ให้นักเรียนศึกษาวีดีโอต่อไปนี้ แล้วบันทึกสรุปรายงาน
อาณาจักรฟังไจ
Kingdom Fungi and Wonderful World of Fungi
ความหลากหลายของฟังไจ แบ่งออกเป็น 4 ไฟลัม ดังนี้
1. ไฟลัมไคทริดิโอไมโคตา (Phylum Chytridiomycota )
ไฟลัมไคทริดิโอไมโคตา มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาสัยเพศ โดยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์และสปอร์ที่มีแฟลเจลลาใช้ในการเคลื่อนที่ เป็นหลักฐานที่สนับสนุนว่าเป็นฟังไจกลุ่มแรกที่มีวิวัฒนาการมาจากโพรทิสต์ที่มีแฟลเจลลานั่นเอง ฟังไจกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นปรสิตในโพรทิสต์ พืช และสัตว์ เชื่อกันว่าเป็นสาเหตุทำให้สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมีจำนวนลดลงอย่างมาก
ไฟลัมไคทริดิโอไมโคตา มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาสัยเพศ โดยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์และสปอร์ที่มีแฟลเจลลาใช้ในการเคลื่อนที่ เป็นหลักฐานที่สนับสนุนว่าเป็นฟังไจกลุ่มแรกที่มีวิวัฒนาการมาจากโพรทิสต์ที่มีแฟลเจลลานั่นเอง ฟังไจกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นปรสิตในโพรทิสต์ พืช และสัตว์ เชื่อกันว่าเป็นสาเหตุทำให้สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมีจำนวนลดลงอย่างมาก
ภาพ ไคทริด (ที่มา : สสวท., 2548. หน้า 203)
ไฟลัมนี้มีสมาชิกเพียง
class เดียว คือ Chytridiomycetes
มีชื่อสามัญเรียก chytrids จัดเป็นสมาชิกกลุ่มเดียวของอาณาจักรฟังไจที่มีเซลล์ที่เคลื่อนที่ได้
(zoospores และ gametes) แต่ละเซลล์จะมี
flagellum แบบผิวเรียบ อยู่ด้านท้ายของเซลล์ สมาชิกส่วนใหญ่มีลักษณะดังนี้
1. ทัลลัส (thallus) มีโครงสร้างแบบ coenocytic รูปร่าง thallus อาจกลม รูปไข่ หรือเป็นเส้นสาย ที่ไม่ค่อยแตกสาขา
2. zygote
เจริญเป็น resting spore หรือ resting
sporangium หรือเจริญเป็น diploid thallus ( มีเพียง
order เดียวที่เจริญเป็น diploid thallus)
3. ผนังเซลล์เป็นสารพวก chitin และ glucan มีเพียงสปีชีส์เดียวที่มี cellulose ที่ผนังเซลล์
4. การแบ่งนิวเคลียสเป็นแบบ intranuclear และ centric
chytrids แบ่งตามลักษณะโครงสร้าง
somatic และ reproductive structure เป็น
order ต่าง ๆ ได้ 5 orders ดังนี้
1. Order Spitzellomycetales
2. Order Neocallimasticales
3. Order Chytridiales
4. Order Blastocladiales
5. Order Monoblepharidales
1.
Order Spitzellomycetales
Olpidium brassicae in
lettuce root
2.
Order Neocallimasticales
ภาพ strain
DW4 growing on sisal fiber; Different type of thalli, Neocallimastix sp.
Neocallimastix sp . (this isolate was obtained from a pond in Frederick , MD. )
3.
Order Chytridiales
4.
Order Blastocladiales
ภาพ Coelomomyces (a
fungal parasite) in the larvae of a mosquito (host).
(ที่มา : http://www.biology.science.cmu.ac.th/Mycology/Kingdom_Fungi/Kingdom_fungi.htm)
2. ไฟลัมไซโกไมโคตา (Phylum Zygomycota)
ไซโกไมโคตาเป็นฟังไจที่ดำรงชีวิตบนพื้นดิน
ตัวอย่างเช่น ราดำ (Rhizopus sp.) เป็นราที่ขึ้นบนขนมปัง
ราบางกลุ่มนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกรดฟูมาริก
เช่น Rhizopus nigricans
บางกลุ่มทำให้เกิดโรคราสนิม ราน้ำค้างในพืช
บางกลุ่มทำให้เกิดโรคราสนิม ราน้ำค้างในพืช
ฟังใจกลุ่มนี้ไฮฟาไม่มีเยื่อกั้นเซลล์
ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมจะมีการผสมพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้าง ไซโกสปอร์
(zygospore)
ภาพไซโกไมโคตา (ที่มา : สสวท., 2548. หน้า 204)
ฟังไจในไฟลัมนี้เป็น
lower fungi ( เช่นเดียวกับไฟลัม Chytridiomycota ) มี 2 classes คือ Zygomycetes และ Trichomycetes
Class Zygomycetes มีชื่อสามัญเรียก zygomycetes สร้าง zygosporangium
ที่มีผนังหนา ภายในมี zygospore 1 อัน จัดเป็น
resting spore ชนิดหนึ่ง zygospore เกิดจากการรวมกันของ
gametangium 2 อัน แบ่ง zygomycetes ออกเป็น
7 orders ตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาเป็นหลัก ดังนี้
1. Mucorales
2. Dimargaritales
3. Kickxellales
4. Endogonales
5. Glomales
6. Entomophthorales
7. Zoopagales
1.
Order Mucorales
มีหลายแฟมิลี Alexopoulos et al . (1996) บรรยายไว้ 14 families
Rhizopus stolonifer Mucor racemosus
Rhizopus stolonifer Mucor racemosus
ภาพ คลาสไซโกไมซีทีส (Class Zygomycetes)
2.
Order Dimargaritales
มีสมาชิกเพียง family เดียวคือ
Dimagaritaceae มี 4 genera
ภาพ D. arida แสดง
merosporangia ที่ภายในมี 2 สปอร์
3.
Order Kickxellales
มี family เดียวคือ Kickxellaceae ประกอบด้วยจีนัส Coemansia,
Kickxella และจีนัสอื่น อีก 6 จีนัส
ภาพ Coemansia mojavensis แสดง sporocladia และ merosporangia
Alexopoulos, et al. (1996)
4.
Order Endogonales
มี family เดียว คือ Endogonaceae มีสมาชิก 2 genera คือ Endogone และ
Sclerogone
ภาพ Endogone sp.
5.
Order Glomales
เดิมเป็นสมาชิกของ Endogonales มี 3 families คือ Gigasporaceae , Acaulosporaceae และ Glomaceae
ทั้งหมดมีสมาชิกรวมกัน 6 จีนัส
ภาพ Order Glomales
6.
Order Entomophthorales ประกอบด้วยกลุ่มที่เป็นพาราสิตของแมลง ซึ่งจัดว่าเป็นฟังไจกลุ่มที่มีผู้ศึกษากันมาก
มี 6 families 21 genera ตัวอย่างสปีชีส์เด่น ได้แก่ Entomophthora muscae , Basidiobolus ranarum และ Ballocephala
sp.
7.
Order Zoopagales สมาชิกใน order นี้ทุกชนิดเป็น predator มักพบอาศัยอยู่ร่วมกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก อมีบา หรือเป็น
mycoparasites ที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดของ host สูง โดยอาจเจริญอยู่ภายใน ( endogenously) หรือนอก (
exogenously) ตัว host ทาลลัสเป็นเส้นใยละเอียด
มี hausorium ซึ่งสามารถงอกส่วนที่คล้ายหมุดปลายแหลม มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้าง
gametangia และ zygospores หรือแบบไม่อาศัยเพศโดยการสร้าง
conidia บน aerial conidiophores หรือ sterigmata
( aerial conidiophores มีลักษณะแตกต่างจาก sterigmata อย่างไร?) conidia อาจถูกสร้างขึ้นเดี่ยว ๆ
หรือต่อกันเป็นโซ่ยาว
ตัวอย่างของสมาชิกใน
order นี้คือ Stylopage
rhynchospora ซึ่งดักจับอมีบาโดยการหลั่งสารซึ่งมีความเหนียวออกมาทางเส้นใย
เมื่อจับอมีบาได้แล้ว จะสร้าง haustoria แทงเข้าไปภายในตัวอมีบา
แล้วดูดซึมของเหลวในตัว (endoplasm) ของอมีบา
ในช่วงแรกจะยังไม่มีผลต่ออมีบา เพราะการไหลเวียนของ cytoplasm และการทำงานของ contractile vacuole ยังคงเป็นปรกติ จากนั้นส่วนที่เป็นของเหลวในตัวอมีบาจะลดน้อยลงเรื่อย
ๆ อมีบาจะหดตัวจนเป็นก้อนกลม และตายในเวลาต่อมา ในขณะที่ฟังไจมีการสร้าง conidia
และ zygospores
(ที่มา :
http://www.biology.science.cmu.ac.th/Mycology/Kingdom_Fungi/Kingdom_fungi.htm)
3. ไฟลัมแอสโคไมโคตา (Phylum Ascomycota)
ไฟลัมแอสโคไมโคตาเป็นฟังไจที่มีจำนวนมากที่สุด พบทั้งในทะเล แหล่งน้ำจืดและบนพื้นดิน มีรูปร่างทั้งเซลล์เดียวและหลายเซลล์ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้างแอสโคสปอร์ (ascospore) ในถุงเรียกว่า แอสคัส (ascus) ตัวอย่างของฟังไจกลุ่มนี้ได้แก่ ยีสต์ ไมเรล ทรัฟเฟิลและราแดง เป็นต้น
ไฟลัมแอสโคไมโคตาเป็นฟังไจที่มีจำนวนมากที่สุด พบทั้งในทะเล แหล่งน้ำจืดและบนพื้นดิน มีรูปร่างทั้งเซลล์เดียวและหลายเซลล์ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้างแอสโคสปอร์ (ascospore) ในถุงเรียกว่า แอสคัส (ascus) ตัวอย่างของฟังไจกลุ่มนี้ได้แก่ ยีสต์ ไมเรล ทรัฟเฟิลและราแดง เป็นต้น
(ที่มา : สสวท., 2548. หน้า 204)
โมเรล (morel)
และทรัฟเฟิล (truffle) เป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันมากในประเทศเขตหนาว
มีราคาแพงเนื่องจากมีรสชาติอร่อย และไม่สามารถเพาะพันธุ์ได้
ต้องเก็บจากในป่าใต้ต้นไม้ใหญ่ บางครั้งต้องใช้สัตว์ที่มีจมูกดี เช่น
สุนัขหรือสุกรช่วยในการค้นหา ในประเทศไทยทรัฟเฟิลพบได้ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีชื่อเรียกว่า เห็ดถอบหรือเห็ดเผาะ
ภาพ ทรัฟเฟิล หรือเห็ดเผาะ (ภาคอีสาน)
ทรัฟเฟิล
หรือเห็ดเผาะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Astreus hygrometricus
เห็ดเผาะเมื่อยังอ่อนมีลักษณะกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ผิวเรียบสีขาวนวล มีรอยเปื้อนดิน ไม่มีลำต้น ไม่มีราก เมื่ออายุมากขึ้นผิวนอกจะเป็นสีน้ำตาลหรือเกือบดำเนื้อเหนียว
เห็ดเผาะมีเปลือก 2 ชั้น
เมื่อเห็ดอายุมากขึ้นเปลือกชั้นนอกจะแตกออกเป็นแฉก 5-9 แฉก มีรอยแยกลึกลงไปถึงฐานดอก
จึงทำให้ดอกเห็ดมีรูปร่างเหมือนดอกไม้ เมื่อแห้งจะหุบเข้า ภายในเป็นถุงกลมสีขาวหม่น
ขนาด 1.3-3.4 เซนติเมตร ด้านบนแตกออกเป็นรูให้สปอร์ฟุ้งกระจายออกมา
สปอร์รูปกลมสีน้ำตาลผิวขรุขระ เป็นเห็ดพื้นบ้านที่ขี้นบางท้องที่โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บริเวณที่เป็นป่าโปร่ง เช่น ป่าสน ป่าแพะ เห็ดเผาะชอบขึ้นตามพื้นดินที่อยู่ใต้โคนไม้เต็ง
ไม้พะยอม หรือต้นไม้อื่นๆ ที่ถูกไฟเผาตามพื้นดินร่วนปนทราย ในช่วงฤดูฝน เฉพาะระยะที่อากาศร้อนอบอ้าวมากก่อนฝนตก
เส้นใยของราชนิดนี้จะดันผิวดินให้แตกออก เมื่อฝนตกมีความชื้นที่เหมาะสม
เห็ดเผาะจะโผล่ขึ้นมาพ้นผิว
Ascomycota จัดเป็นไฟลัมที่ใหญ่ที่สุด
จากข้อมูลในปี พ . ศ . 2544 พบว่า Ascomycetes มี 32,267 ชนิด (species), Basidiomycetes มี 22,244 ชนิด และพวกที่ไม่สร้างสปอร์แบบอาศัยเพศที่เรียกว่า
Mitosporic fungi อีก 14,104 ชนิด
แหล่งที่พบและความสำคัญ
แหล่งที่จะพบฟังไจในไฟลัมนี้มีหลายแหล่ง
และอาจพบได้ตลอดในช่วงปี คือ พบเจริญอยู่ทั่วๆ ไปในธรรมชาติ บางชนิดเป็นแซบโพรบในดิน
บางชนิดพบในน้ำ บางชนิดเจริญอยู่ใต้พื้นดินตลอดช่วงชีวิต เรียกว่า hypogean
บางชนิดอยู่ตามมูลสัตว์ เรียกว่า coprophilous fungi (dung
fungi) บางชนิดเป็นพวกพาราไซต์ ทำให้เกิดโรคในพืชและสัตว์ โดยเฉพาะพวกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจก็จะมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายมาก
ตัวอย่างเช่น โรคพืช stem rot of strawberry, foot rot of cereals, apple
scab, chestnut blight, brown rot of stone fruits, ear rot of corn และ powdery mildew เป็นต้น
ที่ลักษณะสำคัญของ
Ascomycota
1. สร้างเส้นใยที่เรียกว่า
hypha
2. มีระยะที่เป็น
asexual state สร้าง conidia หรือ conidiospore
เซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ เคลื่อนที่ ไม่ได้
3.
บางชนิดมีระยะ sexual state ตลอดวงจรชีวิต
ระยะที่สร้างสปอร์แบบอาศัยเพศที่เรียกว่า ascospore ภายในโครงสร้างที่คล้ายถุงที่เรียก
ascus
4. เส้นใยมีระยะที่เป็น
dikaryotic state (n+n) ช่วงสั้นกว่า basidiomycetes
5. มี
woronin body
6. ส่วนประกอบของผนังเซลล์ส่วนใหญ่เป็นไคติน
มีน้อยชนิดที่มีเซลลูโลส เป็นองค์ประกอบ
7. บางชนิดมี
ascocarp
Phylum Ascomycota แบ่งออกเป็น
I.
Class Archiascomycetes
ภาพ Schizosaccharomyces pombe
เป็น fission
yeast มีประโยชน์ในการนำมาผลิตโปรตีน จากการเพาะเลี้ยงในน้ำมันดีเซลและน้ำมันก๊าด
Order
Saccharomycetales
พบในอาหารที่มีน้ำตาลสูงๆ หรือในพืช ในน้ำหวานเกสรดอกไม้
ในดินและในน้ำ ตัวอย่าง เช่น ก. Saccharomyces cerevisiae ข. Candida albicans
เป็นยีสต์ที่ทำให้เกิดโรคในคน
(human pathogen) โรค “candidiasis” มีอาการลิ้นเป็นฝ้าขาว
oral thrush และการติดเชื้อบริเวณช่องคลอด (vaginal
thrush) เป็นต้น
2.
Filamentous Ascomycetes
เป็น ascomycetes
กลุ่มที่มีความหลากหลายมากที่สุด มีการพัฒนาส่วนที่เป็น sex
organ โดยเฉพาะส่วนที่เป็น female organ ที่เรียกว่า
ascogonium แต่ male gametangium ยังไม่พัฒนา
Order
Onygenales
ตัวอย่างได้แก่จีนัส
Arthroderma ทำให้เกิดโรคกลากหรือ “ring worm” ขี้กลากวงเดือน
Order
Eurotiales
( เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Plectomycetes )
3.
Pyrenomycetes
ได้แก่ Ascomycetes
ที่สร้าง ascocarp แบบ perithecia ตัวอย่างเช่น ก. Trichoderma ข.harzianum
Fusarium sp.
T.
viride ใช้ในการผลิต cellulose ทางการค้ามาเป็นเวลานาน
Fusarium สร้าง asexual fruiting body แบบ sporodochium ก. Chaetomium
globosum ข. Daldinia
concentric
4.
Ascomycetes with apothecia ก. Botrytis cinerea
ข. Monilinia fructicola on
apple
5.
Ascomycetes with ascostroma ก.Venturia
inaequalis ข. โรค apple scab
ภาพที่ 20-85
ก.Venturia
inaequalis ข. โรค apple scab
6.
Other filamentous Ascomycetes
Order Erisiphales
หรือเรียกว่าพวก powdery mildew ฟังไจในกลุ่มนี้
ก่อให้เกิดโรคที่มีลักษณะคล้ายผงแป้งบนส่วนต่างๆ ของพืช เช่น บนใบ จึงเรียกว่า powdery
mildew ก. Uncinuliella sp. ข. powdery
mildew
http://www.biology.science.cmu.ac.th/Mycology/Kingdom_Fungi/Kingdom_fungi.htm)
ฟังไจในไฟลัมนี้ได้แก่
เห็ดชนิดต่าง ๆ เช่น เห็ดโคน เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดหอม
ราสนิมและราเขม่าดำ ฟังไจในกลุ่มนี้มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้าง
เบสิดิโอสปอร์ (basidiospore) อยู่ทางด้านล่างของฟรุตติงบอดีขนาดใหญ่
ไมคอร์ไรซา (mycorrhiza) ก็จัดเป็นฟังไจกลุ่มนี้ด้วย เป็นฟังไจที่อยู่ร่วมกันแบบภาวะพึ่งพากันกับรากพืช
โดยโครงสร้างที่ประกอบด้วยเซลล์ของรากพืชและไฮฟาของฟังไจที่บริเวณรากพืช ไมคอร์ไรซาช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซึมแร่ธาตุของรากพืชจากดิน
ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับไมคอร์ไรซาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูก
บทบาทหน้าที่สำคัญของฟังไจกลุ่มนี้คือ
การย่อยสลายไม้ จึงจัดเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และยังสามารถย่อยสลายสารพอลิเมอร์แบบต่าง
ๆ เช่น ลิกนิน เป็นต้น นอกจากนี้ ราสนิมและราเขม่าดำยังเป็นปรสิตของพืชหลายชนิดอีกด้วย
ฟังไจแท้ในไฟลัมนี้มีชื่อสามัญว่า
basidiomycetes ประกอบด้วย เห็ดมีครีบ (gilled fungi,
mushroom) เห็ดโบลีตส์ (boletes tube fungi) เห็ดลูกฝุ่น
(puff balls) เห็ดดาวดิน (earthstars) เห็ดร่างแห
(stinkhorn) เห็ดรังนก (bird ‘s nest fungi) เห็ดวุ้น
(jelly fungi) เห็ดหิ้ง (bracket shelf fungi) ราสนิม (rust fungi) ราเขม่า (smut fungi) และกลุ่มที่ยังไม่มีชื่อสามัญอีกหลายชนิด
ภาพเห็ดโคนหรือเห็ดปลวก
แหล่งที่พบและความสำคัญ
Basidiomycetes เป็นฟังไจที่มีความสำคัญมากกลุ่มหนึ่ง ทั้งในแง่ที่มีประโยชน์ และในแง่ที่มีโทษก่อความเสียหายร้ายแรง
เช่น ราสนิมและราเขม่า ก่อความเสียหายให้กับผลผลิตทั่วโลก
รวมทั้งพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย basidiomycetes หลายสปีชีส์ดำรงชีวิตเป็น
ไมคอไรซา มีความสำคัญต่อธรรมชาติและระบบนิเวศของป่า ตัวอย่างฟังไจใน Phylum
นี้เช่น เห็ดรังนก เห็ดร่างแห เห็ดหิ้ง เห็ดปะการัง
ลักษณะสำคัญของ
Basiomycota
1. สร้างเส้นใยที่เรียกว่า hypha
ซึ่งเป็น septate hypha
2. มีระยะที่เป็น asexual state สร้าง conidia หรือ conidiospore เซลล์ เดียวหรือหลายเซลล์ เคลื่อนที่ไม่ได้
3. ระยะ sexual state สร้างสปอร์แบบอาศัยเพศที่เรียกว่า basidiospore บนเซลล์ที่มี ลักษณะคล้ายกระบองที่เรียกว่า basidium
4. เส้นใยมีระยะที่เป็น dikaryotic state (n+n) ช่วงยาว และยาวกว่า ascomycetes
5. ไม่พบ woronin body
6. ส่วนประกอบของผนังเซลล์ส่วนใหญ่เป็นไคตินและกลูแคน
7. บางชนิดมี basidiocarp
2. มีระยะที่เป็น asexual state สร้าง conidia หรือ conidiospore เซลล์ เดียวหรือหลายเซลล์ เคลื่อนที่ไม่ได้
3. ระยะ sexual state สร้างสปอร์แบบอาศัยเพศที่เรียกว่า basidiospore บนเซลล์ที่มี ลักษณะคล้ายกระบองที่เรียกว่า basidium
4. เส้นใยมีระยะที่เป็น dikaryotic state (n+n) ช่วงยาว และยาวกว่า ascomycetes
5. ไม่พบ woronin body
6. ส่วนประกอบของผนังเซลล์ส่วนใหญ่เป็นไคตินและกลูแคน
7. บางชนิดมี basidiocarp
ฟังไจในไฟลัม Basidiomycota ที่สำคัญได้แก่ Order / กลุ่ม ดังนี้
Order Agaricales
กลุ่ม Gasteromycetes
Order Aphyllophorale
Order Uredinales
Order Ustilaginales
กลุ่ม basidiomycetous yeast
กลุ่ม Gasteromycetes
Order Aphyllophorale
Order Uredinales
Order Ustilaginales
กลุ่ม basidiomycetous yeast
ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตใน กลุ่ม
basidiomycetous yeast
พบได้ทั่วไปในอากาศ
ผิวพืช สัตว์ คน อาจก่อโรคติดเชื้อในคนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
(ที่มา : http://www.biology.science.cmu.ac.th/Mycology/Kingdom_Fungi/Kingdom_fungi.htm)
บทบาทของฟังไจ
กิจกรรมก่อนเรียน
ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพื่อศึกษาบทบาทของฟังไจ
ทั้งในด้านประโยชน์และโทษของฟังไจชนิดต่าง ๆ โดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย โดยใช้ตัวอย่างคำถามเพิ่มเติมและคำถามในหนังสือเรียนซึ่งมีแนวคำตอบดังนี้
1. ฟังไจมีบทบาทต่อระบบนิเวศอย่างไร
?
คำตอบ มีบทบาทเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของสารคาร์บอน ไนโตรเจนและสารอื่น ๆ ในระบบนิเวศ
คำตอบ มีบทบาทเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของสารคาร์บอน ไนโตรเจนและสารอื่น ๆ ในระบบนิเวศ
2. ฟังไจชนิดใดบ้างสามารถนำมาใช้ทางด้านอุตสาหกรรม
?
คำตอบ ยีสต์นำมาใช้ทำขนมปังและผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ราแอสเพอจิลลัสใช้ผลิตกรดซิตริก ราเพนนิซิลเลียมใช้ผลิตยาปฏิชีวนะเพนิซิลลิน
3. นอกจากฟังไจยังมีสิ่งมีชีวิตใดอีกบ้างที่ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์
?
คำตอบ แบคทีเรียหลายชนิดสามารถดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์
คำตอบ แบคทีเรียหลายชนิดสามารถดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์
สรุปบทบาทของฟังไจ
ฟังไจดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์
ทำให้เกิดการหมุนเวียนของสารคาร์บอน ไนโตรเจนและสารอื่น ๆ ในระบบนิเวศ
ปัจจุบันได้นำฟังไจมาใช้ประโยชน์ทางการค้าและเศรษฐกิจหลายอย่าง เช่น นำไปย่อยสลายขยะมูลฝอยและสารอินทรีย์ต่าง ๆ และนำสารบางอย่างที่ยังมีประโยชน์กลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ยังมีการเพาะและนำเห็ดหลายชนิดมาประกอบอาหาร เช่น เห้ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดนางฟ้า เห็ดหอม เห็ดเป๋าฮื้อ เป็๋นต้น
ทางด้านอุตสาหกรรม ได้นำยีสต์มาใช้ทำขนมปัง และผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หลายชนิด เช่น เบียร์และไวน์ รวมทั้งการผลิตอาหารเสริมเพื่อเพิ่มวิตามิน B12 และผลิตกรดซิตริกจากรา Aspergillusniger
ทางการแพทย์ได้นำราเพนิซิลเลียม (Penicillium
sp.) มาผลิตยาปฏิชีวนะเพนิซิลลิน เพื่อใช้รักษาโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย
ปัจจุบันได้นำฟังไจมาใช้ประโยชน์ทางการค้าและเศรษฐกิจหลายอย่าง เช่น นำไปย่อยสลายขยะมูลฝอยและสารอินทรีย์ต่าง ๆ และนำสารบางอย่างที่ยังมีประโยชน์กลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ยังมีการเพาะและนำเห็ดหลายชนิดมาประกอบอาหาร เช่น เห้ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดนางฟ้า เห็ดหอม เห็ดเป๋าฮื้อ เป็๋นต้น
ทางด้านอุตสาหกรรม ได้นำยีสต์มาใช้ทำขนมปัง และผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หลายชนิด เช่น เบียร์และไวน์ รวมทั้งการผลิตอาหารเสริมเพื่อเพิ่มวิตามิน B12 และผลิตกรดซิตริกจากรา Aspergillus
ฟังไจไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
ที่เป็นปรสิตก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ในพืช เช่น โรคใบไหม้ในมันฝรั่ง โรคราน้ำค้างในองุ่น
โรคราสนิม เป็นต้น ราแอสเพอจิลลัส (Aspergillus flavus) ที่พบในเมล็ดถั่วและธัญพืชจะสร้างสารพิษอะฟราทอกซิน (aflatoxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในตับได้ ฟังไจบางชนิดสามารถนำสารพิษมาผลิตทอกซอยด์ (toxoid)
ใช้ในการรักษาโรคความดันเลือดสูง
ในคนและสัตว์มีฟังไจเป็นปรสิต และทำให้เกิดโรคประมาณ 50 สปีชีส์เท่านั้น แต่มีขอบเขตและควารุนแรงของโรคที่กว้าง เช่น โรคเชื้อราที่เท้า โรคราที่ปอดหรือเชื้อราที่เข้าไปเจริญในสมองซึ่งมีความรุนแรงถึงตายได้
นอกจากนี้ รายังมีผลต่อเศรษฐกิจโดยการทำให้อาหารและผลไม้เน่าเสีย และทำลายเครื่องใช้อุปกรณ์และสิ่งปลูกสร้างที่ทำจากไม้ โดยเฉพาะในบริเวณเขตร้อนชื้น ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของฟังไจ
ในคนและสัตว์มีฟังไจเป็นปรสิต และทำให้เกิดโรคประมาณ 50 สปีชีส์เท่านั้น แต่มีขอบเขตและควารุนแรงของโรคที่กว้าง เช่น โรคเชื้อราที่เท้า โรคราที่ปอดหรือเชื้อราที่เข้าไปเจริญในสมองซึ่งมีความรุนแรงถึงตายได้
นอกจากนี้ รายังมีผลต่อเศรษฐกิจโดยการทำให้อาหารและผลไม้เน่าเสีย และทำลายเครื่องใช้อุปกรณ์และสิ่งปลูกสร้างที่ทำจากไม้ โดยเฉพาะในบริเวณเขตร้อนชื้น ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของฟังไจ
กิจกรรมเสนอแนะ เห็ดเศรษฐกิจ
จุดประสงค์ของกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. สืบค้นข้อมูล
และนำเสนอข้อมูลการเพาะเลี้ยงเห็ด
2. ทำปัญหาพิเศษเพื่อศึกษาการเพาะเห็ด 1 ชนิด
3. เผยแพร่ข้อมูลการเพาะเห็ดให้แก่ผู้ที่สนใจ
2. ทำปัญหาพิเศษเพื่อศึกษาการเพาะเห็ด 1 ชนิด
3. เผยแพร่ข้อมูลการเพาะเห็ดให้แก่ผู้ที่สนใจ
ข้อกำหนดกิจกรรม ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเห็ดเศรษฐกิจชนิดต่าง
ๆ บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องและนำมาเสนอผลงานในรูปแบบปัญหาพิเศษ โดยศึกษาในประเด็นต่าง
ๆ ที่นักเรียนสนใจเช่น เห็ดกินได้หรือไม่ เห็ดในท้องถิ่น เห็ดกับเศรษฐกิจพอเพียง
แนวทางการจัดกิจกรรม นักเรียนได้เลือกศึกษาการเพาะเห็ดที่นักเรียนสนใจใคร่รู้
บันทึกข้อมูลและนำเสนอผลงานเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจต่อไป
.......................................................................................
เอกสารอ้างอิงและแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือครูสาระ
การเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5. องค์การค้าคุรุสภา. กรุงเทพฯ. 2547.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการค. หนังสือเรียนสาระ
การเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5. องค์การค้าคุรุสภา. กรุงเทพฯ. 2547.
Bauer, Penelope Hanchey, Magnoli, Micheal A., Alarez, Armand, Chang-Van Horn, Dorothy and
Gomes, Delilah Taylor. Experiences in Biology. Laidlaw Brothers Publishers. Illinois .
1977.
ชื่อ น.ส.ปาริชาติ มีมา ชั้น ม.6/7 เลขที่30
ตอบลบ