระทุ่มน้ำภันเกรา โงงงันกะทั่งหัน ไม้พื้นล่างประกอบด้วย หวาย ตะค้าทอง หมากแดง และหมากชนิดอื่น ๆ 5. ป่าชายหาด (Beach Forest) เป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายทะเล น้ำไม่ท่วมตามฝั่งดินและชายเขาริมทะเล ต้นไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ตามหาดชายทะเล ต้องเป็นพืชทนเค็ม และมักมีลักษณะไม้เป็นพุ่มลักษณะต้นคดงอ ใบหนาแข็ง ได้แก่ สนทะเล หูกวาง โพธิ์ทะเล กระทิง ตีนเป็ดทะเล หยีน้ำ มักมีต้นเตยและหญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่เป็นไม้พื้นล่าง ตามฝั่งดินและชายเขา มักพบไม้เกตลำบิด มะคาแต้ กระบองเพชร เสมา และไม้หนามชนิดต่าง ๆ เช่น ซิงซี่ หนามหัน กำจาย มะดันขอ เป็นต้น ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Declduous) ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Declduous) ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้เป็นจำพวกผลัดใบแทบทั้งสิ้น ในฤดูฝนป่าประเภทนี้จะมองดูเขียวชอุ่มพอถึงฤดูแล้งต้นไม้ ส่วนใหญ่จะพากันผลัดใบทำให้ป่ามองดูโปร่งขึ้น และมักจะเกิดไฟป่าเผาไหม้ใบไม้และต้นไม้เล็ก ๆ ป่าชนิดสำคัญซึ่งอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ 1. ป่าเบญจพรรณ (Mixed Declduous Forest) ป่าผลัดใบผสม หรือป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งและยังมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไปพื้นที่ดินมักเป็นดินร่วนปนทราย ป่าเบญจพรรณ ในภาคเหนือมักจะมีไม้สักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไปครอบคลุมลงมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี ในภาคกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีป่าเบญจพรรณน้อยมากและกระจัดกระจาย พันธุ์ไม้ชนิดสำคัญได้แก่ สัก ประดู่แดง มะค่าโมง ตะแบก เสลา อ้อยช้าง ส้าน ยม หอม ยมหิน มะเกลือ สมพง เก็ดดำ เก็ดแดง ฯลฯ นอกจากนี้มีไม้ไผ่ที่สำคัญ เช่น ไผ่ป่า ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่รวก ไผ่ไร เป็นต้น 2. ป่าเต็งรัง (Declduous Dipterocarp Forest) หรือที่เรียกกันว่าป่าแดง ป่าแพะ ป่าโคก ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ตามพื้นป่ามักจะมีโจด ต้นแปรง และหญ้าเพ็ก พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือกรวด ลูกรัง พบอยู่ทั่วไปในที่ราบและที่ภูเขา ในภาคเหนือส่วนมากขึ้นอยู่บนเขาที่มีดินตื้นและแห้งแล้งมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีป่าแดงหรือป่าเต็งรังนี้มากที่สุด ตามเนินเขาหรือที่ราบดินทรายชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าแดง หรือป่าเต็งรัง ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด พะยอม ติ้ว แต้ว มะค่าแต ประดู่ แดง สมอไทย ตะแบก เลือดแสลงใจ รกฟ้า ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมาก ได้แก่ มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง หญ้าเพ็ก โจด ปรงและหญ้าชนิดอื่น ๆ 3. ป่าหญ้า (Savannas Forest) ป่าหญ้าที่อยู่ทุกภาคบริเวณป่าที่ถูกแผ้วถางทำลายบริเวณพื้นดินที่ขาดความสมบูรณ์และถูกทอดทิ้ง หญ้าชนิดต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นทดแทนและพอถึงหน้าแล้งก็เกิดไฟไหม้ทำให้ต้นไม้บริเวณข้างเคียงล้มตาย พื้นที่ป่าหญ้าจึงขยายมากขึ้นทุกปี พืชที่พบมากที่สุดในป่าหญ้าก็คือ หญ้าคา หญ้าขนตาช้าง หญ้าโขมง หญ้าเพ็กและปุ่มแป้ง บริเวณที่พอจะมีความชื้นอยู่บ้าง และการระบายน้ำได้ดีก็มักจะพบพงและแขมขึ้นอยู่ และอาจพบต้นไม้ทนไฟขึ้นอยู่ เช่น ตับเต่า รกฟ้าตานเหลือง ติ้วและแต้ว ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่. ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits) ได้แก่ ปัจจัย 4 ประการ 1. จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ฟืน เป็นต้น 2. ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล 3. ใช้เส้นใย ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ เป็นเครื่องนุ่งห่ม เชือกและอื่น ๆ 4. ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefits) 1. ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดิน กลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี 2. ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช ซึ่งเกิดขึ้นอยู่มากมายในป่าทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา ทำให้บริเวณที่มีพื้นป่าไม้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง 3. ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้ดี นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้ 4. ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่ ๑๑-๔๔ % ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิด จึงช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากวาตภัยได้ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย 5. ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลงการหลุดเลือนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆ ไม่ตื้นเขินอีกด้วย นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน สาเหตุผลกระทบปัญหาทรัพยากรป่าไม้ 1. การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ตัวการของปัญหานี้ คือ นายทุนพ่อค้าไม้ เจ้าของโรงเลื่อย เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้ ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป ซึ่งทำการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์จากเนื้อไม้ททั้งที่ถูกและไม่ถูกกฎหมาย ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอัตราการเพิ่มจำนวนประชากร ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด ความต้องการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้ไม้ ในการปลูกสร้างบ้านเรือน เครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรม เครื่องเรือนและถ่านในการหุงต้ม เป็นต้น 2. การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้พื้นดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็สูงขึ้น เป็นผลให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ แผ้วถางป่า หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป 3. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออกในพื้นที่ป่าที่ไม่เหมาะสม เช่น มันสัมปะหลัง ปอ เป็นต้น โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร 4. การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจน หรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่ ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5. การจัดสร้างสาธรณูปโภคของรัฐ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำ จะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย เช่น การสร้างเขื่อนรัชประภา เพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นสัตว์นานาชนิดนับพื้นที่เป็นแสนไร่ ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง 6. ไฟไหม้ป่า มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง อากาศแห้งและร้อนจัด ทั้งโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์ที่อาจลักลอบเผาป่าหรือเผลอจุดไฟทิ้งไว้ โดยเฉพาะในป่าผลัดใบ ไฟป่าเมื่อเกิดขึ้นจะทำให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่าจำนวนมาก 7. การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อน จึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง เส้นทางการขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงจำนวนมาก เพื่อสร้างถนนหนทาง การระเบิดหน้าดินเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุส่งผลถึงการทำลายป่า ความสำคัญของสัตว์ป่า 1. ด้านเศรษฐกิจ การค้าสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่า โดยเฉพาะหนังสือเกี่ยวกับป่า ในปีหนึ่ง ๆ ทำรายได้ให้กับประเทศและมีเงินทุนหมุนเวียนภายในประเทศจำนวนไม่น้อย คุณค่าทางด้านเศรษฐกิจอาจจะรวมถึงรายได้จากการท่องเที่ยวในการชมสัตว์ด้วย 2. ด้านนันทนาการและจิตใจ ความงามเป็น สิ่งที่มนุษย์ปรารถนา ไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าตนเองไม่ชอบความงาม แม้ว่าเราอาจมีความเห็นไม่ตรงกันในความหมายของความงาม แต่ที่แน่นอนที่สุดคือ ทุกคนมีความเห็นตรงกันในเรื่องความน่าเกลียดของธรรมชาติที่ถูกทำลาย ทัศนียภาพที่สวยงาม ตามธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราสามารถช่วยกันอนุรักษ์ไว้ได้ถ้าไม่มีผู้ที่คิดเห็นแก่ตัวจนเกินไป เราอาจตกแต่งบ้านให้สวยงามด้วยเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง บางบ้านมีเขากวาง หัวสัตว์ป่าประดับอยู่ตามฝาผนัง บางบ้านมีหนังเสือโคร่งปูประดับห้องรับแขก บางบ้านก็สะสมสัตว์สตาฟ จริงอยู่ที่สิ่งเหล่านี้เพิ่มความงามในแง่ของมัณฑนศิลป์แต่ก็ไม่ใช่ความงามตามธรรมชาติ หลายคนอาจคิดว่าตนเองสามารถมีชีวิตอยู่ในเมือง ทั้งต้นตระกูลปู่ย่าพ่อแม่ของตนเองก็เจริญเติบโตทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่ในเมือง แต่ถ้าคิดให้ดีแล้วมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีชีวิตอยู่ในป่ากลมกลืนกับธรรมชาติ ปัจจุบันเราได้พยายามแยกตัวเองออกจากธรรมชาติซึ่งถ้าดูกันแบผิวเผินก็ดูเหมือนว่าเราทำได้สำเร็จ เราสร้างเมืองสร้างบ้านสร้างสถานที่พักผ่อนหย่อนใจได้ เราเปลี่ยนระบบนิเวศของเมืองให้เป็น Artificial ecosystem แต่ธรรมชาติก็ยังสามารถรบกวนทั้งตัวเราและสิ่งก่อสร้างของเรา ในวันสุดสัปดาห์ถ้ามีเวลาและโอกาสเราก็จะไปชายทะเล ไปเขาใหญ่ ไปดูน้ำตก เหล่านี้เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าคนเรายังมีความต้องการที่จะสัมผัสสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ถ้าธรรมชาติของป่ามีต้นไม้สีเขียวขจีแต่ขาดสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวได้ก็คงไม่ใช่ธรรมชาติที่สมบูรณ์ คุณค่าของความงามตามธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าเราเรียกว่า Aesthetic value 3. ด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา และการแพทย์ สัตว์ป่าไม่ใช่มีแต่คุณค่าในแง่ ธรรมชาติเท่านั้น สวัสดิภาพของมนุษย์ในปัจจุบันขึ้นอยู่กับสัตว์ป่าหลายชนิด วัคซีนที่เราใช้ฉีด ป้องกันโรคต่าง ๆ ได้มาจากลิงริซัส คุณค่าสัตว์ป่าในแง่นี้เรียกว่า Prectical values สัตว์ป่าหลายชนิดกินแมลงที่นำโรคมาสู่คน สัตว์ป่าช่วยให้ชุมชน (Community) มั่นคงมีเสถียรภาพเพราะเป็นส่วนที่ ทำให้เกิดความหลายหลายชนิด (Diversity) แต่ละชนิดทั้งสัตว์และพืชทำให้ Niche ของชุมชน เต็มช่วยให้การใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่ติดตามมาคือ เสถียรภาพของที่ดินและแหล่งต้นน้ำ การอนุรักษ์สัตว์ป่าจึงเป็นการประกันความมั่นคงของชุมชนรวมทั้งชีวิตมนุษย์ด้วย 4. ด้านอาหารและยา มนุษย์ได้ใช้เนื้อของสัตว์ป่าเป็นอาหารมาเป็นเวลาช้านานแล้วซึ่งสัตว์ป่าหลายชนิดก็ได้พัฒนาจนกระทั่งกลายเป็นสัตว์เลี้ยงไป สัตว์ป่าหลายชนิดตามธรรมชาติคนก็ยังนิยมใช้เนื้อเป็นอาหารอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง กวาง กระจง กระทิง นกเขาเปล้า นกเป็ดน้ำ ตะกวด แย้ เป็นต้น อวัยวะของสัตว์ป่าบางอย่าง เช่น นอแรด กระโหลกเลียงผา เขากวางอ่อน เลือดและกระเพาะค่าง ดีของหมี ดีงูเห่า ก็ยังมีผู้นิยมดัดแปลงเป็นอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องยาสมุนไพรอีกด้วย 5. ด้านเครื่องใช้ประดับ นอกจากเนื้อของสัตว์ป่าและส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ป่าจะใช้เป็นอาหารและยาแล้ว อวัยวะบางอย่างของสัตว์ป่าก็ยังใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้อีกมากมาย เช่น หนังใช้ทำกระเป๋า รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม งาช้าง ใช้เป็นเครื่องประดับ กระดูก เขาสัตว์ใช้ทำด้ามมีด ด้ามเครื่องมือ หรือแกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ เป็นต้น 6. เป็นตัวควบคุมสิ่งมีชีวิต สัตว์ป่านับได้ว่า เป็นตัวควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งสัตว์ด้วยกันเอง ทำให้ผลกระทบที่เกิดต่อคนบรรเทาเบาบางลงไปไม่มากก็น้อย เช่น ค้างคาว กินแมลง นกฮูกและงูสิงกินหนูต่าง ๆ นกกินตัวหนอนที่ทำลายพืชเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งหากไม่มีสัตว์ป่าต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วคนอาจจะต้องเสียเงินทองจำนวนมากกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันเพื่อการกำจัดศัตรูทั้งทางตรงและทางอ้อม 7. คุณค่าของสัตว์ป่าต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ คนส่วนใหญ่มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ เป็นต้นว่า ป่าไม้ทำให้สัตว์ป่ามีที่อยู่อาศัย เป็นอาหาร และเป็นที่หลบภัย ป่าไม้ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ป้องกันการกัดเซาะ ของน้ำ ลม ป่าไม้ช่วยทำให้น้ำไหลตลอดปี น้ำใสสะอาดปราศจากตะกอน ป่าไม้ช่วยทำให้ฝนตก บรรเทากระแสลมพายุ ป่าไม้ทำให้อากาศไม่ร้อนไม่หนาว ป่าไม้เป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุ ขาดป่าไม้ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ก็อยู่ไม่ได้ ทำนองเดียวกันทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่คนจะมองเห็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังรายละเอียดที่ได้ศึกษามาแล้ว ทั้งนี้ยกเว้นสัตว์ป่า คนเรามักจะมองเห็นว่า ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เท่านั้น แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว สัตว์ป่าก็มีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ไม่น้อยเช่นเดียวกัน เช่น - ช่วยทำลายศัตรูป่าไม้ - ช่วยผสมเกสรดอกไม้ - ช่วยในการกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ - ช่วยทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สาเหตุและผลกระทบปัญหาทรัพยากรสัตว์ป่า ในระยะสิบปีที่ผ่านมา สัตว์ป่าเป็นที่กล่าวถึงกันมากในแวดวงของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปัจจุบันสัตว์ป่าอยู่ในฐานะลำบากเช่นเดียวกันกับป่าไม้ หลายชนิดสูญพันธุ์ไปโดยที่มนุษย์ไม่รู้ น้อยคนนักที่คิดว่าสัตว์ป่าเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความหลากหลายชนิดของสิ่งมีชีวิต ซึ่งนำไปสู่การอยู่ร่วมกันแบบสมดุลโดยธรรมชาติ น้อยคนที่คิดว่าสัตว์ป่าเป็นสมบัติของทุกคน คนส่วนมากคิดว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของสัตว์ป่า การล่าทำลายเพื่อความสนุกเพลิดเพลินจึงเป็นเรื่องธรรมดาของผู้มีอันจะกิน ผู้มีรายได้น้อยก็ล่าสัตว์ป่าเพื่อบริโภคและส่งตลาดเพื่อขายผู้มีรายได้มาก การตัดไม้ทำลายป่าและการขยายตัวของเมืองก็มีส่วนอย่างมากที่ช่วยทำลายที่อยู่อาศัยและที่หลยศัตรูของสัตว์ป่า ปกติการเป็นเจ้าของสัตว์ป่าเป็นที่เข้าใจกันว่าขึ้นอยู่กับการเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ใดมีที่ดินที่มีสัตว์ป่าอยู่ก็ถือว่าเป็นเจ้าของสัตว์ป่านั้น การล่าสัตว์เจ้าของจึงมักถือว่าเป็นสิทธิของตน ความเข้าใจผิดนี้มีมานานแล้ว ประเทศอังกฤษในมัยก่อนพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของสัตว์ป่า ความคิดนี้ตกทอดไปยังผู้บุกเบิกยุคแรกในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งอีกหลายประเทศที่ค้าขายหรือเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ในสหรัฐอเมริกากว่าจะแก้ไขกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย สัตว์ป่าหลายชนิดก็มีชื่ออยู่เพียงในหนังสือ อีกหลายชนิดก็เหลือในรูปของสัตว์สตาฟหรือรูปเขียนหรือรูปปั้นในพิพธภัณฑ์ ที่เป็นไปได้ในประเทศที่กำลังพัฒนาสัตว์ป่าหลายชนิดสูญพันธุ์ไปโดยไม่มีทั้งชื่อและซากไว้หนังสือและพิพิธภัณฑ์ สาเหตุที่ทำให้สัตว์ป่าสูญพันธุ์ มีดังนี้ 1. ถูกจำกัดที่อยู่อาศัย ข้อนี้เป็นสาเหตุที่ร้ายแรงมาก กองอนุรักษ์คุ้มครองสัตว์ป่าของไทยยอมรับว่าเป็นเหตุให้สัตว์ป่าต้องตายสาปสูญด้วยอัตราที่รวดเร็วน่าตกใจ สัตว์หลายชนิดต้องการที่อยู่อาศัยเฉพาะในระยะหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงแทนที่ (Succession) ถ้าการเปลี่ยนแปลงแทนที่เลยไปถึงระยะที่เป็นป่าทึบแล้วสัตว์กินหญ้าก็อยู่อาศัยที่นั้นไม่ได้ 2. ชีวศักยภาพต่ำ สัตว์หลายชนิดโดยเฉพาะนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีศักยภาพการขยายพันธุ์ต่ำ นกแคลฟอร์เนียคอนดอร์วางไข่ปีเว้นปีและออกไข่ครั้งละ 1 ฟองเท่านั้น ปัจจุบันมีนกชนิดนี้เหลืออยู่ประมาณ 40 ตัวในโลกซึ่งประมาณ 20 ตัวเป็นตัวเมีย 3. ความต้องการอาหารเฉพาะ สัตว์บางชนิดกินอาหารเฉพาะบางอย่างเท่านั้นจะว่าเลือกกินก็ไม่ใช่ นกฟลอริดาเอเวอร์เกลดไค้ท์ กินหอยเพียงชนิดเดียว เท่านั้น 4. การถูกกลืนทางพันธุกรรม สัตว์บางชนิดผสมพันธุ์กันได้แม้ว่าจะต่างชนิดกัน ถ้าชนิดหนึ่งมีจำนวนมากและอีกชนิดหนึ่งมีจำนวนน้อย โอกาสที่ยีน ของพวกน้อยจะไปรวมอยู่ในยีนพูลของพวกมากก็เป็นไปได้มาก ตัวอย่างในเรื่องนี้ได้แก่ สุนัขคอยโยท ซึ่งสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงโดยมนุษย์ได้ดี 5. การค้าสัตว์เลี้ยง ร้านค้าสัตว์เลี้ยงเป็นที่ดึงดูดใจของเด็กและผู้ใหญ่เกือบทุกวัย จะเห็นได้จากส่วนหนึ่งของตลอดนัดวันสุดสัปดาห์ที่สวนจตุจักรซึ่งขายตั้งแต่ปลากันไปจนถึงนกและลิงชนิดอื่น ๆ 6. การนำสัตว์จากประเทศอื่นเข้ามาเลี้ยง การนำสัตว์จากประเทศอื่นเข้ามาโดยมุ่งผลประโยชน์ระยะสั้นอาจมีผลกระทบกับสัตว์พื้นเมืองในระยะยาว 7. การล่าสัตว์ คนเราล่าสัตว์ด้วยเหตุผลต่างกันไป ล่าสัตว์เพื่อเป็นอาหารและเครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องกันธัญพืชและสัตว์เลี้ยง 8. การใช้ยากำจัดศัตรูพืช สารเคมีที่สังเคราะห์ขึ้นใช้กำจัดศัตรูพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตมักมีผล ตกค้างถ้าพิจารณาตามลูกโซ่อาหารความเข้ข้มของสารเคมีเหล่านี้เพิ่มขึ้นตามลำดับลูกโซ่อาหารที่สูงขึ้น 9. พฤติกรรมสัตว์ที่เปลี่ยนยาก สัตว์หลายชนิดไม่เปลี่ยนพฤติกรรมเดิม ทั้งที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ในระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์มีกระบวนการดังนี้ 1. การลดจำนวนลูกหลาน พืชและสัตว์ที่กำลังจะสูญพันธุ์ จะเกิดมีปรากฎการณ์ที่พืชและสัตว์นั้นไม่สามารถที่จะมีลูกหลานในระดับปกติดังที่เคยมีอยู่ได้ 2. ระบบนิเวศขาดสมดุล การที่พืชและสัตว์ในระบบนิเวศใด ๆ ถูกทำลายไปจะทำให้ระบบนิเวศขาดความสมดุล 3. การขาดคู่ผสมพันธุ์ เมื่อสัตว์ชนิดใด ๆ เหลืออยู่จำนวนน้อยจะทำให้มันขาดคู่ที่จะผสมพันธุ์ และยิ่งสัตว์นั้น ๆ อาศัยอยู่ในบริเวณกว้างก็จะทำให้ยากที่สัตว์จะหาคู่มาผสมพันธุ์กันได้ 4. ถูกทำลายโดยธรรมชาติ ถึงแม้ว่าบางครั้งสัตว์จะมีจำนวนลดลงแต่ก็ยังจะสามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้ แต่มีปรากฎการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม พายุพัด ฯลฯ ทำให้สัตว์ถูกทำลายจนสูญพันธุ์ได้ 5. การผสมพันธุ์กันในเครือญาติ การผสมพันธุ์กันระหว่างญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดกันตามสายเลือดจะทำให้ลูกหลานที่เกิดมาใหม่ไม่แข็งแรงพอมีโอกาสที่จะอยู่รอดน้อย ความสำคัญของแร่ธาตุ 1. ด้านความมั่นคงและมั่งคั่งของประเทศ ประเทศที่มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากมายและสามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นผลผลิตต่าง ๆ ที่ทำประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ด้านอาวุธ ด้านอุตสาหกรรม 2. ด้านความเป็นอยู่ของมนุษย์ ได้มีการนำแร่ธาตุต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์และสร้างขึ้นเป็นสิ่งต่าง ๆ เช่น ภาชนะใช้สอย พาหนะที่ช่วยในการคมนาคม อาคารบ้านเรือน ก๊าซหุงต้ม พลังงานไฟฟ้า 3. ด้านการสร้างงานแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการขุดแร่ ไปจนถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้บริโภค นอกจากนี้แร่ธาตุชนิดต่าง ๆ มีคุณสมบัติต่างกัน จึงมีประโยชน์แตกต่างกัน เช่น แร่วุลแฟรม นำมาทำไส้หลอดไฟฟ้า ใช้ในอุตสาหรกรรมเครื่องแก้ว แร่พลวงนำมาใช้ทำตัวพิมพ์หนังสือ ทำสี แบตเตอรี รัตนชาติ เป็นแร่ที่มีสีสันสวยงาม นำมาใช้ทำเครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากโครงสร้างของภูมิประเทศเป็นเทือกเขาเป็นส่วนมาก ซึ่งประกอบ ไปด้วย หินแกรนิต หินปูน ดังนั้นจึงอุดมไปด้วยแร่ธาตุพอสมควร แร่ที่สำคัญได้แก่ 1. ดีบุก มักเกิดร่วมกับแร่ทังสเตน แหล่งแร่พวกนี้จะอยู่ในเขตหินแกรนิต แหล่งแร่ดีบุกที่สำคัญ คือ อำเภอทองภาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี และในเขตตะวันตกของ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันตกนับเป็นภาคที่มีการผลิตแร่ดีบุก มากเป็นอันดับที่สอง รองจาก ภาคใต้ 2. วุลแฟรม หรือ ทังสเตน มีแหล่งผลิตที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัด ตาก และที่เหมืองปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี ปัจจุบันที่อำเภอท่าสองยาง มีน้อยมาก 3. เหล็ก มีที่เขาอึม ครึม อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี 4. ฟลูออไรด์ มีในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี และอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี 5. ตะกั่ว – สังกะสี มักพบอยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ตะกั่วมีแหล่งผลิตที่อำเภอศรีสวัสดิ์และ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี ส่วนแร่สังกะสีมีที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 6. แร่รัตนชาติ มีแหล่งที่สำคัญในจังหวัดกาญจนบุรี โดยเฉพาะที่อำเภอ บ่อพลอย มีการขุดพลอย กันมาก เป็นแหล่งพลอยสีน้ำเงินและนิลที่ขึ้นชื่อของประเทศ 7. หินน้ำมัน (oil shale) พบมากในอำเภอแม่สอด และอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ปัจจุบันยังไม่มีการผลิต ประโยชน์แร่ 1. ประโยชน์ทางด้านความมั่นคง และมั่งคั่งของประเทศ ประเทศที่มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากมายและสามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นผลผลิตต่าง ๆ ที่ทำประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ด้านอาวุธ ด้านอุตสาหกรรม 2. ประโยชน์ด้านความเป็นอยู่ของมนุษย์นำแร่ธาตุต่าง ๆ มาสร้างขึ้นเป็นภาชนะใช้สอยพาหนะที่ช่วยในการคมนาคม อาคารบ้านเรือน ก๊าซหุงต้ม พลังงานไฟฟ้า 3. ประโยชน์ด้านการสร้างงานแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการขุดแร่ ไปจนถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้บริโภค นอกจากนี้ แร่ธาตุชนิดต่าง ๆ มีคุณสมบัติลักษณะต่างกัน จึงมีประโยชน์แตกต่างกัน เช่น แร่วุลแฟรม นำมาทำไส้หลอดไฟฟ้า ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้ว แร่พลวงนำมาใช้ทำตัวพิมพ์หนังสือ ทำสี แบตเตอรี่ รัตนชาติ เป็นแร่ที่มีลักษณะสีสันสวยงาม นำมาใช้ทำเครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย สาเหตุและผลกระทบปัญหาทรัพยากรแร่ 1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมบริเวณที่ทำเหมืองแร่แล้วทำให้สภาพดินไม่อุดมสมบูรณ์ สกปรกพื้นที่ขรุขระมีหลุมบ่อมากมายจึงถูกปล่อยทิ้งให้ประโยชน์ไม่เต็มที่ 2. ปัญหาการใช้แร่ธาตุบางประเภทเป็นจำนวนมาก เช่น แร่เหล็กถูกนำมาใช้มาก และแพร่หลายที่สุด ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม ดีบุก ฯลฯ 3. ปัญหาการใช้แร่ไม่คุ้มค่า ได้แก่ พวกแร่ที่ใช้แล้วยังเหลืออยู่ ยังสามารถนำกลับไปใช้อีก เช่น เหล็ก ส่วนแร่ที่นำไปใช้แล้วหมดไป เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ เราจึงต้องใช้อย่างคุ้มค่าและประหยัด ทรัพยากรพลังงาน สาเหตุ ผลกระทบจากการผลิต และการใช้พลังงาน สภาพความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมส่วนใหญ่ อาจกล่าวได้ว่ามีสาเหตุมาจากการผลิตและการใช้พลังงานของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ดังนั้นการเสาะแสวงหาทรัพยากรพลังงานมาเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงควรระมัดระวังและพิจารณาให้รอบคอบก่อนนำมาใช้นักสิ่งแวดล้อมได้กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรพลังงาน ดังนี้ 1. ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ล้มตาย 2. ทำให้สิ่งของและทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย 3. ทำลายสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต 4. เกิดภาวะมลพิษทั้งทางดิน น้ำ และอากาศ ทรัพยากรป่าชายเลน ป่าชายเลน เป็นระบบนิเวศของป่าชายฝั่งที่ทนต่อสภาพความเค็มได้และเป็นกลุ่มแรกของสิ่งมีชีวิตที่บุกเบิกชีวิตความเป็นอยู่ลงไปสู่ทะเลพร้อม ๆ กับการชักนำพื้นแผ่นดินให้รุกล้ำตามลงไปในทะเล จึงนับเป็นปราการด่านแรกระหว่างบกกับทะเล โดยจะประกอบด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์นานาชนิด ตลอดจนสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เช่น การขึ้นลงของน้ำทะเล ดินเลนที่มีอินทรียสารเป็นจำนวนมาก ฯลฯ อยู่รวมกันเป็นระบบ ป่าชายเลน เป็นกลุ่มของสังคมพืช ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีลักษณะทางเสรีวิทยาและการปรับตัวทางโครงสร้าง ที่คล้ายคลึงกันและการขึ้นของพรรณไม้ในป่าชายเลน จะขึ้นอยู่กับแนวเขต ซึ่งผิดแปลกไปจากสังคมพืชป่าบก ทั้งนี้เพราะอิทธิพลจากลักษณะของดิน ความเค็มของน้ำทะเลและการขึ้นลงของน้ำทะเลเป็นสำคัญสำหรับแนวเขตที่เด่นชัด ของป่าชายเลน ได้แก่ โกงกาง ทั้งโกงกางใบเล็กและโกงกางใบใหญ่ จะขึ้นอยู่หนาแน่นบนพื้นที่ใกล้ฝั่งทะเล ไม้แสมและประสัก จะอยู่ถัดจากแนวเขตของโกงกาง ไม้ตะบูน จะอยู่ลึกเข้าไปจากแนวเขตของไม้แสมและประสัก เป็นพื้นที่ที่มีดินเลน แต่มักจะแข็ง ส่วนบนพื้นที่ดินเลนที่ไม่แข็งมากนักและมีน้ำทะเลท่วมถึงเสมอ จะมีไม้โปรง รังกะแท้ และฝาด ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ไม้เสม็ด จะขึ้นอยู่แนวเขตสุดท้าย ซึ่งเป็นพื้นที่เลนแข็งที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นครั้งคราว เมื่อระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดเท่านั้น และแนวเขตนี้ถือว่าเป็นแนวติดต่อระหว่างป่าชายเลนกับป่าบก สำหรับพวกปรง จะพบทั่ว ๆ ไปในป่าชายเลน แต่จะขึ้นอย่างหนาแน่นในพื้นที่ถูกถาง ความสำคัญของป่าชายเลน ป่าชายเลนมีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษย์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและทางด้านนิเวศวิทยา ดังนี้ 1. การนำไม้มาใช้ประโยชน์ ไม้ที่ได้จากป่าชายเลน นอกจากนำมาใช้เพื่อการเผาถ่านแล้วยังสามารถใช้เพื่อเป็นไม้ฟืน ไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยันเฟอร์นิเจอร์ 2. เป็นที่ป้องกันชายทะเล โดยป่าชายเลนจะทำหน้าที่เสมือนเขื่อนป้องกันคลื่นลมพายุไม่ให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และระบบนิเวศอื่น ๆ 3. ทำหน้าที่เป็นแหล่งกักตะกอนสิ่งปฏิกูลและสารมลพิษต่าง ๆ จากบนบกไม่ให้ลงสู่ทะเล 4. ช่วยให้มีการงอกตัวของแผ่นดิน จากการที่ตะกอนดินทราบซึ่งไหลมากับแม่น้ำ เมื่อถูกขวางกั้นด้วยแนวป่าชายเลน ทำให้กระแสดน้ำลดความเร็วลงเกิดตะกอนทับถม 5. นิเวศวิทยาป่าชายเลน เป็นระบบนิเวศที่เหมาะสมกับการวางไข่ การหาอาหาร และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจหลายชนิดและเป็นแหล่งชุมชมของนก สัตว์ป่าหลายชนิด 6. เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ความสวยงานจากพรรณไม้ต่าง ๆ ตั้งแต่เฟิร์น กล้วยไม้ และต้นไม้ใหญ่ที่เพิ่มความแปลกตาแก่ทิวทัศน์ทางทะเล สาเหตุและผลกระทบปัญหาที่ทรัพยากรป่าชายเลน ปัจจุบันป่าชายเลนของประเทศไทย ซึ่งขึ้นอยู่ตามบริเวณช่ายฝั่งทะเลที่เป็นโคลนตมและบริเวณที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำลำธารในบริเวณชายฝั่งของอ่าวไทย ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกและด้านตะวันตกของภาคใต้ นับแต่จะลดพื้นที่ลงเนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน จนทำให้เกิดความเสื่อมโทรมทำลายป่าชายเลน ซึ่งพอจะจำแนกได้ดังนี้ 1. การป่าไม้ หมายถึง ทั้งการทำไม้สัมปทาน ตามวิธีการที่รัฐกำหนดการทำป่าไม้ในเขตสัมปทาน แต่หลีกเลี่ยงไม่ทำตามข้อกำหนดของรัฐ รวมทั้งการบุกรุกทำลายป่า โดยตัดฟันไม้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ 2. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หมายถึง เฉพาะการทำบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และสถานีเพาะพันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณพื้นที่โครงการ 3. การเกษตรกรรมในพื้นที่ป่าชายเลน 4. การทำเหมืองแร่ในพื้นที่ป่าชายเลน 5. การขยายตัวของชุมชน 6. การก่อสร้างท่าเทียบเรือทุกขนาด การก่อสร้างอู่ต่อเรือและสะพานปลา 7. การก่อสร้างถนน รวมทั้งสายส่งไฟฟ้า 8. การก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม 9. การขุดลอกร่องน้ำ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน ได้ก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังนี้ 1. ผลกระทบทางกายภาพ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศป่าชายเลน คือ อุณหภูมิปริมาณธาตุอาหาร ความเค็ม สภาพทางอุทกวิทยาการตกตะกอน ปริมาณมลพิษในน้ำเป็นต้น 2. ผลกระทบทางชีววิทยา ได้แก่ การลดปริมาณพรรณไม้ส่วนรวม การลดการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ การลดปริมาณหรือการสูญเสียพันธุ์ไม้มีค่าหรือหายาก การสะสมพิษในห่วงโซ่อาหาร การเกิดโรคระบาด การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยธรรมชาติ ปะการัง ปะการัง (Corals) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมซีเลนเตอราต้า (Phylum Coelenterata) ขนาดเล็ก มีโครงสร้างหินปูนห้อหุ้มตัวอ่อนนุ่มไว้ชั้นนอก ดำรงชีพ 2 แบบ คือ อยู่ตัวเดีอย (Solitary) หรืออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม (Colony) มีรูปทรงต่าง ๆ เป็นแผ่น เป็นก้อนหรือกิ่งก้านซึ่งเกิดจากปะการังนับล้านตัวที่มาเกาะกันอยู่ โดยมีการสร้างโครงสร้างหินปูนแผ่ขยายไปเรื่อย ๆ กลายเป็นแนวปะการัง ปะการังจะเติบโตได้ดีเฉพาะบริเวณที่มีน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ 18-27 องศาเซลเซียส มี แสงแดดพอประมาณไม่ใช่แดดจัด น้ำไม่ขุ่นและมีความของน้ำไม่เกิน 50 เมตร ดังนั้แนวปะการังจะเจริญเติบโตและมีอยู่เฉพาะน่านน้ำเขตอบอุ่นของโลกเท่านั้น ตัวประการังมีรูปเป็นทรงกระบอก มีขนาดเพียง 1 มิลิลิตร ถึง 1 เซยติเมตร มีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนฐานซึ่งอยู่ติดกับโครงสร้างแข็ง ส่วนลำตัวรูปทรงกระบอกและส่วนปากที่มีหนวดล้อมรอบ ในตอนกลางวันปะการังจะเก็บตัวอยู่ในโครงแข็ง พอกลางคืนก็จะแผ่ขยายหนวดออกดักจับเหยี่อตัวเล็ก ๆ ที่ล่องลอยมากับกระแสน้ำ ปะการังตัวหนึ่ง ๆ เมื่อโตเต็มที่จะขยายพันธุ์โดยให้กำเนิดปะการังตัวเล็ก ๆ ซึ่งจะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ และไปเกาะจับกับบริเวณที่เป็นส่วนแข็งของท้องทะเล เช่นก้อนหิน จากนั้นปะการังก็จะเริ่มสร้างโครงสร้างที่เป็นหินปูนห่อหุ้มตัวไว้และขยายไปเรื่อย ๆ จนเจริญเติบตัวเป็นกลุ่มก้อนรูปทรงต่าง ๆ ตามประเภทของปะการังนั้น ๆ ในปีหนึ่ง ๆ กลุ่มประการังจะสามารถสร้างโครงสร้างหินปูนได้เพียง 6-7 มิลิเมตรเท่านั้น กิ่งก้านสาขาของปะการังที่เราเห็นยาวประมาณ 10 เซนติเมตร นั้นต้องใช้ระยะเวลายาวนาน 10-15 ปี นอกจากนี้ยังมีสิ่งมีชีวิตสำคัญ ที่อาศัยอยู่ในแนวประการังอี ได้แก่ 1. สาหร่ายเซลเดียว มีความสำคัญมากเพราะทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต เป็นอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น ตัวประการัง และแพลงก์ตอนต่อไป 2. หญ้าทะเล รากของทะเลจะยึดตะกอนหน้าดินเหนียวเข้าด้วยกัน จึงช่วยป้องกันการกัดเซาะหน้าดินใต้ทะเล และยังเป็นอาหารของเต่าทะเล ปลาบางชนิดพะยูน 3. ฟองน้ำ เป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีลักษณะรูปร่างและสีสันสวยงามแตกต่างกันไปฟองน้ำจะผลิตสารที่มีคุณค่าให้แก่เพรียง หญ้าทะเล และสัตว์น้ำอื่น ๆ นอกจากนั้นฟองน้ำบางชนิด ก็เป็นอาหารของคนเราด้วย 4. ปะการังอ่อน ปะการังประเภทนี้ จะไม่มีโครงร้างหินปูนแข็งห่อหุ้มภายนอก แต่จะสร้างอยู่ข้างในตัว และสามารถสะบัดไหวไปมาตามกระแสน้ำได้ ปะการังอ่อนนี้จะมีสีสันสวยงาม มีทั้งเป็นต้น เป็นกอ และเป็นแผ่น 5. กัลปังหา เป็นปะการังชนิดหนึ่งที่มีหลายสี รูปทรงแผ่เป็นกิ่งก้านสาขาคล้ายต้นไม้ก้านหนึ่ง ๆ อาจยาวตั้งแต่ 2-3 นิ้ว ไปจนถึงเป็นเมตร 6. ดอกไม้ทะเล เป็นสัตว์เล็ก ๆ มีรูปร่างทรงกระบอก ด้านล่างเป็นฐานยึดติดกับก้อนหินมีหนวดอยู่ด้านบน หนวดนี้จะมีเข็มพิษสำหรับจับปลา เล็ก ๆ กินเป็นอาหาร ดอกไม้ทะเลมีสีสวยงามมากตั้งแต่สีม่วง ชมพู เขียว น้ำเงิน แม้ดอกไม้ทะเลมีหนวดที่มีเข็มพิษ แต่ จะมีปลาชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดงดอกไม้ทะเลคือ ปลาการ์ตูนซึ่งจะคอยกินเศษอาหารต่าง ๆ ที่เหลือจากดอกไม้ทะเล 7. หนอนทะเล จะอาศัยอยู่ในแนวปะการังตามซอกหลืบ หรือตามรอยแตกของหิน มีรูปร่างสีสันสวยงามมาก หนอนทะเลเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประการังผุกร่อนกลายเป็นทรายเพราะการขุดโพรงปะการังเป็นที่อยู่อาศัย 8. สัตว์อื่น ๆ ที่อาศัยในแนวปะการัง ได้แก่ หอยชนิดต่าง ๆ เช่น หอยเบี้ย หอยมือเสือ และหอยสังข์แตร หมึกทะเล กุ้งและปู ปลาต่าง ๆ เช่นปลาสิงโต ปลานกแก้ว ปลาการ์ตูน ปลาเก๋า นอกจากนั้น ก็ยังมีพวกปลิงทะเล หอยเม่น ดาวทะเล ความสำคัญของแนวปะการัง 1. แนวปะการังบริเวณชายฝั่งและแนวปะการังแบบกำแพงจะทำหน้าที่ป้องกันชายฝั่งจากการกัดเซาะของคลื่น กระแสน้ำโดยตรง ถ้าไม่มีแนวปะการังนี้ชายฝั่งทะเลจะถูกคลื่นลมทะเลทำลายอย่างรุนแรงทุกครั้ง 2. แนวปะการังเป็นตัวสร้างทรายให้กับชายหาด โดยเกิดจากการสึกกร่อนของโครงสร้างหินปูนจากคลื่นลมและสัตว์บางชนิด 3. แนวปะการังเป็นแหล่งอาหารมนุษย์ เพราะมีสัตว์ที่อยู่ในแนวปะการังมากมายเช่น ปลาหมึก หอย กุ้ง แมงกะพรุน ฯลฯ 4. สารพิษบางอย่างซึ่งสัตว์ทะเลในแนวปะการังสร้างเพื่อป้องกันตัวเองนั้น สามารถนำมาสกัดใช้ทำยาได้ เช่น ยาต้านมะเร็ง เป็นต้น 5. แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตที่สวยงามใต้ท้องทะเล เป็นแหล่งท่องเมี่ยวที่สำคัญยิ่ง ลักษณะของปะการัง ปะการัง เป็นสัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง อาศัยอยู่ในโครงสร้างหินปูน มีลักษณะการดำรงชีพ 2 แบบ คือ อยู่ตัวเดียว หรืออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ปะการังพวกที่เจริญเติบโตในน้ำลึกจะมีลักษณะเป็นก้อนขนาดไม่ใหญ่ ส่วนปะการังที่เจริญเติบโตแบบรวมเป็นกลุ่มจะเกิดเป็นแนวปะการังขนาดใหญ่ ปะการังแต่ละตัวที่รวมกัน จะสร้างโครงสร้างในรูปของหินปูนเป็นรูปร่างต่าง ๆ กัน แล้วแต่ชนิดของปะการังนั้น ๆ การเจริญเติบโตของปะการังค่อนข้างช้ามาก ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิของน้ำ และแสงสว่าง โดยจะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีน้ำสะอาด สภาพท้องทะเลค่อนข้างแข็งหรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อยความเค็มของน้ำค่อนข้างสูง มีแสงสว่างมากพอควร อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 20-29 องศาเซลเซียส ปะการังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์จำนวนมาก อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพาะพันธุ์วางไข่และหลบภัย ปะการังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล การประมง และมีส่วนช่วยรักษาสภาพสมดุลธรรมชาติของชายฝั่ง ช่วยลดความรุนแรงของคลื่นที่กระทบต่อชายฝั่ง ความสวยงามของแนวปะการังช่วยในด้านพักผ่อนหย่อนใจและเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างดี สามารถนำรายได้มาสู่ท้องถิ่น รวมทั้งในปัจจุบัน ได้มีการค้นคว้าเพื่อสกัดสารเคมีต่าง ๆ จากปะการัง สัตว์ และพืชที่อยู่ในแนวปะการัง เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ถ้าหากปะการังถูกทำลายหรือตายไปจะต้องใช้เวลานานมากกว่าที่จะฟื้นตัวขึ้นมาได้ การอนุรักษ์ปะการัง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจกัน และจะต้องรู้จักใช้อย่างถูกวิธีการ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดการทำลาย เพื่อจะได้รับประโยชน์จากมรดกทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นจะสามารถมีส่วนร่วมกับส่วนราชการ หรือรวมตัวกันเพื่อดูแลรักษาแนวปะการังในท้องถิ่นของตนให้คงอยู่ได้ สาเหตุและผลกระทบปัญหาหารเสื่อมโทรมของแนวปะการัง การเสื่อมโทรมตามธรรมชาติ 1. คลื่นรุนแรงที่เกิดโดยลมพายุ 2. สัตว์ทะเลบางชนิดกัดกินปะการังเป็นอาหาร เช่น ปลานกแก้วกัดกินโครงแข็งของปะการัง 3. สัตว์ทะเลบางชนิดกินเนื้อเยื้อของแนวปะการัง เช่น ปลาดาวหนาม การเสื่อมโทรมของปะการังตามธรรมชาติ ไม่สร้างความเสียหายร้ายแรง เพราะปะการังสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ทันการทำลาย การเสื่อมโทรมจากการกระทำของมนุษย์ 1. การเก็บปะการังเป็นที่ระลึก ปะการัง 1 กิ่งที่ถูกหักเก็บไปเป็นของที่ระลึกนั้นต้องใช้เวลาสร้างนานนับร้อยปี 2. การทิ้งสมอเรือและถอนสมอในแนวปะการังเป็นการทำลายแนวปะการังที่รุนแรงที่สุดเพราะสมอเรือจะกระแทกครูดแนวปะการังให้แตกหักเสียหาย 3. การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนริมทะเล ทำให้น้ำทะเลขุ่น ไม่ใส่สะอาดเป็นเหตุให้ปะการังตาย 4. การระเบิดปลา เป็นการทำลายปะการังที่รุนแรง 5. การทิ้งขยะในทะเล เช่น ขวดแก้ว กระป๋อง ถุงพลาสติก ทำให้แนวปะการังเสียหาย แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว (Exponential) ทำให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้สนองความต้องการในการดำรงชีวิตมากยิ่งขึ้นทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่งบางครั้งเกินความจำเป็น จนทำให้ระบบนิเวศต่าง ๆ เสียสมดุล ทรัพยากรธรรมชาติบางอย่างเสื่อมโทรม ร่อยหรอหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงจนไม่สามารถเอื้อประโยชน์ได้เช่นเดิม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการ หรือมาตรการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมและมีเหตุผลเพียงพอ ทั้งนี้รวมไปถึงการควบคุมขนาดประชากรโลกให้มีความเหมาะสมกับทรัพยากรของโลก ขณะเดียวกันก็ต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามหัวข้อที่ 3.1.3นั้น ควรเน้นทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ 1 และ2 โดยมีมาตรการที่ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดไปทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ส่วนทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ 3 และ 4 ควรใช้กันอย่างประหยัดและเหมาะสม ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปควรใช้อย่างประหยัดที่สุด แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development-S.D.) WCED World Commission on Environment and Development ได้ให้ความหมายของการพัฒนา แบบยั่งยืนไว้ว่า เป็นการพัฒนา ที่สามารถตอบสนอง ต่อความต้องการขั้นพื้นฐาน ของคนในรุ่นปัจจุบัน เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ฯลฯ โดยไม่ทำให้ ความสามารถ ในการตอบสนอง ความต้องการดังกล่าว ของคนรุ่นต่อไปต้องเสียไป ("Development that meets the needs of the present without compromising the ability of Future generation to meet their own needs") ซึ่งเพื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นว่า S.D เป็นเรื่องเกี่ยวข้อง กับความเท่าเทียมกัน ของคนในปัจจุบันรุ่นเดียวกัน และความเท่าเทียมกัน ของคนระหว่างรุ่นปัจจุบัน และรุ่นต่อไป เป็นความเท่าเทียมกัน ที่มุ่งให้เกิดความยุติธรรม ในการกระจายความมั่งคั่ง (รายได้) และการให้ทรัพยากร ตลอดจนการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมโดย S.D. จะเกี่ยวข้องกับ ความสัมพันธ์ของระบบ 3 ระบบ คือ ระบบนิเวศ/สิ่งแวดล้อม ระบบเศรษฐกิจ และระบบสังคม มีเป้าหมายคือ การทำให้บรรลุเป้าหมายทั้ง 3 ระบบนี้ให้มากที่สุด เพื่อให้มีความเจริญเติบโต พร้อมกันจากคนในรุ่นปัจจุบัน และมีความยั่งยืน ไปจนถึงลูกหลานในอานาคต แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรโดยตรง ซึ่งย่อมจะต้องได้รับผลกระทบ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อม ถ้าหากพิจารณา ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้ว จะเห็นได้ว่า ล้วนเป็นเหตุมาจาก การเพิ่มจำนวนประชากร และการเพิ่มปริมาณ การบริโภคทรัพยากร ของมนุษย์เอง โดยมุ่งยกระดับมาตรฐาน การดำรงชีวิต และมีการผลิตเครื่องอุปโภคมากขึ้น มีการนำใช้ ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ก่อให้เกิดสารพิษ อย่างมากมาย สิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติ ไม่สามารถจะปรับตัวได้ทัน และทำให้ธรรมชาติ ไม่สามารถรักษาสมดุลไว้ได้ อันจะส่งผลต่อมนุษย์และโลกในที่สุด ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นนี้ จะเห็นได้ว่า เกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจในความเป็นจริง ของสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ ขาดความรู้ความเข้าใจ ในความเป็นจริงของชีวิต และองค์ประกอบอื่น ของความเป็นมนุษย์ โดยที่มนุษย์เอง ก็เป็นส่วนหนึ่ง ของสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ ดังนั้น การนำความรู้ ความเข้าใจ มาปรับปรุง พัฒนาการดำรงชีวิต ของมนุษย์ให้กลมกลืน กับสิ่งแวดล้อม จึงน่าจะเป็น มาตราการที่ดีที่สุด ในการที่จะทำให้มนุษย์ สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ อย่างมั่นคง มีความสอดคล้อง และสามารถกลมกลืน กับสิ่งแวดล้อมได้ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสิ่งแวดล้อมควรมีดังนี้ 1. การให้การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นให้ผู้เรียน ได้รู้จักธรรมชาติ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์อย่างแท้จริง โดยให้มีการศึกษาถึง นิเวศวิทยา และความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความรู้จริง ในการดำรงชีวิต ให้ผสมกลมกลืน กับธรรมชาติที่อยู่โดยรอบ ได้มุ่งสอน โดยยึดหลักศาสนา โดยสอนให้คนมีชีวิต ความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ทำลายชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่ในธรรมชาติด้วยกัน พิจารณาถึง ความเป็นไปตามธรรมชาติที่เป็นอยู่ ยอมรับความเป็นจริง ของธรรมชาติ และยอมรับความจริงนั้น โดยไม่ฝืนธรรมชาติ ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ อย่างสิ้นเปลืองน้อยที่สุด ทำให้เกิดทรัพยากรมนุษย์ ที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการ ของสังคมและประเทศชาติ ในการพัฒนา 2. การสร้างจิตสำนึกแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการทำให้บุคคล เห็นคุณค่าและตระหนัก ในสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ รวมทั้งผลกระทบ จากการทำกิจกรรม ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความรู้สึก รับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ระหว่างสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา การสร้างจิตสำนึก โดยการให้การศึกษา เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตใจ ของบุคคล และยังมีผลต่อ พฤติกรรม ของบุคคล ให้มีการเปลี่ยนแปลง การดำเนินชีวิต ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกลมกลืน กับธรรมชาติ 3. การส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยให้เอื้อต่อสิ่งแวดล้อม ดำรงชีวิต โดยสอดคล้องกับธรรมชาติ ซึ่งการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ที่เอื้อต่อสิ่งแวดล้อมนี้ จะเป็นสิ่งที่เกิดตามมา จากการให้การศึกษา และการสร้างจิตสำนึก ทำให้มีการดำรงชีวิต โดยไม่เบียดเบียนธรรมชาติ ความหมายและความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources conservation) หมายถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วยวิธีการฉลาดเหมาะสม โดยใช้อย่างประหยัด ให้เกิดประโยชน์และเกิดคุณค่ามากที่สุด รวมทั้งการปรับปรุงของเสียให้นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด(ทวี ทองสว่าง และทัศนีย์ ทองสว่าง, 2523 : 1 ) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาดให้เป็นประโยชน์ต่อมหาชนมากที่สุด และใช้เป็นเวลานานที่สุด ทั้งนี้ต้องให้สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติโดยเปล่าประโยชน์น้อยที่สุด และจะต้องกระจายการใช้ประโยชน์โดยทั่วถึงกันด้วย (สุรภี โรจน์อารยานนท์ , 2526 : 9) จากความหมายดังกล่าวของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะมีลักษณะของการจัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแต่ละประเภทอย่างฉลาด ทรัพยากรธรรมชาติชนิดใดหาอยาก หรือลดจำนวนน้อยลง ถ้านำมาใช้ประโยชน์อาจทำให้เกิดผลเสียหายได้ ในสภาพนี้จะต้องนำหลักของการสงวนมาใช้ และในการใช้อย่างประหยัดและพยายามเพิ่มปริมาณให้เพียงพอก่อนที่จะนำไปใช้ในอนาคตสิ่งที่สำคัญ คือ ควรหาวิธีการที่จะทำให้มี หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมและได้รับประโยชน์สูงสุด ควรคำนึงถึงหลักต่อไปนี้ 1. การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่นควบคู่กันไป เพราะทรัพยากรธรรมชาติต่างก็มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และส่งผลต่อกันอย่างแยกไม่ได้ 2. การวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด ต้องเชื่อมโยงกับการพัฒนา สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และคุณภาพชีวิตอย่างกลมกลืน ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศควบคู่กันไป 3. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทั้งประชาชนในเมือง ในชนบท และผู้บริหาร ทุกคนควรตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา โดนเริ่มต้นที่ตนเองและท้องถิ่นของตน ร่วมมือกันทั้งภายในประเทศและทั้งโลก 4. ความสำเร็จของการพัฒนาประเทศขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์และความปลอดภัยของทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นการทำลายมรดกและอนาคตของชาติด้วย 5. ประเทศมหาอำนาจที่เจริญทางด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศของตน ดังนั้นประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายจึงต้องช่วยกันป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจ 6. มนุษย์สามารถนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ แต่การจัดการนั้นไม่ควรมุ่งเพียงเพื่อการอยู่ดีกินดีเท่านั้น ต้องคำนึงถึงผลดีทางด้านจิตใจด้วย 7. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมแต่ละแห่งนั้น จำเป็นต้องมีความรู้ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จะให้ประโยชน์แก่มนุษย์ทุกแง่ทุกมุม ทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยคำนึงถึงการสูญเปล่าอันเกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วย 8. รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นและหายากด้วยความระมัดระวัง พร้อมทั้งประโยชน์และการทำให้อยู่ในสภาพที่เพิ่มทั้งทางด้านกายภาพและเศรษฐกิจเท่าที่ทำได้ รวมทั้งจะต้องตระหนักเสมอว่า การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มากเกินไปจะไม่เป็นการปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม 9. ต้องรักษาทรัพยากรที่ทดแทนได้ โดยให้มีอัตราการผลิตเท่ากับอัตราการใช้หรืออัตราการเกิดเท่ากับอัตราการตายเป้นอย่างน้อย 10. หาทาวปรับปรุงวิธีการใหม่ ๆ ในการผลิต และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งพยายามค้นคว้าสิ่งใหม่มาใช้ทดแทน 11. ให้การศึกาาเพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับวิธีการในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตินั้น ศิริพรต ผลสิทธุ์ (2531 : 196-197) ได้เสนอวิธีการไว้ดังนี้ 1. การถนอม เป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติทั้งปริมาณและคุณภาพให้มีอยู่นานที่สุดโดยพยายามใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพ เช่น การเลือกจับปลาที่มีขนาดโตมาใช้ในการบริโภค ไม่จับปลาที่มีขนาดเล็กเกินไป เพื่อให้ปลาเหล่านั้นได้มีโอกาสโตขึ้นมาแทนปลาที่ถูกจับไปบริโภคแล้ว 2. การบูรณะซ่อมแซม เป็นการบุรณะซ่อมแวมทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดความเสียหายให้มีสภาพเหมือนเดิมหรือเกือบเท่าเดิม บางครั้งอาจเรียกว่าพัฒนาก้ได้ เช่น ป่าไม้ถูกทำลายหมดไป ควรมีการปลูกป่าขึ้นมาทดแทน จะทำให้มีพื้นที่บริเวณนั้นกลับคืนเป็นป่าไม้อีกครั้งหนึ่ง 3. การปรับปรุงและการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการนำแร่โลหะประเภทต่าง ๆ มาถลุงแล้วนำไปสร้างเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะให้ประโยชน์แก่มนุยษ์เรามากยิ่งขึ้น 4. การนำมาใช้ใหม่ เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่ เช่น เศษเหล็ก สามารถนำกลับมาหลอม แล้วแปรสภาพสำหรับการใช้ประโยชน์ใหม่ได้ 5. การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นการนำเอาทรัพยากรอย่างอื่นที่มีมากกว่า หรือหาง่ายกว่า มาใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติที่หายากหรือกำลังขาดแคลน เช่น นำพลาสติกมาใช้แทนโลหะในบางส่วนของเครื่องจักรหรือยานพาหนะ 6. การสำรวจหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มเติม เพื่อเตรียมไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคต เช่น การสำรวจแหล่งน้ำมันในอ่าวไทย ทำให้ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว อีกทั้งช่วยลดปริมาณการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่าง 7. การประดิษฐ์ของเทียมขึ้นมาใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ชนิดอื่น ๆ ที่นิยมใช้กัน ของเทียมที่ผลิตขึ้นมา เช่น ยางเทียม ผ้าเทียม และผ้าไหมเทียม เป็นต้น 8. การเผยแพร่ความรู้ เป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่ และรัฐควรมีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการวางแผนจัดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรัดกุม 9. การจัดตั้งสมาคม เป็นการจัดตั้งสมาคมหรือชมรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ดังได้กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า น้ำมีความสำคัญและมีประโยชน์มากมายมหาศาล เราจึงควรช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำดังนี้ 1. การใช้น้ำอย่างประหยัด นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำลงได้แล้ว ยังทำให้ปริมาณน้ำเสียที่จะทิ้งลงแหล่งน้ำลดลง และป้องกันการขาดแคลนน้ำได้ด้วย 2. การสงวนน้ำไว้ใช้ ในบางฤดูหรือในสภาวะที่มีน้ำมากเหลือใช้ ควรมีการเก็บน้ำไว้ใช้ เช่น การทำบ่อเก็บน้ำ การสร้างโอ่งน้ำ การขุดลอกแหล่งน้ำ รวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร และพลังงานแล้วยังช่วยป้องกันการเกิดอุทกภัย ป้องกันการไหลชะล้างหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์และใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ 3. การพัฒนาแหล่งน้ำ ในบางพื้นที่ขาดแคลนน้ำ จำเป็นที่จะต้องหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ทั้งในครัวเรือนและในการเกษตรได้อย่างเพียงพอ ปัจจุบันการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กำลังแพร่หลายมาก แต่อาจมีปัญหาเรื่องแผ่นดินทรุด เช่นในบริเวณกรุงเทพ ฯ ทำให้เกิดดินทรุดได้ จึงควรมีมาตรการกำหนดว่าเขตใดควรใช้น้ำใต้ดินได้มากน้อยเพียงใด 4. การป้องกันน้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล และสารพิษลงในแหล่งน้ำ น้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ควรมีการบำบัดและขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ การวางท่อระบายน้ำจากบ้านเรือน การวางฝังการก่อสร้างโดยไม่ให้น้ำสกปรกไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง 5. การนำน้ำเสียกลับไปใช้ น้ำที่ไม่สามารถใช้ได้ในกิจการหนึ่ง เช่น น้ำทิ้งจากการล้างภาชนะอาหาร สามารถนำไปรดต้นไม้ โรงงานบางแห่งอาจนำน้ำทิ้งมาทำให้สะอาดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ การอนุรักษ์ทรัพยากรดิน ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพังทลายหรือการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินนั้น จะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ติดตามมา เช่น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้เกษตรต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาบำรุงดินเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล ตะกอนดินที่ถูกชะล้างทำให้แม่น้ำและปากแม่น้ำตื้นเขิน ต้องขุดลอกใช้เงินเป็นจำนวนมาก เราจึงควรป้องกันไม่ให้ดินพังทลายหรือเสื่อมโทรม ซึ่งสามารถทำได้โดยการอนุรักษ์ดินดังนี้ 1. การใช้ดินอย่างถูกต้องเหมาะสม การปลูกพืชควรคำนึงถึงชนิดของพืชที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของดิน การปลูกพืชและการไถพรวนตามแนวระดับเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน 2. การปรับปรุงบำรุงดิน การเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เช่น การใส่ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก การปลูกพืชตระกูลถั่ว การใส่ปูนขาวในดินที่เป็นกรด การแก้ไขพื้นที่ดินเค็มด้วยการระบายน้ำเข้าที่ดิน เป็นต้น 3. การป้องกันการเสื่อมโทรมของดิน ได้แก่ การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชบังลม การไถพรวนตามแนวระดับ การทำคันดินป้องกันการไหลชะล้างหน้าดิน รวมทั้งการไม่เผาป่าหรือการทำไร่เลื่อนลอย 4. การให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน การระบายน้ำในดินที่มีน้ำขังออก การจัดส่งน้ำเข้าสู่ที่ดินและการใช้วัสดุ เช่น หญ้าหรือฟางคลุมหน้าดินจะช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ปัจจุบันป่าไม้ถูกทำลายไปจำนวนมาก การทำลายป่าไม้นอกจากจะทำให้ปริมาณไม้ที่จะใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจลดลงโดยตรงแล้ว ยังเป็นผลที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอย่างมากมายอีกด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่าป่าไม้ช่วยทำให้อากาศชุมชื้นเพราะป่าไม้จะช่วยเก็บน้ำไว้ได้ ทำให้เกิดต้นน้ำลำธารและกระแสน้ำไหลไปตามปกติ ช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ช่วยทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ป่าไม้ยังช่วยทำให้เกิดพืชพันธุ์ไม้อื่นและสัตว์ป่า เนื่องจากต้นไม้จะนำคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศไปใช้ในปีหนึ่ง ๆ นับล้าน ๆ ตัน เมื่อป่าไม้ถูกตัดทำลายลงในอัตราที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เชื่อว่า พ.ศ. 2543 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมีปริมาณขึ้นอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ มีผลให้อุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้น ทำให้อากาศร้อนและแห้งแล้ง ดังนั้นการฟื้นฟูสภาพป่าไม้จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ด้วยความร่วมมือทั้งภาครัฐเอกชน และประชาชน โดยรัฐบาลต้องมีแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายด้านการจัดการป่าไม้ ซึ่งเกือบทุกประเทศทั้งในเอเชีย ยุโรปและสหรัฐอเมริกามีรากฐานอยู่บนความคิดที่สำคัญ 3 ข้อ คือ 1. Sustain yield concept ใจความสำคัญของมโนทัศน์นี้อยู่ที่ว่าอัตราการตัดไม้และอัตราการเจริญเติบโตของไม้ต้องสมดุลกันเพื่อให้มีผลผลิตของไม้ใช้ไปได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด 2. Multiple use concept วัตถุประสงค์การจัดป่าไม้ควรอยู่ในลักษณะอเนกประสงค์ ป่าไม้ไม่ใช่แหล่งไม้เท่านั้น แต่เป็นแหล่งสัตว์ป่า แหล่งนันทนาการ แหล่งน้ำทั้งยังสามารถรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและอัตราเพิ่มธาตุอาหารในน้ำที่เรียกว่า Eutrophication ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ต้องเป็นรากฐานสำคัญของการจัดการป่าไม้ด้วย 3. Long run policy นโยบายการจัดการป่าไม้ระยะยาวเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการจัดการป่าเพื่อประโยชน์ในระยะสั้นก็ไม่ต่างจากธุรกิจหรือกิจการอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่หวังผลกำไรมากในระยะสั้นโดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะติดตามมาในระยะยาว ป่าไม้มีอายุยืนยาวเป็นพันปี การจัดการป่าในรูปของสวนป่าโดยปลูกพืชโตเร็วเป็นแถวเป็นระยะ แต่ก็ขาดลักษณะนานาชนิดและความซับซ้อนของป่าเพราะเลือกปลูกพืชเพียงไม่กี่ชนิด การจัดการป่า โดยไม่คำนึงถึงลักษณะป่าเดิมเป็นความเข้าใจผิดอย่างหนึ่ง ดังนั้น ความคิดเกี่ยวกับการจัดการป่าที่ว่า The greatest good for the greatest number in the long run จึงควรเป็นนโยบายสำคัญของการจัดการป่าไม้ สำหรับประเทศไทยรัฐบาลได้กำหนดแนวนโยบายด้านการจัดการป่าไม้ดังนี้ 1. การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ 2. การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เกี่ยวกับงานป้องกันรักษาป่า การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสันทนาการ 3. การจัดการที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่น 4. การพัฒนาป่าไม้ เช่น การทำไม้ การเก็บหาของป่า การปลูกป่า การบำรุงป่าไม้ การค้นคว้าวิจัย และอุตสาหกรรม การบริหารทั่วไป การอนุรักษ์สัตว์ป่า 1. กฎหมาย กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าควรกว้างแต่รัดกุม เพื่อคุ้มครองชิวิตสัตว์ป่าให้ปลอดภัย กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าของไทยที่ใช้กันอยู่เป็นพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2535 ที่สำคัญคือการควบคุมดูแลให้เกิดการปฏิบัติของทุกคนบุคคลเป็นไปตามกฎหมาย 2. การควบคุมสัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร มาตรการนี้ใช้ปฏิบัติกันมากในระยะของการจัดการสัตว์ป่าในสหรัฐอเมริกา หลายครั้งที่มีการให้รางวัลสำหรับการฆ่าสัตว์ที่กินสัตว์อื่น 3. การพัฒนาที่อยู่อาศัย แนวทางการจัดการสัตว์ป่าที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือ เพิ่มที่อยู่อาศัย พร้อมกับปรับปรุงคุณภาพที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เพราะว่าไม่ว่าจะออกกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าควบคุมสัตว์ที่กินสัตว์ ขยายพันธุ์เทียม หรือนำสัตว์จากที่อื่นเข้ามาเลี้ยง สัตว์ป่าก็ยังคงอยู่ในอันตราย ถ้าขาดที่อยู่อาศัย 4. การรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างจริงจัง 5. การไม่ล่าสัตว์ป่า ไม่ควรมีการล่าสัตว์ป่าทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เพราะปัจจุบันสัตว์ป่าทุกชนิดได้ลดจำนวนลงอย่างมากทำให้ขาดความสมดุลทางธรรมชาติ 6. การป้องกันไฟป่า ไฟป่านอกจากจะทำให้ป่าไม้ สัตว์ป่าถูกทำลายแล้วยังเป็นการทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าด้วย 7. การปลูกฝังการให้ความรักและเมตตาต่อสัตว์อย่างถูกวิธี สัตว์ป่าทุกชนิดมีความรักชีวิตเหมือนกับมนุษย์ การฆ่าสัตว์ป่า การนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงไว้ในบ้านเป็นการทรมานสัตว์ป่าซึ่งมักไม่มีชีวิตรอด 8. การเพาะพันธุ์สัตว์ป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์หรือมีจำนวนน้อยลง ควรมีการเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการทดแทนและเร่งให้มีสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น การอนุรักษ์แร่ธาตุ ดังได้กล่าวมาแล้วถึงทรัพยากรแร่ธาตุในปัจจุบันซึ่งกำลังประสบปัญหาหากไม่มีการแก้ไข อาจทำให้แร่ธาตุหมดอย่างรวดเร็ว 1. การใช้แร่ธาตุอย่างประหยัด ในการทำเหมืองแร่บางอย่างนั้นบางทีทรัพยากรแร่ธาตุที่ได้มาอาจมีหลายชนิด ดังนั้นจึงควรจะพยายามใช้ให้คุ้มค่าทุกชนิด อย่างประหยัดและลดการสูญเปล่า 2. การสำรวจแหล่งแร่ ควรมีการเร่งรัดการสำรวจทรัพยากรแร่ธาตุให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า 3. การใช้แร่ชนิดอื่นทดแทน พยายามหาแร่ธาตุอื่น ๆ มาใช้ทดแทนแร่ที่ใช้กันมาก อาทิการใช้อลูมิเนียมแทนเหล็ก 4. นำแร่ที่ใช้แล้วกลับมาใช้อีก อาทิภาชนะเครื่องใช้ที่เป็นอลูมิเนียมบางอย่างที่หมดสภาพการใช้แล้วสามารถนำกลับมาหลอมใช้ใหม่ได้อีก 5. การจัดเก็บภาษีและค่าภาคหลวงแร่ ต้องให้สอดคล้องกับจำนวนแร่และราคาของแร่ด้วย การอนุรักษ์พลังงาน พลังงานเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เวลาในการเกิดยาวนาน ถ้ามนุษย์เราใช้พลังงานกันอย่างฟุ่มเฟือยก็จะทำให้พลังงานหมดไปอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เกิดการขาดแคลนพลังงานได้ ดังนั้นเราจึงควรอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้มีพลังงานใช้ในอนาคต โดยการ 1. ใช้พลังงานอย่างประหยัด เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าถ้าไม่ใช้ปิดสวิตช์ ถอดปลั๊กให้เรียบร้อย 2. หาแหล่งพลังงานทดแทนแหล่งพลังงานที่มีอยู่เดิม การอนุรักษ์ป่าชายเลน เพื่อให้การใช้พื้นที่ป่าชายเลนเหมาะสมและสอดคล้องกับการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ประโยชน์ การอนุรักษ์ป่าชายเลน ควรมีวิธีการดังนี้ 1. การใช้ประโยชน์อย่างยาวนาน ปัจจุบันพื้นที่ป่าชายเลน ได้ถูกทำลายลงอย่างมากโดยเฉพาะจากการตัดถนน การทำนากุ้ง ดังนั้นจึงควรมีมาตรการที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ป่าชายเลน 2. การปลูกป่า ควรมีการฟื้นฟูป่าชายเลนที่เสื่อมสภาพ การปลูกสร้างป่าชายเลนขึ้นใหม่ในบริเวณที่สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย 3. การใช้ป่าชายเลนอย่างผสมผสาน ในกรณีที่มีความต้องการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน ควรพิจารณาอย่างรอบคอบและใช้ให้คุ้มค่าในทรัพยากรที่มีอยู่ในบริเวณนั้นหลาย ๆ อย่างผสมผสานกันไป การอนุรักษ์ปะการัง 1. ไม่เก็บปะการังที่หักหรือเก็บขึ้นมาจากท้องทะเล ในแต่ละกิ่งแต่ละก้านนั้น หมายถึง ชีวิตนับร้อยนับพันชีวิตที่ต้องตายลงจากโครงสร้างของปะการังที่ต้องใช้เวลานับร้อยนับพันปีในการเจริญเติบโต และการเสื่อมสลายของปะการังนั้นนำไปสู่ผลของการเสื่อมสูญอาหารจากทะเลในอนาคต เพราะปะการังเป็นที่อยู่อาศัยของชีวิตจากท้องทะเล เราจึงไม่ควรเก็บ ซื้อปะการังมาเป็นของที่ระลึก หรือประดับตู้ปลา 2. ไม่ทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง การทอดสมอเรือในแนวปะการังเพื่อจอดเรือในแต่ละครั้งจะสร้างความเสียหายให้กับปะการัง ปัจจุบันได้มีการแก้ไขโดยการวางทุ่นเพื่อผูกเรือแทนการทอดสมอเรือ เพื่อการคุ้มครองปะการัง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยความช่วยเหลือทางวิชาการ จากมหาวิทยาลัยโรดส์ไอร์แลนด์ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดทำทุ่นเพื่อผูกเรือได้ประมาณ 2-3 ลำต่อทุ่น 3. ไม่ทิ้งขยะ นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้องไม่ทิ้งขยะและเศษสิ่งของลงท้องทะเล เพราะธรรมชาติจะสวยงามได้ตลอดไป ตราบเท่าเราไม่เข้าไปทำลาย การค้าขายปะการัง ในฐานะประชาชนในท้องถิ่นของเราให้หมดไป 4. นำเรือท้องกระจกเพื่อให้ดูปะการัง 5. ประชาสัมพันธ์ให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรปะการัง โดยให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้และคุณค่าของปะการังให้กับบุคคลทุกประเภท ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในการป้องกันและฟื้นฟูปะการัง 6. ส่งเสริมให้กลุ่มชุมชน องค์กรเอกชนสมาคมหรือชมรมการท่องเที่ยว ร่วมกันจัดกิจกรรมในเรื่องการรักษาความสะอาด เพื่อการคุ้มครองปะการัง

THE ENDOCRINE SYSTEM

THE ENDOCRINE SYSTEM Contents Hormones Evolution of Endocrine Systems Endocrine Systems and Feedback Mechanisms of Hormone Action ...