วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อัศจรรย์แห่งการสมาทานถือศีล5

อัศจรรย์แห่งการสมาทานถือศีล5
“การสวดมนต์สมาทานศีล 5 และถือศีล 5 ก่อนนอนและนั่งสมาธิ เสร็จแล้วก็สวดบทแผ่เมตตาอุทิศบุญกุศลที่ได้ทำไปให้กับเจ้ากรรมนายเวร จะช่วยสัมฤทธิ์ผลในชีวิตทุกประการ (ถ้าปฏิบัติได้)
บทสวดมนต์พร้อมคำแปล (จุดธูปเทียนดอกไม้บูชาพระรัตนตรัย)
นมัสการพระรัตนตรัย
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)
(ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)
บูชาพระรัตนตรัย
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ (ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้าด้วยการสักการะนี้)
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ (ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรมเจ้าด้วยการสักการะนี้)
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ (ข้าพเจ้าขอบูชาพระสังฆเจ้าด้วยการสักการะนี้)
กราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวัณตัง อภิวาเทมิ

(พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า  ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) (กราบ)
สะวาคะโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นมัสสามิ
 (พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าขอน  มัสการพระธรรม)  (กราบ)
สุปฏิปัณโณ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังณะมามิ
 (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์)  (กราบ)
คำขอขมาพระรัตนตรัย
วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะ ถะเม ภันเต ( ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธเจ้า เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง ขอพระองค์จงประทานอภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด )
วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะ ถะเม ภันเต
( ข้าแต่พระธรรมอันเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระธรรม เพื่อขอขมาโทษทั้งปวง ขอพระธรรมจงให้อภัยโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด) 
วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเมภันเต (ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระสงฆ์ เพื่อขอขมาโทษ ขอพระสงฆ์จงให้อภัยโทษแก่ข้าพเจ้า)
ไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ  ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
(ข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ  ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ  ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
( แม้ครั้งที่สองข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่ พึ่งที่ระลึก)     
 
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ  ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ  ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
( แม้ครั้งที่สามข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
อาราธนาศีล
(ถ้าคนเดียวเปลี่ยนจากคำว่า มะยังเป็น อะหังและ ยาจามะ  เป็น ยาจามิ และไม่ต้องกล่าวคำแปลว่า "(ทั้งหลาย)" ส่วนถ้าจะถือ ศีล ๘ ให้เปลี่ยนจากคำว่า ปัญจะ เป็น อัฏฐะ)
มะยัง/อะหัง ภันเตวิสุงวิสุง รักขะณัติถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ(ศีล๕)/อัฏฐะ(ศีล๘) สีลานิ ยาจามะ/ยาจามิ
(ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า(ทั้งหลาย) ขอสมาทาน ศีล๕  / ศีล๘  พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ ๓ ประการ เพื่อประโยชน์แห่งการรักษา เป็นข้อ ๆ)
ทุติยัมปิ มะยัง/อะหัง ภันเตวิสุงวิสุง รักขะณัติถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ(ศีล๕)/อัฏฐะ(ศีล๘) สีลานิ ยาจามะ/ยาจามิ
(ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้นในวาระที่ ๒ ข้าพเจ้า(ทั้งหลาย) ขอสมาทานศีล๕ / ศีล๘ พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ ๓ ประการ เพื่อประโยชน์แห่งการรักษา เป็นข้อๆ) 
ตะติยัมปิ มะยัง อะหัง ภันเตวิสุงวิสุง รักขะ ณัติถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ (ศีล6) อัฎฐะ (ศีล8) สีลานิยาจามิ
(ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้นในวาระที่ 3 ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอสมาทานศึล ๕ ศีล ๘ พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ ๓ ประการ เพื่อประโยชน์แห่งการรักษาศีล เป็นข้อๆ)
สมาทานศีล๕
๑.ปาณาติปาตา เวระมะณีสิกขา ปะทังสมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า)
๒.อะทินนาทานา เวระมณีสิกขา ปะทังสมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการลัก,ฉ้อ,โกง ของผู้อื่นด้วยตนเอง และไม่ใช้ให้ผู้อื่นลัก,ฉ้อ,โกง) 
๓.กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณีสิกขา ปะทังสมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าขอสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
๔.มุสาวาทา เวระมณีสิกขา ปะทังสมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ)
๕.สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณีสิกขา ปะทังสมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุรา เมรัยเครื่องดองของทำใจให้คลั่งไคล้ต่างๆ[ยาเสพติดทั้งหลาย)
อิมานิ ปัญจะสิกขา ปะทานิสมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานศีล ๕ อันประกอบด้วยองค์ ๕ ประการแล้วดังนี้)
สมาทานศีล๘
(ถ้าสมาทานศีล ๘ พอกล่าวข้อ ๕ เสร็จแล้วให้ต่อข้อ๖เลย ไม่ต้องท่องอิมานิ ปัญจะสิกขา ปะทานิสมาทิยามิ” )
๖.วิกาละโภชนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าขอสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ งดเว้นจากการบริโภคอาหาร ตั้งแต่พระอาทิตย์เที่ยงแล้ว       ไปจนถึงเวลาอรุณขึ้นมาใหม่)
๗.นัจจะคี ตะวาทิ ตะวิสุกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเล ปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะ นัฏฐานา เวระมะณีสิกขาปะทังสะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ งดเว้นจากการฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่างๆ ดูการละเล่น แต่บรรดาที่เป็นข้าศึกแก่บุญกุศลทั้งสิ้น และเว้นทัดทรงประดับตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้
หอม เครื่องประดับ เครื่องทรง เครื่องย่อมทาผิว ทำกายให้วิจิตรงดงามต่างๆ อันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี)

๘.อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ งดเว้นจากที่นอนเหนือเตียง ตั่งม้า ที่มีความสูงเกินประมาณ และที่นั่งที่นอนใหญ่ภายในมีนุ่นและสำลี และเครื่องปูลาดวิจิตรด้วยเงินและทองต่างๆ)
อิมัง อัฏฐัง คะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะรัตติงอิมัญจะ ทิวะสัง สัมมาเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งองค์อุโบสถศีล ประกอบด้วยองค์แปดประการ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วนี้ เพื่อจะรักษาไว้ให้ดี ให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทำลาย สิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่งณ เวลาวันนี้)
ถวายพรพระ อิติปิ โส
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานังพุทโธ ภะคะวาติ
(พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ความรู้และความ  ประพฤติ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ไปที่ใดยังประโยชน์ให้ที่นั้น
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม
สั่งสอนสัตว์)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ (พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา และปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควร น้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุไนโย ปาหุไนโยทักขิไณโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
(สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติดีแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติตรงแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว สงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ[คือพระอริย บุคคล ๘ นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่
สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า)
พุทธชัยมงคลคาถา
ถ้าสวดให้คนอื่นให้เปลี่ยนจากคำว่า เม เป็น เต
๑. พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะ มารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันชะสา ภะวะตุเม (เต)  ชะยะมังคะลานิ
(พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญามารผู้นิรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่คชสารชื่อครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องกึกก้อง ด้วยธรรมวิธีคือ ทรงระลึกถึงพระบารมี ๑๐ ประการ ที่ทรงบำเพ็ญ
แล้ว มีทานบารมีเป็นต้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
 
ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น)
๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม(เต) ชะยะมังคะลานิ
(พระจอมมุนีได้ทรงชนะอาฬวกยักษ์ผู้มีจิตกระด้างดุร้ายเหี้ยมโหด มีฤทธิ์ยิ่งกว่าพญามารผู้เข้ามา ต่อสู้ยิ่งนักจนตลอดรุ่ง ด้วยวิธีที่ทรง  ฝึกฝนเป็นอันดี คือขันติบารมี(ความอดทน อดกลั้น) ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น) 
๓. นาฬาคิริง คะ ชะ วะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุ ฌันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม (เต) ชะยะมังคะลานิ
(พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญาช้างชื่อนาฬาคิรี เป็นช้างเมามันยิ่งนักดุร้ายประดุจไฟป่าและร้ายแรง ดังจักราวุธและสายฟ้า (ขององค์อินทร์)ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำคือพระเมตตา ขอชัยมงคงทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น)
๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธานันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม(เต) ชะยะมังคะลานิ
(พระจอมมุนีได้ทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจอันยอดเยี่ยม ชนะโจรชื่อ องคุลีมาล (ผู้มีพวงมาลัยคือนิ้วมือมนุษย์) แสนร้ายกาจมีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นทาง ๓ โยชน์ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น)
๕. กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌสันเตนะ โสมะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม(เต) ชะยะมังคะลานิ
(พระจอมมุนีได้ทรงชนะคำกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา ผู้ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพราะทำไม้มีสัณฐานกลมผูกติดไว้ ให้เป็นประดุจมีท้อง ด้วยวิธีสมาธิอันงาม คือความสงบระงับพระหฤทัย
  ในท่ามกลางหมู่ชน ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น)
๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะถะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะ ถูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม(เต) ชะยะมังคะลานิ 
(พระจอมมุนีทรงรุ่งเรืองแล้วด้วยประทีป คือ ปัญญาได้ชนะสัจจก-นิครนถ์ (นักบวชประเภทหนึ่งในสมัยพุทธกาล) ผู้มีอัชฌาสัยในที่จะสละเสียซึ่งความสัตย์ มุ่งยกถ้อยคำของตนให้สูงล้ำดุขกธง เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก ด้วยเทศนาญาณวิธี คิอ รู้อัชฌาสัยแล้วตรัสเทศนาให้มองเห็นความจริง ขอชับมงคลทั้งหมายจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น)
๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม(เต) ชะยะมังคะลานิ
(พระจอมมุนีได้ทรงโปรดให้พระโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรสนิรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพญานาคราช ชื่อนันโทปนันทะ  ผู้มีความหลงผิดมีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีให้ฤทธิ์ที่เหนือกว่าแก่พระเถระ 
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น)
๘. ทุกคาหะ ทิฎฐิภุชะเคนะ สุทัฎฐะหัตถังพุรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะถา ภิธานังญาฌาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเม(เค) ชะยะมังคะลานิ
(พระจอมมุนีได้ทรงชนะพรหม ผู้มีนามว่า พกาพรหม ผู้มีฤทธิ์สำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรีองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ มีความเห็นผิดประดุจถูกงูรัดมือไว้อย่างแน่นแฟ้นแล้ว ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษ คือ เทศนาญาณ ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพุทธชัยมงคลนั้น)
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
นรชนใด มีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพระพุทธชัย มงคล ๘ บทนี้ทุกๆวัน นรชนนั้น
 จะพึงละเสียได้ซึ่งอุปัทวันตราย ทั้งหลาย มีประการต่างๆเป็นเอนก และถึงซึ่งวิโมกข์(ความหลุดพ้น) 
อันเป็นบรมสุขแล
พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต พรหมรังสี)
พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณ และได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอ 
จะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้นก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่สมเด็จ
พระพุฒจารย์โตและตั้งคำอธิษฐานว่า
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา

อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ  มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
๑.ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
(พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราช ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้
ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์)

๒.ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
(ขอให้พระพุทธนราสภาจอมมุนีนายกทั้ง ๒๘ พระองค์ มีพระพุทธเจ้า  พระนามว่าตัณหังกร เป็นอาทิ บรรดาที่ประทับนั่งเหนืออาสนะชัย ทรงชนะมารพร้อมด้วยพาหนะ ได้ดื่มรส คือ จตุสัจธรรมอันประเสริฐ จงมาประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องกระหม่อมของข้าพเจ้า)
๓.สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโล จะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต  มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
(ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้า พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง  พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก)
๔.หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุโต จะ ทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภา คัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก
(ขอให้พระอนุรุทธเถระ จงมาประดิษฐานอยู่ที่ดวงหทัยแห่งข้าพเจ้า  พระสารีบุตร จงมาประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องขวา พระโกณฑัญญะ จงมาอยู่ ณ เบื้องหลัง และพระโมคคัลลานะ จงมาอยู่ ณ เบื้องซ้าย)
๕.ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุ อานันทะราหุโล กัสสะโป จะมะหานาโม  อุภาสุง วามะโสตะเก
(ขอให้พระอานนท์และพระราหุล จงอยู่ ณ โสตเบื้องขวา พระกัสสปะ และพระมหานามะทั้งสององค์จงอยู่ ณ โสตเบื้องซ้าย)
๖.เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโยวะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน  โสภีโต มุนิปุงคะโว
(ขอให้พระโสภิตะจอมมุนี ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง)
๗.กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
(ขอให้พระกุมารกัสสปะเถระ ผู้มีวาทะอันไพเราะวิจิตรเป็นบ่อเกิดแห่ง คุณงามความดีอันยิ่งใหญ่ จงมาประดิษฐานอยู่ที่ปาก (วทเน) แห่งข้าพเจ้าเป็นเนืองนิจ)
๘.ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา  นะลาเฏ ติละกา มะมะ
(ขอให้พระเถระ คือ พระปุณณะ พระองคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสิวลี พระเถระทั้ง ๕ องค์นี้ จงเกิดเป็นประดุจต่อมไฝ หรือรอยเจิมที่หน้าผาก (นลาฏ) แห่งข้าพเจ้า)
๙.เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต  ชิโนระสา ชะลันตา สีละ เตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
(ขอให้พระอิสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้พิชิตชนะมารผู้เป็นพระสาวกแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงชัย
 แต่ละองค์ซึ่งล้วนรุ่งโรจน์อยู่ด้วยเดชแห่งศีลนั้น จงมาสถิตอยู่ที่อวัยวะน้อยใหญ่ แห่งข้าพเจ้า )
๑๐.ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต  อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
(ขอพระรัตนตรัยสูตรจงอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรจงอยู่เบื้องขวา  พระธชัคคสูตรจงอยู่เบื้องหลัง พระองคุลีมาลสูตรจงอยู่เบื้องซ้าย)
๑๑.ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง  อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
(ขอพระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร จงเป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ)
๑๒.ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิ  สัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
(ขอบรรดาพระสูตรอันประเสริฐต่างๆ ของพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมี ศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการเป็นอารมณ์มาตั้งล้อมเป็น
กำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น)

๑๓.อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
(ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อมแห่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายในอันเกิดแต่โรคร้าย คือโรคลมหรือโรคดีเป็นต้นเป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ)
๑๔.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล สะทา ปาเลนตุมัง สัพเพ เต มะหาปุริสา สะภา
(ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้นจงอภิบาล ข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกป้องรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล้ว)
๑๕.อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว ธัมมานุ ภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ
(ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรมแล้ว นี้ จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวะอันตรายใดๆด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตราย
ทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดร์ เทอญฯ)
บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง
(หญิงเปลี่ยนจาก โต เป็น ตา,โข เป็น ขา,โร เป็น รา,โฌ เป็น ฌา,โฆ เป็น ฆา)
อะหัง สุขิโต(ตา) โหมิ   ( ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข )
นิททุกโข(ขา) โหมิ  ( ปราศจากความทุกข์ )
อะเวโร(รา) โหมิ ( ปราศจากเวร)
อัพยาปัชโฌ(ฌา) โหมิ ( ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง)
อะนีโฆ(ฆา) โหมิ (ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ)
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ ( มีความสุขกายสุขใจรักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด)
บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา (สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น)
อะเวรา โหนตุ (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย)
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย)
อะนีฆา โหนตุ (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย)
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ (จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ)
บทแผ่กรุณา
สัพเพ สัตตา (สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง)
สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ (จงพ้นจากทุกข์เถิด)
 บทแผ่มุทิตา
สัพเพ สัตตา (สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง)
สัทธะ สัมปัตติโตมาวิคัจฉันตุ (จงอย่าไปปราศจากสมบัติอันตนได้แล้วเถิด)
บทแผ่อุเบกขา
สัพเพ สัตตา (สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง) กัมมัสสกา (เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน)
กัมมะทายาทา (เป็นผู้รับผลของกรรม) กัมมะโยนิ (เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด)
กัมมะพันธุ (เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์) กัมมะปะฏิสะระณา (เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัย)
ยัมกัมมัง กะริสสันติ (กระทำกรรมอันใดไว้) กัลละยาณังวา ปาปะกังวา (ดีหรือชั่ว)
ตัสสะ ทายาทา ภะวิสันติ (จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น)
บทแผ่ส่วนกุศล
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
(ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้ามีความสุข)
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
(ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข)
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
(ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า
 มีความสุข)
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
(ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข)
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
(ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข)
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
(ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข)
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
(ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ)
คำขอขมาและคำอธิษฐานจิต
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตังสัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
หากข้าพเจ้า ( ให้ระบุชื่อ-สกุล ของผู้กล่าว ) จงใจหรือประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินบิดามารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ พระอริยสงฆ์เจ้าตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และเจ้ากรรมนายเวร จะด้วย
 กาย วาจา ใจ ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก้ข้าพเจ้าด้วยเทอญ หากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมา ขออนุญาตมีคู่ครอบครัว ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระ ข้าพเจ้า
จะประพฤติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควร ขอบุญบารมีในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัว ตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้อง จงเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สติปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ
 อุปสรรคใดๆ โรคภัยใดๆ ขอให้มลายสิ้นไป ข้าพเจ้าขอถอนคำสัญญา คำสาบาน คำอธิฐาน ที่ผูกมัดตัวเองและผู้อื่น ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระจากสัญญาทั้งปวง หากมีผู้ใดเคยสร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าชาติใดภพใดก็ตาม ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้ ขอถอนความอาฆาต ความพยาบาท และคำสาปแช่งในทุกชาติ ทุกภพ ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากคำสาปแช่งของปวงชนและของเจ้ากรรมนายเวร ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากนรกภูมิและพบแสงสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม ตั้งแต่บัดนี้ตราบเข้าสู่นิพพานเทอญ
กรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร
ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศล จากการเจริญภาวนานี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับ
ผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรมและอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ
หลังจากแผ่เมตตาเสร็จก็สวดบทสวดมนต์คาถาบูชาพระสีวลี (พระอรหันต์ผู้เป็นเลิศในด้านโชคลาภ) พระสีวลี เป็นพระอรหันตขีณาสพ ที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องและแต่งตั้งให้เป็นพระอสิติมหาสาวก ซึ่งหมายถึง พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์ บางทีชาวพุทธก็เรียกันอีกอย่างหนึ่งว่า อนุพุทธ ๘๐ องค์ ซึ่งท่านเป็นเอกในด้านโชคลาภ เพราะเหตุที่ว่าไม่ว่าท่านจะเกิดในภพชาติใดๆท่านก็เป็นผู้ยินดีในการให้ทานอยู่เสมอ ความมีอยู่ว่า สมัยหนึ่งพระผู้เป็นเจ้าสีวลีได้เกิดเป็นบุตรเศรษฐี เมื่อเจริญวัยขึ้นมาก็มีศรัทธาเลื่อมใสได้ให้ทานแก่พระปัจเจกโพธิวันละองค์ ครั้นต่อมาได้รับสมบัติแทนบิดา เป็นเศรษฐีก็ถวายทานแก่พระปัจเจกโพธิขึ้นอีกรวมเป็น ๗ องค์ต่อวัน ตลอดมา กระทำอยู่ดังนี้จนสิ้นชีพก็ได้เกิดบนสวรรค์ชั้นยามามีวิมานสูง ๒๐ โยชน์ มีนางเทพอัปสรเป็นหมื่นเป็นบรวาร เสวยสุขทิพยืสมบัติในชั้นยามาประมาณโกฎปีในเมืองมนุษย์ ครั้นถึงศาสนาของสมเด็จ พระสมณโคดมพระพุทธเจ้าของเราทุกวันนี้ จึงจุติมาถือกำเนิดในตระกูลเจ้าศากยะ บริบูรณ์โภคสมบัติยิ่งนัก ครั้นเจริญวัยขึ้นมาก็ออกบวชต่อพระพุทธเจ้าได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ขีณาสพมีชื่อว่าพระสีวลีเถระ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายทีมีลาภมาก ไม่ว่าพระเถระจะไปสู่สถานที่แห่งหนตำบลใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างก็หลั่งไหลกันมาสักการบูชาด้วยเครื่องไทยทานอย่างมากมาย แม้บริวารของท่านก็พลอยบริบูรณ์พูนสุขไปด้วยดังนี้ ก็เพราะอานิสงส์แห่งการถวายทานให้เป็นสังฆทานอยู่เป็นนิจ
คาถาบูชาพระสีวลี
อิมานิ สักกาเรนะ สีวะลีเถรัง อภิปูชะยามิ สีวะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ สีวะลี จะมหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตังสะทา สีวะลี เถรัสสะ เอตัง คุณัง สะวัสติลาภังภะวันตุเม 
(พระคาถานี้บริกรรมเวลาบูชาพระธาตุสีวลี เกิดลาภสักการะต่างๆ มีคนรักมาก ศัตรูหมู่ร้ายและภัยอันตรายทั้งปวงไม่พ้องพานได้เลย)
คาถาหัวใจพระสีวลี
นะชาลิติ ประสิทธิลาภา ปะสันนะจิตตา สะทา โหติ ปิยัง มะนะ สัพเพชะนา สัพเพทิสา สะมาคะตา กาละโภชนา วิกาละโภชะนา อาคัจฉันติ ปิยัง มะนะ 
(พระคาถานี้ หากเราจะออกไปหาลาภที่ใดๆ ให้ภาวนาไปเถิด จะทำให้เกิดผล ถ้าเสกได้ทุกวันจะทำให้เกิดลาภสักการะมีกินตลอด จะไม่อดอาหารการกินดีนักแล)
แล้วต่อด้วยบทสวดมนต์คาถาบูชาพระพิฆเนศ (เทพพระเจ้าแห่งความสำเร็จ ทั้งในเรื่องการงาน การเงิน ความรัก)

ขั้นตอนการบูชาพระพิฆเนศ
เพื่อการสวดบูชาให้ได้ผลสูงสุด ควรเลือกเวลาที่เงียบสงัด เช่น เช้าตรู่ หรือ ก่อนนอน จะได้ไม่มีเสียง รบกวนจากผู้อื่น
1. นำของสังเวยทั้งหมด (น้ำ นม ผลไม้ ขนมหวาน) วางไว้หน้าเทวรูป
2. ดอกไม้ ถ้าเป็นช่อหรือดอกเดียวให้วางไว้ข้างหน้า ถ้าร้อยเป็นพวง สามารถนำไปคล้องที่พระกร หรือศาสตราวุธของเทวรูปได้
3. จุดกำยาน ธูป ประทีป เทียน
4. การพนมมือ ให้พนมมือแบนราบติดกันนะครับ ไม่ใช่แบบดอกบัวตูม แล้วตั้งจิตให้สงบนิ่ง
5. เมื่อจิตสงบนิ่งแล้ว ก็เริ่มสวดบูชา
การสวดมนต์นั้น ท่านสามารถใช้บทสวดใดก็ได้เพียงบทเดียว หรือจะสวดหลายๆ บทให้ต่อเนื่องกันก็ยิ่งดีการสวดมนต์นั้น หากยังจำบทสวดหลายๆบทไม่ได้ ก็ให้เลือกมา 1 บทที่จำได้ส่วนใหญ่นิยมเป็น โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา หากมีเวลาน้อย สวดเพียง 1 จบก็เพียงพอ แต่ถ้ามีเวลามาก แนะนำให้ทำสมาธิด้วยการสวดมนต์ โดยวนไปเรื่อยๆ หรือจะเป็น 108 จบก็ดี
6. เมื่อสวดมนต์เสร็จแล้ว ก็ขอพรตามประสงค์
จากนั้นให้กล่าวคำว่า "โอม ศานติ...โอม ศานติ...โอม ศานติ" เพื่อขอความสันติให้บังเกิด เป็นอันเสร็จสิ้น
จะบูชาอย่างไรก็ตาม หลักสำคัญคือ ขณะสวดบูชาให้ตั้งสติให้แน่วแน่ สร้างบรรยากาศให้เกิดสมาธิ สวดมนต์ให้ถูกต้อง บูชาด้วยใจที่บริสุทธิ์ ไม่ขอพรด้วยความโลภ ไม่ขอพรที่มีการสาบแช่งผู้อื่น ไม่ขอพรด้วยความท้าทาย หากปฏิบัติขั้นตอนใดผิดพลาดก็ให้ขอขมา บารมีขององค์ท่าน ก็คุ้มครองเราได้
คาถาบูชา บทสวดมนต์ง่ายๆ สำหรับบูชาพระพิฆเนศ
(บทสวดของพราหมณ์-ฮินดู จะลงท้ายด้วย...นะมะห์ หรือ นะมะฮา หรือ นะมะหะ ใช้คำไหนก็ได้ไม่ผิดเพี้ยน ภาษาอังกฤษจะเขียนว่า NAMAH)
โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา
ขอความสำเร็จในด้านต่างๆ มีโชค และมีทรัพย์เงินทอง สมความปรารถนา

(บูชาแบบสั้นๆ เมื่อเดินผ่านตามเทวาลัย, วัดต่างๆที่พระพิฆเณศประดิษฐานอยู่)
โอม พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ
ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ

(บทสวดของไทย สวดทุกวันเพื่อเป็นสิริมงคล)
โองการพินธุ นาถังอุปปันนัง พรหมมะโน จะอินโธ พิฆฆะเนศโต มหาเทโว อะหังวันทา มิสัพพะทา สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเม
(พระพิฆเณศวร์ คาถาพระพิฆเณศวร์ใช้สวดเพื่อขอพรหรือปัดเป่าเหตุร้าย )
โอม ศรีคะเนศายะนะมะ ชะยะคะเณศะ ชะยะคะเณศะ ชายะคะเณศะ เทวา มาตา ชากี ปะระ วะตี ปิตามะหา เทวา ละฑุวัน กา โกคะ ละเค สันตะ กะเร เสวา เอก ทันตะ ทะยาวันดะ จาระ ภุชา ธารี มาเถ สินทูระ เสเห มูเส กี อะสะวารี อันธะนะ โก อางขะ เทตะ โก กายา พามณะนะ โก กุตรร เทตะ
โกทินะ นิระทะนะ มายาฯ

(คาถาบูชาพระพิฆเนศ ใครบูชาจะพ้นจากอุปสรรค ประสบความสำเร็จ)
ตบท้ายด้วยบทสวดมนต์กราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา ฯลฯ  สามจบ ก่อนจะเข้านอน
สุดท้าย
ใครทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว ก็จักได้รับผลวิบากแห่งกรรมนั้น ขอให้ทุกๆท่าน หมั่นทำบุญทำทาน สวดมนต์ ถือศีล 5 นั่งสมาธิ แผ่เมตตา และอุทิศบุญกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร อานิสงค์ผลบุญจงน้อมนำให้ทุกท่านจงเป็นสุข เป็นสุขเถิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

The Human Respiratory System

This system includes the lungs, pathways connecting them to the outside environment, and structures in the chest involved with moving air in...