วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

4. อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต












กิจกรรมก่อนเรียน

ให้นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูล อภิปราย และสรุปผลในลำดับต่อไป
"นักวิทยาศาสตร์ใช้ลักษณะใดในการจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นอาณาจักร และจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นกี่อาณาจักร อะไรบ้าง ?"

สิ่งมีชีวิตที่พบในปัจจุบันมีบางลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เพราะสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน แต่มีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกัน เพราะมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมที่ดำรงชีวิตนักวิทยาศาสตร์จึงใช้ความคล้ายคลึงกันของสิ่งมีชีวิตในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้หลักฐานจากข้อมูงดังต่อไปนี้
               1. ซากดึกดำบรรพ์
               2. ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
               3. ความคล้ายคลึงกันของโครงสร้าง การทำงาน
               4. การเปรียบเทียบสารชีวโมเลกุล
               5. ความสัมพันธุทางสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

เดิมในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตใช้ลักษณะทางกายวิภาค ลักษณะทางสัณฐานวิทยา รวมทั้งสมบัติทางเคมี ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้นำข้อมูลการวิเคราะห์ลำดับเบสบนสาย DNA มาสร้างแผนภาพแสดงสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต พบว่าสามารถแบ่งสิ่งมีชีวิตในระดับที่เหนือกว่าอาณาจักรแยกออกเป็น 3 โดเมน (Domain) คือ แบคทีเรีย อาร์เคีย และยูคาเรีย ดังภาพ

ภาพแสดง  โดเมน (Domain) (ที่มา : http://www.ucmp.berkeley.edu/archaea/archaeasy.html)

            ให้นักเรียนศึกษาวีดิโอต่อไปนี้
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต
            การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต โดยแยกสิ่งมีชีวิตออกเป็นอาณาจักรต่าง ๆ ดังนี้

                1. อาณาจักรมอเนอรา
                           ความหลากหลายของแบคทีเรีย
                           1) อาณาจักรย่อยอาร์เคียแบคทีเรีย
                               1.1) กลุ่มยูริอาร์เคียโอตา
                               1.2) กลุ่มครีนาร์เคียโอตา
                            2.) อาณาจักรย่อยยูแบคทีเรีย
                               2.1) กลุ่มโพรทีโอแบคทีเรีย
                               2.2) กลุ่มคลาไมเดีย
                               2.3) กลุ่มสไปโรคีท
                               2.4) แบคทีเรียแกรมบวก
                               2.5) ไซนาโนแบคทีเรีย
                2. อาณาจักรโพรติสตา
                            ความหลากหลายของโพรติสตา
                            1) ดิโพลโมนาดิดา และพาราบาซาลา
                            2) ยูกลีโนซัว
                            3) แอลวีโอลาตา
                                3.1) ไดโนแฟลกเจลเลต
                                3.2) เอพิคอมเพลซา
                                3.1) ซิลิเอต
                            4) สตรามีโนพิลา
                                4.1) สาหร่ายสีน้ำตาล
                                4.2) ไดอะตอม
                            5) โรโดไฟตา
                            6) คลอโรไฟตา
                            7) ไมซีโทซัว
                3. อาณาจักรพืช
                            ความหลากหลายของพืช
                            1) กลุ่มพืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง
                                - ไฟลัมเฮปาโทไฟตา
                                - ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา
                                - ไฟลัมไบรโอไฟตา
                            2) กลุ่มพืชพืชมีเนื้อเยื่อลำเลียง
                                2.1) พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียงไม่มีเมล็ด
                                   - ไฟลัมไลโคไฟตา
                                   - ไฟลัมเทอโรไฟตา
                                2.2) พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียงที่มีเมล็ด
                                    2.2.1) พืชเมล็ดเปลือย
                                       - ไฟลัมไซแคโดไฟตา
                                       - ไฟลัมกิงโกไฟตา
                                       - ไฟลัมโคนิอเฟอโรไฟตา
                                    2.1.2) พืชดอก
                                       - ไฟลัมแอนโทไฟตา
                4. อาณาจักรฟังไจ
                            ความหลากหลายของฟังไจ
                            1) ไฟลัมไคทริดิโอไมโคตา
                            2) ไฟลัมไซโกไมโคตา
                            3) ไฟลัมแอสโคไมไมโคตา
                            4) ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา
                5. อาณาจักรสัตว์
                            ความหลากหลายของสัตว์
                            1) สัตว์ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง
                                  - ไฟลัมพอริเฟอรา
                            2) สัตว์มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง
                                2.1) สัตวที่มีสมมาตรแบบรัศมี
                                        - ไฟลัมไนดาเรีย
                                2.2) สัตว์ที่มีสมมาตรแบบด้านข้าง
                                       2.2.1) สัตว์ที่มีช่องปากแบบโพรโทเมีย
                                              2.2.1.1) ตัวอ่อนแบบโทรโคฟอร์
                                                   - ไฟลัมแพลทีเฮลมินทีส
                                                   - ไฟลัมมอลลัสกา
                                                   - ไฟลัมแอนนิลิดา
                                              2.2.1.2) ตัวอ่อนมีการลอกคราบ
                                                   - ไฟลัมนีมาโทดา
                                                   - ไฟลัมอาร์โทรโพดา
                                       2.2.2) สัตว์ที่มีช่องปากแบบดิวเทอโรสโทเมีย
                                             - ไฟลัมเอคไคโนเดอมาตา
                                             - ไฟลัมคอร์ดาตา

หมายเหตุ ไวรัสจัดเป็นสิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มที่ไม่สามารถจัดไว้ใน 5 อาณาจักรดังกล่าว
.......................................................................................
เอกสารอ้างอิงและแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือครูสาระ
การเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5. องค์การค้าคุรุสภา. กรุงเทพฯ. 2547.

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการค. หนังสือเรียนสาระ
การเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5. องค์การค้าคุรุสภา. กรุงเทพฯ. 2547.

Bauer, Penelope Hanchey, Magnoli, Micheal A., Alarez, Armand, Chang-Van Horn, Dorothy and
Gomes, Delilah Taylor. Experiences in Biology. Laidlaw Brothers Publishers. Illinois.
1977.



3 ความคิดเห็น:

  1. ให้จำคงไม่ได้ สุธิดา ดิษเจริญ เลขที่ 32 ม.6/7

    ตอบลบ
  2. อยากให้ครูสอนไปทีละอาณาจักร
    น.ส.จุฑามาศ สุนาพร ม 6/7 เลขที่ 12

    ตอบลบ
  3. ชื่อ น.ส.ปาริชาติ มีมา ชั้น ม.6/7 เลขที่30
    เยอะมากจำไม่ได้ค่ะ

    ตอบลบ

The Human Respiratory System

This system includes the lungs, pathways connecting them to the outside environment, and structures in the chest involved with moving air in...