ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้อย่างไร ?
"ลักษณะทางพันธุกรรมที่ส่งผ่านจากพ่อแม่ไปยังลูกนั้นมีกระบวนการอย่างไร
และลักษณะทุกลักษณะที่ส่งไปยังลูก ส่งไปทุกลักษณะหรือไม่ และใครเป็นคนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อ แม่
ไปสู่ลูก"
ในอดีตมนุษย์รู้จักแต่เพียงว่าลักษณะต่าง ๆ
ของสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้
แต่ขาดความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน จนกระทั่ง เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล (Gregor Johann
Mendel) ได้ทดลองผสมพันธุ์พืช
ซึ่งนำไปสู่การค้นพบกฎการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เมนเดลมีวิธีการอย่างไร
จึงทำให้เขาค้นพบหลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
รายละเอียดเกี่ยวกับเกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล
Gregor Johann Mendel
Born | July 20, 1822 Hynčice, Austrian Empire |
---|---|
Died | January 6, 1884 (aged 61)Brno, Austria-Hungary |
Fields | Genetics |
Institutions | Abbey of St. Thomas in Brno |
Alma mater | University of Vienna |
Known for | Discovering genetics |
Religious stance | Roman Catholic |
ศึกษาเพิ่มเติม
ในปี ค.ศ.1900
หรือเมื่อประมาณ 16 ปี หลังจากที่เมนเดลได้สิ้นชีวิตลง มีนักวิทยาศาสตร์ 3 ท่านคือ
ฮิวโก เดอฟรีส์ , คาร์ล คอร์เรนส์และ อีริค ฟอน เชอร์มาค
ได้ค้นพบผลงานของเมนเดลที่ได้เสนอต่อสมาคมตั้งแต่ปี ค.ศ.1865
และนักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านนี้ต่างก็ได้ทดลองเพื่อพิสูจน์กฎของเมนเดลผลการทดลองสอดคล้องกับเมนเดล
ทุกประการ ไม่มีผู้ใดสามารถคัดค้านกฎของเมนเดลได้
และกฎของเมนเดลสามารถใช้ได้กับทั้งพืชและสัตว์จนกระทั่งในปัจจุบันนี้
ภาพที่ 1 แผนภาพแสดงการทดลองของเมนเดล
การทดลองของเมนเดล "มีเหตุผลอะไรบ้างที่เมนเดลเลือกถั่วลันเตาเป็นพืชทดลอง"
เหตุผลที่ทำให้การทดลองของเมนเดลประสบผลสำเร็จ จนตั้งเป็นกฎเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่มายัง ลูกหลานในชั่วต่อ ๆ มาได้เนื่องจากสาเหตุสำคัญสองประการคือ
ประการแรก เมนเดลรู้จักเลือกชนิดของพืชมาทำการทดลอง พืชที่เมนเดลใช้ในการทดลอง คือ ถั่วลันเตา ( Pisum sativum ) ซึ่งมีข้อดีในการศึกษาด้านพันธุศาสตร์หลายประการ เช่น
1. เป็นพืชที่ผสมตัวเอง (self- fertilized) ซึ่งสามารถสร้างพันธุ์แท้ได้ง่าย หรือจะทำการผสมข้ามพันธุ์ (cross-fertilized) เพื่อสร้างลูกผสมก็ทำได้ง่ายโดยวิธีผสมโดยใช้มือช่วย (hand pollination)
2. เป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องทำนุบำรุงรักษามากนัก ใช้เวลาปลูกตั้งแต่ปลูก จนถึงเก็บเกี่ยวภายในหนึ่งฤดูปลูก ( growing season ) หรือประมาณ 3 เดือน เท่านั้น และยังให้เมล็ดในปริมาณที่มากด้วย
3. เป็นพืชที่ มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่แตกต่างกันชัดเจนหลายลักษณะ ซึ่งในการทดลองดังกล่าว เมนเดลได้นำมาใช้ 7 ลักษณะด้วยกัน
ภาพที่ 2 ลักษณะโครงสร้างของถั่วลันเตา
ประการที่สอง เมนเดลรู้จักวางแผนการทดลอง โดย
1. เลือกศึกษาการถ่ายทอดลักษณะของถั่วลันเตาแต่ละลักษณะก่อน เมื่อเข้าใจหลักการถ่ายทอดลักษณะนั้น ๆ แล้ว เขาจึงได้ศึกษาการถ่ายทอดสองลักษณะไปพร้อม ๆ กัน
2. ในการผสมพันธุ์จะใช้พ่อแม่ พันธุ์แท้ ( pure line ) ในลักษณะที่ตรงกันข้ามกัน มาทำการผสมข้ามพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสมโดยใช้มือช่วย ( hand pollination )
3. ลูกผสมจากข้อ 2 เรียกว่าลูกผสมชั่วที่ 1 หรือ F1 ( first filial generation) นำลูกผสมที่ได้มาปลูกดูลักษณะที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร บันทึกลักษณะและจำนวนที่พบ
4. ปล่อยให้ลูกผสมชั่วที่ 1 ผสมกันเอง ลูกที่ได้เรียกว่า ลูกผสมชั่วที่ 2 หรือ F2 ( second filial generation) นำลูกชั่วที่ 2 มาปลูกดูลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร บันทึกลักษณะและจำนวนที่พบ
ภาพที่ 3 ผลการทดลองของเมนเดล
ภาพที่ 4 ลักษณะถั่วลันเตาที่เมนเดลศึกษา
แผนการการทดลองของเมนเดล
รุ่นพ่อแม่
|
พันธุ์แท้ (เมล็ดกลม) x พันธุ์แท้ (เมล็ดย่น)
|
ลูกรุ่น F1
|
ปลูก-บันทึกจำนวนและลักษณะที่ศึกษาทุกต้น
|
ลูกชั่วที่ 1 ผสมตัวเอง
|
F1 x F1
|
ลุกรุ่น F2
|
ปลูก-บันทึกจำนวนและลักษณะที่ศึกษาทุกต้น
|
เมนเดลได้ทำการทดลอง สร้างลูกผสมที่มีความแตกต่างกันทั้ง 7 ลักษณะสรุปได้ดังนี้
1. ลูกที่เกิดจากการผสมตรง (crossing) และการผสมแบบสลับพ่อแม่ ( reciprocal cross) จะมีลักษณะเหมือนกัน
2. ลูกผสม F1 ทุกต้นจะมีลักษณะเพียงลักษณะเดียวเท่านั้น ( ไม่เหมือนพ่อก็เหมือนแม่ ) เมนเดลเรียกลักษณะที่ปรากฏในลูกรุ่นที่ 1 นี้ว่าลักษณะเด่น
3. ลูกผสม F2 จะมีลักษณะที่ไม่ปรากฏในลูก F1 แสดงออกมาให้เห็นด้วย และเมนเดลเรียกลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่น F1 แต่ปรากฏในรุ่น F2 นี้ว่าลักษณะด้อย ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะมีอยู่ประมาณ 1 ใน 4 ของลูกทั้งหมด
ตารางที่ 16.1 แสดงผลการทดลองของเมนเดล
ลักษณะ
|
รุ่นพ่อแม่ (P)
|
ลักษณะของ F1
|
ลักษณะของรุ่น F2
|
อัตราส่วนของ F2
| ||
ความสูงของลำต้น |
สูง
|
เตี้ย
|
สูงทั้งหมด
|
สูง 787
|
เตี้ย 277
|
2.84 : 1
|
รูปร่างของฝัก |
อวบ
|
แฟบ
|
อวบทั้งหมด
|
อวบ 882
|
แฟบ 299
|
2.95 : 1
|
รูปร่างของเมล็ด |
กลม
|
ขรุขระ
|
กลมทั้งหมด
|
กลม 5,474
|
ขรุขระ 1,850
|
2.96 : 1
|
สีของเมล็ด |
เหลือง
|
เขียว
|
เหลืองทั้งหมด
|
เหลือง 6,022
|
เขียว 2,001
|
3.01 : 1
|
ตำแหน่งของดอก |
ดอกที่กิ่ง
|
ดอกที่ยอด
|
ดอกที่กิ่งทั้งหมด
|
ดอกที่กิ่ง 651
|
ดอกที่ยอด 207
|
3.14 : 1
|
สีของดอก |
ม่วง
|
ขาว
|
ม่วงทั้งหมด
|
ม่วง 705
|
ขาว 224
|
3.15 : 1
|
สีของฝัก |
เขียว
|
เหลือง
|
เขียวทั้งหมด
|
เขียว 428
|
เหลือง 152
|
2.82 : 1
|
ประเด็นในการพิจารณา เช่น
รุ่นพ่อแม่
|
เมล็ดกลม
|
X
|
เมล็ดย่น
|
---|---|---|---|
F 1
|
เมล็ดกลมทุกต้น
| ||
F 1 X F 1
|
เมล็ดกลม
|
X
|
เมล็ดกลม
|
F 2
|
เมล็ดกลม
|
:
|
เมล็ดย่น
|
จำนวน
|
5474
|
:
|
1850
|
เฉลี่ยคิดเป็นอัตราส่วน
|
3
|
:
|
1
|
1. ลักษณะที่ปรากฏในรุ่นพ่อ-แม่ บางลักษณะจะไม่ปรากฏในรุ่น F1 แต่จะกลับมาปรากฏอีกครั้งในรุ่น F2 มันเป็นไปได้อย่างไร
2. แสดงว่าลูก F1 ที่มีลักษณะเพียงลักษณะเดียว ย่อมจะไม่ใช่พันธุ์แท้ เหมือนรุ่นพ่อแม่ เพราะลูก F1 จะได้รับสเปอร์ม และ ไข่ ซึ่งมีแฟกเตอร์( factor )ที่ต่างกัน
สรุปผลการทดลองของเมนเดล
"ลักษณะต่าง ๆ ของถั่วลันเตาจะต้องมีหน่วยควบคุม เมนเดลเรียกหน่วยควบคุมนี้ว่า แฟกเตอร์ (factor) ซึ่งอยู่เป็นคู่และถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูก เช่น ลักษณะฝักสีเขียวจะมีแฟกเตอร์ควบคุมลักษณะฝักสีเขียว 2 แฟกเตอร์ และลักษณะฝักสีเหลืองมีแฟกเตอร์ควบคุม 2 แฟกเตอร์ รุ่น F1 แม้ว่าจะมีลักษณะของฝักสีเขียวและแฟกเตอร์ควบคุมลักษณะฝักสีเหลือง แต่จะมีแฟกเตอร์ใดแฟกเตอร์หนึ่้งปรากฎออกมา ลักษณะที่แสดงออกในรุ่น F1 จะเป็นลักษณะเด่น (dominant trait) เช่น ลักษณะฝักสีเขียว และลักษณะที่ไม่แสดงออกในรุ่น F1 แต่แสดงออกในรุ่น F2 เป็นลักษณะด้อย (recessive trait) เช่นลักษณะฝักสีเหลือง" ต่อมาในปี ค.ศ 1911 โจแฮนเซน( Johansen ) ได้เปลี่ยนจากคำว่า “ แฟคเตอร์ ” เป็นคำว่า ” ยีน ” ( gene ) แทน
ยีนที่ควบคุมลักษณะเด่น เรียกว่า ยีนเด่น (dominant gene)
ยีนที่ควบคุมลักษณะด้อย เรียกว่า ยีนด้อย (recessive gene)ยีนด้อยจะไม่แสดงออกเมื่อเข้าคู่กับยีนเด่น
ยีนที่ควบคุมลักษณะด้อย เรียกว่า ยีนด้อย (recessive gene)ยีนด้อยจะไม่แสดงออกเมื่อเข้าคู่กับยีนเด่น
การกำหนดตัวอักษรแทนยีน นิยมใช้ภาษาอังกฤษ
โดยตัวพิมพ์ใหญ่แทนยีนเด่น และตัวพิมพ์เล็กแทนยีนด้อย เช่น
ภาพที่ 16-6 ตำแหน่งของยีนบนฮอมอโลกัสโครโมโซม
จากการศึกษาสีของดอกถั่วลันเตาของเมนเดล ถ้าให้ P
เป็นยีนควบคุมลักษณะดอกสีม่วง และ p เป็นยีนควบคุมลักษณะดอกสีขาว ถั่วลันเตารุ่น
F1 ที่แสดงฝักสีม่วงทั้งหมด จะมีจีโนไทป์เป็น Pp นั่นคือ ยีน P
จะเ้ป็นแอลลีนกับยีน p แต่จะไม่เป็นแอลลีนกับยีนในตำแหน่งอื่น ๆ บนโครโมโซม
ดังภาพที่ 16.5 ดังนั้นการเข้าคู่กันของแอลลีน P และ p จะมี 3 แบบ คือ PP Pp และ
pp ดังนั้นต้นถั่วลันเตาที่เป็น PP และ Pp จะแสดงลักษณะเป็นดอกสีม่วง
ส่วนต้นที่เป็น pp จะแสดงลักษณะเป็นดอกสีขาว ยีนที่อยู่เป็นคู่กัน
เขียนด้วยสัญญลักษณ์แทนด้วยตัวอักษร เรียกว่า จีโนไทป์ (genotype) จีโนไทป์ที่มียีน 2 ยีนที่เหมือนกัน เช่น PP หรือ pp สภาพนี้เรียกว่า ฮอมอไซกัสยีน (homozygous gene) หรือ พันธุ์แท้ ซึ่งมี 2 แบบ คือ จีโนไทป์ที่มียีนเด่นทั้งหมดเรียกว่า ฮอมอไซกัสโดมิแนนท์ (homozygous dominant) และจีโนไทป์ที่มียีนด้อยทั้งหมด เรียกว่า ฮอมอไซกัสรีเซสสีพ (homozygous recessive) และจีโนไทป์ที่มียีน 2 แอลลีนที่ต่างกันมาเข้าคู่กัน เช่น Pp สภาพนี้เรียกว่า เฮเทอโรไซกัสยีน (heterozygous gene) หรือลูกผสม (hybrid)
ลักษณะที่ปรากฎที่เป็นการแสดงออกของยีน เรียกว่า ฟีโนไทป์ (phenotype)
หมายเหตุ สัญลักษณ์ในทางพันธุศาสตร์ไม่ได้มีการกำหนดตายตัวสัญลักษณ์ที่ใช้แทนยีน อาจเขียนได้หลายแบบ เขียนด้วยอักษรภาษาอังกฤษ เช่น T แทนยีนต้นสูง และนิยมใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวเดียวกันเช่นตัวพิมพ์ใหญ่ คือ T แทนยีนเด่น และตัวพิมพ์เ็ล็ก คือ t แทนยีนด้อย หรือใช้เคื่องหมายแทนสัญลักษณ์ เช่น + หรือ -
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับศัพท์ทางพันธุศาสตร์ที่ควรทราบในเบื้องต้น
-
1. hereditary traits
หมายถึงลักษณะที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้
2. genes หมายถึงส่วนของดี เอน เอ ที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม
3. genotype หมายถึงรูปแบบของยีนที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆทางพันธุกรรม
4. phenotype หมายถึงลักษณะที่ปรากฏออกมาให้เห็น
5. genome หมายถึงโครโมโซมทั้งหมดในเซลล์
6. alleles หมายถึง รูปแบบของยีนที่แตกต่างกันบน 1 ตำแหน่ง หรือ โลคัส
7. dominant หมายถึงลักษณะเด่นที่สามารถแสดงออกมาได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพโฮโมไซกัส หรือ เฮทเทอโรไซกัส
8. recessive หมายถึงลักษณะด้อย และจะแสดงออกมาได้เมื่ออยู่ในสภาพโฮโมไซกัสเท่านั้น
9. homozygous หมายถึง รูปแบบของยีนที่เหมือนกันเช่น AA, bb
10. heterozygous หมายถึง รูปแบบของยีนที่ต่างกันเช่น Aa , Bb
11. pure line หมายถึงพันธุ์แท้ ที่มีจีโนไทพ์ในสภาพโฮโมไซกัส
12. hybrid หมายถึงพันธุ์ลูกผสม ที่มีจีโนไทพ์ใสภาพเฮทเทอโรไซกัส
13. monohybrid cross หมายถึงการสร้างลูกผสมที่มีความแตกต่างกันหนึ่งลักษณะ
14. dihybrid cross หมายถึงการสร้างลูกผสมที่มีความแตกต่างกันทางสองลักษณะ
นางสาวยุวธิดา ผลชื่น ชั้นม.6/7 เลขที่33
ตอบลบนางสาว จิราภรณ์ สภา เลขที่ 29. ม.6/6
ตอบลบ