วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ระบบเนื้อเยื่อ 2. เนื้อเยื่อสัตว์


2.  เนื้อเยื่อสัตว์ (animal tissue)

เนื้อเยื่อสัตว์  เป็นเนื้อเยื่อที่มีอยู่ในร่างกายทั่ว ๆ ไป ของสัตว์ชั้นสูงต่าง ๆ ( โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ) ตามปกติแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
                   1.  เนื้อเยื่อบุผิว (Epithelial tissue or Epithelium)
                   2.  เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ( Connective tissue )
                   3.  เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (Muscular tissue)
                   4.  เนื้อเยื่อประสาท ( Nervous tissue )
ภาพที่ 4-14  เนื้อเยื่อสัตว์ 
                   1.  เนื้อเยื่อบุผิว (Epithelial tissue or Epithelium)
                   เนื้อเยื่อบุผิว (Epithelial tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่ปกคลุมผิวนอกร่างกายหรือผิวท่ออวัยวะภายใน มีหน้าที่รับความรู้สึก เช่น ที่ผิวหนัง เกี่ยวกับการดูดซึม เช่น เยื่อบุผิวทางเดินอาหาร การสร้างสาร และการหลั่งสาร เช่น ที่ต่อมน้ำลายและต่อมเหงื่อ เป็นต้น
                   เซลล์เยื่อบุผิวมีลักษณะแตกต่างกัน 3 แบบ คือ         
                           1.  รูปร่างแบนบาง (squamous)
                           2.  รูปลูกบาศก์ (cubic)
                           3.  ลักษณะเป็นแท่งหรือรูปทรงสูง (column)
                   กลุ่มเซลล์เหล่านี้จะจัดเรียงตัวกันบนฐาน (basement) ชั้นเดียว (simple epithelium) หรือหลายชั้น (stratified epithelium) และอาจพบลักษณะการจัดเรียงตัวของเซลล์หลายชั้นเทียม (pseudo stratified epithelium) คือ เซลล์เรียงตัวชั้นเดียวอยู่บนฐาน แต่มองเห็นเหมือนเป็นหลายชั้น เนื่องจากเซลล์มีความสูงแตกต่างกัน เช่น เยื่อบุผิวที่หลอดลม และอาจพบเยื่อบุผิว แบบหลายชั้นยืดหยุ่น (transitional epithelium) ซึ่งเป็นเยื่อบุผิวที่จัดเรียงตัวหลายชั้น แต่เนื่องจากเซลล์มีรูปร่างไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับการยืดหดตัวของอวัยวะ พบที่ผนังด้านในของกระเพาะปัสสาวะ โดยเมื่อกระเพาะปัสสาวะว่าง จะอยู่ในสภาพหดตัว เซลล์มีรูปร่างเหลี่ยมลูกบาศก์และซ้อนกันหลายชั้น เมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็ม จะอยู่ในสภาพขยายตัว เซลล์มีรูปร่างแบนบางและเรียงตัวน้อยชั้น นอกจากนี้ อาจพบ ขนเซลล์ (cilia) เซลล์ต่อมหลั่งสารต่างๆ ที่เซลล์เยื่อบุผิวด้วย เช่น เยื่อบุผิวภายในกล่องเสียงบางส่วน และผิวด้านบนของเพดานอ่อน (soft plate) ทางด้านช่องจมูก เป็นต้น
                   เยื่อบุผิวเจริญเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อชั้นนอก(ectoderm) ชั้นกลาง (mesoderm) หรือชั้นใน (endoderm) ก็ได้ทั้งสิ้น ถ้าเป็นมาจากเนื้อเยื่อชั้นนอกมักจะปกคลุมร่างกาย เช่น ผิวหนัง ถ้ามาจากเนื้อเยื่อชั้นใน มักจะบุภายในของอวัยวะ ที่เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อชั้นใน เช่น เยื่อบุทางเดินอาหาร ถ้ามาจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง ก็มักจะห่อหุ้ม หรือบุอวัยวะที่มาจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง เช่น ห่อหุ้มหรือบุอวัยวะขับถ่ายและสืบพันธุ์
 ภาพที่ 4-15  เนื้อเยื่อบุผิวประเภทต่างๆ ในร่างกายสัตว์
                   2.  เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน  (Connective tissue)
                   เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่พบแทรกอยู่ทั่วไปในร่างกาย ทำหน้าที่ ยึดเหนี่ยวหรือพยุงอวัยวะ ให้คงรูป อยู่ได้ลักษณะของเนื้อเยื่อชนิดนี้ คือตัวเซลล์และเส้นใยกระจายอยู่ ในสารระหว่างเซลล์ที่เรียกว่า เมทริกซ์ (matrix) ซึ่งเส้นใยที่พบ ได้แก่
                         - เส้นใยคอลลาเจน(collagen fiber)
                         - เส้นใยอิลาสติก (elastic fiber)
                         - เส้นใยร่างแห(reticular fiber
                   เนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
                 1. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันสมบูรณ์ (connective tissue proper)
                 2. กระดูกอ่อน (cartilage)
                 3. กระดูกแข็ง(bone)
                 4. เลือด (blood)
                 1. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันสมบูรณ์ (connective tissue proper)
                   ลักษณะเมทริกซ์เป็นเส้นใยกระจายอยู่แตกต่างกัน ทำให้แบ่งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดนี้เป็น 2 ประเภทคือ
                           เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบาง (loose connective tissue) เป็นเนื้อเยื่อมีเส้นใยเรียงตัว ไม่เป็นระเบียบ ชนิดที่พบมาก ได้แก่คอลลาเจนและ อิลาสติก สำหรับเส้นใยร่างแหพบเล็กน้อย
เซลล์ที่พบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ชนิดโปร่งบาง ได้แก่
                                 - เซลล์ไฟโบรบลาสต์(fibroblast)
                                 - เซลล์แมโครฟาจ (macrophage)
                                 - เซลล์แมสต์ (mast cell)
                                 - เซลล์พลาสมา (plasma cell)
                         เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดแน่นทึบ (dense connective tissue)
                         เนื้อเยื่อไขมัน(adipose tissue) เซลล์ประเภทนี้พบอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ
                                เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดแน่นทึบ พบปริมาณเส้นใยมากอยู่ติดกันแน่นทึบ ทำให้มีช่องว่าง ระหว่างเซลล์น้อยแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
                                              -  ชนิดเกี่ยวพันทึบ พบตามเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) และเอ็นยึด (ligament) ประกอบด้วยเส้นใย คอลลาเจนเรียงตัวหนาแน่นสีขาว
                                              -  ชนิดยืดหยุ่น (elastic connectivetissue)พบที่ผนังหลอดเลือด กล่องเสียง หลอดลมและปอด ประกอบด้วยเส้นใยอิลาสติกสีเหลือง ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดี
                                              - ชนิดร่างแห (reticularconnective tissue) ตัวเซลล์เป็นเซลล์ร่างแห (reticular cell) มีแขนง แยกออกไปติดต่อกับเซลล์ข้างเคียง
ก.                                                                  ข.
ภาพที่ 4-16  เซลล์ไฟโบรบลาสต์ (ลูกศร) ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดแน่นทึบ (ก) และ เซลล์แมโครฟาจ (ลูกศร) ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (ข)
 

ภาพที่ 4-17  เซลล์แมสต์ (ลูกศร) (ก.) และ เซลล์พลาสมา (ลูกศร) (ข)

ก.                                             ข.
ภาพที่ 4-18  เนื้อเยื่อไขมันและนิวเคลียส ของเซลล์ไขมัน (ลูกศร) ก. และเซลล์ร่างแ ห (ลูกศร) เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดร่างแห (ข.)
ภาพที่ 4-19  เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบางและลักษณะเส้นใยอีลาสติก (สีชมพู)
ภาพที่ 4-20  ลักษณะเส้นใยคอลลาเจน (สีฟ้า) และเซลล์ไฟโบรบาลต์(สีแดง)
ภาพที่ 4-21  เนื้อเยื่อเอ็นกล้ามเนื้อ
                2. กระดูกอ่อน (cartilage)
                   พบอยู่ตามส่วนของโครงกระดูก โดยเฉพาะบริเวณที่กระดูกมีการเสียดสีกัน ประกอบด้วย เมทริกซ์ ซึ่งเป็นสารพวกมิวโคพอลิแซ็กคาไรด์ ชนิดคอนโดรมิวคอยด์ (condromucoid) มีลักษณะคล้าย วุ้นเซลล์กระดูกอ่อน เรียกว่า คอนโดรไซต์ (chondrocyte) มีรูปร่างกลมหรือ รูปไข่ อาจพบ 1-4 เซลล์ เรียงตัวอยู่ในช่องว่างที่เรียกว่า ลาคูนา (lacuna) กระดูกอ่อนสามารถพบได้ที่ใบหู ฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis)กล่องเสียง(trachea) กระดูกอ่อนกั้นระหว่าง กระดูกสันหลังแต่ละข้อ (intervertebral disc) เป็นต้น

 
ภาพที่ 4-22  เซลล์กระดูกอ่อน (ที่มา http://www.usc.edu/hsc/dental/ghisto/cart/index.html)
                 3. กระดูกแข็ง (bone)
                ประกอบด้วยเซลล์กระดูกที่เรียกว่า ออสทีโอไซต์ (osteocyte) อยู่ในช่องลาคูนา โดยเซลล์กระดูก จัดเรียงตัวเป็นวงรอบช่อง ฮาเวอร์เชียน (harversian canal) ที่มีเส้นเลือดนำอาหารมาเลี้ยงเซลล์กระดูกและเรียกลักษณะ การเรียงตัวของเซลล์กระดูกนี้ว่า ระบบฮาร์เวอร์เชียน (harversian system) ช่องฮาร์เวอร์เชียนสามารถติดต่อกับ ช่องลาคูนาหรือระหว่างช่องลาคูนาด้วยกันเองโดยผ่านช่องเล็ก ๆ ที่เรียกว่า คานาลิคูไล (canaliculi) สารระหว่างเซลล์กระดูก ประกอบด้วยแคลเซียมและฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบสำคัญ
ภาพที่ 4-23  เซลล์กระดูก
                   4.  เลือด (blood)
                   เลือดประกอบด้วย
                   น้ำเลือด (plasma)
                   เซลล์เม็ดเลือด ซึ่งแบ่งเป็น
                        - เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell or erythrocyte) เซลล์เม็ดเลือดแดง มีรงควัตถุฮีโมโกลบิน (hemoglobin)ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
                        - เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell or leucocyte) เซลล์เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย มี 2 ประเภท คือ
                                พวกที่มีเม็ดแกรนูล (granule) พิเศษในไซโทพลาสซึม (granulocyte) สามารถย้อมติดสี ได้ดี เซลล์เม็ดเลือดขาวในกลุ่มนี้ ได้แก่นิวโทรฟิล (neutrophil) เซลล์มีนิวเคลียส 2-6 พู โอซิโนฟิล (eosinophil) เซลล์มีนิวเคลียสไม่เกิน 3 พู และเบโซฟิล (basophil) เซลล์มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ แยกเป็นพูรูปตัวเอส (s) หรือรูปร่างไม่แน่นอน
                               พวกที่ไม่มีเม็ดแกรนูลในไซโทพลาสซึม (agranulocyte) ได่แก่ ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) เซลล์มีนิวเคลียสกลมมีขนาดใหญ่ ขนาดใกล้เคียงกับเซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์โมโนไซต์ (monocyt) นิวเคลียสมีขนาดใหญ่ รูปไต หรือรูปรี เกล็ดเลือด (thrombocyte) เกล็ดเลือด เป็นชิ้นส่วนของไซโทพลาซึม (cytoplasm) ของเซลล์ชนิดหนึ่ง ในไขกระดูกที่แตกออกจากกัน เข้ามาอยู่ในกระแสเลือดไม่มีสี และไม่มีนิวเคลียส ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การแข็งตัวของเลือด
 
ภาพที่ 4-24  องค์ประกอบของเลือด

ภาพที่ 4-25  เซลล์เม็ดเลือดแดง
ก.                                   ข.                                   ค.

ภาพที่ 4-26  เซลล์นิวโทรฟิล (ลูกศร) ก. เซลล์โอซิโนฟิล(ลูกศร) ข. เซลล์เบโซฟิล ค.

ภาพที่ 4-27  เซลล์โมโนไซต์ (ลูกศร) ก. และ เซลล์ลิมโฟไซต์ (ลูกศร) ข. 
                   เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ มีหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยสามารถหดตัวได้ เซลล์กล้ามเนื้อ มีรูปร่างยาวมักเรียกว่า ใยกล้ามเนื้อ (myofibril) แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
               กล้ามเนื้อลาย (skeletal or striated muscle) มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก เรียงตัวขนานกัน มีลาย แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส
               กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) เซลล์มีรูปร่างยาวหัวท้ายแหลมแต่ละเซลล์มีนิวเคลียส 1 อัน อยู่กลางเซลล์ ไม่มีลายตามขวาง
               กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) เซลล์มีลายคล้ายกล้ามเนื้อลาย พบนิวเคลียส 1-2 อัน อยู่กลางเซลล์ และเซลล์มีแขนงเชื่อมต่อกัน


ภาพที่ 4-28  เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อในร่างกายสัตว์
                   4.  เนื้อเยื่อประสาท
                   เนื้อเยื่อประสาท ประกอบด้วย
                   เซลล์ประสาท (neuron) ทำหน้าที่รับส่งกระแสประสาท
                  
เซลล์เกี่ยวพันประสาท (neuroglia) มีหน้าที่สนับสนุนการทำงานของเซลล์ประสาท เช่นยึดเหนี่ยวหรือค้ำจุนเซลล์ประสาท ซ่อมแซมบาดแผลที่เกิดขึ้นกับเซลล์ประสาท เป็นต้น
                   เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ ประกอบด้วย
                   ตัวเซลล์ ซึ่งอยู่ในชั้นสีเทา (grey matter) ของระบบประสาทไขสันหลังและระบบประสาท ส่วนกลาง เซลล์ประสาทมีลักษณะกลมขนาดใหญ่ มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลาง
                  
แขนงประสาท หรือ ใยประสาท แบ่งเป็น 2 พวก คือ
                              - เดนไดรต์ (dendrite) ที่เป็นแขนงประสาทขนาดสั้นทำหน้าที่รับกระแสประสาท (impulse) เข้าสู่ตัวเซลล์
                              - แอกซอน(axon) เป็นแขนงประสาทลักษณะยาวไม่มีแขนงแตกออกใกล้กับตัวเซลล์แอกซอน ทำหน้าที่นำ กระแสประสาทออกจากตัวเซลล์


ภาพที่ 4-29  โครงส เซลล์ประสาท


ภาพที่ 4-30  กลุ่มเซลล์ประสาท 

ระบบเนื้อเยื่อ 1. เนื้อเยื่อพืช

เนื้อเยื่อ (Tisssue) คือ กลุ่มของเซลล์ที่มาทำงานร่วมกัน ซึ่งกลุ่มของเซลล์นี้ส่วนมากมักจะมี รูปร่างเหมือนกัน และทำหน้าที่อย่างเดียวกันด้วย เนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ เนื้อเยื่อพืช และเนื้อเยื่อสัตว์

1.  เนื้อเยื่อพืช (plant tissue)

                   เป็นเนื้อเยื่อที่มีส่วนต่าง ๆ  หรือร่างกายทั่ว ๆ ไป ของต้นไม้ต่าง ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งของต้นไม้ ที่เป็นพวกพืชชั้นสูง  แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เนื้อเยื่อเจริญ  และเนื้อเยื่อถาวร


ภาพที่ 4-1 เนื้อเยื่อพืช
                   1.  เนื้อเยื่อเจริญ (Meristematic tissue)
                   เนื้อเยื่อเจริญ ( Meristematic tissue) เกิดจากกลุ่มเซลล์ที่ยังคงมีการแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา เซลล์แต่ละเซลล์มีขนาดเล็ก ผนังเซลล์บาง นิวเคลียส ขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับ  ไซโทพลาสซึม เป็นเซลล์ที่มี เมแทบอลิซึมสูง พืชมีกลุ่มเนื้อเยื่อเจริญทำให้สามารถสร้างเซลล์ เนื้อเยื่อ และส่วนต่าง ๆ ได้ตลอดชีวิต เช่นใบกิ่งก้านดอกไม้ ฯลฯ ซึ่งต่างจากสัตว์ที่มีการเจริญเติบโตจำกัด โดยไม่มีการสร้างอวัยวะใหม่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มวัยแล้ว สามารถพบกลุ่มเนื้อเยื่อเจริญ ในพืชตามบริเวณที่พบได้ 3 ประเภท คือ
                           1)  เนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายยอด ปลายราก (apical meristem) พบบริเวณปลายของยอด และรากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อบริเวณนี้ทำให้พืชมี ความสูงเพิ่มมากขึ้นและรากพืชเจริญหยั่งลึก ลงในดินมากขึ้นสำหรับบริเวณปลายสุดของราก จะพบหมวกราก (root cap) ปกคลุมเนื้อเยื่อเจริญ ไว้เพื่อไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการแบ่งตัวแทรกลงในดิน

                           2)  เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (lateral meristem) เป็นกลุ่มเนื้อเยื่อที่เรียงตัวอยู่บริเวณเส้นรอบวงของ ลำต้นและรากทำให้เมื่อแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวน ต้นพืชและรากจะมีเส้นรอบวงเพิ่มมากขึ้น พบมากในพืช ไม้เนื้อแข็งเนื้อเยื่อกลุ่มนี้ได้แก่ วาสคิวลาร์แคมเบียม (vascular cambium) และคอร์กแคมเบียม (cork acmbium)
                           3) เนื้อเยื่อบริเวณข้อ (intercalary meristem) พบบริเวณเหนือข้อของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เมื่อเซลล์กลุ่มนี้แบ่งตัวจะทำให้ปล้องของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวยาวขึ้นเนื้อเยื่อเจริญเมื่อแบ่งตามระยะ การเจริญเติบโตสามารถแบ่งได้เป็นประเภท คือ
                                โพรเมอริสเต็ม หรือ โพรโทเมอริสเตม (promeristem or protomeristem) เป็นกลุ่เนื้อเยื่อที่เกิดจาก การแบ่งตัว ของเซลล์เจริญที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโครงสร้างภายในเซลล์ไปทำหน้าที่เฉพาะเซลล์ มีลักษณะ คล้ายกันและมีขนาดเล็ก
                              
เนื้อเยื่อเจริญขั้นแรก (
primary meristem) คือเนื้อเยื่อเจริญที่เริ่มมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง ขยายขนาด ใหญ่ขึ้น แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เช่น เนื้อเยื่อที่พบ ถัดขึ้นมาจากเนื้อเยื่อโพรเมอริสเตม บริเวณปลายราก
                          เนื้อเยื่อเจริญขั้นที่สอง (secondary meristem) คือเนื้อเยื่อเจริญที่เกิดจากการแบ่งตัวของ เนื้อเยื่อถาวร บางชนิด ที่เปลี่ยนแปลงกลับมาเจริญอีกครั้ง พบมากบริเวณรากและลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่ ได้แก่ เนื้อเยื่อวาสคิวลาร์แคมเบียม ที่พบบริเวณมัดท่อน้ำท่ออาหารและคอร์กแคมเบียมที่บริเวณคอร์เทก ของลำต้นเนื้อเยื่อกลุ่มนี้ทำให้ลำต้นและราก มีความหนามากขึ้น

ภาพที่ 4-2 บริเวณเนื้อเยื่อเจริญของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ 

ภาพที่ 4-3 เนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายราก 

                   เนื้อเยื่อถาวร(Permanent  tissue)
                   เนื้อเยื่อถาวร(Permanent  tissue)  เนื้อเยื่อถาวรเกิดจากเนื้อเจริญที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อทำหน้าที่จำเพาะ เช่น มีสารไขมัน (wax) มาปกคลุมผิวเซลล์มีขนรูปร่างต่างๆยื่นออกไปจากผิวเซลล์ หรือมีต่อมผลิตน้ำมันเป็นต้น เนื้อเยื่อถาวรไม่มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอีกแล้ว โดยทั่วไป สามารถแบ่งเนื้อเยื่อถาวรได้เป็น 3 ประเภท คือ
                   1.  เนื้อเยื่อผิว (surface tissue or protective tissue)
                   เนื้อเยื่อผิว (surface tissue or protective tissue) เป็นกลุ่มเซลล์ที่มีการจัดเรียงตัวอยู่ชั้นนอกตามส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ลำต้น ราก ใบ อวัยวะสืบพันธุ์ทำหน้าที่ปกคลุมและป้องกันอันตรายในพืช แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เอพิเดอร์มิส (epidermis) และ เพอริเดิร์ม(periderm)
                                1.1  เอพิเดอร์มิส เป็นเนื้อเยื่อพบทั่วไปตามส่วนต่างๆ ของพืชที่มีอายุน้อย เซลล์มีการเปลี่ยนแปลง ในลักษณะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหน้าที่ เช่น มีสาร พวกคิวติน(cutin) มาเคลือบเพื่อป้องกัน การระเหยของน้ำ ปากใบซึ่งประกอบด้วย เซลล์คุม (guard cell) และช่องปากใบ (stoma) เซลล์ที่มี ลักษณะเป็นขนที่เรียกว่าไทรโคม(trichome)มีหน้าที่ขับสารที่เป็นพิษ ป้องกันความร้อนให้แก่พืช หรือเพิ่มพื้นที่ผิว ในการดูดสารอาหารในรากขนอ่อน เป็นต้นเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสประกอบด้วย กลุ่มเซลล์ที่เรียงตัวเพียงชั้นเดียว


ภาพที่ 4-4 ไทรโคมแบบต่างๆ 

                           1.2   เพอริเดิร์ม พบในพืชที่มีอายุมากขึ้น เกิดจากการแบ่งตัวของเนื้อเยื่อบริเวณเส้นรอบวง ของรากและลำต้น คือ เนื้อเยื่อ คอร์กแคมเบียม หรือ เฟลโลเจน(phellogen) การแบ่งตัวของเนื้อเยื่อชนิดนี้ทำให้เอพิเดอร์มิส แตกออก เนื้อเยื่อที่มาแทนที่นี้เรียกว่าเพอริเดอร์ม ซึ่งจัดว่าเป็นการเจริญเติบโต ทุติยภูมิ(secondarygrowth) ทำให้ลำต้นและรากขยายขนาดขึ้น
                           เพอร์ริเดิร์มประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ 3 กลุ่ม คือ
                           ชั้นนอกสุด คือ คอร์ก หรือเฟลเลม (phellem) เซลล์กลุ่มนี้สร้างซูเบอริน(suberin) มาสะสม เหนือผนัง เซลล์เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ เมื่อเซลล์แก่จะตาย และมีอากาศเข้ามาแทนที่ โพรโทพลาสซึม (protoplasm)
                           ชั้นกลาง คือ กลุ่มเซลล์ เฟลโลเจน ที่ทำหน้าที่สร้างเพอร์เดิร์ม
                           ชั้นใน คือ เฟลโลเดิร์ม (phelloderm) ซึ่งประกอบด้วย เซลล์พาเรงคิมา(parenchyma) ที่เกิดจากการแบ่งตัวของเฟลโลเจนเข้ามาด้านในนั่นเอง

ภาพที่ 4-5 ชั้นเนื้อเยื่อเพอริเดิร์ม วาสคิวลาร์แคมเบียม และเนื้อไม้ของลำต้นพืช

                   2.  เนื้อเยื่อพื้นฐาน (fundamental tissue)
                   เป็นเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ของพืช สามารถพบได้ตามส่วนต่างๆ ของพืช เนื้อเยื่อพื้นฐานมีหน้าที่สำคัญคือ สร้างและสะสมอาหาร ค้ำจุนให้ความแข็งแรงกับต้นพืช เนื้อเยื่อพื้นฐานประกอบด้วยเซลล์ 3 ประเภท คือ
                           2.1  พาเรงคิมา เซลล์มีรูปร่างต่างๆ กัน แต่ส่วนใหญ่มีผนังเซลล์บางบาง ขนาดความกว้างและความยาว ของเซลล์ใกล้เคียงกัน พบได้ทั่วไปในร่างกายพืชทำหน้าที่สร้างอาหาร เช่น เซลล์ พาเรงคิมา ที่มีคลอโรฟิลล์อยู่ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง บางชนิดทำหน้าที่สะสมอาหารในต้น ราก และเอนโดสเปิร์ม (endosperm) ของเมล็ด เป็นต้น
ภาพที่ 4-6 เนื้อเยื่อพาเรงคิมา
                           2.2 คอลเลงคิมา (collenchyma) เป็นกลุ่มเซลล์ที่มีผนังหนาไม่สม่ำเสมทำหน้าที่ให้ความแข็งแรง กับพืช เซลล์มีรูปร่างยาวอยู่ชิดกัน พบมากบริเวณใต้ชั้นเอพิเดอร์มิส ก้านใบ ในรากไม่ค่อยพบมากนัก
  
ภาพที่ 4-7 เนื้อเยื่อคอลเลงคิมา
                           2.3 สเคอเรงคิมา (scherenchyma) เป็นเนื้อเยื่อที่ความแข็งแรง ผนังหนาช่องว่างภายใน เซลล์น้อย แบ่งเป็น 2 ชนิดคือสเคลอรีด (sclereid) หรือสโตนเซลล์(stonecell) เซลล์ชนิดนี้ มีลิกนินมาพอกบริเวณผนังเซลล์ และไฟเบอร์ (fiber) ซึ่งเซลล์มีลักษณะยาวและยืดหยุ่นมากกว่า
สเคลอรีด ทั้งสองชนิดมีหน้าที่ให้ความ แข็งแรงแก่ส่วนต่างๆของพืชพบมากตามส่วนแข็งในพืช เช่น เปลือก เมล็ด และกะลามะพร้าว เป็นต้น

ภาพที่ 4-8  เซลล์สเคอรีดแบบต่างๆ

 
ภาพที่ 4-9  ภาคตัดขวางของเซลล์ไฟเบอร์
                   3. เนื้อเยื่อลำเลียง (vascular tissue)
                   เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ขนส่งน้ำ เกลือแร่ อาหารที่สังเคราะห์ขึ้น ไปยังส่วนต่างๆ ของพืชประกอบด้วยเซลล์ ที่มีลักษณะเป็นท่อยาวเรียงตัวต่อกันไปได้แก่ เนื้อเยื่อ 2 ชนิด คือ ไซเลม (xylem) และโฟลเอม (phloem)


ภาพที่ 4-10  เนื้อเยื่อลำเลียงลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (ลูกศร)
                           3.1 ไซเลม  ทำหน้าลำเลียงน้ำและเกลือแร่จากรากไปยังส่วนต่างๆของพืช ไซเลมประกอบ ไปด้วยกลุ่มเซลล์ 4 ประเภทคือ
                                   1)  เทรคีด (tracheid) เป็นกลุ่มเซลล์ที่มีลักษณะยาว ปลายแหลมเสี้ยม ผนังเซลล์หนา ขรุขระ ซึ่งเกิดจากการพอกของสารลิกนินไม่สม่ำเสมอ เมื่อเซลล์โตเต็มที่ ไซโทพลาสซึมและนิวเคลียสจะสลายไปทำให้ภายเซลล์กลวง เหมาะต่อการลำเลียงน้ำ ผนังเซลล์พบช่องว่าง (pit) กระจายอยู่ ช่องว่างนี้ทำให้เซลล์สามารถลำเลียงน้ำทางด้านข้างไปยังเซลล์ข้างเคียงได้ หน้าที่อย่างหนึ่งของเทรคีด คือ ช่วยค้ำจุนต้นพืช เนื่องจากเซลล์มีลักษณะที่แข็งแรงมาก
                                                2)  เวสเซล (vessel) เป็นกลุ่มเซลล์ที่มีลักษณะสั้นและกว้างกว่าเทรคีด ปลายเซลล์มีรูพรุน เซลล์เรียงต่อเนื่องกัน สามารถลำเลียงน้ำได้สะดวกกว่าเทรคีด ผนังเซลล์ขรุขระเนื่องจากการพอก ของสารลินินเช่นเดียวกับเทรคีด และมีรูเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป ทำให้สามารถส่งสารทางด้านข้าง ของเซลล์ได้


                                   3)  ไซเลมพาเรงคิมา (xylem parenchyma) เป็นกลุ่มเซลล์ที่สนับสนุนการเคลื่อนที่ของสาร ไปทางด้านข้างของไซเลม พบกระจายอยู่ระหว่างเทรคีดและเวสเซลและตามแนวรัศมี
                                   4)  ไซเลมไฟเบอร์ (xylem fiber) เป็นกลุ่มเซลล์ที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับไซเล็มและทำหน้าที่สะสม อาหาร เช่น แป้ง และสารอื่นๆ อีกด้วย
ภาพที่ 4-11  เซลล์เทรคีด และเวสเซล


ภาพที่ 4-12 ไซเลมไฟเบอร์
                           3.2  โฟลเอม  สารมหโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันที่พืชสังเคราะห์ขึ้น จะถูกขนส่งโดยอาศัยกลุ่มเนื้อเยื่อโฟลเอม ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์ 4 ประเภท คือ
                                                1)  ซีพทิวบ์เมมเบอร์ (sieve tube member) ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาวเป็นท่อต่อกัน นิวเคลียสสลายไปเมื่อเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่แต่ยังคงมี ไซโทพลาสซึมอยู่และทำหน้าที่ลำเลียงสารได้ สันนิษฐานว่าเซลล์ถูกควบคุมโดยนิวเคลียสของคอมพาเนียนเซลล์ (companion cell) ที่อยู่ข้างเคียง นอกจากนี้คอมพาเนียนเซลล์ยังทำหน้าที่ให้อาหารแก่ซีพทิวบ์ โดยส่งผ่านทางพลาสโมเดสมาตาอีกด้วย ปลายเซลล์ซีพทิวบ์มีลักษณะคล้ายตะแกรง เรียกว่า ซีพเพลท (sieve plate) 
                                   2) คอมพาเนียนเซลล์ เป็นเซลล์พาเรงไคมาชนิดหนึ่งที่อยู่ติดกับซีพทิวบ์ เป็นเซลล์ที่มีชีวิตตลอด คอมพาเนียนเซลล์ติดต่อกับซีพทิวบ์ตรงบริเวณช่องที่ผนังเซลล
                                   3) โฟลเอมพาเรงคิมา (phloem parenchyma) ทำหน้าที่สะสมสารอินทรีย์ เช่นแป้ง รวมทั้งแทนนิน และเรซิน เซลล์พาเรงไคมาพบกระจายในโฟลเอม ทั้งในแนวตั้งและแนวนอนของรากและลำต้น
                                   4) โฟลเอมไฟเบอร์ (phloem fiber) มีลักษณะยาวมาก ทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้กับโฟลเอม โดยเฉพาะโฟลเอมที่มีบริเวณกว้าง


ภาพที่  4-13  เซลล์ซีพทิวบ์และคอมพาเนียนเซลล์




The Human Respiratory System

This system includes the lungs, pathways connecting them to the outside environment, and structures in the chest involved with moving air in...