วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การผสมทดสอบ ( The testcross )

4. การผสมทดสอบ ( The testcross ) 
testcross
               คำถามก่อนเรียน
               "ถ้านักเรียนพบพืชชนิดหนึ่งซึ่งมีฟีโนไทป์เป็นลักษณะเด่น นักเรียนจะบอกได้หรือไม่ว่าลักษณะของพืชชนิดนั้นมีจีโนไทป์เป็นโฮโมไซกัส หรือ เฮเทอโรไซกัส และจะทำการพิสูจน์อย่างไร" ให้นักเรียนทำกิจกรรมต่อไปนี้

กิจกรรมที่ 16.2

                   1. จากการผสมระหว่างพืชที่มี genotype AABBrr x aabbrr ถ้าการจับคู่กันของยีนเป็นไปอย่างอิสระ จงคำนวณหา
                           1.1 รุ่น F1 มี genotype อย่างไร ?
                           1.2 โอกาสที่จะได้รุ่น F2 ที่มี genotypeaabbrr เป็นเท่าใด ?
                           1.3 โอกาสที่จะได้รุ่น F2 ที่มีจีโนไทป์เหมือนพ่อและแม่เป็นเท่าใด
                   2. มะเขือเทศผลสีแดงเป็นลักษณะเด่น (R) ผลสีเหลืองเป็นลักษณะด้อย (r) และต้นสูงเป็นลักษณะเด่น (T) ต้นเตี้ยเป็นลักษณะด้อย (t) เมื่อผสมมะเขือเทศต้นหนึ่งมีจีโนไทป์ RrTT กับต้นที่มีจีโนไทป์และจีโนไทป์ของลูก
                   3. กระต่ายขนสีดำเป็นลักษณะเด่น (B) ขนสีน้ำตาลเป็นลักษณะด้อย (b) และขนสั้นเป็นลักษณะเด่น (S) ขนยาวเป็นลักษณะด้อย (s) ในการผสมระหว่างกระต่ายฮอมอไซกัสขนยาวสีดำ และฮอมอไซกัสขนสั้นสีน้ำตาล
                           3.1 จงหาอัตราส่วนของฟีโนไทป์ต่าง ๆ ในรุ่น F1 และอัตราส่วนของฟีโนไทป์ต่าง ๆ ในรุ่น F2
                           3.2 ลูกที่เกิดจากการผสมระหว่างรุ่น F1 กับกระต่ายขนยาวสีน้ำตาล มีฟีโนไทป์ อะไรบ้างและเป็นสัดส่วนเท่าใด ?
                   4. แมลงหวี่ปีกยาวเป็นลักษณะเด่น (L) ปีกสั้นเป็นลักษณะด้อย (l) และลำตัวสีเทาเป็นลักษณะเด่น (G) ลำตัวสีดำเป็นลักษณะด้อย (g) ในการผสมระหว่างแมลงหวี่ปีกยาว ลำตัวสีเทากับแมลงหวี่ปีกสั้น ลำตัวสีดำ จงหาจีโนไทป์ของรุ่นพ่อแม่ในกรณีต่อไปนี้
                           4.1 ลูกมีอัตราส่วนของฟีโนไทป์เป็น 1:1:1:1
                           4.2 ลูกมีอัตราส่วนของฟีโนไทป์เป็น 9:3:3:1
                   5. ในคนลักษณะนิ้วมือสั้น และเชิงผมที่หน้าผากแหลมเป็นลักษณะเด่น และลักษณะนิ้วมือยาว และเชิงผมที่หน้าผากไม่แหลมเป็นลักษณะด้อย ถ้าพ่อและแม่มีจีโนไทป์เป็นเฮเทอโรไซกัส จงหาอัตราส่วนของลูกที่มีฟีโนไทป์เหมือนพ่อแม่

                จากปัญหาดังกล่าว นักเรียนสามารถพิสูจน์ได้โดยการผสมเพื่อทดสอบ
                การผสมเพื่อทดสอบ เป็นวิธีการผสมพันธุ์เพื่อที่จะทดสอบจีโนไทพ์ของลักษณะพันธุกรรมที่เป็นลักษณะเด่นซึ่งอาจจะมีจีโนไทพ์เป็นโฮโมไซกัส หรือ อาจมีจีโนไทพ์เป็นเฮทเทอโรไซกัสก็ได้ โดยนำพืชที่ต้องการทดสอบจีโนไทพ์ มาผสมพันธุ์กับตัว / ต้น “ ทดสอบ (tester)” ซึ่งมีฟีโนไทพ์เป็นลักษณะด้อย แล้วดูลักษณะของลูกที่เกิดขึ้น


ภาพการทดสอบสายพันธุ์
                วิธีการทดสอบสายพันธุ์
                ต้นที่ต้องการทดสอบจีโนไทป์  x  ต้นทดสอบ
                                                    AA หรือ Aa   x  aa
                ถ้าจีโนไทป์เป็น AA ลูกจะมีเมล็ดกลม (AA) ทุกต้น
                                                                    AA  x  aa
                เซลล์สืบพันธุ์                          A   x   a
                ลูก                                              Aa  
                ถ้าจีโนไทป์เป็น Aa ลูกจะมีเมล็ดกลม (AA) และย่น (aa) อย่างละครึ่ง
                จีโนไทป์             Aa   x  aa
                เซลล์สืบพันธุ์   A  a   x   a

                ลูก                    Aa  ,   aa

1 ความคิดเห็น:

THE ENDOCRINE SYSTEM

THE ENDOCRINE SYSTEM Contents Hormones Evolution of Endocrine Systems Endocrine Systems and Feedback Mechanisms of Hormone Action ...