จากการศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล พบว่า อัตราส่วนระหว่างลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยของรุ่นที่ 2 เป็น 3:1
เมนเดลตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น อัตราส่วนดังกล่าวเมนเดลคงไม่ใช่คนแรกที่พบ แต่คนที่พบอัตราส่วนนี้ไม่สามารถอธิบายได้
เนื่องด้วยเมนเดลเป็นนักคณิตศาสตร์และสถิติ จึงนำกฎของความน่าจะเป็น (probability) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง เพื่ออธิบายอัตราส่วนของลักษณะเด่นและลักษณะด้อยที่เกิดขึ้นในรุ่น F2 ที่เกิดขึ้นดังภาพ
ภาพที่ 1 โอกาสของการออกหัว (ห) และออกก้อย (ก) จากการโยนเหรียญ 2 เหรียญ
(ที่มา : สสวท. ชีววิทยา เล่ม 4. 2554. หน้า8)
จากภาพที่ 1 การโยนเหรียญบาทขึ้นไปในอากาศแล้วปล่อยให้ตกลงพื้นอย่างอิสระ โอกาสที่เหรียญจะตกตกลงมาแล้วออกหัวและก้อยได้เท่ากัน ถ้าโยนเหรียญ 2 เหรียญพร้อมๆ กัน โอกาสที่จะเป็นไปได้มี 3 แบบ คือ
แบบที่ 1 ออกหัวทั้งสองเหรียญ
แบบที่ 2 ออกหัว 1 เหรียญ และออกก้อย 1 เหรียญ
แบบที่ 3 ออกก้อยทั้งสองเหรียญ
โดยมีอัตราส่วน แบบที่ 1 : แบบที่ 2 : แบบที่ 3 = 1 : 2: 1
กฎความน่าจะเป็น มี 2 ข้อ คือ
1. กฎการคูณ ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้พร้อมๆ กัน เหตุการณ์ใดๆ ที่ต่างเป็นอิสระต่อกันโอกาสที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นได้พร้อมกันมีค่าเท่ากับผลคูณของโอกาสที่จะเกิดขึ้นแต่ละเหตุการณ์ เช่น
เมล็ดกลมมีโอกาสปรากฎ 3/4
เมล็ดขรุขระมีโอกาสปรากฎ 1/4
เมล็ดสีเหลืองมีโอกาสปรากฎ 3/4
เมล็ดสีเขียวมีโอกาสปรากฎ 1/4
ดังนั้นโอกาสที่จะเกิด
เมล็กกลม-สีเหลือง = 3/4 x 3/4 = 9/16
เมล็ดกลม-สีเขียว = 3/4 x 1/4 = 3/16
เมล็ดขรุขระ-สีเหลือง = 1/4 x 3/4 = 3/16
เมล็ดขรุขระ-สีเขียว = 1/4 x 1/4 = 1/16
2. กฎการบวก ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้พร้อมกัน ความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ใด เหตุการณ์หนึ่ง หรือเหตุการณ์ที่สองจะเท่ากับความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่หนึ่งบวกด้วยความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สอง เช่น ในการโยนเหรียญ 1 เหรียญ โอกาสที่จะออกหัวเท่ากับ 1/2 โอกาสที่จะออกก้อยเท่ากับ 1/2 ดังนั้น โอกาสที่โยนเหรียญครั้งหนึ่งแล้วจะออกหัวหรือก้อยมีค่าเท่ากับ 1/2 + 1/2 = 1
ในกรณีของการผสมพันธุ์ถั่วลันเตารรุ่น F1 ซึ่งมีฟีโนไทป์เป็นฝักสีเขียวและจีโนไทป์เป็น Gg อาจเปรียบได้กับเหรียญที่มีหน้าหนึ่งเป็น G อีหน้าหนึ่งเป็น g การผสมระหว่างรุ่น F1 กับรุ่น F1 จึงเท่ากับการโยนเหรียญขึ้นไปในอากาศพร้อมๆ กัน 2 เหรียญ โอกาสที่ยีนในรุ่น F2 จะเข้าคู่กันได้เป็น 3 แบบ คือ GG Gg และ gg โดยมีอัตราส่วนเท่ากับ 1 : 2 : 1 และมีฟีโนไทป์ 2 แบบ คือ ฝักสีเขียวกับฝักสีเหลืองในอัตราส่วน 3 : 1
ดังนั้นปัญหาที่สงสัยว่าอัตราส่วนระหว่างลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยในรุ่น F2 เพราะเหตุใดจึงเท่ากับ 3 : 1 สามารถอธิบายด้วยกฎของความน่าจะเป็น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เมนเดลประสบความสำเร็จในการทดลอง
กฎแห่งการแยก (Law of Segregation)
จากการศึกษาทดลองของเมนเดลของถั่วลันเตาทั้ง 7 ลักษณะ ของรุ่น F1 และทำการศึกษาซ้ำอีกหลายรุ่นจนได้รุ่น F2 เป็นจำนวนหลายพันต้น โดยใช้กฎของความน่าจะเป็นในการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้สามารถคิดหลักกการพื้นฐานของพันธุศาสตร์ได้ เรียกว่า กฎแห่งการแยกและกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ
จากกฎของความน่าจะเป็นสามารถนำมาใช้อธิบายในเรื่องของอัตราส่วนของจีโนไทป์ของรุ่น F1 ได้อัตราส่วนดังกล่าวนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อยีน G กับ g จะต้องแยกจากกันไปสู่เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์ จึงเกิดเป็นกฎแห่งการแยก (law of segregation) ซึ่งเป็นกฎข้อที่ 1 มีใจความว่ีา "ยีนที่อยู่เป็นคู่จะแยกออกจากันในระกว่างการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเซลล์สืบพันธุ์แต่ลัเซลล์จะได้รับแอลลีนใดแอลลีนหนึ่ง" จากกฎข้อนี้สามารถทำนายลักษณะในรุ่น F1 ได้ เมื่อทราบจีโนไทป์ในรุ่นพ่อแม่ ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจในกฎข้อนี้่สามารถศึกษาได้จากแผนภาพแสดงการทดลองของเมนเดลดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 ยีนที่เป็นแอลลีนกันจะแยกไปอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์ตามกฎแห่งการแยก
(ที่มา : สสวท. ชีววิทยาเล่ม 4. 2554. หน้า 10)
จากภาพที่ 2 ให้นักเรียนอภิปรายจากคำถามต่อไปนี้
1. รุ่น F1 มีโอกาสสร้างสเปริ์มหรือเซลล์ไข่กี่ชนิด อะไรบ้าง รุ่น F2 มีจีโนไทป์ และฟีโนไทป์กี่ชนิด อะไรข้าง และอัตราส่วนเท่าใด
1. รุ่น F1 มีโอกาสสร้างสเปริ์มหรือเซลล์ไข่กี่ชนิด อะไรบ้าง รุ่น F2 มีจีโนไทป์ และฟีโนไทป์กี่ชนิด อะไรข้าง และอัตราส่วนเท่าใด
2. การเข้าคู่กันของยีนเป็นไปตามกฎของความน่าจะเป็นอย่างไร
จากภาพที่ 2 แนวอภิปราย
รุ่น F1 มีฟีโนไทป์เป็นฝักสีเขียวทั้งหมดและมีจีโนไทป์เป็น Gg รุ่น F2 มีฟีโนไทป์ 2 แบบ คือ ฝักสีเขียวและฝักสีเหลืองในอัตราส่วน 3: 1 แสดงว่าลักษณะฝักสีเหลืองลักษณะด้อยซึ่งควบคุมด้วยยีนด้อยที่แฝงอยู่ในรุ่น F1 และปรากฎออกำมาในรุ่น F2 ทำให้รุ่น F2 มีลักษณะเด่อนต่อลักษณะด้อยในอัตราส่วนเท่ากับ 3 : 1
สิ่งที่เมนเดลยังอธิบายไม่ได้คืออะไร
เมนเดลไม่ทราบว่ามีกลไกอะไรที่ทำให้ยีนที่เป็นคู่กันแยกออกจากกันในระหว่างที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ และยังไม่ทราบเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส แต่ด้วยความสามารถทางคณิตศาสตร์จึงทำให้เทนเดลพบกฎแห่งการแยก ซึ่งเป็นกฎที่สำคัญในวิชาพันธุศาสตร์ ในภายหลังจึงเป็นที่ทราบกันว่ายีนที่อยู่กันจะแยกออกจากันเมื่อมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส และเมื่อมีการปฏิสนธิจะเกิดการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์ ยีนจะกลับมาปรากฎเป็นคู่กันอีกครั้ง
แบบฝึกกิจกรรม เรื่อง พันธุศาสตร์ของเมนเดล
ให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และค้นหาคำตอบจากคำถามต่อไปนี้
1. จงเติมจีโนไทป์ของเซลล์ร่างกาย สภาพของ genotype แบบของยีนในเซลล์สืบพันธุ์และโอกาสของการเกิดเซลล์สืบพันธุ์แต่ละแบบ
ลงในตารางต่อไปนี้ให้สมบูรณ์
genotype ของเซลล์ร่างกาย
|
สภาพของ genotype
|
แบบของยีนในเซลล์สืบพันธุ์และโอกาสของการเกิด
|
WW
|
||
heterozygous
|
W และ w
|
|
Tt
|
||
aa
|
a
|
2. ถั่วลันเตาลักษณะเมล็ดสีเหลืองเป็นลักษณะเด่นต่อลักษณะเมล็ดสีเขียว
ในการผสมตัวเองของต้นที่มีลักษณะเมล็ดสีเหลืองที่เป็น heterozygous ทั้งคู่ จงหาร้อยละของลูก (F1) ที่ให้เมล็ดสีเขียว
3. ในแมลงหวี่ กำหนดให้ L เป็นยีนควบคุมลักษณะปีกยาวและ
l เป็นยีนควบคุมลักษณะปีกสั้น
เมื่อผสมแมลงหวี่ปีกยาวและปีกสั้น จะได้ลูกที่มีปีกยาวและลูกที่มีปีกสั้นในอัตราส่วน
1:1 จงหา genotype ของพ่อแม่ และลูก
4. เมื่อนำกระต่ายขนสีดำที่เป็น homozygous ผสมกับกระต่ายขนสีน้ำตาล ปรากฎว่าลูกที่เกิดมีขนสีดำทั้งหมด (สมมติให้ B และ b แทนแอลลีนคู่หนึ่งที่ควบคุมลักษณะสีขน)
4. เมื่อนำกระต่ายขนสีดำที่เป็น homozygous ผสมกับกระต่ายขนสีน้ำตาล ปรากฎว่าลูกที่เกิดมีขนสีดำทั้งหมด (สมมติให้ B และ b แทนแอลลีนคู่หนึ่งที่ควบคุมลักษณะสีขน)
4.1 ข้อมูลนี้บอกอะไรแก่เราบ้าง
4.2 genotype ของ F1 มีสภาพเป็น
homozygous หรือ heterozygous
4.3 ถ้านำรุ่น F1 ผสมกันเอง รุ่น F2
จะมี genotype ได้กี่แบบ อะไรบ้าง
และมีอัตราส่วนเท่าใด
4.4 ถ้านำรุ่น F1 ผสมกับรุ่นพ่อแม่ที่มีขนสีน้ำตาล ลูกที่ได้จะมีขนสีอะไรบ้าง
ในอัตราส่วนเท่าใด
5. ถ้า N แทนยีนที่ควบคุมลักษณะปีกปกติของแมลงหวี่
และ n แทนยีนที่ควบคุมลักษณะปีกสั้น
ในการผสมพันธุ์แมลงหวี่ที่มีปีกปกติคู่หนึ่ง ปรากฎว่ารุ่นลูกจำนวน 123 ตัว มีปกติ 88 ตัว และปีกสั้น 35 ตัว
5.1 ข้อมูลนี้บอกอะไรแก่เราบ้าง
5.2 จงเขียน genotype ของแมลงหวี่ในรุ่นพ่อแม่
5.3 เมื่อนำแมลงหวี่ปีกสั้นในรุ่นลูก
ผสมกับแมลงหวี่ปีกปกติในรุ่นพ่อแม่ จะได้ลูกมีลักษณะปีกเป็นอย่างไรบ้าง
คิกเป็นอัตราส่วนเท่าใดอธิบายเพิ่มเติม
"ในการผสมพิจารณาเพียงหนึ่งลักษณะ เหตุใดอัตราส่วนฟีโนไทป์ของรุ่น
F2 จึงมีลักษณะเด่นต่อลักษณะเท่ากับ 3 : 1
ผลการทดลองการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมในถั่วลันเตา
ทำให้เมนเดลพบว่ายีนหรือแฟคเตอร์ ทำหน้าที่เป็นหน่วยพันธุกรรม จะมีคุณสมบัติ
และลักษณะเฉพาะตัว ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพฮอมอไซกัส หรือเฮเทอโรไซกัส
คู่ยีนจะแยกกันอยู่อย่างอิสระ (ไม่เหมือนกับการผสมสี)
และอยู่ที่ ตำแหน่งเดียวกัน
จากผลการทดลองสร้างลูกผสมที่มีความแตกต่างกันหนึ่งลักษณะทั้ง 7 ลักษณะ และได้ผลการทดลองเหมือนกัน คือ ลูกผสมรุ่นที่
1 จะปรากฏเพียงลักษณะเดียว ลูกผสมรุ่นที่ 2 จะพบทั้งสองลักษณะ ในอัตราส่วนประมาณ 3 : 1
อัตราส่วนดังกล่าว จากการที่เมนเดลเป็นนักคณิตศาสตร์และสถิติ
จึงนำกฎความน่าจะเป็น (probability) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการทดลองเพื่ออธิบายผลการทดลองดังกล่าว
ทำให้เมนเดลเสนอ กฏการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมขึ้นมาหนึ่งข้อ คือ
กฎการแยกตัวของแฟคเตอร์
ตัวอย่าง ความน่าจะเป็น เช่น การโยนเหรียญบาทให้ตกลงพื้นอย่างอิสระ
โอกาสที่เหรียญจะตกลงมาแล้วออกหัวและก้อยได้เท่ากัน ถ้าโยนเหรียญ 2 เหรียญพร้อม ๆ กัน โอกาสที่เป็นไปได้มี 3 แบบ คือ
แบบที่ 1 ออกหัวทั้ง 2 เหรียญ
แบบที่ 2 ออกหัว 1 เหรียญ
และออกก้อย 1 เหรียญ
แบบที่ 3 ออกก้อยทั้ง 2 เหรียญ
โดยมีอัตราส่วน แบบที่ 1 : แบบที่ 2 : แบบที่ 3 = 1 : 2 : 1
เหรียญที่ 1
|
เหรียญที่ 2
|
||
หัว 1/2
|
ก้อย 1/2
|
||
หัว 1/2
|
หัว-หัว 1/2x1/2 =1/4
|
หัว-ก้อย 1/2x1/2=1/4
|
|
ก้อย 1/2
|
ก้อย- หัว 1/2x1/2=1/4
|
ก้อย-ก้อย 1/2x1/2=1/4
|
ในกรณีของการผสมถั่วลันเตารุ่น F1
ซึ่งมีฟีโนไทป์เป็นต้นสูง และมีจีโนไทป์เป็น Tt
อาจเปรียบได้กับเหรียญที่มีหน้าหนึ่งเป็น T อีกหน้าหนึ่งเป็น
t
กฎข้อนี้มีใจความสำคัญว่า “ลักษณะพันธุกรรมต่าง ๆ
จะมีแฟคเตอร์ หรือหน่วยเป็นตัวควบคุมลักษณะพันธุกรรม
และแฟคเตอร์นั้นจะต้องอยู่กันเป็นคู่ เมื่อมี
การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพื่อที่จะผสมพันธุ์กัน
แฟคเตอร์ที่อยู่เป็นคู่จะแยกตัวออกจากกัน และจะกลับมาปรากฏเป็นคู่อีกครั้งเมื่อมีการผสมพันธุ์กันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ที่แตกต่างกัน
” ดังเช่นการแยกตัวของยีนที่ควบคุมลักษณะสีของดอกถั่วลันเตา
จากภาพจะเห็นว่าโอกาสที่ยีนในรุ่น F2 การเข้าคู่กันได้เป็น 3
แบบ คือ PP Pp และ pp โดยมีอัตาส่วนเท่ากับ
1 : 2 : 1 และมีฟีโนไทป 2 แบบ คือ
ดอกสีม่วงกับดอกสีขาว ในอัตราส่วน 3 : 1
ปัญหาที่น่าสงสัย คือ อัตราส่วนระหว่างลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยในรุ่น F2
เหตุใดจึงเป็น 3 : 1 จึงสามารถอธิบายได้ด้วยกฎความน่าจะเป็น
จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เมนเดลประสบผลสำเร็จในการทดลอง
ปัญหาต่อมา คือ ยีน P และ p ในรุ่น
F1 ถูกนำไปยังรุ่น F2 ได้อย่างไร จึงทำให้ PP : Pp : pp มีอัตราส่วนเท่ากับ
1 : 2 : 1 อัตราส่วนดังกล่าวจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อยีน P และ p จะต้องแยกจากกันไปสู่เซลล์สืบพันธุ์
แต่ละเซลล์จึงเกิดเป็น กฎแห่งการแยก (Law of Segragation)
กฎแห่งการแยก (Law of Segragation) มีใจความว่า "ยีนที่อยู่เป็นคู่จะแยกออกจากกันในระหว่างการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
โดยเซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์จะได้รับเพียงแอลลีนใดแอลลีนหนึ่ง"
จากกฎข้อที่ 1 นี้
สามารถนำไปไปทำนายลักษณะพันธุกรรมในรุ่น F2 ได้
เมื่อรู้จีโนไทป์ของรุ่นพ่อแม่
ในขณะที่เมนเดลนำเสนอกฎนี้
เมนเดลไม่ทราบว่ามีกลไกอะไรที่ทำให้ยีนที่อยู่เป็นคู่กันแยกออกจากกัน
ในระหว่างที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
และยังไม่ทราบเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
แต่อาศัยที่มีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ทำให้เมนเดลพบกฎแห่งการแยกซึ่งนำมาใช้ในทางพันธุศาสตร์จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
และในภายหลังจึงมีการนำความรู้เรื่องการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสมาอธิบายการแยกออกจากันของยีนที่อยู่เป็นคู่ได้
และเมื่อเกิดการปฏิสนธิจะเกิดการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์
ยีนจะกลับมาปรากฎเป็นคู่กันอีกครั้ง
พืชแต่ละต้นจะมียีนควบคุมอยู่เป็นคู่ เช่น
ลักษณะของเมล็ดถั่วลันเตาจะมีอยู่ 2 อัลลีล (
เพราะลักษณะพันธุกรรม จะมียีนเป็นตัวควบคุมลักษณะ และยีนนั้นจะอยู่กันเป็นคู่)
แต่ละอัลลีลจะได้มาจากเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อ และแม่ และยีนนั้นจะอยู่กันเป็นคู่ แต่ละอัลลีลจะได้มาจากเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อ
และแม่
พ่อแม่ เมล็ดกลม X เมล็ดย่น
จีโนไทป์
AA
x aa
เซลล์สืบพันธุ์ A
a
F1 Aa
ลูก F1 ( ผสมตัวเอง )
Aa
x Aa
เซลล์สืบพันธุ์ A
, a A , a
ลูก F2
AA
Aa Aa
aa
อัตราส่วนฟีโนไทป์ F2
เมล็ดกลม : เมล็ดย่น = 3 : 1
จะเห็นได้ว่า อัตราส่วน 3 : 1 ที่พบในลูกรุ่นที่ 2
นั้นเกิดจากการที่ยีนที่ควบคุมลักษณะที่อยู่กันเป็นคู่ในรุ่นพ่อแม่รุ่นที่
1 ( Aa และ Aa ) จะแยกตัวออกจากกันในขณะที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
ทำให้เซลล์สืบพันธุ์มียีนอยู่ในสภาพเดี่ยว ( A ) และ ( a
) อย่างละครึ่งและเมื่อเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่มารวมกันเมื่อมีการปฏิสนธิ
(การรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์จะเป็นไปอย่างสุ่ม)
ยีนก็จะกลับมาอยู่กันเป็นคู่อีกในลูกรุ่นที่ 2 คือ Aa
, Aa และ aa อย่างละ 1/4 , 2/4 และ 1/4 ตามลำดับ
ซึ่งการทดลองตามแผนผังจะสอดคล้องกับผลการทดลองของเมนเดล
น.ส.ปาริชาติ มีมาชั้น ม.6/7เรียนชีวะง่วงมากเลยค่ะ
ตอบลบครูช่วยหาคลิปตลกมาเปิดช่วงพักเบรก จะได้ขำๆ
แล้วก็จะไม่ได้ง่วง