วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

6. สัตว์ป่า การสูญพันธุ์กับการอนุรักษ์

           6. สัตว์ป่า การสูญพันธุ์กับการอนุรักษ์

           มนุษย์ได้ประโยชน์จากธรรมชาติเสมอมาไม่ว่ายุคไหน สมัยไหน ได้ตั้งแต่ลืมตาดูโลก จนกระทั่งตายไป ได้เสียจนเคยชินจนไม่รู้จักคุณค่าของธรรมชาติ จึงใช้ประโยชน์จากธรรมชาติแบบไม่คุ้มค่า สัตว์กินอาหารเพียงเพื่อประทังชีวิต มีถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติเพียงเพื่อหลบภัยและดำรงชีวิต แพร่พันธุ์ถ่ายทอดไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานตามธรรมชาติ แต่มนุษย์ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติเกินความจำเป็นที่ต้องการ เป็นการใช้เพื่อความสะดวกสบาย ความสมบูรณ์พูนสุข ความมั่งคั่ง จนธรรมชาติให้ไม่ทัน ทุกครั้งที่มนุษย์ทำลายธรรมชาติ ทำลายระบบนิเวศ เช่น การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยหรือแผ้วถางบุกรุกป่าเพื่อทำไร่ ทำนา หรือด้วยสาเหตุอื่นอีกมากมาย ธรรมชาติต้องมีการปรับตัวโดยการสร้างระบบนิเวศขึ้นใหม่ ถ้าระบบนิเวศเดิมเป็นระบบนิเวศที่พัฒนาเต็มที่ย่อมต้องใช้เวลานานมาก ๆ ในการปรับตัวกว่าที่ระบบนิเวศที่เกิดใหม่จะฟื้นคืนสู่สภาพเดิมได้ การทำลายระบบนิเวศเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พืชและสัตว์สูญพันธุ์ ยิ่งถ้าเป็นพืชและสัตว์ชนิดที่มีจำนวนน้อยจะสูญพันธุ์ได้ง่ายกว่าชนิดที่มีจำนวนมาก สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วย่อมไม่มีทางที่จะแก้ไขให้มีขึ้นมาได้อีก และถ้ายิ่งมีพืชและสัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ไป การที่ระบบนิเวศ ที่เกิดใหม่จะฟื้นคืนสู่สภาพเดิมก็ยิ่งยากขึ้นเท่านั้น
           สถิติการสูญพันธุ์ของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จากอดีตถึงปัจจุบันมีอัตราเร็วขึ้นตลอดเวลา เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว มีอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ชนิดพันธุ์ต่อปี เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว อัตราการสูญพันธุ์เร็วขึ้นเป็น ชนิดพันธุ์ต่อชั่วโมง ในปัจจุบันคาดว่าอัตราการสูญพันธุ์เกิดขึ้นเร็วกว่า ชนิดพันธุ์ต่อชั่วโมง ถ้าอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตยังเร็วขึ้นเรื่อย ๆ อยู่อย่างนี้ ในที่สุดธรรมชาติก็จะไม่สามารถที่จะให้ประโยชน์ได้เพียงพอสำหรับความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ที่เรียกว่า Homo sapiens และในเวลานั้นก็จะถึงเวลาการสูญพันธุ์ของ H. sapiens ซึ่งอาจไม่ได้เป็นชนิดพันธุ์สุดท้ายของโลก
           การสูญพันธุ์ของสัตว์อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น สาเหตุจากการเกิดไฟป่า น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว เป็นต้น ประเทศไทยนับว่าประสบกับปัญหาจากภัยธรรมชาติน้อย การสูญพันธุ์ของสัตว์ส่วนใหญ่จึงไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการกระทำของมนุษย์แทบทั้งสิ้น
           ทรัพยากรพันธุ์สัตว์ที่เป็นสัตว์บกส่วนใหญ่ล้วนอยู่ในป่า ซึ่งเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ส่วนบริเวณที่มนุษย์สร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยจะมีสัตว์จำนวนน้อยชนิดซึ่งเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารหรือใช้แรงงาน ยิ่งในตัวเมืองที่มีคนอาศัยอยู่กันหนาแน่นแทบจะไม่มีสัตว์ให้เห็นเลย มีเพียงสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงไว้ดูเล่น เช่น สุนัข แมว นก ปลาสวยงาม เท่านั้น จนบางประเทศได้ผลิตสัตว์เลี้ยงอิเลคทรอนิค มีชื่อไม่คุ้นหูคนไทยออกมาจำหน่ายตามที่เคยเป็นข่าวอยู่บ่อย ๆ นับเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจเป็นอย่างยิ่งที่ผู้คนตามหัวเมืองใหญ่ ซึ่งนับว่ามีการศึกษาสูง มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ต้องเริ่มหันมาเลี้ยงสัตว์เลี้ยงดังกล่าว เมื่อถึงเวลากินอาหารแทนที่จะได้ให้อาหารตามธรรมชาติก็ให้พลังงานจากไฟฟ้าแทน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้มนุษย์ใกล้จะเป็นวัตถุมากขึ้นทุกที โดยเฉพาะจิตใจที่ขาดความอ่อนโยน ความเมตตากรุณา ความรู้สึกลึกซึ้งถึงคำว่า ชีวิต จึงควรที่จะมีการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ ให้การศึกษาแก่ประชาชน ให้รู้ถึงคุณค่าและความสำคัญในการที่จะต้องอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นด้วย นั่นหมายถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นแหล่งที่รวมความหลากหลายของพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ป่า เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสสัมผัสและเรียนรู้ชีวิตสัตว์ในธรรมชาติจริง ๆ ซึ่งจะมีผลทางด้านจิตใจ ทำให้รู้จักคุณค่าของชีวิตมากขึ้น
           จำนวนของสัตว์ชนิดต่าง ๆ ในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต พบว่าจำนวนลดลงมาก เรียกได้ว่าอยู่ในสภาพวิกฤต สัตว์บางชนิดเป็นสัตว์หายาก บางชนิดอยู่ในสภาวะที่ใกล้สูญพันธุ์ สัตว์หลายชนิดได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น สมันหรือเนื้อสมัน (Cervus schomburgkiซึ่งถือว่าเป็นกวางที่มีเขาสวยงามมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก พบเฉพาะในที่ราบตอนกลางของประเทศไทย แรด นกช้อนหอยดำ นกช้อนหอยใหญ่ นกกระเรียน สัตว์บางชนิดพบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น (Endemic speciesเช่น นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (White-eyed Rive-Martin, Pseudochelidon sirintaraeนกกินแมลงของเดกแนน (Deignan's Babbler, Stachyris rodolpheiเนื้อสมัน (Cervus schomburgki, Blyth, 1863) สัตว์ที่พบเฉพาะในประเทศไทยเหล่านี้ถ้าเกิดการสูญพันธุ์ไปย่อมหมายถึงการสูญพันธุ์ไปจากโลกทีเดียว สัตว์บางชนิดพบเฉพาะในสถานที่เพาะเลี้ยงเท่านั้น ไม่พบในธรรมชาติอีกแล้ว เช่น ละอง-ละมั่ง เนื้อทราย จระเข้น้ำเค็ม ตะโขง จำนวนของสัตว์ชนิดพันธุ์ต่างๆ ยังจะลดลงอย่างรวดเร็วต่อไป ตราบใดที่ผู้คนยังไม่ตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ จึงควรที่จะร่วมมือกันอย่างจริงจังในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
           สาเหตุที่ทำให้สัตว์สูญพันธุ์
           นอกเหนือจากสาเหตุทางธรรมชาติที่ทำให้สัตว์ชนิดต่างๆ สูญพันธุ์แล้ว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ แบ่งออกได้หลายประการดังนี้
           1. การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ จากการที่จำนวนประชากรในประเทศได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าเพื่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำการเกษตร ตัดถนนหนทางเพื่อการคมนาคม เป็นการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ป่า ทำให้พื้นที่ในการหาอาหารและขยายพันธุ์ลดลง สภาพนิเวศมีการเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบถึงโซ่อาหารและสายใยอาหาร เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สัตว์สูญพันธุ์
           2. การล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารและใช้ประโยชน์อื่น ๆ เช่น การล่าช้างเพื่อเอางามาทำเครื่องประดับ เครื่องใช้ การล่าแรดและเลียงผาเพื่อนำเอาเนื้อ หนัง เขา นอ มาทำยารักษาโรค เครื่องประดับ และเพื่อการค้า แต่เดิมมามนุษย์ล่าสัตว์เพื่อการยังชีพเท่านั้น การล่าสัตว์ใช้อาวุธธรรมดาไม่สลับซับซ้อน ต่อมามนุษย์ได้พัฒนาวิธีการล่าสัตว์ได้รวดเร็วขึ้น แม่นยำ ด้วยอาวุธที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่ ซึ่งอาวุธปืนและยานพาหนะหาได้ง่าย การล่าสัตว์ทำได้ง่ายขึ้น บางครั้งจึงล่าสัตว์เป็นการกีฬา และใช้ประโยชน์จากชีวิตของสัตว์เพื่อความบันเทิง และสร้างความร่ำรวยโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ระยะยาว จะเห็นได้จากการที่ประเทศไทยเคยส่งสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่าเป็นสินค้าออก เช่น หนังสัตว์ งาช้าง นอแรด เขาสัตว์ จนสัตว์เหล่านี้ลดจำนวนลงอย่างมากและรวดเร็ว
           3. การใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืชในการเกษตร มีผลทำให้สัตว์บางชนิดสูญพันธุ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบโดยตรง เช่น ทำให้แมลงกินพืชบางชนิดสูญพันธุ์ไป สัตว์บางชนิดได้รับผลกระทบทางอ้อมจากพิษภัยของสารเคมีที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมทำให้จำนวนลดลง เช่น นกที่กินแมลง ค้างคาวที่กินแมลงและผลไม้ สัตว์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ตามหนองน้ำ
           4. การกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการ อาทิ การนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงโดยไม่มีคู่ ทำให้ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ สัตว์ป่าบางชนิด เช่น ชะนีต้องฆ่าแม่ชะนีเพื่อเอาลูกชะนีมาเลี้ยง และสิ่งที่สำคัญก็คือการเลี้ยงสัตว์โดยที่ไม่ได้ศึกษาถึงชีววิทยาของสัตว์เหล่านั้นมาดีพอ ทำให้เลี้ยงไม่รอด โดยเฉพาะสัตว์ป่าหายากหรือชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ประชาชนจึงไม่ควรซื้อสัตว์ป่ามาเลี้ยง ทั้งนี้เป็นการป้องกันและยุติการนำสัตว์ป่ามาขายด้วย
           5. การขาดการวางแผนที่จะอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ต้องเริ่มตั้งแต่การให้ความรู้ ให้การศึกษาแก่ประชาชนทุกระดับ ให้เข้าใจถึงชีววิทยาและสภาพแวดล้อมของสัตว์เพื่อนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ การใช้ประโยชน์จากสัตว์และซากสัตว์อย่างรู้คุณค่า รวมไปถึงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ในระยะยาว ได้แก่ การจัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดต่างๆ รวมทั้งสัตว์ที่มีคุณค่าทางอาหารและเศรษฐกิจ
           พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
           พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 จากสถานการณ์ที่สัตว์ป่าต่าง ๆ ลดจำนวนลงมากทั้งจำนวนชนิดพันธุ์และจำนวนสัตว์แต่ละชนิด ทั้งๆ ที่รัฐบาลได้มีมาตรการในการคุ้มครองสัตว์ป่ามาเป็นเวลานานแล้วเริ่มจากการตราพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า ใน ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อควบคุมการจับ การล่าและฆ่าช้างเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรช้างป่า
           รัฐบาลในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงได้ออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้นอีก เรียกว่า พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2503 ตามความในพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้จำแนกสัตว์ป่าไว้เป็น หมวด ได้แก่ สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง
           สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หาได้ยาก บางชนิดมีจำนวนลดลงมากจนสูญพันธุ์ไป สัตว์ป่าสงวนได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายห้ามมิให้ผู้ใดล่า ยกเว้นเพื่อการศึกษาและวิจัยเท่านั้น
           สัตว์ป่าคุ้มครอง แบ่งออกได้เป็น ประเภท
           สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ หมายถึง สัตว์ป่าซึ่งตามปกติคนไม่กินเนื้อเป็นอาหาร ไม่ล่าเพื่อการกีฬาหรือเป็นสัตว์ป่าที่ทำลายศัตรูพืช หรือขจัดสิ่งปฏิกูล หรือเป็นสัตว์ป่าที่ควรสงวนไว้ประดับความงามตามธรรมชาติ
           สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ หมายถึง สัตว์ป่าซึ่งตามปกติคนกินเนื้อเป็นอาหาร หรือล่าเพื่อการกีฬา
           ในปัจจุบันสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครองทั้ง ประเภท บางชนิดมีจำนวนลดน้อยลงมาก จนจัดได้ว่าเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์
           การดำเนินการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าของภาครัฐบาลนับตั้งแต่ได้ออกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 แล้ว ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของสัตว์ป่าอยู่เสมอ ต่อมาจึงได้
           มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2515 เพื่อการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าตลอดจนรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการค้าพืชและสัตว์หายากขึ้นระหว่างประเทศต่าง ๆ จำนวน 96 ประเทศ ผลจากการประชุมได้กำหนดห้ามทำการค้าขายพืชและสัตว์จำนวน 675 ชนิด โดยเด็ดขาด เนื่องจากอยู่ในภาวะที่ใกล้จะสูญพันธุ์
           พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
           ได้มีการออกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้นมาใช้แทนพระราชบัญญัติฉบับเดิม มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 15 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับนี้มีการอนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะได้ เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองบางชนิดได้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ที่มีจำนวนน้อยและใกล้สูญพันธุ์ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อเป็นการเสริมรายได้ของประชาชน แต่ไม่มีผลกระทบที่จะทำให้สถานการณ์การสูญพันธุ์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มโทษต่อการกระทำความผิดให้สูงขึ้น ดังสาระสำคัญของกฎหมายตามที่ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริม การอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ได้รวบรวมไว้ ดังนี้
           ยกเลิกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 228 ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2515
           ยกเลิกใบอนุญาตต่าง ๆ ที่ออกตามพระราชบัญญัติเดิมทั้งหมด
           สำหรับกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติเดิมให้ใช้ ต่อไป หากไม่ขัดแย้งกับพระราชบัญญัติฉบับนี้จนกว่าจะมี กฎ ระเบียบ และประกาศฉบับใหม่ออกมาใช้บังคับ เช่น ชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเดิมยังคงให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่ไปก่อน
           คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เดิมมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน มีบทบาทมากขึ้น เช่น การออกกฎระเบียบต่าง ๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ
           ในส่วนของการอนุญาตต่าง ๆ เจ้าหน้าที่จะต้องรีบดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน หากไม่เสร็จให้ถือว่าอนุญาตไปโดยปริยาย ซึ่งพระราชบัญญัติเดิมไม่เคยบัญญัติไว้
           ผู้มีหน้าที่ควบคุมตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่ คือ กรมป่าไม้และกรมประมง (เดิมมีเพียง กรมป่าไม้) โดยกรมประมงมีอำนาจเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำ เท่านั้น
           มีการเพิ่มโทษให้สูงขึ้นจากเดิม
           ห้ามล่าสัตว์ป่าสงวนและคุ้มครองในทุกกรณี นอกจากล่าเพื่อการศึกษา หรือวิจัยทางวิชาการ ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ
           ห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง ยกเว้นชนิดที่ให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ
           ห้ามค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง รวมทั้งซากและผลิตภัณฑ์ของสัตว์ป่าเหล่านั้น ยกเว้นชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองที่กำหนดให้เพาะเลี้ยง และได้รับอนุญาตให้เพาะเลี้ยง
           ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ยกเว้นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่ กำหนดให้เพาะพันธุ์และผู้ดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะที่ได้รับอนุญาต
           การนำเข้าส่งออกสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์ตามความตกลงระหว่างประเทศ จะต้องได้รับอนุญาตจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
           การนำเคลื่อนที่สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครองและซาก ผ่านด่านตรวจสัตว์ป่า จะต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน
           การดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะจะต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน (จากอธิบดี)
           แนวปฏิบัติสำหรับผู้มีสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง
           ผู้ที่มีสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าโดยชอบด้วยกฎหมาย (มีใบอนุญาตให้ครอบครองหรือมีจำนวนไม่เกินกำหนดตามกฎหมายเก่า) หรือไม่ก็ตาม ให้ไปแจ้งการครอบครองต่อกรมป่าไม้ หรือป่าไม้อำเภอท้องที่ แล้วแต่กรณี ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใหม่มีผลบังคับใช้ และได้กำหนดแนวทางให้ปฏิบัติ ดังนี้
           ในกรณีที่มีสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
           สำหรับสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง จะตกเป็นของแผ่นดิน แต่ทางราชการอาจมอบสัตว์ป่านั้นให้กลับไปดูแลก็ได้ ตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงสวัสดิการความปลอดภัยของสัตว์ เป็นสำคัญ (นำมามอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่ต้องรับโทษ)
           สำหรับซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งและจด รายการแล้ว จะให้ผู้แจ้งครอบครองซากสัตว์ป่านั้นต่อไป ทั้งนี้ ห้ามนำไปจำหน่ายหรือมอบให้ผู้อื่น นอกจากจะเป็นการตกทอดทางมรดก
           ในกรณีที่มีสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องแจ้งภาย ใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ
           สัตว์ป่าสงวน ผู้เป็นเจ้าของจะต้องจำหน่ายสัตว์ป่าสงวนให้แก่ผู้ดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะภายใน 180 วันนับแต่วันแจ้ง สัตว์ป่าสงวนที่เหลือจากการจำหน่ายต้องมอบ ให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง (กรมป่าไม้หรือกรมประมง)
           ซากของสัตว์ป่าสงวน ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ครอบครองต่อไปได้ แต่ห้ามจำหน่ายหรือมอบให้ผู้อื่น นอกจากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี หรือเป็นการตกทอดทางมรดก
           สัตว์ป่าคุ้มครอง เมื่อได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบแล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้
           หากไม่ต้องการเลี้ยงดูต่อไป ให้จำหน่ายสัตว์ป่านั้นให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตให้ ดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครอง ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่แจ้ง หลังจากนั้นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เหลือจะตกเป็นของแผ่นดิน ต้องนำไปมอบให้หน่วยราชการ ที่เกี่ยวข้อง (กรมป่าไม้หรือกรมประมง)
           หากเจ้าของต้องการจะเลี้ยงดูต่อไป เจ้าหน้าที่จะไปตรวจสอบสภาพการ เลี้ยงดูว่าจะปลอดภัยแก่สัตว์หรือไม่ หากเห็นว่าเหมาะสมจะออกใบอนุญาตให้ครอบครองจนกว่าสัตว์นั้นจะตายไป หากสัตว์ป่าดังกล่าวเพิ่มจำนวนโดยการสืบพันธุ์หรือตายต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่
           หากเจ้าของต้องการจะเพาะพันธุ์สัตว์ป่านั้นต่อไป (หมายถึง สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้) ให้เจ้าของยื่นคำขอรับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ ภายใน 30 วัน
           ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่อยู่ในความครอบครองขอรับใบอนุญาตให้ค้าตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 เมื่อแจ้งแล้วจะต้องจำหน่ายซากนั้นให้หมดภายใน ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตให้ค้าซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว หลังจากนั้นซากสัตว์ป่าคุ้มครองที่เหลือจะต้องตกเป็นของแผ่นดิน
           แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่ในความครอบครองของผู้รับใบอนุญาตให้ค้าซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 คือ
           ถ้าเป็นชนิดที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ ให้ยื่นคำขอรับอนุญาตเพาะพันธุ์ภายใน ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
           ถ้าเป็นชนิดที่ไม่ได้อนุญาตให้เพาะพันธุ์ ให้จำหน่ายให้หมดภายใน ปี นับแต่วันที่ได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หลังจากนั้นจะต้องตกเป็นของแผ่นดิน (มีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับใหม่มีผลบังคับใช้หรือกฎกระทรวงฉบับใหม่มีผลบังคับใช้กรณีกำหนดชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองเพิ่มเติมขึ้น)
           สัตว์ที่พบเฉพาะในประเทศไทย
           สัตว์ที่พบเฉพาะในประเทศไทยไม่พบที่ไหนอีกแล้วในโลกมีจำนวนน้อย เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกันมีลักษณะภูมิอากาศใกล้เคียงกับประเทศไทย สัตว์มีการเดินทางข้ามพรมแดนไปมาได้เช่น กูปรี (Bos sauveli) ซึ่งพบในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน เป็นวัวป่าที่หาได้ยาก อาศัยอยู่ตาม ป่าเต็งรัง ป่าโปร่ง ทุ่งหญ้า พบอยู่ทางด้านใต้ของจังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ ได้สูญพันธุ์ไประยะหนึ่ง (บุญส่ง เลขะกุล, 2493) ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2521 นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล ได้รายงานว่าเคยมีกูปรีย้ายถิ่นมาจากเขมรเข้ามาหากินในป่าจังหวัดสุรินทร์ในฤดูฝน แต่เมื่อมีการตัดถนนเลียบชายแดนก็ไม่มีกูปรีเข้ามาในเขตไทยอีก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2525 กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ได้ตรวจพบรอยเท้ากูปรีที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งห่างจากชายแดนประมาณ กิโลเมตร แต่เมื่อติดตามรอยเท้าก็คาดว่ากูปรีได้อพยพข้ามชายแดนไปแล้ว ปัจจุบันไม่เคยมีใครพบอีกเลย
           สัตว์ที่พบเฉพาะในประเทศไทย มักมีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศไม่ชิดกับพรมแดนที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ตัวอย่างของสัตว์ในกลุ่มต่างๆ ที่พบเฉพาะในประเทศไทยมีดังนี้
           สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบเฉพาะในประเทศไทย มี ชนิด (ส่งศักดิ์ เย็นบุตร, 2532)
                           - ค้างคาวกิตติ (Craseonycteris thonglongyai)
                           - ค้างคาวมงกุฎหูโตมาร์แชล (Rhinolophus marshalli)
                           - ค้างคาวหน้ายักษ์จมูกปุ่ม (Hipposideros halophyllus)
                           - ค้างคาวท้องน้ำตาลสุราษฎร์ (Eptesicus demissus)
                           - หนูเขาหินปูน (Niviventer hinpoon)
                           - หนูพุก (Bandicota bangchakensis)
                           - หนูถ้ำ (Leopoldamys neilli)
                           - เนื้อสมัน (Cervus schomburgki)
           นกที่พบเฉพาะในประเทศไทย มี ชนิด (อู่แก้ว ประกอบไวทยกิจ บีเวอร์, 2532)
                           - นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (White - eyed Rive-Martin, Pseudochelidon sirintarae)
                           - นกกินแมลงของเดกแนน (Deignan's Babbler, Stachyris rodolphei)
           ในปัจจุบันสัตว์ที่พบเฉพาะในประเทศไทยบางชนิดได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น เนื้อสมัน (Cervus schom- burgki) บางชนิดเป็นสัตว์ที่หาได้ยากและใกล้ที่จะสูญพันธุ์ เช่น นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ทั้งเนื้อสมันและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
           สัตว์เลื้อยคลานที่พบเฉพาะในประเทศไทย มี 31 ชนิด (จารุจินต์ นภีตะภัฏ, 2532)
ตารางที่ 6  สัตว์เลื้อยคลานที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ มี 29 ชนิด ดังนี้
ชนิด
การแพร่กระจาย
สภาพที่อยู่
1. เต่าปูลู
N, NE (N), W
ป่าดิบเขา
2. เต่ากระอาน
S
ป่าชายเลน
3. เต่าจัน
N, NE (N)
ป่าดิบเขา
4. เต่าจักร
S
ป่าดิบชื้น
5. เต่าเดือย
N, W, NE (N)
ป่าดิบเขา
6. เต่าหัวโต
S
ทะเล
7. เต่าตนุ
S, SE
ทะเล
8. เต่ากระ
S, SE
ทะเล
9. เต่าสาหร่ายตาแดง
S, SE
ทะเล
10. เต่ามะเฟือง
S, SE
ทะเล
11. ตะพาบม่านลาย
W
แม่น้ำ
12. จระเข้น้ำเค็ม
S, SE
แม่น้ำทะเล
13. จระเข้น้ำจืด
C, NE (S), W,S (N)
แม่น้ำบึง
14. จระเข้ปากกระทุงเหว
S
แม่น้ำบึง
15. ตุ๊กแกเขาหินทราย
NE
ภูเขาหินทราย
16. จิ้งจกดินข้างดำ
NE
ภูเขาหินปูน
17. กิ้งก่าพม่า
N
ป่าดิบเขา
18. กิ้งก่าบินปีกห้าแถบ
S
ป่าพรุน้ำจืด
19. กิ้งก่าดงคิ้วสัน
S
ป่าดิบชื้น
20. จิ้งเหลนด้วงหางลาย
W
ป่าผลัดใบ
21. จิ้งเหลนเรียวลาย
N, NE (N)
ป่าดิบแล้ง
22. จิ้งเหลนเรียวโคราช
NE
ป่าดิบแล้ง
23. จิ้งเหลนภูเขาเขมร
NE, SE
ป่าดิบแล้ง
งูหลามปากเป็ด
S
ป่าดิบชื้น
26. งูลายสอสองสี
N
ป่าดิบแล้ง
27. งูลายสอหมอบุญส่ง
NE, (N)
ป่าดิบแล้ง
28. งูท้องขาว
S (S)
ป่าดิบชื้น
29. งูปาล์ม
S
ป่าดิบชื้น
           สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่พบเฉพาะในประเทศไทย มี 13 ชนิด
ตารางที่ 7 สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ มี ชนิด ดังนี้
ชนิด
การแพร่กระจาย
สภาพที่อยู่
1. กะท่าง
N, NE (N)
ป่าดิบเขา
2. อึ่งกรายพม่า
N, W, S (N)
ป่าดิบเขา
3. คางคกห้วยไทย
S
ป่าดิบชื้น
4. กบท่าสาร
S
ป่าดิบชื้น
5. กบตะนาวศรี
W, S
ป่าดิบแล้ง
6. กบดอยช้าง
N
ป่าดิบเขา
7. กบอกหนาม
SE
ป่าดิบชื้น
8. กบเกาะช้าง
SE
ป่าดิบชื้น
           สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย
           Bain และ Humphrey ได้ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2523 ได้จัดสัตว์ป่า 49 ชนิด เป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ซึ่งในจำนวน 49 ชนิด แบ่งประเภทตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ได้เป็นสัตว์ป่าสงวน 9 ชนิด สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ จำนวน 30 ชนิด สัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ จำนวน ชนิด และที่ไม่ได้จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองอีก ชนิด ในปี พ.ศ. 2528 ปราโมทย์ สายวิเชียร ศึกษาพบว่ามีสัตว์ป่าอีก ชนิด ที่อยู่ในสภาวะที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากถูกคุกคามจากมนุษย์ ได้แก่ เห่าช้าง ตุ๊ดตู่ และไก่ฟ้าหางลายขวาง จึงรวมเป็น 52 ชนิดด้วยกัน
           ในปัจจุบัน จำนวนของสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์มีเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ Bain และ Humphrey ได้ศึกษาเอาไว้มาก จากสถิติการสำรวจพันธุ์สัตว์ครั้งล่าสุดที่ประเทศไทยได้นำเสนอต่อที่ประชุมสหประชาชาติ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 รวมทั้งข้อมูลจากการสัมมนาชีววิทยาครั้งที่ เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ 2532 รวบรวมได้ว่าในจำนวนพันธุ์สัตว์ทั้งหมดในประเทศไทย ประกอบด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 282 ชนิด จัดอยู่ใน 14 อันดับ 42 วงศ์ ชนิดที่มีมากที่สุด ได้แก่ ค้างคาวมี 110 ชนิด รองลงมาได้แก่สัตว์ฟันแทะมี 71 ชนิด ปลาน้ำจืด 650 ชนิด ปลาน้ำเค็ม 2,000 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 107 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 298 ชนิด นก พบในประเทศไทย 916 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นนกที่มีการผสมพันธุ์ในประเทศถึง 638 ชนิด อาจมีนกที่สูญพันธุ์ไปแล้วถึง 190 ชนิด ส่วนชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์มีจำนวนถึง 93 ชนิด
           รายชื่อของสัตว์ที่หาได้ยากและใกล้ที่จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย ได้แก่
           สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ มี 40 ชนิด ดังนี้
                      Order Chiroptera
                      Fam. Craseonycteridae
                      Kitti's Hog-nosed Bat Craseonycteris thonglongyai Hill. 1974
                      Fam Rhinolophidae
                      Marshall's Horseshoe Bat Rhinolophus marshalli Thonglongya. 1973
                      Disc-nosed Roundleaf Bat Hipposideros halophyllus Hill and Yenbutra. 1984
                      Fam. Vespertilionidae
                      Surat Serotine Eptesicus demissus Thomas. 1916
                      Order Primates
                      Fam. Hylobatidae
                      White-handed Gibbon Hylobates lar (Linnaeus. 1771)
                      Pileated Gibbon Hylobates pileatus (Gray. 1861)
                      Agile Gibbon Hylobates agilis F. Cuvier. 1821
                      Order Carnivora
                      Fam. Canidae
                      Asian Wild Dog Cuon alpinus (Pallas. 1811)
                      Fam. Mustelidae
                      Back-striped Weasel Mustela strigidorsa Gray, 1853
                      Common Otter Lutra lutra (Linnaeus, 1758)
                      Hairy-nosed Otter Lutra sumatrana (Gray, 1865)
                      Fam. Viverridae
                      Banded Linsang Prionodon linsang (Hardwicke, 1821)
                      Spotted Linsang Prionodon pardicolor Hodgson, 1842
                      Banded Palm Civet Hemigalus derbyanus (Gray, 1837)
                      Otter Civet Cynogale bennettii Gray, 1837
                      Fam Felidae
                      Marbled Cat Felis marmorata Martin, 1837
                      Flat-headed Cat Felis planiceps Vigors and Horsfield, 1827
                      Jungle Cat Felis chaus Guldenstaedt, 1776
                      Asian Golden Cat Felis temmincki Vigors and Horsfield, 1827
                      Clouded Leopard Neofelis nebulosa (Griffith, 1821)
                      Panther or Leopard Panthera pardus (Linnaeus, 1758)
                      Tiger Panthera tigris(Linnaeus, 1758)
                      Order Sirenia
                      Fam. Dugongidae
                      Dugong Dugong dugon(Muller, 1776)
                      Order Perissodactyla
                      Fam. Tapiridae
                      Asian Tapir Tapirus indicus Desmarest, 1819
                      Fam. Rhinocerotidae
                      Lesser One-horned Rhinoceros Rhinoceros sondaicus Desmarest, 1822
                      Asian Two-horned Rhinoceros Dicerorhinus sumatrensis (Fischer, 1814)
                      Order Artiodactyla
                      Fam. Tragulidae
                      Greater Mouse Deer Tragulus napu (F. Cuvier, 1822)
                      Fam. Cervidae
                      Fea's Barking Deer Muntiacus feai (Thomas and Doria, 1889)
                      Hog Deer Cervus porcinus (Zimmermann, 1780)
                      Brow-antlered Deer Cervus eldi M'Clelland, 1842
                      Schomburgk's Deer Cervus schomburgki  Blyth, 1863
                      Fam. Bovidae
                      Wild Water Buffalo Bubalus bubalis (Linnaeus, 1758)
                      Banteng Bos javanicus D'Alton, 1823
                      Gaur Bos frontalis Lambert, 1804
                      Kouprey Bos sauveli Urbain, 1937
                      Serow Capricornis sumatraensis (Bechstein, 1799)
                      Goral Nemorhaedus goral (Hardwicke, 1825)
                      Order Rodentia
                      Fam. Sciuridae
                      Horse-tailed Squirrel Sundasciurus hippurus (I.Geoffroy, 1831)
                      Shrew-faced Ground Squirrel Rhinosciurus laticaudatus (Muller and Schlegel, 1844)
                      Fam. Muridae
                      Limestone Rat Niviventer hinpoon  Marshall, 1977
                นกที่หายากและใกล้ที่จะสูญพันธุ์ในประเทศไทยมี 93 ชนิด
           แนวทางพระราชทานในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม พันธุ์สัตว์ป่า พันธุ์สัตว์ที่ประชาชนบริโภคเป็นอาหาร พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สุขของคนไทยทั้งแผ่นดิน พระองค์ทรงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ มากมายเหลือคณานับ อาทิ
           การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ป่าที่หายาก หรือใกล้จะสูญพันธุ์ สัตว์ป่าที่มีคุณค่าในทางอาหาร และมีค่าทางเศรษฐกิจ ให้มีจำนวนมากขึ้น เช่น ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าต่างๆ
           การนำพันธุ์สัตว์ป่ามาใช้ปรับปรุงพันธุ์สัตว์เลี้ยง หรือสัตว์เศรษฐกิจตามที่ต้องการ เช่น การนำหมูป่ามาผสมกับหมูบ้าน การนำไก่ป่ามาผสมกับไก่บ้าน
           การเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าในลักษณะเป็นสวนสัตว์เปิด เป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า เป็นแหล่ง ที่จะศึกษาค้นคว้า วิจัย เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เป็นแหล่งทัศนศึกษา พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป
           การปลูกสร้างสวนป่า เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า โดยช่วยให้ระบบนิเวศกลับคืนสู่สภาพเดิมเร็วขึ้น เช่น การปลูกสร้างสวนป่าตามโครงการพระราชดำริปางตอง 1 (ห้วย มะเขือส้ม) มีการเพาะเลี้ยง ไก่ฟ้า นกแว่น เป็ดก่า ละอง-ละมั่ง เป็นต้น
           ผลของการดำเนินการ ประการหนึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อีกประการหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่พสกนิกรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
           ปัจจุบันมีข่าวการทำร้ายสัตว์ป่าให้เห็นอยู่เสมอ ๆ จากการนำเสนอของสื่อต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ภาพการไล่ล่าเอาชีวิตสัตว์เพื่อสนองความโลภ ความสนุกของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ที่ฉลาดที่สุด แต่มีความโหดและมีความสามารถในการทำลายล้างมากที่สุดปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ สัตว์หลายชนิดตายแบบไม่คุ้มค่า เช่น แม่ชะนีต้องถูกฆ่าเพียงเพราะมนุษย์ต้องการเอาลูกของมันไปเลี้ยงไว้เพื่อดูเล่นเท่านั้น มนุษย์ฆ่าช้างเพื่อเอางา ฆ่าหมีเพื่อเอาอุ้งตีนไปกินเพื่อบำรุงกำลัง เป็นต้น สัตว์หลายชนิดต้องสูญพันธุ์ไป และอีกหลายชนิดต้องเริ่มนับเวลาถอยหลังที่จะสูญพันธุ์ กลายเป็นสัตว์ในตำนานว่าเคยมีในประเทศไทยเท่านั้น
           แต่เดิมมาประเทศไทยของเรามีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มาก มีพื้นที่เป็นป่าไม้หลากหลาย ชนิดเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ถึงกับมีการส่งออกชิ้นส่วนของสัตว์ป่าไปขายยังต่างประเทศ เช่น หนังสัตว์ เขาสัตว์ งาช้าง นอแรด เป็นต้น ต่อมาจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการล่าสัตว์ มากขึ้น ใช้อาวุธที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จำนวนสัตว์ป่าจึงลดลงอย่างมาก เริ่มมีการตระหนักถึงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ใน พ.ศ.2503 รัฐบาลไทยในขณะนั้น ซึ่งอยู่ในสมัยของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มีการพิจารณาออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้น ได้แก่ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดหลักการในการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าว่าจะต้องประกาศในพระราชกฤษฎีกา มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับผู้ที่ จะเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ห้ามล่าสัตว์ป่าทุกชนิด ห้ามทำลายต้นไม้และแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เพื่อให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นแหล่งหาอาหาร แหล่งหลบภัย และแหล่งขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ
           พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ฉบับ พ.ศ.2503 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี พ.ศ.2515 แต่ก็ยังไม่มีผลเพียงพอที่จะยับยั้งการทำร้ายสัตว์ป่า สัตว์ป่าหลายชนิดลดจำนวนลงมากจนใกล้สูญพันธุ์ ต่อมาจึงได้มีการออกพระราชบัญญัติฉบับใหม่ขึ้น ได้แก่ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้มีข้อตกลงระหว่างประเทศห้ามการค้าสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่า ห้ามการล่าสัตว์ในเวลากลางคืน และยังเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครองบางชนิดได้
                การสงวนและรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มิได้มีความหมายเพียงแค่ไม่ทำร้ายสัตว์ป่าและเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์เท่านั้น ยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของสัตว์ป่า อันได้แก่ แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ การดูแลรักษาแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร พันธุ์พืชที่เป็นอาหาร แหล่งหลบซ่อนจากภัยอันตรายและศัตรู เพราะการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ต่างกับการอนุรักษ์พันธุ์พืช ซึ่งนอกจากจะอนุรักษ์ไว้ในแหล่งธรรมชาติแล้ว ยังสามารถเก็บและเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือทำธนาคารยีน (Gene Bank) ซึ่งใช้พื้นที่ในการเก็บเมล็ดพันธุ์ไม่มาก แต่จำต้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะกับเมล็ดพืชแต่ละ ชนิด เมื่อใดที่มนุษย์มีความต้องการพืชชนิดนั้นจึงค่อยนำออกมาเพาะปลูก ขยายพันธุ์ในธรรมชาติต่อไป การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ในห้องปฏิบัติการทำได้เพียงการเก็บอสุจิ โดยวิธีแช่แข็งเก็บไว้ในธนาคารอสุจิเท่านั้น อย่างไรเสียไข่ที่มีการผสมกับอสุจิแล้วก็ยังต้องเจริญเติบโตในตัวแม่อยู่นั่นเอง ด้วยเหตุนี้สัตว์จึงสูญพันธุ์ได้ง่าย ๆ ถ้ามนุษย์ยังไม่ตื่นตัวที่จะหาทางอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ต่างๆ ไว้ให้ได้ แหล่งอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ที่ดีที่สุด ได้แก่ ป่าธรรมชาติซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพ ยิ่งถ้าเป็นป่าหลายชนิดที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกันก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อสัตว์ป่าในการหาอาหารชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ในป่าแต่ละชนิดแตกต่างกัน
           ปัจจุบันจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตในโลกอาจมีมากถึง 80,000,000 ชนิด นับว่ามีความหลากหลาย สูงมากทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ มีความหลากหลายทั้งด้านชนิดพันธุ์และด้านพันธุกรรม และแต่ละชนิด พันธุ์ก็มีจำนวนแตกต่างกัน จากจำนวนสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ทั้งหมดในโลก ได้มีการศึกษาหาข้อมูลไว้แล้วประมาณ 1,400,000 ชนิด ประกอบด้วยสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังประมาณ 44,000 ชนิด สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังประมาณ 750,000 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกประมาณ 13,000 ชนิด
           ในประเทศไทย แม้จะมีการสูญพันธุ์ของสัตว์ชนิดต่าง ๆ ไปแล้วมากมายและอีกหลายชนิดจัดเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (Endangered species) แต่ก็ยังนับได้ว่าเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ป่านานาชนิด ทั้งนี้เนื่องมาจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน มีภูมิอากาศ แบบร้อนชื้น มีพื้นที่เป็นป่าหลายชนิด เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา มีความหลากหลายของระบบนิเวศ ทำให้มีความหลากหลายของพันธุ์สัตว์ป่า สัตว์ป่าในปัจจุบันที่ได้ศึกษา ค้นพบแล้วแบ่งออกเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 285 ชนิด นก 923 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 313 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 106 ชนิด ปลาน้ำจืดมากกว่า 545 ชนิด ปลาน้ำกร่อยประมาณ 2,000 ชนิด ปลาทะเล 1,910 ชนิด แมลงที่ได้ศึกษาแล้ว 7,000 ชนิด
           การดำเนินการเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์สัตว์ป่า
           นอกเหนือจากการออกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งเป็นการป้องกันการสูญเสียทรัพยากรพันธุ์สัตว์ป่ามิให้เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังได้มีการดำเนินการที่จะรักษาพันธุ์สัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ให้ดำรงอยู่ในธรรมชาติได้นานที่สุด พร้อมทั้งพยายามที่จะเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ให้มีจำนวนมากขึ้นด้วย การดำเนินการส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ โดยเฉพาะกองอนุรักษ์สัตว์ป่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ ขึ้น ดังนี้
           - เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
           - สถานีวิจัยสัตว์ป่า
           - สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า
           - สถานีศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า
           - เขตห้ามล่าสัตว์ป่า
           - ด่านตรวจสัตว์ป่า
           นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสวนสัตว์ อุทยานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา  การจัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้มากขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรักษาทรัพยากรพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งตามแผนพัฒนาฉบับที่ ได้กำหนดให้มีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ร้อยละ 25 ของพื้นที่ ทั้งประเทศ
           เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (Wildlife Sanctuaries)

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

           ในปัจจุบันมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ารวมทั้งสิ้น 46 เขต รวมเนื้อที่ 20,459,098 ไร่  มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการสงวนและรักษาถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเพื่อเป็นแหล่งอาหาร หลบหลีกศัตรู และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ ในการกำหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ว่า "เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดบริเวณที่ดินแห่งใดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัย เพื่อรักษาไว้ซึ่งพันธุ์สัตว์ป่าก็กระทำได้โดยประกาศพระราชกฤษฎีกา และให้มีแผนที่แสดงแนวเขตแห่งบริเวณที่กำหนดนั้นแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย บริเวณที่กำหนดนี้เรียกว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่ดินที่จะกำหนดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น ต้องเป็นที่ดินที่มิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใดซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง" นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับประชาชนทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เช่น
           ห้ามมิให้ผู้ใดล่าสัตว์ป่าทุกชนิด หรือเก็บหรือทำอันตรายแก่ไข่ หรือรังของสัตว์ป่า ยกเว้นเพื่อการศึกษาหรือการวิจัยทางวิชาการซึ่งต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้
           ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปครอบครองยึดถือที่ดิน หรือตัดโค่นแผ้วถางเผาทำลายต้นไม้หรือพฤกษชาติอื่น หรือขุดหาแร่ดินหิน หรือเลี้ยงสัตว์ หรือเปลี่ยนแปลงทางน้ำ หรือทำให้น้ำในลำน้ำลำห้วยหนองบึง ท่วมท้นหรือเหือดแห้งหรือเป็นพิษต่อสัตว์ป่า
           การเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าของบุคคลซึ่งมิได้มีหน้าที่ทางราชการ จะต้องได้รับอนุญาตก่อน และเมื่อได้รับอนุญาตให้เข้าไปแล้วจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
           หลักเกณฑ์การกำหนดพื้นที่ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
           จิระ จินตนุกูล (2528) ได้กล่าวถึงหลักในการเลือกพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าว่า ควรมีลักษณะ ประการ ดังนี้
           เป็นบริเวณที่มีสัตว์ป่าชุกชุม มีสัตว์ป่าชนิดที่หายากหรือกำลังจะสูญพันธุ์อาศัยอยู่ ในท้องที่บางแห่งแม้จะมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เพียงไม่กี่ชนิด แต่หากเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองที่หายากหรือใกล้จะสูญพันธุ์ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ
           เป็นบริเวณที่มีแหล่งน้ำแหล่งอาหาร และที่หลบภัยของสัตว์ป่าอย่างเพียงพอ และเหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า พื้นที่บางแห่งซึ่งประกอบด้วยธรรมชาติพิเศษและเคยเป็นถิ่นที่อยู่ (habitat) ของสัตว์ป่าที่หายาก ก็จำเป็นจะต้องสงวนและรักษาไว้สำหรับโอกาสที่จะนำสัตว์ป่าเหล่านั้นกลับมาอยู่ตามธรรมชาติในถิ่นที่อยู่เดิมของมัน
           เป็นพื้นที่ซึ่งมีขนาดใหญ่พอสมควร และมีสภาพป่าหลายลักษณะอยู่ในผืนเดียวกัน เช่น ทุ่งหญ้าป่าโปร่งป่าดงดิบ ฯลฯ ป่าไม้ที่ประกอบด้วยสภาพป่าหลายลักษณะ ย่อมจะสามารถอำนวยประโยชน์แก่สัตว์ป่าได้มากทั้งชนิดและจำนวน และหากพื้นที่เหล่านี้มีอาณาบริเวณติดต่อกันเป็นพื้นที่ ขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด ก็จะยิ่งอำนวยประโยชน์ต่อสัตว์ป่าขนาดใหญ่ ซึ่งจะสามารถอพยพเคลื่อนย้ายหากินไปตามฤดูกาลต่าง ๆ โดยปลอดภัยยิ่งขึ้น
           เป็นพื้นที่ ๆ ไม่อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใดซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือพื้นที่ของทางราชการนั่นเอง
           เป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างจากชุมนุมชนพอสมควรและถูกรบกวนน้อย ในสถานการณ์ปัจจุบันป่าไม้แทบทุกแห่งมักจะถูกรบกวนจากประชาชนไม่มากก็น้อย ป่าไม้ที่อยู่ห่างไกลจากชุมนุมชนย่อมจะได้รับผลกระทบจากประชาชนน้อยกว่าที่อยู่ใกล้เมือง และจะมีผลต่อการดำเนินการในลักษณะเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในอนาคตเป็นอันมาก
           เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทย ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2508 ปัจจุบันมีเนื้อที่ 536,594 ไร่ หลังจากนั้นก็ได้มีการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แห่งสุดท้ายที่ตั้งขึ้น ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวายเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่ 165,796 ไร่ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2541
           ในจำนวนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั้ง 46 แห่งของประเทศไทยนี้ มี แห่ง ได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็น ดินแดนมรดกทางธรรมชาติของโลก ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
           เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ได้รับประกาศเป็นทางการให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมื่อ พ.ศ. 2517 มีพื้นที่ประมาณ 2,000,000 ไร่ มีอาณาบริเวณครอบคลุม อ.ทองผาภูมิ กับ อ.สังขละบุรี ในจังหวัดกาญจนบุรี และ อ.อุ้มผาง จังหวัดตาก
           เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง  ได้รับประกาศเป็นทางการ เมื่อ พ.ศ. 2515 และประกาศ ขยายเพิ่มพื้นที่อีกใน พ.ศ. 2529 รวมพื้นที่ประมาณ 1,610,000 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร โดยครอบคลุม อ.บ้านไร่ และ อ.ลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ไปจนถึง อ.อุ้มผาง จังหวัดตาก
           เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั้ง แห่งนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธารหลายสาย มีป่าหลากหลายชนิด มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ 21 ชนิด สัตว์ที่ถูกคุกคามอีก 65 ชนิด จึงนับเป็นแหล่งของทรัพยากรพันธุ์สัตว์ป่าที่มีค่ายิ่ง
           สถานีวิจัยสัตว์ป่า
           ความร่วมมือระหว่างประเทศในการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์สัตว์ป่า ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ได้มีการดำเนินการร่วมมือและประสานงานกับต่างประเทศที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า เช่น สหพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อการ อนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าสากลโลก (WWF) องค์การว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
           ความร่วมมือด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่สำคัญ คือ การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์ (CITES) อนุสัญญานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดต่อร่วมมือประสานงานในการดำเนินการควบคุมการค้า การส่งออกสัตว์ป่าและพืชป่า ระหว่างประเทศ การกำหนดมาตรการ การนำเข้าการส่งออก การนำผ่านแดน ตลอดจนการบรรจุหีบห่อ เพื่อการขนส่งชนิดพันธุ์นั้น ๆ มิให้กระทบกระเทือนเกิดความเสียหายหรือเสียชีวิต
           การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าตามแนวพระราชดำริ 
           จากวิกฤตการณ์การบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า การคุกคามชีวิตสัตว์ป่า จนสัตว์ป่าได้สูญพันธุ์ไปเป็น จำนวนมากและอีกหลายชนิดอยู่ในสภาวะที่ใกล้จะสูญพันธุ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระราชทานแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์สัตว์ป่า รวมทั้งแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์ป่า ดังโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากมายเหลือคณานับ อาทิ
           การจัดตั้งสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าปางตอง เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.. 2525 ทรงมี พระราชดำริต่อคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปรเนื่องใน โอกาสเสด็จพระราชดำเนินประทับแรมที่บริเวณโครงการพัฒนาตามพระราชดำริปางตอง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ร่วมรับสนองพระราชดำริอยู่ด้วย ให้มีการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าในรูป สวนสัตว์เปิด โดยในขั้นต้นให้จัดทำคอกอนุบาลเพื่อเป็นที่พักของสัตว์ป่า ในระยะต่อไปก็ให้พิจารณานำสัตว์ไปเลี้ยงในสวนสัตว์เปิด เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ราษฎรได้ยึดเป็นอาชีพหลักอย่างหนึ่งและเป็นที่พักผ่อนของ ประชาชนทั่วไป
           การจัดตั้งสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าโคกไม้เรือ จังหวัดนราธิวาส เนื่องในโอกาสเสด็จแปรพระราชฐาน ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส เมื่อ ปี พ.ศ. 2524 และได้เสด็จออก เยี่ยมเยียนราษฎร ทรงทอดพระเนตรสภาพพื้นที่และความเป็นอยู่ของราษฎรแล้วทรงมีพระราชดำริที่จะยกระดับความเป็นอยู่และสภาวะเศรษฐกิจของประชาชนให้ดีขึ้น จึงทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับคณะบุคคล ที่ตามเสด็จว่า " ที่ป่าสงวนบ้านโคกไม้เรือควรจะจัดทำเป็นสวนป่าสำหรับเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพื้นเมืองที่หายากและกำลังจะสูญพันธุ์หรือมีน้อยหรือมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น กระจง เก้ง นกหว้า เป็นการสงวนพันธุ์ สัตว์ป่าไปด้วย โดยมีนักวิชาการมาช่วยเหลือและทำการ ศึกษาเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าดังกล่าว เพื่อให้ทราบรายละเอียดและนำความรู้มาใช้ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า เหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพและเผยแพร่ความรู้ เหล่านั้นให้แก่ ประชาชนผู้สนใจที่จะยึดถือเป็นอาชีพแทนการไปล่าสัตว์ป่าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ทำให้ประชาชนรู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้านสัตว์ป่าและป่าไม้โดยทางอ้อม “
           จากพระราชดำริดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2526 จึงได้เกิดโครงการศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าโคกไม้เรือ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าโคกไม้เรือ นอกจากนี้ยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอื่นๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุ์สัตว์ป่า ได้แก่
           สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง จังหวัดชลบุรี
           สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
           สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
           สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย  จังหวัดเพชรบุรี
           สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าดอยตุง จังหวัดเชียงราย
           เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน  อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
           นอกเหนือจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แล้วยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถอีก 3 แห่ง ได้แก่
           สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยยางปาน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
           สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อยอำเภอก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
           สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน จังหวัดสระแก้ว
           การอนุรักษ์และเพาะพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ 
           ความที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกรและทรงมีพระราชประสงค์ ให้คนไทยมีอาหารเพียงพอแก่การบริโภคและมีอาชีพที่ทำรายได้อย่างยั่งยืน จึงทรงพระราชทานแนวทางใน การอนุรักษ์ ปรับปรุงพันธุ์ และเพาะพันธุ์สัตว์ที่มีคุณค่าทางอาหารและมีค่าทางเศรษฐกิจอยู่เสมอมา อาทิ
           เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.. 2534 ทรงมีรับสั่งให้หาทางเพาะพันธุ์เขียดแลว หรือกบภูเขา ซึ่งเป็นกบพื้นเมืองของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และเพาะพันธุ์ปลาในลำน้ำปาย เช่น ปลากระแซะ ปลากดหัวเสียม ซึ่งสถานีประมงน้ำจืด จังหวัดแม่ฮ่องสอน รับสนองพระราชดำริไปดำเนินการจนในปัจจุบันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เขียดแลว ปลาน้ำจืดต่างๆ และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์กบบูลฟร็อกอีกด้วย
           ทรงมีพระราชดำริให้กรมประมงดำเนินการโครงการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ และพัฒนา การประมง ส่งเสริมให้ราษฎรได้รับความรู้และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัย เพื่อจะได้ยึดเป็นอาชีพหลักต่อไป ทำให้เกิดความรู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรสัตว์น้ำ โครงการต่างๆ ในพระราชดำริมีดังนี้
           โครงการส่งเสริมและสาธิตการเลี้ยงปลาในเขตพื้นที่อำเภอละหานทราย  จังหวัดบุรีรัมย์
           ศูนย์ศึกษาการพัฒนาการประมง อำเภอบางไทร  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
           โครงการสาธิตการเลี้ยงปลาในเขตพัฒนาการเกษตร จังหวัดแม่ฮ่องสอน
           โครงการพัฒนาการประมงเพื่อความมั่นคงในพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน  จังหวัดน่าน
           โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาในศูนย์ศึกษาการพัฒนาปลวกแดง  จังหวัดระยอง
           ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการประมงอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี
           โครงการสาธิตการบำบัดน้ำเสียจากบ่อกุ้งโดยวิธีชีวภาพ จังหวัดครศรีธรรมราช
           เมื่อต้นยุคอุตสาหกรรมความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรทางชีวภาพยังมีความอุดมสมบูรณ์มาก มนุษย์นำทรัพยากรเหล่านี้มาใช้กันอย่างอิสระเสรี ในด้านความผาสุก ความสะดวกสบาย และเพิ่มพูนเศรษฐกิจของตน รวมทั้งนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ กาลเวลาผ่านเรื่อยมาจนปลายศตวรรษที่ 20 มนุษย์เริ่มรู้สึกและสังเกตเห็นทรัพยากรชีวภาพลดลง บางชนิดสูญหายไป และถ้ายังนำทรัพยากรมาใช้กันอย่างฟุ่มเฟือยและเกินขอบเขตเช่นนี้จะมีผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพสูญหายไปอย่างถาวร จึงมีองค์การต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การระหว่างประเทศ และองค์การเอกชนทางด้านพิทักษ์สิ่งแวดล้อมออกมากระตุ้น เรียกร้องให้อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพก่อนที่จะสูญพันธุ์ไปในที่สุด จนอนุชนรุ่นหลังจะสูญเสียโอกาสใช้ทรัพยากรที่เขามีส่วนเป็นเจ้าของไป
           ความสำคัญของแหล่งพันธุกรรมพืช
           มนุษย์เริ่มรู้จักทำการเกษตรเมื่อประมาณหนึ่งหมื่นปีที่ผ่านมา โดยทำการเพาะปลูกพืชที่มีคุณค่าทางอาหาร และสร้างพืชปลูกชนิดต่างๆ ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดกระบวนการทางวิวัฒนาการอันเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ในปัจจุบัน ก่อนที่มนุษย์จะมีการเพาะปลูกพืช วิวัฒนาการของพืชเป็นกระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติโดยอาศัยความผันแปรที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมหรือการผ่าเหล่าและการจัดกลุ่มของยีนในรูปแบบใหม่ เมื่อมีการเกษตรจึงมีการเพาะปลูกแต่เฉพาะพืชที่มนุษย์สนใจ การคัดเลือกลักษณะต่างๆ ของพืชเป็นไปตามความพอใจของมนุษย์ ทิศทางวิวัฒนาการของพืชปลูกจึงถูกกำหนดโดยมนุษย์
           แหล่งที่เริ่มมีการเกษตรที่สำคัญของโลก คือ บริเวณตะวันออกกลางและอเมริกากลาง พืชที่นำมาปลูกครั้งแรก คือ ธัญพืช ถั่ว และพืชชนิดอื่นที่ใช้ส่วนผลและรากเป็นอาหาร เมื่อมีการเคลื่อนย้าย อพยพที่อยู่ของมนุษย์และมีการค้าขายไปยังสถานที่ต่างๆ ซึ่งอยู่ห่างไกล ทำให้มีการแพร่ของพืชเหล่านี้ ออกไปยังแหล่งต่างๆ และมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เช่น ความหนาวเย็นหรือความร้อน ความแห้งแล้ง โรคและแมลง การปรับตัวในลักษณะเช่นนี้ ก่อให้เกิดพืชที่มีความผันแปรทางพันธุกรรมได้มาก พืชที่ปลูกอยู่ในที่ต่างๆ ผันแปรไปตามที่อยู่ของมนุษย์ ซึ่งแยกกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ประชากรของพืชแต่ละกลุ่มจึงมีวิวัฒนาการที่เป็นอิสระแก่กัน ก่อให้เกิดความผันแปรที่มีคุณค่าซึ่งมนุษย์ในปัจจุบัน นำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย
           เมื่อมีการพัฒนาอุตสาหกรรม และมีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรม มีการแยกกันอย่างชัดเจนระหว่างบริเวณที่มีการผลิต ซึ่งได้แก่บริเวณชนบท และบริเวณที่มีการบริโภค ซึ่งได้แก่บริเวณตัวเมือง ทำให้การเกษตรแบบเพาะปลูกในแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นการเพาะปลูกเพื่อให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ เปลี่ยนแปลงไป เกิดเป็นการเพาะปลูกในรูปแบบใหม่ กล่าวคือ เป็นการเพาะปลูกเพื่อการค้า เกิดการขนส่งผลผลิตทางการเกษตร การตลาดของสินค้าเกษตรมีความกว้างขวางมากขึ้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานและความสม่ำเสมอของสินค้าเกษตรและพันธุ์พืช นอกจากนี้การใช้เครื่องจักรกลในการเกษตรจำเป็นต้องอาศัยพันธุ์พืชที่มีลักษณะคงที่สม่ำเสมอ เพื่อความสะดวกในการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติในไร่นา รวมทั้งกระบวนการในการแปรรูปผลผลิต นักปรับปรุงพันธุ์พืชจึงได้พยายามสร้างพืชพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะคงที่สม่ำเสมอแทนพันธุ์เก่า ซึ่งมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีกับสภาพท้องถิ่นแต่มีความผันแปรสูง
           การทุ่มเทของนักวิชาการเพื่อพัฒนาพันธุ์พืชทางการเกษตรในระยะ พ.ศ.2493 - 2503 หรือ การปฏิวัติเขียว (green revolution) ได้ทำให้มีการสร้างสายพันธุ์พืชมากมายที่ให้ผลผลิตสูงแต่ใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกเพียงเล็กน้อย ซึ่งช่วยให้ประเทศต่างๆ สามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรได้เพียงพอแก่ความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การส่งเสริมให้เกษตรกรนำเอาสายพันธุ์พืช ที่ให้ผลผลิตสูงนี้มาเพาะปลูก ได้ทำให้เกษตรกรจำนวนมากละทิ้งสายพันธุ์พืชทางการเกษตรดั้งเดิม จนกระทั่งสายพันธุ์พื้นเมืองสูญหายไปเป็นจำนวนมาก
           “การปฏิวัติเขียว
           ได้ชักจูงให้เกษตรกรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่าร้อยละ 80 หันมาปลูกพืชสายพันธุ์ใหม่แทนสายพันธุ์ดั้งเดิม เกษตรกรในประเทศอินโดนีเซียได้ละทิ้งการปลูกพันธุ์ข้าว ดั้งเดิมและทำให้ข้าวกว่า 1,500 สายพันธุ์สูญพันธุ์ไปในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา สายพันธุ์พืชทางการเกษตรดั้งเดิมเป็นทรัพยากรทางพันธุกรรมที่มีคุณค่า เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานานหลายช่วงอายุคนจนมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูก เช่น มีความต้านทานโรคสูง หรือต้องการธาตุอาหารน้อย ซึ่งสามารถนำเอาไปพัฒนาพืชพันธุ์ใหม่ให้ดีขึ้นได้ ตัวอย่าง เช่น เมื่อมีการระบาดของโรคโคนเน่าของข้าวขึ้นในระยะประมาณ พ.ศ.2523 – 2533
           นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีข้าวเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้น จากข้าวทั้งหมดมากกว่า 10,000 สายพันธุ์ ที่มีภูมิต้านทานโรคดังกล่าว ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวนี้เป็นสายพันธุ์ข้าวดั้งเดิม
           นอกจากนี้ การที่เกษตรกรเลิกปลูกพืชสายพันธุ์ดั้งเดิมและหันไปปลูกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงเหมือนๆกันเกือบทั้งหมด ทำให้พืชที่ปลูกมีความสม่ำเสมอทางพันธุกรรม (genetically uniform) คือ ไม่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม ทำให้มีความอ่อนแอทางพันธุกรรมสูง จึงมีโอกาสที่จะถูกทำลายโดยศัตรูพืช และสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ดังที่เกิดขึ้นกับไร่มันฝรั่งในประเทศไอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2389 ซึ่งทำให้ผู้คนกว่า ล้านคนอดอยากและเศรษฐกิจของประเทศพังทลาย จนประชาชนจำนวนมากต้องอพยพไปสู่ทวีปอเมริกาและออสเตรเลีย สาเหตุเกิดจากเชื้อราที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phytophthora infestans ซึ่งทำให้มันฝรั่งเป็นโรคใบไหม้
           วิกฤตการณ์ของพันธุ์ข้าวในประเทศไทยก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ในปี พ.ศ.2534 - 2535 มีการระบาดของแมลงเพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาลเข้าทำลายข้าวอย่างรุนแรงเกือบทั่วประเทศ ทำให้เกิดสภาวะผลผลิตของข้าวลดต่ำลงมาก ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากข้าวพันธุ์ใหม่ที่ใช้ปลูกกันอย่างแพร่หลาย เป็นข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากข้าวพันธุ์ดีเพียงไม่กี่พันธุ์ ข้าวพันธุ์ใหม่ส่วนใหญ่ที่ปลูกในประเทศไทยจึงมีพันธุกรรมใกล้เคียงกัน หรือมีพื้นฐานทางพันธุกรรมแคบ เมื่อมีแมลงที่สามารถเข้าทำลายข้าวได้ ข้าวเกือบทุกพันธุ์จึงไม่ต้านทานต่อการทำลายของแมลงในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เกิดการระบาดไปทั่วในบริเวณที่มีการปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ ตัวอย่างในทำนองนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ในหลายท้องที่ ที่มีการสูญหายของเชื้อพันธุ์ด้วยเหตุจากปลูกพืชเป็นการค้าโดย ใช้พันธุ์ที่มีพื้นฐานทางพันธุกรรมแคบ
           การสูญเสียความผันแปรทางพันธุกรรม นับเป็นการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงและเป็นภาระที่เสี่ยงต่ออันตราย พืชปลูกพันธุ์ดั้งเดิมในท้องถิ่นมักเป็นพันธุ์พืชที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ถึงแม้จะให้ผลผลิตไม่สูงมาก แต่ก็มีผลผลิตได้คงที่สม่ำเสมอ คุณค่าของพันธุ์เหล่านี้ต่อมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต คือ นอกจากจะมียีนที่ต้านทานต่อโรค ยีนที่มีคุณค่าทางอาหารและความสามารถในการปรับตัว ต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ยังอาจมีลักษณะที่ไม่คาดคิดในปัจจุบันแต่มีคุณค่าเหลือคณานับในอนาคต สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีการอนุรักษ์เอาไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในอนาคต
           ประเภทของแหล่งพันธุกรรมพืช
           แหล่งพันธุกรรมพืชที่มนุษย์เคยนำมาใช้ประโยชน์หรือมีแนวโน้มว่าจะมีประโยชน์สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด คือ พันธุ์ปลูก และพันธุ์ป่า
           พันธุ์ปลูก (Cultivated species) จำแนกได้เป็น ประเภท ดังนี้
           1. พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า (commercial variety) เป็นพันธุ์มาตรฐานที่ปลูกใน เชิงการค้า มีความสม่ำเสมอสูง เป็นพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยนักปรับปรุงพันธุ์พืชมืออาชีพ ส่วนใหญ่มีลักษณะที่สำคัญ คือ มีผลผลิตสูงเมื่อได้รับการเกษตรกรรมที่ดี ต้องใช้การลงทุนสูง แต่จัดได้ว่าเป็นพันธุ์ที่มีความอ่อนแอทางพันธุกรรม
           2. พันธุ์พื้นเมือง (local variety) เป็นพันธุ์ดั้งเดิม หรือเป็นพันธุ์ปลูกซึ่งมีประวัติยาวนานนับพันปีหรืออาจเป็นล้านปี ผ่านกระบวนการย้ายถิ่น การอพยพ การคัดเลือกทั้งแบบธรรมชาติและโดยมนุษย์ มีความผันแปรทางพันธุกรรมสูง ทั้งภายในสายพันธุ์และระหว่างสายพันธุ์ สามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ดีในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมมักให้ผลผลิตต่ำ แต่มีระดับผลผลิตคงที่เป็นลักษณะของพืชในการเกษตรกรรมแบบประทังชีพ
           3. สายพันธุ์ที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุง (breeding line) เป็นพันธุ์ที่ได้จากนักปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นพันธุ์ที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงพันธุ์ (Intermediate product) เป็นสายพันธุ์ที่มักมีพันธุกรรมแคบ เพราะมีกำเนิดมาจากพันธุ์พืชจำนวนน้อยเพียงไม่กี่พันธุ์ หรือมาจากประชากรจำนวนน้อย
           4. พันธุ์อื่น ๆ (special genetic stock) เป็นพันธุ์พืชที่มีพันธุกรรมพิเศษอย่างอื่น เช่น เป็นมิวแตนท์ที่เกิดตามธรรมชาติ หรือชักนำให้เกิด ซึ่งอาจเป็นมิวเตชันของยีน หรือมิวเตชัน ของโครโมโซม และมักเก็บรักษาไว้โดยนักปรับปรุงพันธุ์พืช ถือได้ว่าเป็นวัตถุดิบที่มีคุณค่า ซึ่งอาจนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
           ในจำนวนพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้ พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า ซึ่งรวมถึงพันธุ์ปลูกที่ล้าสมัย ซึ่งไม่อยู่ในความนิยม แต่เป็นพันธุ์ที่มีการใช้ต่อเนื่องกันมาเพื่อรอพันธุ์ใหม่ที่จะมาปลูกทดแทน ถือได้ว่าเป็นพันธุ์ที่มีพันธุกรรมดี มีคุณค่า แต่มีข้อจำกัดเนื่องจากมีความสม่ำเสมอสูงและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพืชพันธุ์อื่น
           พันธุ์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือพันธุ์พื้นเมือง ด้วยเหตุผล ประการ คือ
           1. มีความแปรปรวนทางพันธุกรรมที่มีแนวโน้มว่ามีประโยชน์อยู่มาก และเป็นพวกที่มียีนที่ปรับตัวได้ดี
           2. เป็นพวกที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้ง่ายเมื่อมีพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าเข้ามาปลูกทดแทน ในปัจจุบันการให้ความสำคัญแก่พันธุ์เหล่านี้ยังมีค่อนข้างน้อย มีการเก็บรักษาไว้ในแหล่งสะสมน้อยเกินไป ทั้งนี้เป็นเพราะ
           - ในแหล่งสะสมพันธุ์หลายแห่งยังให้ความสำคัญแก่พันธุ์แท้ และพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกมาดีแล้ว
           - มีพืชหลายชนิดที่เก็บรวบรวมมาจากพื้นที่ปลูกที่มีการคัดเลือกมาบ้างแล้ว ทำให้ความผันแปรทางพันธุกรรมลดน้อยลง
           - แหล่งรวบรวมพันธุ์ส่วนใหญ่เก็บรักษาโดยการขยายพันธุ์ในพื้นที่ขนาดเล็กและอยู่ใกล้ชิดกับแปลงปลูกพืชพันธุ์อื่น มีผลทำให้เกิดการสึกกร่อนทางพันธุกรรม (genetic erosion) เนื่องจากมีการผสมข้าม เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติ และเกิดการหักเหทางพันธุกรรม (genetic drift) ที่เกิดจากประชากรมีขนาดเล็ก
           พันธุ์ป่า (Wild species) จำแนกได้เป็น ประเภท
           1. พันธุ์ป่าที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรง เป็นพืชพันธุ์ป่าที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์แต่ไม่ได้เพาะปลูกหรือบำรุงรักษา การสูญเสียแหล่งพันธุกรรมของพืชประเภทนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นกับพืชชนิดต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ แต่เกิดขึ้นเฉพาะกับพืชที่มีคุณค่ามาก ซึ่งโดยธรรมชาติของการคัดเลือก มนุษย์มักคัดเลือกเอาเฉพาะลักษณะที่ดีไว้ใช้ประโยชน์เท่านั้น การอุปโภคและบริโภคพืชที่ดีที่สุดเหล่านี้ มักทำลายเมล็ดหรือต้นพืชก่อนที่พืชจะผลิตเมล็ด เป็นเหตุให้เกิดการสูญพันธุ์ได้ ตัวอย่าง เช่น Durio spp. ที่ปลูกในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย มีลำต้นสูงประมาณ 20 เมตร ผลใช้เป็นอาหารได้ ชาวท้องถิ่นที่จะเก็บผลจำเป็นต้องล้มต้นที่กำลังเจริญเติบโตและให้ผลผลิต ไม้สักก็จัดอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ต้นที่มีคุณภาพดีเท่านั้นที่จะถูกตัดเอาไม้ไปใช้ประโยชน์ หญ้าในทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์หรือพืชชนิดอื่น ที่เป็นอาหารสัตว์และสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ ต้นที่มีรสชาติดี กินอร่อย จะถูกสัตว์เลือกกินมากที่สุดและมักถูกกินไปก่อนที่จะได้มีโอกาสสร้างเมล็ด ตัวอย่างทั้งสามกรณีนี้เป็นการคัดเลือกอย่างรุนแรงซึ่งเกิดขึ้น กับลักษณะที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด
           2. พันธุ์ป่าที่มนุษย์ใช้ประโยชน์โดยทางอ้อม เป็นพันธุ์ป่าที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับพันธุ์ปลูกและมีลักษณะที่มีประโยชน์ ซึ่งสามารถย้ายและถ่ายเทยีนไปสู่เครือญาติที่เป็นพันธุ์ปลูกได้ การถ่ายเทยีนส่วนใหญ่มักเป็นการผสมพันธุ์โดยกระบวนการทางเพศ แต่ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างพืช ชนิดห่างกันมากจนไม่อาจผสมพันธุ์กันได้ก็จำเป็นต้องใช้การถ่ายยีนโดยวิธี Somatic hybridization เช่น การทำ Protoplast fusion หรือโดยวิธีการทางพันธุวิศวกรรม
           ตัวอย่าง เช่น Lycopersicon ประกอบด้วย พันธุ์ป่าที่เป็นเครือญาติกันหลายสปีชีส์ ซึ่งสามารถผสมข้ามพันธุ์กับมะเขือเทศพันธุ์ปลูก (L. esculentum) เช่น
           สปีชีส์ที่เคยเป็นตัวให้ยีนที่ต้านทานต่อเชื้อรา ได้แก่ L. hirsutum,  L. pimpinel-lifolium และ L. peruvianum
           สปีชีส์ที่ให้ยีนต้านทานเชื้อไวรัส ได้แก่ L. chilense และ L. peruvianum
           สปีชีส์ที่ให้ยีนต้านทานพยาธิไส้เดือนฝอย ได้แก่ L. peruvianum
           สปีชีส์ที่ให้ยีนต้านทานแมลง ได้แก่ L. hirsutum
           สปีชีส์ที่ให้ยีนผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้แก่ L. chmielewskii
           สปีชีส์ที่ให้ยีนปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ L. cheesmanii เป็นต้น
           พืชปลูกชนิดอื่นที่มีญาติเป็นพันธุ์ป่า และสามารถใช้พันธุ์ป่าช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ได้แก่ มันฝรั่ง ข้าว ทานตะวัน อ้อย
           ในพืชที่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยไม่อาศัยเพศ พันธุ์ป่ามักเป็นพวกที่มีความทนทาน จึงอาจนำไปใช้เป็นต้นตอสำหรับการติดตา ต่อกิ่ง ทาบกิ่ง หรือเสียบยอด ทำให้พืชสามารถขยายขอบเขตหรือบริเวณที่เพาะปลูกให้กว้างขวางกว่าขอบเขตเดิม เช่น ต้น Poncirus trifoliata สามารถนำไปใช้เป็นต้นตอให้แก่ส้มพันธุ์ปลูก (Critus) ไปเสียบยอด ทำให้ทนทานต่อความหนาวเย็นได้ สามารถนำไปปลูกในที่มีอากาศหนาวได้ วิธีนี้ยังช่วยป้องกันโรคที่เกิดกับส่วนรากได้ เช่น ต้นตอขององุ่นพันธุ์ป่า Vitis labrusca ในอเมริกาเป็นต้นตอขององุ่นพันธุ์ปลูก V. vinifera เพื่อให้ต้านทานต่อเชื้อ Philoxera vastatrix
           3. พันธุ์ป่าที่มีแนวโน้มว่ามีประโยชน์ เป็นพันธุ์ที่ยังไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน แต่ในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีประโยชน์ ได้แก่ พืชโตเร็ว พืชซึ่งมีสารที่มีประโยชน์ในทางยา
           พืชพันธุ์ป่าเป็นพืชกลุ่มที่ได้รับการเอาใจใส่น้อยกว่าพันธุ์ปลูก นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัย การถากถางป่า การใช้ยากำจัดวัชพืชประเภทออกฤทธิ์กว้าง และการเพิ่มของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อบรรยากาศ ทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงและทำให้พืชพันธุ์ป่าเหล่านี้เสี่ยงต่อการถูกทำลายหรือมีความหลากหลายลดน้อยลง
           การอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมพืช
           จุดมุ่งหมายของการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมพืช คือ การอนุรักษ์ความหลากหลายที่มีอยู่ในพืชแต่ละชนิดให้ได้มากพอสำหรับการใช้ในอนาคต ตัวอย่างของลักษณะที่จำเป็นต้องเก็บอนุรักษ์ได้แก่ ลักษณะความต้านทานต่อเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรค Grassy stunt ในข้าวซึ่งพบอยู่ในประชากรกลุ่มหนึ่งของ Oryza nivara เท่านั้น
           แหล่งพันธุกรรมอาจอนุรักษ์ไว้ได้ รูปแบบ คือ
           1. การอนุรักษ์ในถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ (In situ conservation) เป็นการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ สายพันธุ์ ไว้ในระบบนิเวศธรรมชาติ โดยการปกป้องพื้นที่และแหล่งที่อยู่ ที่พืชชนิดนั้นๆ ขึ้นอยู่ด้วยวิธีทางกฎหมาย กลไกหลักที่จะช่วยการอนุรักษ์แบบนี้ ได้แก่ การประกาศพื้นที่คุ้มครอง ซึ่งหมายถึง อุทยานแห่งชาติ วิธีนี้ดีที่สุดสำหรับพืชพันธุ์ป่า ประโยชน์สูงสุดที่ได้รับ คือ กระบวนการวิวัฒนาการ ของพืชชนิดนั้น ๆ ยังคงเป็นไปตามปกติ แต่ข้อเสียที่สำคัญ คือ มีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ปัญหาทาง สังคมและปัญหาทางการเมือง อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายอาจลดลงได้ด้วยการอนุรักษ์พืชพร้อมกันหลายชนิด หรือทุกชนิด แทนที่จะทำกับพืชเพียงไม่กี่ชนิด
           2. การอนุรักษ์นอกถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ (Ex situ conservation) เป็นการอนุรักษ์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแหล่งรวบรวมตัวอย่างพืชที่มีความผันแปรทางพันธุกรรม และเก็บรักษาไว้ในธนาคารพืชพรรณ (Germplasm bank) หรือ สวนพฤกษศาสตร์ ในรูปของเมล็ดหรือเพาะเลี้ยงในหลอด/ในขวด หรือในรูปของต้นพืชที่ปลูกลงดิน การอนุรักษ์แบบนี้ มักทำกับพืชปลูกที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถดำเนินการได้ในพื้นที่ขนาดเล็ก สามารถดูแลได้ทั่วถึง นอกจากนี้นักปรับปรุงพันธุ์พืชยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย แต่ข้อเสียที่สำคัญคือ Germplasm หยุดกระบวนการวิวัฒนาการ กระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติและการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมก็หยุดไปเช่นกัน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการหักเหทางพันธุกรรม เนื่องจากประชากรมีขนาดเล็ก มีการสูญหายของความหลากหลายทางพันธุกรรมได้มาก
           การอนุรักษ์พืชนอกถิ่นที่อาศัยตามธรรมชาติ
           วิธีการดำเนินการอนุรักษ์พืชนอกถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ คือ
           การเก็บรวบรวมพันธุ์ (collection) การเก็บรวบรวมพันธุ์ส่วนใหญ่มักเก็บในรูปของเมล็ด บางกรณีอาจเก็บในรูปของหัว bulb, tuber กิ่งปักชำ พืชทั้งต้น ละอองเรณู หรือชิ้นส่วนพืชที่เพาะเลี้ยงในหลอด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ผู้เก็บรวบรวมต้องมีความรู้ในพืชชนิดต่างๆ เป็นอย่างดี รู้นิสัยของพืชรวมทั้งระบบการสืบพันธุ์ เพื่อจะได้ทราบความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สังเกตพบ ในการเก็บรักษา การสุ่มตัวอย่างนับเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะตัวอย่างที่ได้มาจะต้องเป็นตัวแทนที่ดีของความผันแปรทางพันธุกรรมของประชากร หลักในการพิจารณา คือ
                     - จำนวนเมล็ดที่จะเก็บจากพืชแต่ละต้น
                     - จำนวนต้นพืชและการกระจายตัวในแต่ละบริเวณ
                     - จำนวนบริเวณที่จะเก็บในแต่ละพื้นที่
           จำนวนที่จะต้องเก็บไม่คงที่ตายตัวเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพเฉพาะอย่างในแต่ละกรณี แต่จุดมุ่งหมายสำคัญน่าจะอยู่ที่การเก็บรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมให้ได้สูงสุด โดยให้ความถี่ของอัลลีลในตัวอย่างที่เก็บเท่ากับความถี่ของอัลลีลในประชากร แต่ในทางปฏิบัติทำได้ยาก เนื่องจากจำเป็นต้องเก็บเมล็ดด้วยจำนวนที่จำกัด จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงการหักเหทางพันธุกรรมที่เกิดเนื่องจากประชากรมีขนาดเล็ก
           ในการเก็บตัวอย่างจำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูล (field "passport" data) ซึ่งประกอบด้วย สภาพอากาศ ลักษณะดิน ชนิดของพืชที่ขึ้นอยู่ร่วมกัน และโรคที่มีอยู่ในบริเวณที่เก็บตัวอย่าง รวมทั้งข้อมูลที่ได้จากเกษตรกรผู้ปลูกซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับนักปรับปรุงพันธุ์พืชต่อการนำไปใช้ในอนาคต
           การเก็บตัวอย่างในหลอด (In vitro conservation) เป็นการเก็บรักษาในสภาพปลอดเชื้อ จึงปลอดภัยจากโรค แมลง และศัตรูพืชต่างๆ วิธีนี้ใช้เนื้อที่น้อยกว่าการเก็บในสภาพอื่นๆ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นวัตถุดิบในการปรับปรุงพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ การขยายพันธุ์ และการแลกแปลี่ยนพันธุ์ สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรพันธุกรรมพืชได้
           การบำรุงรักษา (maintenance) หน้าที่หลักของธนาคารพืชพรรณ คือการอนุรักษ์เชื้อพันธุ์ ให้อยู่ในภาวะที่พร้อมจะขยายพันธุ์ได้ทันทีโดยไม่สิ้นสุด แต่เนื่องจากสถานที่เก็บมักมีขนาดจำกัด จึงอาจแบ่งการเก็บรักษาออกเป็นส่วนๆ ดังนี้
                     - Base collection เป็นการเก็บระยะยาว
                     - Active collection เป็นการเก็บระยะปานกลาง และ
                     - Working collection หรือ Breeders collection เป็นการเก็บระยะสั้น
           การเก็บรักษาทุกกรณีจะต้องมีเอกสารระบุลักษณะเพื่อความสะดวกในการค้นหา
           การอนุรักษ์อาจมีวิธีการที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าพืชดังกล่าวมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ
           พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
           โดยทั่วไปถ้าเป็นการเก็บระยะยาวจะมีการลดความชื้นของเมล็ดจากร้อยละ 12 ลงเหลือ ร้อยละ และเก็บรักษาเมล็ดในภาชนะที่ป้องกันความชื้นได้ แต่ถ้าต้องการเก็บเมล็ดให้ยังคงความงอกอยู่ได้นานนับร้อยปีหรืออาจนานกว่านั้น สามารถทำได้โดยเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ -18 ส่วนการเก็บรักษาแบบระยะปานกลาง มีข้อแนะนำว่าให้เก็บเมล็ดที่มีความชื้นร้อยละ ไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 15 ในกรณีของข้าว การเก็บรักษาแบบระยะปานกลางอาจเก็บรักษาได้นานถึง 50 ปี การอนุรักษ์ โดยวิธีอื่นที่ได้มีการทดลองอยู่ ได้แก่การเก็บรักษาไว้ในไนโตรเจนเหลวซึ่งมีอุณหภูมิ -196 C (Cryopreservation)
           พืชที่ขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เพศ
           พืชพวกนี้ได้แก่ไม้ผลชนิดต่าง ๆ เช่น สตรอว์เบอร์รี กล้วย และหัว เช่น มันฝรั่ง มันสำปะหลัง เป็นต้น คุณลักษณะพิเศษของพืชประเภทนี้ คือ ได้ผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ปลูกซึ่งทำการคัดเลือกมาเป็นเวลานานนับร้อยนับพันปี และไม่เพียงแต่เป็นการคัดเลือกยีนที่ดีเท่านั้น แต่ยังเป็นการคัดเลือกเอาองค์ประกอบที่เหมาะสมของยีนดีเอาไว้ด้วย องค์ประกอบของยีนเหล่านี้มักมีจีโนไทป์เป็นเฮเทอโรไซโกต ซึ่งสามารถรักษาสภาพเช่นนี้ให้คงอยู่ได้ด้วยการขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เพศ พืชประเภทนี้หาก
           ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจะเกิดการกลายพันธุ์ในรุ่นลูกหลาน หรือมีลักษณะแตกต่างไปจากรุ่นพ่อแม่ จึงไม่นิยมเก็บอนุรักษ์พืชเหล่านี้ในรูปของเมล็ดพันธุ์ แต่จะใช้วิธีดังต่อไปนี้
                     - เก็บอนุรักษ์ไว้โดยการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ โดยการปลูกรักษาไว้ใน สวน พฤกษศาสตร์ ในสภาพธรรมชาติ Arboretum หรือ Gene bank ภาคสนาม
                     - เก็บรักษาส่วนท่อนพันธุ์หรือหัว ในสภาพความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่การเก็บอนุรักษ์โดยวิธีนี้ใช้กับการเก็บรักษาระยะสั้นและระยะกลาง หรือใช้ร่วมกับ Genebank ภาคสนาม
                     - ใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ วิธีนี้อาจเก็บรักษาอยู่ในสภาพเย็นจัด (Cryo- preservation) ซึ่งพบว่าเซลล์พืชจะหยุดขบวนการแบ่งเซลล์ และคุณภาพของสารพันธุกรรมอาจถูกจำกัด หรือเก็บภายใต้สภาพแวดล้อมที่พืชมีการเจริญเติบโตช้าลง (slow-growth system) ซึ่งเหมาะสมกับการเก็บรักษาระยะสั้นและระยะกลาง
           การทำให้อยู่ในสภาพเยาว์วัยและการขยายพันธุ์ (rejuvenation and multi-plication) เมล็ดที่เก็บรักษาไว้เป็นเวลานาน ความสามารถในการงอกจะลดลง จึงควรมีการนำมาปรับปรุงให้เป็นเมล็ดที่มีความใหม่หรืออยู่ในสภาพเยาว์วัยเป็นระยะๆ การกระทำดังกล่าวจะมีความถี่มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับชนิดของพืช การที่จะทำให้สภาพเยาว์วัยยาวนานที่สุดได้นั้น จำเป็นต้องมีการทดสอบความงอก กล่าวคือ ควรจะต้องนำเมล็ดไปปลูกใหม่เมื่อความงอกของเมล็ดเริ่มลดน้อยลง ซึ่งเป็นการขยายพันธุ์ไปด้วย สิ่งที่จำเป็นต้องระมัดระวังในการทำขั้นตอนนี้ คือ
                     - ป้องกันการปะปนทางพันธุกรรม (gnetic contamination) ซึ่งต้องพิจารณาจากชนิดของพืชเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราการผสมข้ามสายพันธุ์
                     - ป้องกันมิให้เกิดโรคในระหว่างการปลูกขยาย
                     - สถานที่ปลูกจะต้องมีสภาพนิเวศคล้ายคลึงกับสภาพที่เคยเก็บเมล็ดให้มากที่สุดเพื่อป้องกันการเกิดการคัดเลือกจนทำให้ความถี่ของอัลลีลเปลี่ยนแปลง หรืออัลลีลบางชนิดอาจถูกกำจัดออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัลลีลที่อ่อนไหวต่อสภาพดิน สภาพอากาศ ช่วงแสง อุณหภูมิ
           การประเมินคุณค่าของพันธุ์ (evaluation) การประเมินคุณค่าของพันธุ์เริ่มทำตั้งแต่ตอนเริ่มเก็บสะสม และต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีวันจบสิ้น จนกว่าพันธุ์นั้นจะหมดไป ระยะเวลาในการประเมินค่อนข้างยืดหยุ่น ขึ้นอยู่กับความต้องการ ในการใช้ข้อมูลว่าเร็วหรือช้า แต่ถือเป็นหลักโดยทั่วไปว่า ยิ่งทำการประเมินมากเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น การประเมิน อาจทำหลายด้าน ทั้งทางด้านการเกษตร รูปทรงสัณฐาน ชีวเคมี เซลล์วิทยา โรค โดยระบุลักษณะที่มีความสำคัญและลักษณะที่มีประโยชน์ (descriptor) ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้ที่จะเลือกเอาไปใช้ ปัจจุบันมีเทคนิคใหม่ที่อาจระบุลักษณะประจำพันธุ์เช่น DNA Fingerprint,Zymotype และความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากร
           การจัดระเบียบข้อมูลและเอกสาร (documentation) การจัดระเบียบเอกสารที่ดีจะทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลมีประสิทธิภาพดี การจัดเก็บด้วยระบบข้อมูลที่ดีจะทำให้การสืบค้นข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีข้อมูลที่ต้องจัดเก็บและที่ต้องค้นหาอยู่เป็นจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านี้อาจมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างแหล่งสะสม Germplasm ในส่วนต่าง ๆ ของโลก ศูนย์รวมพันธุ์แต่ละศูนย์อาจมีระบบจัดเก็บ รวมทั้งลักษณะการเขียนข้อมูลแตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นปัญหาต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล
           การแลกเปลี่ยนพันธุ์ (exchange) จุดประสงค์ของกระบวนการทั้งหมดที่ทำมาตั้งแต่ต้นคือการใช้ประโยชน์ของตัวอย่างที่มีการจัดเก็บข้อมูลของนักปรับปรุงพันธุ์ การแลกเปลี่ยนกันเพื่อใช้ประโยชน์จึงเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของแหล่งสะสมเชื้อพันธุ์ ด้วยเหตุนี้จึงมีความร่วมมือซึ่งยึดถือกันเป็นข้อตกลงสากลระหว่างประเทศ ตัวอย่างที่แลกเปลี่ยนกันจะต้องมีการรับประกันว่าได้ผ่านการตรวจสอบและทดสอบแล้วว่าได้มีการลดความเสี่ยงในด้านการระบาดของโรคและศัตรูพืช การขนย้ายเชื้อพันธุ์ที่เพาะเลี้ยงไว้ในหลอด จะช่วยลดความเสี่ยงในด้านนี้ได้ดี และเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป
           แหล่งพันธุกรรมพืชในประเทศไทย
           ประเทศไทยมีแหล่งเก็บรวบรวมพันธุ์พืชตามหน่วยงานของรัฐ มหาวิทยาลัยและสถานศึกษาต่าง ๆ ซึ่งเก็บรวบรวมตามความสนใจของนักวิจัยในสาขาต่างๆ มากกว่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยส่วนรวม และตัวอย่างพืชที่รวบรวมไว้ได้เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการเก็บรักษาพันธุ์ จึงมีการวิจัยเทคนิควิธีที่จะเก็บรักษาพันธุ์พืชให้ได้ยาวนานขึ้น อย่างไรก็ตามพืชที่ไม่มีเมล็ดหรือเมล็ดที่ไม่สามารถทำแห้งโดยคงสภาพ เช่น มันสำปะหลัง กล้วย มะพร้าว ได้มีการเก็บรักษาโดยการปลูกลงแปลง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการถูกทำลายและการเปลี่ยนแปลงจากเดิมได้มาก
           แหล่งเก็บรวบรวมพันธุ์พืช
           ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บรักษาเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ ณ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 และกระทำกันอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ.2493 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2524 ทำการอนุรักษ์เชื้อพันธุ์ข้าวของไทยไม่ให้สูญพันธุ์ หรือเสื่อมพันธุ์ บริการข้อมูลแลกเปลี่ยนความรู้และเมล็ดเชื้อพันธุ์กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันศูนย์ฯ แห่งนี้มีพันธุ์ข้าวทั้งหมดประมาณ 22,000 ตัวอย่าง ประกอบด้วยข้าวพันธุ์พื้นเมืองประมาณ 4,000 ตัวอย่างพันธุ์ ข้าวป่าของไทย 6 ชนิด นอกนั้นเป็น ข้าวพันธุ์ต่างประเทศและข้าวที่เกิดจากนักปรับปรุงพันธุ์ ข้าวทั้งหมดเหล่านี้กำลังจะได้รับการตรวจ DNA เพื่อวิเคราะห์พันธุ์ให้ถูกต้อง ยกเว้นข้าวป่าซึ่งเป็นบรรพบุรุษของข้าวไทยซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์แล้ว
           การเก็บรักษาเชื้อพันธุ์ข้าวของศูนย์ฯ แห่งนี้ มีทั้งการเก็บระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว โดยการเก็บในที่มีอุณหภูมิ 15 C, 5 และ -10 ตามลำดับ ทั้งนี้ให้มีความชื้นสัมพัทธ์ 60 % จะ สามารถเก็บรักษาเชื้อพันธุ์ข้าวให้คงความงอกได้นาน 3-5 ปี, 20 ปี และ 50 ปี ตามลำดับ
           ธนาคารเชื้อพันธุ์พืชแห่งชาติ (The National Genebank of Thailand) เป็นศูนย์เก็บรักษาพันธุกรรมพืช ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2527 ศูนย์นี้เป็นเครือข่ายสากล มีคณะกรรมการสากลว่าด้วยพันธุกรรมทางพืช (International Board for Plant Genetic Resources - IBPGR) เป็นผู้กำกับดูแล มีวัตถุประสงค์เพื่อส่วนรวมทั่วโลก เพื่อปกป้องรักษาและแลกเปลี่ยนทรัพยากรพันธุกรรมพืชทั้งภายในและต่างประเทศ ด้วยการเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมและรักษาเชื้อพันธุกรรมพืช การแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุกรรมพืช รวมถึงการบริการข้อมูลข่าวสารด้านพันธุกรรมพืชทั้งในและต่างประเทศ และการวิจัยค้นคว้าพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ ตลอดจนทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานของทางราชการ ในการให้บริการเก็บฝากรักษาเชื้อพันธุกรรมพืชที่ได้จากการค้นคว้า วิจัย ทดลองและเก็บรวบรวมในแปลงทดลองพันธุ์พืชไม่ให้สูญพันธุ์ หรือสูญเสียความงอกของเมล็ดไปอย่างรวดเร็ว
           ธนาคารเชื้อพันธุ์พืชแห่งนี้เก็บเมล็ดพันธุ์โดยการทำแห้งด้วยการใช้ซิลิก้าเจลค่อยๆ ดึงความชื้น ออกจากเมล็ดให้เหลือความชื้นเพียง 5-7 % และบรรจุในกระป๋องระบบสูญญากาศ แล้วนำไปเก็บไว้ ในห้องเย็น การเก็บแบบถาวร อุณหภูมิของห้องเก็บอยู่ระหว่าง -18 ถึง -20 เมล็ดจะคงความงอกได้นานกว่า 50 ปี การเก็บแบบใช้งาน อุณหภูมิของห้องเก็บ 5-10 C เมล็ดจะคงความงอกได้นานกว่า ปี ปัจจุบันมีพันธุ์พืชในห้องเย็นมากกว่า 4,000 ตัวอย่าง ประมาณ 200 ชนิด 50 สกุล โดยให้ความสำคัญกับถั่วต่าง ๆ ข้าวโพด งา ผักโขม พริก ไม้โตเร็ว และพืชสมุนไพรบางชนิด
           ศูนย์วิจัยและสถานีทดลองของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้ทำการทดลองวิจัยและเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าว พืชไร่ พืชสวน ยาง และหม่อนไหม ไว้จำนวนมาก อาทิ ยางมีจำนวนมากกว่า 1,000 พันธุ์ปลูก (variety) มันสำปะหลังมีมากกว่า 200 พันธุ์ปลูก นอกจากนี้ได้รวบรวมพืชสมุนไพรไว้มากกว่า 300 ชนิด (species) ในจังหวัดกระบี่ จันทบุรี ชัยนาท เชียงใหม่ เชียงราย สุพรรณบุรี อุบลราชธานี และรวบรวมพรรณไม้หอมในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศรวม 96 แห่ง มีพรรณไม้หอมไม่น้อยกว่า 320 ชนิด
           ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) ได้ทำการอนุรักษ์พืชเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยทำการสำรวจและจำแนกพันธุ์พืชในป่าแบบต่างๆ ของประเทศไทย ได้รวบรวมส่วนยอดและเมล็ดของพืชมาเพาะเลี้ยงตามเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ขณะนี้มีการเก็บรักษาแคลลัสที่เพาะเลี้ยงได้ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 501 ชนิด 191 สกุล 105 วงศ์ ซึ่งเป็นจำนวน 42 เปอร์เซ็นต์ของวงศ์พืชทั้งหมดในประเทศไทย
           โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เป็นโครงการตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร จึงประกอบด้วยโครงการต่างๆ จำนวนมาก ในด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยทรงกิจกรรมต่างๆ ดังจะได้กล่าวต่อไป นอกจากนั้นยังมีธนาคารพืชพรรณ เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2539 ซึ่งอยู่ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ธนาคารพืชพรรณนี้เป็นที่เก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ด และเนื้อเยื่อ และมีพรรณไม้ที่ปลูกไว้ในสวนจิตรลดา รวม 392 ชนิด 272 สกุล 94 วงศ์ ทั้งนี้ไม่รวมวัชพืชจำพวกหญ้าและพรรณไม้ดอก ไม้ประดับในแปลงปลูกอีกหลายชนิด ในคราวที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ ได้ทรงพระกรุณาให้รวบรวมพันธุ์ไม้ถิ่นเดียว (Endemic species) ของประเทศต่างๆ ที่หายากและมีศักยภาพในการใช้ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ นำมาปลูกไว้ในแปลงรวมพันธุ์นอกถิ่น ที่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และพื้นที่โครงการตามพระราชดำริภาคต่างๆ เช่น กล้วยป่าของมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน กล้วยป่าของประเทศหมู่เกาะคุก ภูมิภาคหมู่เกาะแปซิฟิคใต้ อ้อยป่าของสาธารณรัฐฟิจิ พริกไทยป่าของราชอาณาจักรตองกา และพืชจิมโนสเปอร์ม จำพวก Yew ที่เป็นสมุนไพรใช้ต้านโรคมะเร็งของมณฑลยูนนาน เป็นต้น
           พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพฯ กรมวิชาการเกษตร และหอพรรณไม้ กรมป่าไม้ งานสำรวจค้นคว้าทางพฤกษศาสตร์ของกรมป่าไม้ เริ่มในปี พ.ศ.2449 (ส่วนการสำรวจทาง พฤกษศาสตร์ของประเทศไทยเริ่มปี พ.ศ.2233) ในสมัยที่ Mr. W.F. Lloyd เป็นเจ้ากรมป่าไม้ ในขั้นแรกนี้ได้มุ่งสำรวจพรรณไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ มีการติดต่อส่งตัวอย่างพรรณไม้ไปให้ทางสวนพฤกษศาสตร์เมืองกัลกัตตา (Calcutta) ช่วยตรวจหาชื่อ ซึ่งในขณะนั้นมีนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ คือ Mr. W.G. Craib (พ.ศ.2425-2477) เป็นผู้ตรวจสอบให้ และต่อมาเมื่อท่านได้ย้ายไปอยู่มหาวิทยาลัยอะเบอดีน สกอตแลนด์ ทางกรมป่าไม้ก็ได้ส่งตัวอย่างพรรณไม้ไปให้ท่านศึกษาตลอดมา (ปัจจุบันจึงมีตัวอย่างพรรณไม้ของไทยเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์พืชของมหาวิทยาลัยแห่งนี้) ท่านได้ศึกษา ค้นคว้าบรรดาพืชที่พบในประเทศไทยเขียนเป็นหนังสือที่สำคัญคือ Florae Siamensis Enumeratio ซึ่งใช้เป็นคู่มือในการศึกษาพรรณไม้ไทยอยู่จนถึงปัจจุบันนี้
           ในปี พ.ศ.2463 รัฐบาลได้เห็นคุณค่าของการสำรวจพรรณไม้ ได้ตั้งกองตรวจพันธุ์รุกขชาติ ในกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม (ปัจจุบัน คือ พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพฯ กรมวิชาการเกษตร) โดยมี Dr. A.F.G. Kerr เป็นผู้อำนวยการ กรมป่าไม้ได้ส่งพรรณไม้ไปให้ตรวจหาชื่อให้ ต่อมาปี พ.ศ.2469 สมัยที่พระยาดรุพันธ์ พิทักษ์ (สนิท พุกกะมาน) เป็นอธิบดีกรมป่าไม้ที่เป็นคนไทยคนแรก ได้ส่งเสริมนโยบายการสำรวจพรรณไม้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ได้มอบหมายให้ พระยาวินิจวนันดร (โต โกเมศ) จัดตั้ง หอพรรณไม้ ของกรมป่าไม้ขึ้นอย่างถาวรในปี พ.ศ.2473 โดยเก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้จากที่ท่านสำรวจเก็บมาได้ พรรณไม้ของ Mr. Garrett และของ Dr. Eryl Smith พระยาวินิจวนันดร นับว่าเป็นตัวจักรสำคัญในการสำรวจพรรณไม้ของกรมป่าไม้ โดยเริ่มทำการสำรวจเก็บตัวอย่างพรรณไม้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2459
           ปัจจุบันหอพรรณไม้ กรมป่าไม้ เป็นพิพิธภัณฑ์พืชที่มีกิจกรรมงานค้นคว้าวิจัยทางพฤกษศาสตร์อย่างต่อเนื่อง มีตัวอย่างพรรณไม้แห้งที่เก็บรวบรวมไว้ จากการสำรวจตามป่าทั่วประเทศตั้งแต่ปีที่ก่อตั้ง จนถึงปัจจุบันมีจำนวนถึง 180,000 ตัวอย่าง ประมาณ 9,800 ชนิด 1,200 สกุล 282 วงศ์ พิพิธภัณฑ์พืช กรมวิชาการเกษตร ก็ได้มีการสำรวจพรรณพืชอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 79 ปี ขณะนี้มีตัวอย่างพืช 62,000 ตัวอย่าง ประมาณ 14,000 ชนิด 230 วงศ์ ตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บรวบรวมไว้นี้เป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานพรรณพฤกษชาติในงานค้นคว้าวิจัยทางพฤกษศาสตร์ และงานวิจัยประยุกต์ที่เกี่ยวกับพืชสาขาต่างๆ นอกจากนี้พืชพรรณหลายชนิดได้สูญพันธุ์ไปจากป่าหลายพื้นที่เนื่องจากการพัฒนาประเทศ แต่ที่ยังคงอยู่ก็คือตัวอย่างพรรณไม้แห้งเหล่านั้นที่นักพฤกษศาสตร์เคยสำรวจและเก็บสะสมไว้ในหอพรรณไม้ ตัวอย่างพรรณไม้แห้งเหล่านี้จึงเป็นหลักฐานยืนยันถึงความหลากหลายของพรรณพฤกษชาติของประเทศได้เป็นอย่างดี
           สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงโปรดให้ถ่ายภาพตัวอย่างพืชทั้งหมดในพิพิธภัณฑ์พืชของไทย แห่งนี้ ลงใน CD ROM เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อน ต้นไม้แห้งที่อยู่ในตู้เสี่ยงกับการเสียหายจากแมลงสามง่ามและมอดบางชนิด แม้ว่าจะใส่ยากันแมลงอยู่ตลอดเวลา บางตัวอย่างเก่าถึง 30 ปี จนกระดาษชำรุดแล้ว
คุณค่าทางเศรษฐกิจของความหลากหลายทางชีวภาพ
           ความในเชิงเศรษฐศาสตร์ คุณค่าทางเศรษฐกิจของความหลากหลายทางชีวภาพคือความพึงพอใจของมนุษย์ต่อทรัพยากรชีวภาพนั้นๆ ซึ่งความพึงพอใจนี้เกิดจากการบริโภคทรัพยากร หรือคุณค่าของการใช้ (use value) และความพึงพอใจที่เกิดจากการไม่บริโภคทรัพยากรหรือ คุณค่าของการเก็บ (non-use value)
           คุณค่าของการใช้ มนุษย์ยังเข้าใจคุณค่าของการใช้แตกต่างกัน บางคนอาจจะใช้เป็นแหล่งอาหาร ยารักษาโรค วัสดุก่อสร้าง บางคนอาจจะนึกถึงประโยชน์ทางความสวยงาม เป็นที่เกิดแม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น คุณค่า ของการใช้นี้แยกออกเป็น
           1. คุณค่าโดยตรง (direct use value) หมายถึง ทรัพยากรชีวภาพที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรงในด้านอุปโภค บริโภค เช่น การเก็บของป่ามาใช้ การล่าสัตว์มาเป็นอาหาร หรือ เกมกีฬา การนำพืชและสัตว์มาเพาะเลี้ยงและขายเป็นสินค้า และนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม เช่น การทำไม้ แปรรูปไม้ ทำหัตถกรรมในครัวเรือน
           2. คุณค่าทางอ้อม (indirect use value) เป็นคุณค่าที่เกิดจากการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างๆ โดยที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจะทำหน้าที่ค้ำจุนให้ชนิดอื่นที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น นกและค้างคาวบางชนิดจะช่วยผสมเกสรให้แก่พืชที่มนุษย์รับประทานผล หรือระบบนิเวศจะให้คุณค่าทางอ้อมแก่มนุษย์ เพราะระบบนิเวศเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพรรณพืชและพรรณสัตว์ที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง
           ทรัพยากรชีวภาพบางชนิดมีประโยชน์ทั้งโดยตรงและทางอ้อมต่อมนุษย์ เช่น มนุษย์นำน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์โดยตรง และผึ้งมีคุณค่าทางอ้อมที่ช่วยผสมละอองเกสรพืช เรานำไส้เดือนมาใช้ตกปลา ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรง และไส้เดือนรวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกหลายชนิดช่วยทำให้ดินร่วนซุย ย่อยซากพืชทำให้พืชป่าเจริญเติบโตได้ดี หรือกรณีป่าไม้ของประเทศมีคุณค่าโดยตรงต่อมนุษย์ในการใช้ไม้ การเก็บของป่า เป็นพืชสมุนไพร เป็นแหล่งพันธุกรรมพืช การล่าสัตว์เป็นกีฬาและเป็นอาหาร นันทนาการ และการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันป่าไม้ก็ให้ประโยชน์ทางอ้อมแก่มนุษย์ ใช้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ทำหน้าที่ อนุรักษ์ดิน กักเก็บน้ำ ควบคุมน้ำท่วม รักษาวงจรของการเกิดฤดูกาล ช่วยลดปริมาณคาร์บอนในอากาศ เป็นต้น
           3. คุณค่าสำรอง (option value) เป็นคุณค่าของทรัพยากรชีวภาพที่มนุษย์อาจจะมองไม่เห็น หรือยังเห็นไม่เด่นชัด จึงเก็บสำรองไว้ก่อนจนกว่าคุณค่าของทรัพยากรนั้นจะชัดเจนขึ้นในอนาคต มีการประเมินว่าพืชในเขตศูนย์สูตรมีสารเคมีที่สามารถใช้รักษาโรคที่ร้ายแรง เช่น เอดส์และมะเร็งได้ จึงควรอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในเขตศูนย์สูตรให้มากที่สุดสำหรับการศึกษาค้นคว้าต่อไป
           4. คุณค่าของการเก็บ เป็นคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพที่มนุษย์ยังไม่นำออกใช้ แยกออกเป็น ชนิด ได้แก่
                     4.1 คุณค่ามรดก (bequest value) ได้แก่ คุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพที่คนในรุ่นปัจจุบันรู้จักคุณค่าและนำมาใช้ประโยชน์ จึงต้องการเก็บรักษาทรัพยากรนั้นไว้ในสภาพสมบูรณ์ เพื่อให้ตกทอดไปสู่ชนรุ่นต่อไปได้มีโอกาสใช้ทรัพยากรชีวภาพนั้นเป็นหลักประกันและสวัสดิการของการดำรงชีวิตและแสวงหาความสุขเหมือนกับที่รุ่นตนได้รับ
                     4.2 คุณค่าของการดำรงอยู่ (existence value) เป็นคุณค่าของสิ่งมีชีวิตที่ทุกชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีคุณค่าในตัวเองที่จะดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้อย่างอิสระเช่นเดียวกับมนุษย
           ความหลากหลายทางชีวภาพมีความซับซ้อนมากยากต่อการประเมินค่าทางเศรษฐกิจให้ตรงกับความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น การประเมินราคาชนิดพันธุ์ไม้ในท้องตลาด มักจะประเมินจากต้นทุนและความต้องการของผู้ใช้โดยไม่รวมค่า O2 ที่พืชนำมาใช้สันดาปอาหาร CO2 และแสงที่พืชใช้สังเคราะห์อาหาร หรือการทำไม้ เมื่อตัดไม้ใหญ่มา ต้น จะเกิดค่าเสียโอกาสจากไม้ใหญ่นั้น เช่น O2 ที่พืชปล่อยออกมาสู่บรรยากาศ CO2 ที่พืชตรึงเข้าไป ปริมาณการคายน้ำที่นำไปสู่การเกิดฤดูกาล การให้ความร่มเย็น เป็นที่อยู่อาศัย และเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอื่น ใบไม้หรือกิ่งไม้ร่วงจะเป็นที่อยู่อาศัยและอาหารของจุลินทรีย์ และสลายกลายเป็นปุ๋ยกลับคืนสู่พืช ซึ่งคุณค่าทางกายภาพและทางชีวภาพเหล่านี้ นายทุนมิได้รวมเข้าไว้ในราคาของไม้ต้นนั้น ดังนั้นคุณค่าทั้งหมดทางเศรษฐกิจ (total economic value) ของความหลากหลายทางชีวภาพยังไม่ใช่คุณค่าทั้งหมดของสิ่งแวดล้อม (total environmental value) ซึ่งคุณค่าทั้งหมดของสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงคุณค่าที่ประเมินเป็นตัวเงินไม่ได้ และคุณค่าที่มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้กำหนดเข้าไป
           การเพิ่มผลผลิตกับความหลากหลายของชนิดพันธุ์
           ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชนิดพันธุ์ที่นำรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นหรือประเทศ เป็นชนิดพันธุ์ที่มนุษย์นำมาเพาะปลูกขยายพันธุ์ มาจากภาคเกษตรกรรม แต่มักจะมีคำถามว่า เหตุใดชาวไร่ ชาวนา ที่ผลิตอาหารเลี้ยงโลก แต่ตัวเองแทบอดตาย เกิดมาเพื่อต่ำต้อย เกิดมาเพื่อด้อย แม้แต่ลูกหลานก็ทิ้งอาชีพการเกษตร ออกไปทำงานข้างนอกทิ้งให้พ่อแม่ที่ชราอยู่ในหมู่บ้าน ทั้งนี้เพราะเกษตรกรทำการปลูกพืชชนิดเดียวหรือเรียกว่าการเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งก่อให้ดินเสื่อมโทรม พืชมีลักษณะทางพันธุกรรมเป็นเอกภาพ ไม่ทนทานต่อโรคระบาด ศัตรูพืช และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ต้นทุนสูง ผลผลิตลดลง ทำให้ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่เกษตรกรจะบุกรุกป่า เพื่อต้องการพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันทำได้ยากขึ้น แต่ก็ยังมีข่าวออกมาเสมอ ๆ หรืออีกทางเลือกหนึ่งก็คือการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และ พ่นยาฆ่าศัตรูพืช สารเคมีเหล่านี้ทำลายสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกรเองและตกค้าง เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ถ้าเกษตรกรไม่ระมัดระวังและไม่ปฏิบัติตามวิธีการใช้อย่างถูกต้อง กระทรวงสาธารณสุขเคยประเมินถึงสารตกค้างในกลุ่มผัก ผลไม้ปอกเปลือก และผลไม้กินทั้งเปลือกไว้ในอัตรา 30% 40% และ 90% ตามลำดับ การสำรวจสารตกค้างของผักที่วางขายในตลาดปากคลองตลาด กรุงเทพฯ พบสารตกค้างจากยาฆ่าแมลง ชนิด ได้แก่ ออกโนฟอสเฟต และคาร์บาเมท ในกลุ่มผักสด ตัวอย่าง คือ ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลี กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ถั่วแขก และผักโขม
           เนื่องจากผลเสียของการเกษตรเชิงเดี่ยว จึงได้มีการทดลองทำการเกษตรเลียนแบบธรรมชาติ ด้วยการปลูกพืชหลากหลายชนิดในบริเวณเดียวกัน ปรากฏว่ามีผลิตผลโดยรวมแล้วดีขึ้นและยังสามารถทนต่อความแปรปรวนของสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า นอกจากนั้นยังเป็นการลดต้นทุนของการซื้อปุ๋ย และยาฆ่าศัตรูพืช ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของการทำลายสิ่งแวดล้อม และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
           นักนิเวศวิทยาเปรียบเทียบผลผลิตรวมของพืชจากแปลงต่างๆ ที่ทำการปลูกพืช 2, 5, 8 และ 16 ชนิดพันธุ์ตามลำดับ ในเรือนปฏิบัติการที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้ (ecotron) และทำการทดลองแบบเดียวกันนี้ในเรือนกระจก (greenhouse) ผลจากที่ปลูกพืชทั้ง แห่ง ปรากฏว่ากลุ่ม พืชที่มี 16 ชนิดพันธุ์จะให้ผลผลิตมากที่สุด และผลจากการศึกษาภาคสนามระหว่างปี พ.ศ.2530-2531 ซึ่งเป็นช่วงปีที่ทั่วโลกประสบสภาวะแห้งแล้งมาก พบว่าบริเวณที่มีจำนวนชนิดพันธุ์มากที่สุดได้ผลผลิตลดลงเพียง 1/4 เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณที่มีชนิดพันธุ์น้อยที่สุด และบริเวณที่มีชนิดพันธุ์มากสามารถฟื้นตัวกลับมาได้เร็วกว่าบริเวณที่มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์น้อยกว่า ความหลากหลายทางชีวภาพจึงเป็นหนทางหนึ่งในการป้องกันความเสียหายจากการแปรปรวนของสภาพแวดล้อม แต่ในพื้นที่การเกษตร มนุษย์ ยังเป็นผู้คัดเลือกพันธุ์มาปลูก หากสภาพแวดล้อม ดิน ฟ้า อากาศ เปลี่ยนแปลง หรือเกิดโรคระบาดก็จะสามารถทำลายพืชเหล่านั้นได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นการรักษาป่า รักษาความหลากหลายทางชีวภาพในสภาพธรรมชาติยังจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นแหล่งสะสมชนิดพันธุ์และพันธุกรรม ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
           ในการปลูกพืชเศรษฐกิจจะได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น หากปลูกพืชที่มีความหลากหลายของลักษณะนิสัยและโครงสร้างควบคู่กับความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ตัวอย่างเช่น ในไร่ข้าวโพด จะไม่ปลูกธัญพืชอื่นๆ แต่จะปลูกกลุ่มพืชที่สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศได้ เช่น ถั่ว กลุ่มไม้เลื้อย เช่นฟัก ฟักทอง และแตง กลุ่มไม้ผล เช่น ฝรั่ง ชมพู่ และ มะม่วง เป็นต้น ในแปลงทดลองที่ปลูกพืช 10 ชนิด ที่มีความหลากหลายทั้งโครงสร้างและชนิดพันธุ์ จะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ถ้าเพิ่มชนิดพันธุ์มากขึ้นกว่า 10 ชนิด ผลจะดีขึ้นแต่ไม่เป็นนัยสำคัญ ดังนั้นพืช 10 ชนิด จะเป็นจำนวนน้อยที่สุดที่ให้ผลดีที่สุด ในสภาพระบบนิเวศธรรมชาติ เช่น ป่าเขตศูนย์สูตร หรือป่าในเขตอบอุ่น จำนวนชนิดพันธุ์ที่ให้ค่าเฉลี่ยของผลผลิตรวมสูงสุด จะประกอบด้วยพืชอยู่ร่วมกัน 10-40 ชนิด
           ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ : เกษตรหลากหลายเพื่อความอยู่รอด
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีความห่วงใยในความเป็นอยู่ของพสกนิกรของพระองค์ สิ่งที่ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษก็คือการทำมาหากินของเหล่าประชาราษฎร์ พระองค์พระราชทาน แนวเกษตรกรรมทฤษฎีใหม่ อันเป็นการเกษตรแบบผสมผสานหรือไร่นาสวนผสม ด้วยการปลูกพืชหลากหลาย และเลี้ยงสัตว์มากชนิดเพื่อลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว พื้นที่ในการทำการเกษตรนั้น แบ่งเป็นอัตราส่วน 30:30:30:10 (บทที่ 2)
           การเกษตรแบบผสมผสานหรือไร่นาสวนผสม (diversified farm or mixed farm) หมายถึง ความหลากหลายทางการเกษตรที่มีการเกื้อกูลกัน ใช้เศษวัสดุจากการเกษตรอย่างหนึ่งไปใช้หรือเป็นประโยชน์กับการเกษตรอีกอย่างหนึ่ง เช่น มูลสุกร มูลไก่ เป็นอาหารปลา เศษพืชผัก เป็นอาหารไก่และสุกร มูลสัตว์และเศษใบไม้ใบหญ้า มาทำเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กลับคืนไปใส่ให้ต้นไม้ หรือพืชชนิดหนึ่งอาจจะผลิตสารป้องกันแมลงให้กับพืชอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งลักษณะการเกษตรเช่นนี้ เกษตรกรจะมีรายได้ตลอดปี จากพืชอายุสั้น จากสัตว์ และจากพืชผลอายุยาว ลดค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อปุ๋ยและซื้ออาหาร เช่น ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ เปรียบเหมือนกับมีตลาดของตนเองอยู่ในไร่นา การทำการเกษตรแบบผสมผสานจะเป็นการลดความเสี่ยงจากสภาวะธรรมชาติ และการตลาดที่แปรปรวน เพราะการเกษตรหลายชนิด ทำให้เกิดความหลากหลายด้านชีวภาพ สามารถช่วยลดการระบาดของโรคและศัตรูพืชลงได้ และอายุการเก็บเกี่ยวและผลิตผลที่ออกจำหน่ายมีความแตกต่างกัน ในบางครั้งราคาผลผลิตบางชนิดตกต่ำ แต่บางชนิดราคาสูงหรือ ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า นอกจากนั้นการทำการเกษตรแบบผสมผสานนี้จะสร้างความสมดุลทางธรรมชาติ ทำให้ระบบนิเวศเกษตรชุมชนดีขึ้น เพราะไม้ผล ไม้ยืนต้นจะสร้างความร่มรื่นความชื้น การใช้ปุ๋ยจากวัสดุการเกษตร จะเป็นการหมุนเวียนธาตุอาหารตามธรรมชาติในดิน
           ตัวอย่างทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
           นายคงเดช ใบกว้าง อายุ 23 ปี อยู่ที่ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี ได้ลงมือทำอย่างจริงจังมาแล้ว ปี เริ่มต้นด้วยที่นาที่พ่อแม่ยกให้จำนวน 15 ไร่ คงเดชดำเนินการจัดแยกพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น แหล่งน้ำ ไร่ ทำนาข้าว ไร่ ทำพืชสวนและพืชไร่ ไร่ ปลูกที่อยู่อาศัยและโรงเรือน ไร่ หลังจากแบ่งพื้นที่ชัดเจนแล้ว เขาทำการปลูกข้าว ไร่ ปลูกฝรั่งพันธุ์ต่าง ๆ ปลูกชมพู่ มะขามเทศ กล้วย ขนุน และมะม่วง อย่างละ ไร่ เลี้ยงเป็ดไข่ 80 ตัว เป็ดเทศ 50 ตัว ไก่พื้นเมือง 100 ตัว ขุดบ่อเลี้ยงปลา 10 บ่อ สองข้างทางเดินยังปลูกไม้ใหญ่และต้นอินทผลัม ซึ่งถ้ามีอายุ ปี ก็จะขายได้ ต้นละประมาณ 30,000 บาท พร้อมกันนี้ก็ได้ทำการปลูกพืชผักสวนครัวทุกอย่างเอาไว้กินเอง ในขณะที่ ไม้ยืนต้นยังไม่ได้ผล เขามีรายได้จากการขายลูกปลา ขายไข่และไก่ เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว เดือนหนึ่งจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท รายได้หลักที่เป็นกอบเป็นกำได้แก่เวลาที่จับปลาในบ่อขาย เคยจับขายเพียงบ่อเดียวได้เงินถึง 500,000 บาท นอกจากนั้นเขายังพัฒนาการเลี้ยงปลากรายให้มีขนาดใหญ่ สามารถขายได้กิโลกรัมละ 80 ถึง 100 บาท
           นายคงเดชกล่าวว่า การทำการเกษตรโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ แม้พื้นที่การเพาะปลูกมีขนาดเล็กแค่ 15 ไร่ ดีกว่าการปลูกข้าวอย่างเดียว 100 ไร่ เพราะสามารถมีกินมีใช้ได้ตลอดปีไม่ต้องเสี่ยงต่อการขาดทุน สำหรับพื้นที่ปลูกข้าว ไร่ ก็สามารถเก็บไว้กินได้ทั้งปี หากลงมือทำแล้ว ขอให้สนใจดูแลด้วยความขยันอดทน รับรองว่าไม่มีจนและไม่พบความลำบากแน่นอน
           นายเฉลา บดีรัฐ อายุ 41 ปี อยู่ที่ อ.บางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อดีตทำนาในพื้นที่ 10 ไร่ มีรายได้ไม่เพียงพอและการทำนาได้ผลไม่ดี เพราะมีแมลงระบาดมากและเกิดน้ำท่วมขังทุกปี เขาจึงเปลี่ยนมาทำไร่นาสวนผสมตามทฤษฎีใหม่ โครงการพระราชดำริในปี พ.ศ. 2538
           นายเฉลา ขุดบ่อขนาดใหญ่ บ่อ ไว้ใช้เป็นแหล่งน้ำตลอดปีและใช้เลี้ยงปลาหลายชนิด ยกร่อง รอบพื้นที่นาเพื่อป้องกันน้ำท่วม และใช้เป็นพื้นที่สำหรับปลูกไม้ผล พื้นที่ว่างระหว่างไม้ผล เขาปลูกพืชผักแซม เช่น ชะอม พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว ข่า และแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้ทำนา พื้นที่ว่างบริเวณรอบๆ บ้านพัก ใช้เลี้ยงไก่ เป็ดเทศ เป็ดไข่ และสุกร หลังทำนาเขาปลูกถั่วเหลืองและถั่วเขียวในพื้นนา
           ผลจากความขยันอดทนและเอาใจใส่ทำให้เขาสะสมเงินรายได้ก้อนใหญ่ จึงได้ซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นอีก 11 ไร่ สำหรับการเพาะปลูก และขุดบ่อเพิ่มขึ้น เขาใช้ปุ๋ยหมักจากการทำขึ้นเองสำหรับบำรุงพืช และใช้สารสะเดาหรือยาสมุนไพร สำหรับไล่หรือฆ่าแมลง ทุกวันนี้เขามีรายได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น
           ขอสรุปด้วยการอัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งบางตอน เมื่อวันอาทิตย์ที่ ธันวาคม พ.ศ. 2537 "....ฉะนั้น ทฤษฎีใหม่.......เมื่อทำแล้ว ก็นึกว่าเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนมีกินแบบอัตถภาพ คือ อาจไม่รวยมาก แต่ก็พอกินไม่อดอยาก ฉะนั้นก็นึกว่า ทฤษฎีใหม่นี้คงมีประโยชน์ได้ แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง........."
           ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของความหลากหลายของชนิดพันธุ์
           มนุษย์นำชนิดพันธุ์มาใช้ประโยชน์โดยตรงจากชนิดพันธุ์เพาะเลี้ยงและชนิดพันธุ์ป่า ซึ่งทางเศรษฐศาสตร์แบ่งประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชนิดพันธุ์ได้ แบบ คือ การใช้ในด้านบริการ และการใช้เป็นสินค้า
           1. การใช้ในด้านบริการ ได้แก่ นำชนิดพันธุ์มาใช้ประโยชน์ทางด้าน งานวิจัย การศึกษา การท่องเที่ยว และการสันทนาการ เป็นต้น
           2. การใช้เป็นสินค้า ได้แก่ การนำทรัพยากรชีวภาพมาเป็นเครื่องบริโภค และการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ทรัพยากรชีวภาพเหล่านั้นได้มาจาก ภาคการเกษตร การทำไม้ และการเก็บของป่า เป็นต้น
           การเกษตร
           มนุษย์นำพืชและสัตว์มาเพาะเลี้ยงให้ประโยชน์โดยตรงในรูปของอาหาร สำหรับเลี้ยงประชากรภายในประเทศ และพัฒนาเป็นสินค้าออกส่งขายต่างประเทศ ทั้งในรูปของสินค้าสด เช่น กลุ่มธัญพืช ผัก ผลไม้ สินค้าสดแช่แข็ง เช่น สัตว์ปีก กุ้ง ปลา หรือ สินค้าแปรรูป เช่น อาหารกระปํอง ของกินเล่น นอกจากนั้นมนุษย์ยังนำชนิดพันธุ์อื่นมาเพาะเลี้ยงสำหรับใช้แรงงาน เช่น ช้าง ม้า ควาย หรือเพาะเลี้ยง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ต้นสา ฝ้าย นุ่น หญ้าแฝก หนอนไหม เป็นต้น
           การทำไม้
           การทำไม้สามารถทำรายได้ให้รัฐอย่างเป็นล่ำเป็นสันจากการให้สัมปทานการทำไม้แก่เอกชน การทำไม้ในประเทศไทยเป็นการตัดไม้จากป่าธรรมชาติออกมาขาย เมื่อประมาณ 30-40 ปีที่แล้วการส่งออกไม้สักของประเทศไทยเคยมีมูลค่าเป็นอันดับสองรองจากข้าว ซึ่งการตัดไม้จากป่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ การลดจำนวนไม้ยืนต้นลง ทำให้โครงสร้างของป่าเปลี่ยนแปลงไป ไม้ใหญ่ในป่าให้อาหาร ที่อยู่อาศัยแก่สัตว์ป่า และเป็นที่เกาะเกี่ยวของไม้เลื้อย และเฟิร์น ไม้ใหญ่หลายๆ ต้นสามารถควบคุมโครงสร้างของป่าและสภาพภูมิอากาศในระบบนิเวศ เมื่อไม้ล้มตายทับถมกันในป่า เป็นการสะสมธาตุอาหารในพื้นล่างของป่า ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพรรณพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ดังนั้นการตัดไม้และเก็บเกี่ยวซากไม้ เป็นผลให้ความหลากหลายของชนิดพันธุ์และพันธุกรรมในป่าลดลง ทำให้ระบบ นิเวศเปลี่ยนไป ตามกฎระเบียบของการทำไม้ จะต้องมีการปลูกเสริม แต่อัตราการปลูกไม่สามารถทันต่ออัตราการตัด และการปลูกพืชใหม่ขึ้นมาทดแทนนั้นไม่สามารถดึงการสูญเสียต่างๆ ให้กลับคืนขึ้นมาได้ในทันทีทันใด หรือไม่สามารถหวนกลับคืนมาอีกเลย คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ.2532 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยกเลิกสัมปทานป่าไม้
           ป่าถูกทำลายทั้งจากการให้สัมปทานป่าไม้และจากการบุกรุกของชาวบ้าน เพื่อใช้เป็นพื้นที่การเกษตร ในระยะปี พ.ศ.2493-2530 ป่าไม้ถูกทำลายประมาณปีละ ล้านไร่ ประเทศไทยดำเนินการปลูกป่าทดแทนได้ปีละ 0.1 ล้านไร่ หรือประมาณ เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ที่ถูกทำลายแต่ละปี ในปี พ.ศ.2537 รัฐบาลได้รณรงค์ชักชวนประชาชนให้มีส่วนร่วมในการปลูกป่า ภายใต้โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทั้งนี้เพื่อฟื้นฟูให้ประเทศไทยมีพื้นที่ป่า 40% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการรักษาภาวะสมดุลของระบบนิเวศและ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก็ยังเป็นความฝันอยู่ เพราะทุกวันนี้ยังมีข่าวการการลักลอบตัดไม้ในอุทยาน เขตป่าสงวนหรือเขตอนุรักษ์ นำมาแปรรูปขายต่อให้พ่อค้าคนกลางในลักษณะบ้านทั้งหลัง ในราคาหลังละประมาณ 3-4 หมื่นบาท
           การเก็บของป่า
           หลังจากยกเลิกสัมปทานป่า ของป่า ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการครองชีพของประชาชนในชนบทมีความสำคัญมากขึ้น ประชาชนรู้จักใช้ประโยชน์จากป่าเป็นเวลานับร้อยปีมาแล้ว รู้จักนำของป่ามาเป็นอาหาร และใช้ประโยชน์ในครัวเรือน ของป่าบางชนิดได้พัฒนาเป็นสินค้าส่งออกระดับชาติ ทำรายได้ให้ประเทศไทย ถึงปีละหลายร้อยล้านบาท ของป่าที่ได้มีการศึกษาและข้อมูลเพียงพอจัดจำแนกออกเป็น ชนิด ได้แก่ หวาย ไผ่ ชันและยาง สมุนไพรและเครื่องเทศ พืชอาหาร แมลงอุตสาหกรรม และแมลงกินได้ ไม้หอม เปลือกไม้ แทนนินและสีธรรมชาติ ส่วนของป่าอีกหลายชนิด เช่น ใบลาน ใบชา กก และไม้กวาด ยังไม่มีการศึกษาและข้อมูลที่เพียงพอและมีปริมาณน้อย จึงยังไม่รวมอยู่ในกลุ่มที่จัดจำแนก
           พืชสมุนไพรเป็นของป่าที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ถ้าประชาชนชาวไทยนำสมุนไพรมาดูแลรักษาตนเองก็จะช่วยลดการซื้อยาสำหรับรักษาโรคง่าย ๆ จากต่างประเทศ ซึ่งมีจำนวนเงินค่าซื้อยาสูง ขณะเดียวกันสมุนไพรบางชนิด กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยพร้อมจะผลิตเป็นอุตสาหกรรมยาได้ พืชสมุนไพรส่วนใหญ่ยังเก็บมาจากป่าตามความต้องการของตลาด ไม่มีกรรมวิธีการเก็บเกี่ยวหรือเวลาเก็บเกี่ยวที่ถูกวิธี จึงถูกทำลายลงไปเป็นจำนวนมาก
           การเก็บของป่าในภาพรวมแม้จะไม่เป็นการทำลายป่าโดยตรง แต่ถ้าเก็บอย่างไม่ระมัดระวัง ไม่ถูกวิธี และไม่มีการจัดการที่ดี ป่าก็จะถูกทำลายลงไปได้ เช่น เก็บผลของพืชป่าจนหมดไม่เหลือไว้เป็นอาหารของสัตว์ป่า และไม่เหลือสำหรับขยายพันธุ์ หรือเก็บสมุนไพรชนิดอย่างถอนรากถอนโคน เป็นต้น
           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกับ Agricultural  University of  Norway ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการเก็บเกี่ยวของป่าต่อการรักษาป่าอย่างยั่งยืน ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บริเวณตำบลนาดี อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี โดยใช้เสม็ดชุน (Sizygium gratum) และผักหวาน (Melientha suavis) เป็นกรณีศึกษา ปรากฏว่าชาวบ้านตระหนักถึงคุณค่าของของป่า รู้จักเก็บเกี่ยวอย่างระมัดระวังและถูกวิธีที่จะให้ยอดอ่อนผลิได้ดีขึ้น และพบไม้หนุ่มและกล้าไม้อยู่ในอัตราที่เป็นนัยสำคัญทางสถิติที่เสม็ดชุน และผักหวานจะไม่สูญหายไปจากป่า (Aslaug & Finholt, 1999)
           ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของความหลากหลายทางพันธุกรรม
           มนุษย์นำทรัพยากรทางพันธุกรรมมาใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เมล็ดพันธุ์พืชซึ่งเป็นที่อยู่ของแหล่งยีนต่างๆ สามารถนำมาซึ้อขายได้โดยตรง หรือนำมาเพาะให้เกิดการเจริญพัฒนาขึ้นมา มนุษย์จะนำผลจากการเจริญเติบโตนี้ มาใช้เป็นอาหาร เป็นแหล่งเส้นใยและเป็นยาในการปรับปรุงพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ มนุษย์นำเทคโนโลยีชีวภาพมาตัดต่อ และถ่ายทอดยีนไปสู่ชนิดพันธุ์เดียวกัน หรือต่างชนิดพันธุ์ พืชสร้างสารเคมีขึ้นมาสำหรับป้องกันตนเอง ใช้เป็นสารล่อแมลงหรือขับไล่แมลง มนุษย์นำสารประกอบเคมีเหล่านี้มาใช้เป็นยาฆ่าแมลง ทำน้ำหอมและอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนำมาประกอบเป็นยารักษาโรค ตัวยารักษาโรคปัจจุบันเป็นสารประกอบทางเคมีจากพืช หรือสังเคราะห์จากสารอื่นโดยลอกเลียนแบบโครงสร้างทางเคมีของสารประกอบจากพืชทั้งสิ้น จึงนับว่าพืชให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ผ่านทางความรู้เรื่องสารประกอบทางเคมี
           ทรัพยากรพันธุกรรมกับการเกษตร ในการเกษตรได้นำทรัพยากรพันธุกรรมมาใช้คัดเลือกพันธุ์ตามต้องการ เช่น เก็บรักษาต้นที่ทนทานต่อโรค ผลมีรสหวาน เมล็ดลีบ ไว้เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ต่อไป และทำการปรับปรุงพันธุ์ด้วยการผสมพันธุ์หรือใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
           ในการปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้นยังคงใช้พันธุกรรมจากชนิดพันธุ์ป่ามาผสมพันธุ์ และคัดเลือกสายพันธุ์ ที่เกษตรกรเคยใช้อยู่ ตัวอย่างเช่น การผสมมะเขือเทศพันธุ์เกษตร (Lycopersicon esculentumกับมะเขือเทศพันธุ์ป่า (L. chmielewskiiที่พบในประเทศเปรู ทำให้ได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีสีสันสดใส ผลใหญ่ขึ้นและมีผลผลิตน้ำตาลสูงขึ้นจาก 4.5-6.2% เป็น 6.6-8.6% ทำให้มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมมะเขือเทศ ซึ่งหมายถึงมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้น อ้อย (Saccharum officinaleเกือบจะสูญหายไปจากโลกหลายครั้ง จากการระบาดของ Mosaic virus ภายหลังมีการผสมและได้รับสายพันธุกรรมที่ต่อต้านไวรัส จากอ้อยสายพันธุ์ป่า (Saccharum spontaneumเช่นเดียวกับไร่กาแฟที่ประเทศศรีลังกา ชวาและฟิลิปปินส์ ต้องสูญเสียไปทั้งหมดจากโรคราสนิม (rust)
           ต่อมาได้รับสายพันธุกรรมต่อต้านโรคราสนิม จากกาแฟสายพันธุ์ป่า และจากการพบข้าวโพดป่า (Zea diploperennisที่มีความทนทานต่อเชื้อไวรัส ซึ่งจะมีบทบาทการปรับปรุงพันธุ์ทางเกษตรในอนาคต ป่าจึงเป็นบริเวณที่สำคัญมากของการสะสมพันธุกรรม ต่างๆ ไว้สำหรับเป็นสวัสดิการในอนาคตของมนุษย์
           มนุษย์นำทรัพยากรชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในการตัดต่อยีนกับชนิดพันธุ์ทางเกษตร สำหรับปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ให้ได้ลักษณะหรือมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดแก่มนุษย์ การตัดต่อยีนนี้ จะตัดต่อยีนทั้งที่เป็นชนิดพันธุ์เดียวกันและต่างชนิดพันธุ์ เช่น การใช้เทคโนโลยีวิศวพันธุกรรมตัดต่อยีนเข้าไปในข้าวโพด ถั่วเหลือง ฝ้าย เพื่อพัฒนาให้พันธุ์พืชสามารถต้านทานโรคศัตรูพืช เพื่อลดการใช้สารเคมีที่อาจจะตกค้างเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและทำลายสิ่งแวดล้อม และขณะนี้เทคโนโลยีชีวภาพพยายามที่จะนำรสชาติของกาแฟไปใส่ไว้ในถั่วเหลือง ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถผลิตกาแฟจากถั่วเหลืองได้ และการตัดต่อยีนของสัตว์ลงไปในพืช เช่น การนำยีนของกระต่ายใส่ลงไปในต้นฝ้าย เพื่อให้ได้ผลผลิตฝ้ายที่ มีสีขาวนิ่มนวล แต่ได้คิดกันหรือไม่ว่า ถ้าละอองเกสรของพันธุ์ตัดต่อยีนมาผสมกับพันธุ์พืชปกติที่เราปลูกกัน ผลจะเป็นเช่นใด หรืออาจจะเกิดการกลายพันธุ์ไปหมด จนไม่เหลือพันธุ์ดั้งเดิมให้ชนรุ่นต่อไปได้รู้จัก นอกจากการตกแต่งยีนในพืชและสัตว์แล้ว ยังมีการนำยีนของมนุษย์ตัดแต่งลงไปในยีนของวัว เพื่อให้วัวสามารถผลิตน้ำนมที่มีคุณสมบัติคล้ายน้ำนมมนุษย์มากที่สุดสำหรับการเลี้ยงทารก
           ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพเป็นเส้นทางหนึ่งที่ทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทาง ชีวภาพ ทำให้เกิดการชะล้างพันธุกรรม (genetic erosion) และทำให้พันธุกรรมเป็นพิมพ์เดียวกันหมด
           ทรัพยากรพันธุกรรมกับสมุนไพร การศึกษาค้นคว้าพันธุกรรมใหม่ๆ จากป่าโดยเฉพาะในเขตศูนย์สูตร รวมทั้งประเทศไทย เพื่อประโยชน์เป็นยาพื้นบ้านหรือสมุนไพร และพัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบัน ซึ่งจะเกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีคุณค่าต่อชีวิตมนุษย์ บรรพชนไทยได้ศึกษาและมีความรู้เรื่องสมุนไพรมาก ได้จดบันทึกลงในสมุดข่อย หรือถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง บริษัทผลิตยาจำนวนมากทำการศึกษาค้นคว้าพืช สัตว์ ฟังไจ และจุลินทรีย์ในที่ต่างๆ ของโลกโดยเฉพาะประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตรที่อุดมไปด้วยป่าร้อนชื้น ด้วยวิธี การต่างๆ เช่น การสัมภาษณ์จากหมอยาแผนโบราณ หรือผู้รู้เรื่องพืชสมุนไพร หรือศึกษาจากสมุดข่อย เพื่อการค้นหาสารเคมีซึ่งอาจนำไปสู่การผลิตเป็นยารักษาโรค ตัวอย่างเช่น กรณีเปล้าน้อย (Croton sublyratusปรากฏอยู่ในสมุดข่อย นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นนำไปสกัดสาร Plaunotol มาใช้ในการผลิตยา Kelnac ใช้รักษาและสมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ประเทศไทยได้ผลประโยชน์จากภูมิปัญญาของคนไทยเพียงค่าแรงงานในการดูแลไร่และโรงบ่มใบเปล้าน้อยเท่านั้น ไม่มีโอกาสได้ส่วนแบ่งจากผลกำไรมหาศาลของการจำหน่ายยา Kelnac แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วก็ได้รับการล่วงละเมิดสิทธิ์ เช่น กรณีของโรงงานเภสัชกรรม Novartis ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เก็บตัวอย่างรา Tolypocladium inflatum จากประเทศนอร์เวย์นำไปสกัดสาร Cyclosporin A มาใช้ในการผลิตยา Sandimmun สำหรับผู้ป่วยจากการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ในปี พ.ศ. 2540 Novartis ได้กำไรสุทธิจากการจำหน่ายยาขนานนี้ถึง 1,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขณะนี้กลุ่มนักวิทยาศาสตร์นอร์เวย์กำลังทวงสิทธิ์จาก Novartis ให้แบ่งปันผลประโยชน์คืนกลับมาให้แก่ประเทศนอร์เวย์เป็นรายปี เหตุการณ์ของเปล้าน้อยเป็นตัวอย่างที่ดีของการคุกคามจากชาติที่พัฒนาในการช่วงชิงองค์ความรู้และจดลิขสิทธิ์เป็นของตน ส่วน Tolypocladium inflatum เป็นตัวอย่างของการช่วงชิงทรัพยากรชีวภาพมาเป็นประโยชน์ของตน ซึ่งการประชุมลงนามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ในปี พ.ศ. 2535 ก็ได้ตระหนักถึงการกระทำอย่างไม่ยุติธรรม โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาได้รับ และได้เขียนไว้ในอนุสัญญาให้ประเทศที่เป็นเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรม มีโอกาสได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและต่อรองผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากร
           กรณีสัญญาการว่าจ้างของบริษัท Merk โรงงานเภสัชกรรมของอเมริกากับสถาบันความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ประเทศคอสตาริก้า (National Biodiversity Institute หรือ INBio) เป็นตัวอย่างที่ดีของการรู้จักต่อรองผลประโยชน์ Merk ว่าจ้างให้ INBio ทำการศึกษา เก็บและจัดจำแนกพรรณพืชและแมลง เป็นจำนวนเงิน 1.35 ล้านเหรียญสหรัฐ ในสัญญาว่าจ้างนี้ ทรัพยากรชีวภาพ ที่เก็บรวบรวมได้ยังคงเป็นสมบัติของคอสตาริก้า INBio และ Merck จะนำไปให้แก่ใครไม่ได้ หากเมื่อมีการสกัดสารและนำมาผลิตเป็นยาได้ Merck จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมประจำปี เป็นอัตราร้อยละของผลกำไรสุทธิซึ่งยังไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญา และตลอดการศึกษาค้นคว้าจนถึงขั้นตอนการผลิตเป็นตัวยา บริษัท Merck จะต้องช่วยสนับสนุนอุปกรณ์การทำงานและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่พนักงานของ INBio ซึ่ง ในที่สุดผลประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นแก่ทั้งสองฝ่าย
           ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของความหลากหลายของระบบนิเวศ
           ระบบนิเวศมีคุณค่าทางอ้อมแก่มนุษย์ มีบทบาทในการค้ำจุนให้การสนับสนุนทางด้านสิ่งแวดล้อม เป็นหลักประกันสังคมและเป็นสวัสดิการของมนุษย์ ในทางเศรษฐศาสตร์มีทั้งที่ประเมินออกมาเป็นจำนวน เงินได้ เช่น ใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และประเมินออกมาเป็นตัวเงินไม่ได้ เช่น เป็นแหล่งควบคุมให้เกิด ฤดูกาลต่างๆ เป็นแหล่งสร้างและกักเก็บน้ำตามธรรมชาติและเป็นแหล่งที่จะพบตัวอย่างใหม่ ๆ
           การใช้ประโยชน์ทางอ้อม
           ประโยชน์ทางอ้อมของระบบนิเวศที่สำคัญ ได้แก่ หน้าที่ของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากการทำงานของระบบนิเวศ ทำให้มีการหมุนเวียนระบบวงจรอาหาร เกิดฤดูกาล เป็นแหล่งเก็บสะสมน้ำรักษาต้นน้ำ น้ำใต้ดิน เกิดการสลายเปลี่ยนแปลงของเสียและมลพิษจนสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เพิ่มขึ้นจากสภาวะเรือนกระจก รักษาส่วนผสมของก๊าซในบรรยากาศให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งหน้าที่ของสิ่งแวดล้อมนี้จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและสุขภาพของมนุษย์ ในแต่ละระบบนิเวศประกอบด้วย ส่วนประกอบทางกายภาพ ชีวภาพ และเคมี ได้แก่ ดิน น้ำ พืช สัตว์ และธาตุอาหาร กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในแต่ละส่วนประกอบ และที่เกิดขึ้นระหว่างส่วนประกอบ ก่อให้ระบบนิเวศเกิดการทำงาน เช่น วงจรแร่ธาตุสารอาหาร ผลผลิตทางชีวภาพ การเกิดน้ำและเกิดการตกตะกอน การทำงานของระบบนิเวศ มีความสำคัญในการรักษาระบบนิเวศให้คงอยู่ และมีบทบาทในการค้ำจุนสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ภายใต้ระบบนิเวศนั้นๆ มนุษย์นำผลลัพธ์จากการทำงานของระบบนิเวศมาใช้ในการอยู่รอดและเป็นสวัสดิการของตน
           ประโยชน์ทางอ้อมของระบบนิเวศที่สำคัญต่อเศรษฐกิจอีกประการหนึ่ง ได้แก่ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และเป็นแหล่งพันธุกรรม ตัวอย่าง สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ปลาตะเพียนจะออกไข่บริเวณยอดหญ้าหรือรากพืชในบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ ปลาทู ปูทะเล และสัตว์น้ำอื่นๆ จะวางไข่และอนุบาล ตัวอ่อนบริเวณป่าชายเลน กุ้ง และปลาเก๋าจะอาศัยอยู่บริเวณแนวหญ้าทะเล และหญ้าทะเลยังใช้เป็นอาหาร ของสัตว์ทะเลหลายชนิด เช่น เต่าทะเล และพะยูน
           นอกจากนั้น ระบบนิเวศยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นการดึงเศรษฐกิจเข้าสู่ท้องถิ่นให้ชาวบ้าน ใกล้เคียงได้มีอาชีพต่างๆ ในด้านบริการแก่นักท่องเที่ยว แต่ทั้งนี้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมี การจัดการที่ดี ในการดูแลรักษาระบบนิเวศให้คงอยู่
           การประเมินค่าทางเศรษฐกิจของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
           เขาใหญ่เป็นพื้นที่คุ้มครอง โดยกว้างๆ เขาใหญ่มีคุณค่าในเชิงเศรษฐกิจ ประการ คือคุณค่าของการใช้และคุณค่าของการไม่ใช้ การประเมินค่าทางเศรษฐกิจครั้งนี้เป็นการประเมินค่าโดยตรง ใช้วิธีสอบถามจากชาวบ้านผู้ใช้ประโยชน์จากอุทยาน ประมาณค่าเป็นตัวเงินของทรัพยากรที่ชาวบ้านนำมาใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมในความเป็นจริง และความเต็มใจจะรับเงินชดเชยที่ให้ย้ายออกไป สัมภาษณ์จากกลุ่มผู้มาเที่ยวถึงความเต็มใจที่จะจ่ายเงินค่าเข้า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าเสียเวลาต่างๆ และสอบถามผู้ที่ไม่ไปเที่ยวเขาใหญ่ แต่เต็มใจที่จะบริจาคเงินเพื่อการอนุรักษ์ จากรายงานการศึกษาของปี พ.ศ. 2533 คุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพบนเขาใหญ่ประเมินไว้ประมาณ 125 ล้านบาทต่อปี ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวประมาณ 10-26 ล้านบาทต่อปี เมื่อใช้เปรียบเทียบกับจำนวนเงินจริงที่ชาวบ้านได้รับประโยชน์จากป่า ชาวบ้านยินดีสูญเสียรายได้ 182 ล้านบาทต่อปี เพื่อการอนุรักษ์ป่า แต่เมื่อมองในมุมที่ได้กำไรซึ่งยังไม่มีการประเมินค่า ได้แก่ แหล่งน้ำ ต้นน้ำ ยังอยู่บริบูรณ์เป็นทุนให้ชาวบ้านได้ใช้ และช่วยลดปริมาณคาร์บอนในอากาศที่เกิดจากกิจกรรมเผาไหม้ต่างๆ
           การประเมินค่าทางเศรษฐกิจบนเขาใหญ่อีกครั้ง ในปี พ.ศ.2537 โดยใช้วิธีการประเมินแบบเดียวกัน ปรากฏว่าคุณค่าทางเศรษฐกิจทั้งหมดประมาณ 2,080 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 1,664 บาท ต่อ ไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้จากการเกษตร ประมาณ 740 บาทต่อ ไร่ สำหรับในส่วนผู้ท่องเที่ยว พอใจที่จ่ายในการเดินทางไปเยี่ยมชม เป็นเงิน 832 บาท ต่อคนต่อปี และผู้ไม่ไปเที่ยวแต่เต็มใจจ่ายเงินเพื่ออนุรักษ์เขาใหญ่ 208 บาทต่อคนต่อปี การสำรวจในครั้งนี้สำรวจเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวไทย
           ถึงแม้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของความหลากหลายทางชีวภาพจะมาจากทรัพยากรชีวภาพเพาะเลี้ยงเป็นส่วนใหญ่ แต่แหล่งพันธุกรรมป่ายังสำคัญสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ และการพัฒนาเศรษฐกิจทางด้านการเกษตร การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะสามารถอนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งชีวิตได้ทั้งหมด ในขณะที่มนุษย์ยังไม่มีศักยภาพที่จะเรียนรู้ถึงคุณค่าของทรัพยากรชีวภาพทั้งหมด แม้ว่าจะมีการอนุรักษ์พรรณพืช และพรรณสัตว์นอกถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ เช่น สวนสัตว์ สวนพฤกษศาสตร์ หรือธนาคารเชื้อพันธุ์ แต่ยังไม่สามารถอนุรักษ์ความหลากหลายได้หมด จึงสมควรอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ในท้องถิ่นธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงต้องรักษาป่า รักษาระบบนิเวศให้ยั่งยืน การรักษาระบบนิเวศให้คงอยู่นี้จะก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ทำให้มนุษย์มีเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
           สถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยที่เริ่มลดน้อยลง เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างมาเกี่ยวข้องและปัจจัยหนึ่งคือ มีการนำเข้าของพืชต่างถิ่น จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อตอบคำถามดังนี้
           การนำเข้าของชนิดพันธูพืชต่างถิ่นมีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างไร ?
           แนวตอบ ชนิดพันธูพืชต่างถิ่น ที่นำเข้ามาเพื่อผลิตขาย ทำให้ชนิดพันธุ์พืชพื้นเมืองลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ทำให้สูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรม อีกทั้งระบบนิเวศในบริเวณที่ปลูกชนิดพันธุ์พืชต่างถิ่นมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ส่งผลกระทบอย่างมากต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
           ประเทศไทยอยู่ในภูมิประเทศที่ทำให้เกิดความหลากหลายของระบบนิเวศ ซึ่งก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นปัจจัยใดก็ตามที่มีผลกระทบทำให้สูญเสียระบบนิเวศ ย่อมส่งผลต่อสิ่งมุชีวิตและทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพด้วย เช่น การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้หรือการสูญเสียพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของทรัพยากรทางชีวภาพทั้งพืช สัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่น ได้ถูกทำลายไปมากมายจนเหลือพื้นที่ป่าธรรมชาติประมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ กระจัดกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ มีผลให้พืชและสัตว์หลายชนิดใกล้สูญพันธุ์ และหลายชนิดได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น ประชากรช้างป่าในปัจจุบันเหลืออยู่ในประเทศไทยประมาณ 1,975-2,300 เชือก ประชากรควายป่าเหลือประมาณ 50-70 ตัว ประชากรเสือโคร่งเหลือประมาณ 250-500 ตัว ขณะที่กูปรีและละมั่งไม่มีผู้พบเห็นในป่าธรรมชาติของประเทศไทยมานานหลายปี สำหรับพืชป่าหลายชนิดจัดอยู่ในสภาวะหายากและใกล้สูญพันธุ์เช่นกัน โดยเฉพาะกล้วยไม้ป่าต่าง ๆ
           ปัจจุบันพบว่าโลกของเราสูญเดสียความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตมากกว่า 30,000 สปีชีส์ หรือสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ประมาณ 3-4 สปีชีส์ต่อชั่วโมง และในจำนวนสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์มาจากป่าเขตร้อน
           นักเรียนจะเห็นได้ว่า สาเหตุหลักที่แท้จริงของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นผลมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของคนทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เพื่อผลิตและการบริโภค จากการเพิ่มจำนวนประชากรและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ อีกทั้งมีการตักตวงผลประโยชน์จากชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ซึ่งมีผลต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทั้งสิ้น ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน จะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาและเร่งฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม เพื่อให้ความหลากหลายทางชีวภาพกลับคืนมา 
           การสูญเสียความหลากหลายทางธรรมชาติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ในพื้นที่ที่กระทบต่อระบบนิเวศสามารถจำแนกได้ประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
           1. การลดพื้นที่ ( reduction)
           2. การแบ่งแยกพื้นที่ ( fragmentation)
           3. การแทนที่ ( substitution)
           4. การทำให้สูญพันธุ์ ( extinction)
           5. การทำให้ปนเปื้อน ( contamination)
(ที่มา : http://www.sci.nu.ac.th/Biology/Biodiversity/index.htm )
           สรุป
           ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สาเหตุที่แท้จริงของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพก็คือมนุษย์นั่นเอง เพื่อให้นักเรียนได้เฝ้าระวังและรณรงค์ให้ชุมชนได้ร่วมกันป้องกันการสูญเสีย ความหลากหลายทางชีวภาพนั่นเอง

1 ความคิดเห็น:

The Human Respiratory System

This system includes the lungs, pathways connecting them to the outside environment, and structures in the chest involved with moving air in...