วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562

โลกของเรา (Earth Science)

โลกของเราเป็นดาวเคราะห์ทรงกลมแป้นที่โคจรไปในอวกาศรอบดวงอาทิตย์ และในขณะเดียวกันโลกก็หมุนรอบตัวเองอีกด้วย โลกมีแรงดึงดูดมากสามารถดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างเข้าหาโลกแม้กระทั่งอากาศที่มีน้ำหนักเบามาก ๆ ให้ห่อหุ้มโลกอยู่ได้ และของทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกรวมทั้งตัวเราจะไม่มีทางหลุดลอยไปในอวกาศได้ก็เพราะมีแรงดึงดูดนั่นเอง พื้นผิวโลกจะมีน้ำปกคลุมอยู่ถึง 3 ใน 4 ส่วน ดังนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นทะเลและมหาสมุทร ในบริเวณขั้วโลกซึ่งหนาวเย็นตลอดทั้งปีก็จะถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง
ภูเขาน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือ
ส่วนที่เป็นแผ่นดินก็จะมีภูมิประเทศแตกต่างกันไปเช่น เป็นที่สูงเต็มไปด้วยภูเขา หรือเป็นที่ราบลุ่ม โลกของเรายังร้อนระอุอยู่จากหลักฐานที่เราสามารถเห็นได้ชัดเจน คือการระเบิดของภูเขาไฟที่มีลาวาหรือหินร้อนหลอมเหลวไหลประทุออกมา หลักฐานนี้แสดงว่าภายในแกนโลกร้อนมากจนทำให้หินหลอมละลายได้
ส่วนประกอบของโลก
ในขณะที่เราสามารถเดินทางไปในอวกาศเป็นระยะทางหลายแสนกิโลเมตรแต่ไม่มีใครสามารถเดินทางเข้าไปในโลกได้ลึกมากสักเท่าใด เหมืองที่ลึกที่สุดที่มนุษย์สามารถขุดลงไปได้ลึกไม่เกิน 4 กิโลเมตร และในการเจาะบ่อน้ำมันนั้นก็เจาะลึกไปไม่ถึง 8 กิโลเมตร ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภายในโลกลึกๆ นั้นเราได้มาจากหลักฐานทางอ้อม ได้แก่การวัดมวล การวัดปริมาตรและการวัดความหนาแน่นเฉลี่ยของโลกโดยทางกายภาพ จากการสังเกตคลื่น seismic waves ที่ได้ผ่านเข้าไปภายในโลกในชั้นลึกๆ จากการสังเกตสะเก็ตดาว และวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะ จากการศึกษาทดลองวัสดุธรรมชาติ ณ อุณหภูมิและความดันสูงเหมือนภายในโลก และจากการศึกษาสนามแม่เหล็กของโลก
จากข้อมูลการศึกษาดังกล่าว ทำให้แบ่งส่วนประกอบของโลกได้เป็นชั้นๆ ที่สำคัญ 4 ชั้น คือ
               1. เปลือกโลกชั้นนอก (earth crust)
               2. เปลือกโลกชั้นใน (mantle)
               3. แกนโลกชั้นนอก (outer core) และ
              
4. แกนโลกชั้นใน (inner core)
เปลือกโลกชั้นนอก เปลือกโลกชั้นนอกคือพื้นผิวโลกที่เราอาศัยอยู่นั่นเอง ความจริงเป็นชั้นที่บางมากเมื่อเทียบกับรัศมีของโลก(ดูรูปตัดภายในโลก) ถ้าเปรียบโลกเป็นลูกแอปเปิ้ล เปลือกโลกก็คือเปลือกแอปเปิ้ล ความหนาของเปลือกโลกบริเวณพื้นสมุทรมีความหนาโดยเฉลี่ยประมาณ 8 กิโลเมตรและบริเวณพื้นทวีปจะมีความหนาเฉลี่ยประมาณ 40 กิโลเมตรเท่านั้น ในขณะที่ความลึกถึงใจกลางโลกจะลึกมากถึง 6,370 กิโลเมตร ที่ระดับความลึก 40 กิโลเมตรซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างเปลือกโลกชั้นนอกและเปลือกโลกชั้นในจะมีอุณหภูมิสูงประมาณ 500 องศาเซลเซียส
เปลือกโลกชั้นนอกประกอบด้วยชั้นดินบางๆ และส่วนที่เหลือเป็นชั้นหิน เปลือกโลกส่วนพื้นสมุทรส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ เปลือกโลกส่วนพื้นทวีปส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินแกรนิต เมื่อเจาะลึกลงไปในผิวโลกจะพบชั้นหินวางตัวซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ชั้นหินที่มีอายุน้อยที่สุดจะอยู่ตอนบนสุด ลึกลงไปมากขึ้นหินจะมีอายุมากขึ้น อายุของหินชั้นต่าง ๆใช้บอกอายุของโลกได้
รูปชั้นต่าง ๆ ของเปลือกโลก
ถ้าพิจารณาองค์ประกอบทางเคมีของเปลือกโลกโดยน้ำหนักจะพบว่าในเปลือกโลกจะประกอบด้วยธาตุต่างๆ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยคือมีธาตุออกซิเจน 46.5 % ธาตุซิลิกอน 28.9% อลูมิเนียม 8.3 % เหล็ก 4.8% แคลเซียม 4.1% โปตัสเซียม 2.4% โซเดียม 2.3% และ
เปลือกโลกชั้นใน เปลือกโลกชั้นในหรือแมนเทิลอยู่ใต้เปลือกโลกชั้นนอก เป็นชั้นหินร้อนหลอมเหลว มีความหนาแน่นสูง มีอุณหภูมิอยู่ในช่วงตั้งแต่ 500 องศาเซลเซียส ณ บริเวณรอยต่อกับเปลือกโลกชั้นนอก ไปจนถึง 2,200 องศาเซลเซียส ที่บริเวณรอยต่อกับแกนโลก แผ่นเปลือกโลกชั้นนอกนั้นจะลอยเลื่อนไปมาบนแมนเทิลนี้
แกนโลกหรือใจกลางโลก ในแกนโลกหรือใจกลางโลกจะมีความหนาแน่น ความร้อนและความดันสูงมากที่สุด มีอุณหภูมิสูงถึง 5,000 องศาเซลเซียส เชื่อว่าประกอบด้วยเหล็กและนิกเกิลที่หลอมละลายเป็นโลหะผสม หลักฐานที่สนับสนุนว่าแกนโลกเป็นเหล็กหรือเป็นเหล็กผสมกับนิกเกิลคืออุกกาบาตซึ่งมีองค์ประกอบเป็นเหล็กและนิกเกิล และจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างรวดเร็วของสนามแม่เหล็กโลก ใจกลางโลกแบ่งออกเป็นสองชั้น คือแกนโลกชั้นในและแกนโลกชั้นนอก แกนโลกชั้นนอกเป็นของเหลวส่วนแกนชั้นในเชื่อกันว่าเป็นของแข็งเนื่องจากมีแรงกดอัดมหาศาล
รูปอุกกาบาตเหล็ก
ทรัพยากรธรณี
มนุษย์เราใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรณี ในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา แทบจะกล่าวได้ว่าเกือบไม่มีสิ่งใดเลยที่ไม่ได้ทำมาจากสินแร่ในดิน ในการสร้างบ้านเรือน ถนนหนทาง หรือสะพาน เราจะใช้ อิฐ หิน ดิน ทราย ปูน ไม้และเหล็กซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากเปลือกโลกทั้งสิ้น วัสดุ อุปกรณ์และของใช้โลหะต่างๆ ของมนุษย์เช่น ลวดตัวนำไฟฟ้า เงินเหรียญ มีด ดาบ หม้อ กระทะ ตัวถังรถ แม้กระทั่งเครื่องบิน ก็ได้มาจากสินแร่โลหะในดิน เราใช้ไม้ ถ่านไม้ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ สำหรับผลิตพลังงานความร้อน ผลิตกระแสไฟฟ้าหรือเป็นเชื้อเพลิงในยานพาหนะต่าง ๆ เชื้อเพลิงเหล่านี้ได้มาจากซากสิ่งมีชีวิต กระจกได้มาจากทราย พลาสติกก็ผลิตจากน้ำมัน
อัญมณีเช่นเพชร และพลอยได้มาจากหิน โลหะสำหรับใช้ทำเครื่องประดับต่างๆ เช่น ทอง ทองคำขาว และเงิน ก็มาจากสินแร่โลหะในดิน
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เกิดจากแรงกระทำ 2 ส่วน ได้แก่
1. แรงกระทำจากภายในเปลือกโลก (Tectonic Forces) เกิดจากการเคลื่อนตัวของของเหลวภายในเปลือกโลก การหดหรือขยายตัวของของเหลวร้อนภายใต้เปลือกโลกนี้ทำให้เกิดแรงดันและปริมาณความร้อนมหาศาลที่กระทำต่อเปลือกโลกได้ สามารถแยกออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 กระบวนการโก่งตัวของเปลือกโลก (Diastrophism) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเปลือกโลกในลักษณะการโก่งงอตัว การยกตัวของเปลือกโลก
การโก่งตัวที่เกิดจากแรงดันภายในเปลือกโลก การบีบอัดฐานของชั้นหินที่โค้งงอเข้าหากัน ทำให้ดันส่วนหนาโก่งโค้งเพิ่มขึ้น ส่วนที่โค้งขึ้นเรียกว่า ชั้นหินโค้งรูปประทุน ส่วนที่โค้งลง เรียกว่า ชั้นหินโค้งรูปประทุนหงาย
รูปการเกิดภูเขาที่เกิดจากการคดโค้ง (fold mountain)
รูปการโค้งงอของหินที่เกิดจากการบีบอัดเปลือกโลกเข้าหากัน
               รูปเทือกเขาปิเรนิสประเทศฝรั่งเศส เกิดจากหินละลายร้อนที่ถูกบีบอัดเป็นเวลานานหลายล้านปีเกิดการคดโค้งโก่งตัวขึ้นกลายเป็นเทือกเขา
การยกตัวของเปลือกโลกตามแนวรอยเลื่อนหรือรอยแตก
การบีบอัดของเปลือกโลกที่มีรอยแตกเข้าหากันทำให้เปลือกโลกชิ้นที่อยู่ระหว่างแรงบีบนี้ถูกยกตัวขึ้นตามแนวรอยเลื่อนทำให้เกิดเป็นภูเขาแบบบล็อก และที่ราบสูง
รูปการเกิดภูเขาแบบบล็อก
 
รูปเทือกเขาวาซาตช์ ในสหรัฐอเมริกา ที่เกิดจากรอยเลื่อนหรือรอยแตก
1.2 กระบวนการเคลื่อนตัวของหินละลายภายในเปลือกโลก (Volcanism)  ผืนแผ่นดินของโลกแต่ละผืนมีความหนาประมาณ 100 กม. อยู่บนผิวหน้าของชั้นหินละลายภายในเปลือกโลก ดังนั้นผืนแผ่นดินแต่ละผืนจึงสามารถเลื่อนตัวได้ หินละลายร้อนนี้ก็คือลาวาที่ภูเขาไฟพ่นออกมานั่นเอง กระบวนการเคลื่อนตัวของหินละลายภายในเปลือกโลก เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน เกิดแผ่นดินไหวและเกิดการระเบิดของภูเขาไฟ
ภูเขาไฟ เป็นภูเขาที่เกิดจากหินหนืดภายในโลกพุ่งออกมาสู่พื้นผิวโลกจำแนกตามชนิดการปะทุว่าเป็นชนิดรุนแรงหรือสงบเงียบ
รูปการปะทุของภูเขาไฟ
รูปภูเขาไฟระเบิด
รูปภูเขาไฟซากุระจิมา ประเทศญี่ปุ่น
               แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนไหวหรือการสั่นสะเทือนอย่างฉับพลันภายในเปลือกโลก ทำให้เกิดรอยแยกในแผ่นดิน อาจทำให้บางส่วนของพื้นท้องทะเลและพื้นที่แถบชายฝั่งลดระดับต่ำลงหรือยกตัวสูงขึ้น หรือทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม เมื่อแผ่นดินไหวเกิดใต้น้ำจะทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำ การสั่นสะเทือนบางครั้งเบามากจนแทบไม่รู้สึก แต่บางครั้งรุนแรงจนเกิดการทำลายสิ่งก่อสร้าง

รูปความสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวที่ทำให้แผ่นดินถล่ม และมีการเลื่อนตัวของแผ่นดิน
รูป โลกเลื่อน
ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นบางส่วนของคาบสมุทรอาหรับ (ตอนบนของภาพ) และทวีปแอฟริกา (ตอนล่างของภาพ) ที่ในอดีตคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกาเคยเชื่อมต่อเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ผืนแผ่นดินทั้งสองถูกแยกออกจากกัน และเกิดเหวลึกขึ้นระหว่างผืนแผ่นดินทั้งสอง ซึ่งก็คือทะเลแดงในปัจจุบัน
ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นบางส่วนของคาบสมุทรอาหรับ (ตอนบนของภาพ) และทวีปแอฟริกา (ตอนล่างของภาพ) ที่ในอดีตคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกาเคยเชื่อมต่อเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ผืนแผ่นดินทั้งสองถูกแยกออกจากกัน และเกิดเหวลึกขึ้นระหว่างผืนแผ่นดินทั้งสอง ซึ่งก็คือทะเลแดงในปัจจุบัน
รูปทวีปต่าง ๆ
             ประกบเข้าด้วยกันมีลักษณะคล้ายคลึงกับเลื่อยฟันปลาโดยมีทวีปอเมริกาเหนือและทวีปเอเชียที่ประกบเข้าด้วยกันอยู่ตอนบนของภาพ ทวีปต่าง ๆ ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินขนาดใหญ่ หรือเกิดจากทวีปเดียวเมื่อประมาณ 200 ล้านปีมาแล้วที่แยกตัวออกจากกัน ขณะที่ทวีปค่อย ๆ แยกออกจากกันนั้นมักก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและการระเบิดของภูเขาไฟ


               รูปทวีปต่าง ๆในปัจจุบันยังคงเคลื่อนไปปีละหลายเซนติเมตร ช่องวางที่เกิดจากการที่ทวีปต่าง ๆ เคลื่อนที่แยกห่างออกจากกันนั้น ลาวาของภูเขาไฟจะไหลเข้าไปแทนที่ และกลายเป็นมหาสมุทรในเวลาต่อมา
2. แรงกระทำจากภายนอกเปลือกโลก (Gradational Forces) เป็นผลต่อเนื่องจากพลังงานของดวงอาทิตย์ที่ผ่านทางตัวกระทำต่าง ๆ เช่น อากาศ ลม น้ำ หิมะ และธารน้ำแข็ง ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีและทางกายภาพ ตลอดจนการกระทำของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเปลือกโลก เป็นผลให้เกิดการการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก 2 ลักษณะคือ
                         2.1 กระบวนการลดความสูงของเปลือกโลก (Degradation) เป็นการกัดกร่อนพังทลาย ที่อาศัยตัวกระทำต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ทำให้เปลือกโลกค่อย ๆ ผุกร่อนและพังทลายลง อันเป็นผลทำให้พื้นที่สูงในลักษณะต่าง ๆ ลดระดับความสูงลง
                         การกัดเซาะของน้ำฝน เมื่อฝนตกลงบนพื้นผิวโลก น้ำฝนส่วนที่ไหลอยู่บนพื้นจะเซาะและพัดพาส่วนที่สึกกร่อนไปตามความลาดเอียง จนกระทั่งมาถึงแม่น้ำใหญ่ การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในระยะเวลายาวนาน ร่องธาร แผ่นดินถล่ม และเสาหิน เป็นลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝน 
รูปแพะเมืองผี จังหวัดแพร่ ที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝน
เสาดิน จังหวัดน่านที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝน
การผุพังอยู่กับที่ เมื่อโลกดูดซับน้ำฝนไว้และแทรกซึมอยู่ตามช่องว่างอนุภาคดินและทราย หรือซึมลงไปตามรูพรุนในหิน เมื่อน้ำนำกรดคาร์บอนที่ได้จากคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ และจากอินทรียวัตถุที่สลายตัว ไหลซึมผ่านชั้นหินปูนจะทำให้เกิดการผุพังทางเคมี ถ้ากรดกัดเซาะหินก็จะได้น้ำที่มีหินปูนละลายในรูปสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต ถ้าเป็นบริเวณที่หินปูนมีลักษณะแบนราบพื้นดินอาจพัง ทำให้เกิดเป็นหลุม แผ่นดินถล่ม
รูปชั้นหินที่ถูกกัดเซาะทำให้เกิดโพรง
แม่น้ำมักมีแหล่งต้นน้ำอยู่บริเวณภูเขาสูงซึ่งอาจไหลมาจากธารน้ำแข็งละลายหรือมีฝนตกหนักในเขตป่าเขา แม่น้ำตอนบนจะมีกระแสไหลเชี่ยว เกิดการกัดเซาะพื้นดินในแนวตั้งทำให้มีฝั่งเป็นหุบเขารูปตัววีเกิดขึ้น ตอนกลางของแม่น้ำเป็นระยะหน่วง ทำให้หุบเขากว้างขึ้น ฝั่งชันน้อยลง มีคุ้งน้ำมากขึ้น ในขณะที่แม่น้ำไหลไปตามคุ้งกระแสน้ำทางฝั่งด้านนอกของวงโค้ง จะไหลเร็ว จึงเกิดการกัดเซาะ 
รูปการกัดเซาะพื้นดินในแนวตั้งทำให้เกิด เป็นหุบเขารูปตัววี
 
รูปการกัดเซาะของฝั่งด้านนอกหรือท้องคุ้งของแม่น้ำซึ่งไหลเร็วจึงเกิดการกัดเซาะ ส่วนฝั่งด้านในกระแสน้ำไหลช้าลงจึงเกิดการทับถม
รูปการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งทะเล
                         2.2 กระบวนการเพิ่มระดับความสูงของเปลือกโลก (Aggradation) การตกตะกอนทับถมอาศัยแรงกระทำตามธรรมชาติ เช่นกระแสลม ธารน้ำไหลตามแรงโน้มถ่วงของโลก ตลอดจนเกิดจากการกระทำของมนุษย์ 
รูปการเกิดเป็นตะกอนดินดอน บริเวณปากอ่าว

แม่น้ำเรียบสงบ คุ้งแม่น้ำกว้างออก เมื่อกระแสน้ำเซาะฝั่งด้านนอกแล้วมีผลทำให้ทรายทับถมฝั่งด้านใน เพราะกระแสน้ำด้านในไหลช้ากว่าด้านนอก
ผลของกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดภูมิประเทศแตกต่างกันการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดขึ้นต่างลักษณะ ต่างระยะเวลาอย่างต่อเนื่อง เป็นตัวการสำคัญที่นำไปสู่การปรากฏของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ลักษณะภูมิประเทศ และลักษณะดินในบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งจะมีส่วนที่เป็นตัวกำหนดรูปแบบของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการดำรงชีพของมนุษย์ในบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ
ดิน
ชั้นหน้าตัดของดิน

ถ้าพิจารณาดินตามแนวลึกหรือแนวดิ่ง จะเห็นว่าดินมีการทับถมกันเป็นชั้นๆ ดินที่ทับถมกันเป็นชั้นๆ ตามแนวดิ่งนั้นเรียกว่า หน้าตัดดิน นักปฐพีวิทยาได้แบ่งดินออกเป็น 3 ชั้นคือดินชั้นบน ดินชั้นล่าง และชั้นล่างสุด
            ดินชั้นบน โดยทั่วไปเรียกว่า หน้าดิน มักมีสีดำคล้ำเพราะมีสารอินทรีย์อยู่มาก ดินชั้นนี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นชั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงผุพังสลายตัวมากอันเนื่องมาจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ บนผิวโลกเช่น ลม ฝน แสงแดด และการไหลของกระแสน้ำ เป็นต้น
ดินชั้นล่าง เป็นดินที่อยู่ชั้นล่างลงมา เนื้อดินมีสีอ่อนกว่าชั้นหน้าดิน อาจมีสีน้ำตาลอ่อน แดงหรือเทา เนื้อดินละเอียด แน่น และน้ำซึมผ่านได้ยากกว่า อาจมีกรวด ลูกรังและเศษหินปะปนอยู่ด้วย ดินชั้นล่างมีสารอินทรีย์น้อยกว่าดินชั้นบน แต่บางครั้งมีธาตุอาหารมากเนื่องจากถูกชะลงไปจากชั้นหน้าดิน
ชั้นล่างสุด ดินชั้นล่างสุดเป็นชั้นของหิน ซึ่งเป็นชั้นที่ให้กำเนิดดิน ดินชั้นนี้จะอยู่ลึกลงไปมาก และมีการเปลี่ยนแปลงหรือแตกสลายตัวน้อยกว่าสองชั้นแรก
การปรับปรุงคุณภาพดิน
วิธีการอนุรักษ์ดิน
การปลูกพืชคลุมดิน
การปลูกพืชหมุนเวียน
การใส่ปูน ไถกลบเพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยว
 การไถกลบพืชที่เก็บเกี่ยวแล้ว ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้ดิน
 การปลูกแฝกเพื่ออนุรักษ์ดิน
ปลูกแฝกเป็นรูปตัวเอส
 ปลูกแฝกขวางแนวลาดชัน

 

รากแฝกที่หยั่งรากในดิน
หล่งน้ำในโลก
พื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกจะมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ทำให้น้ำส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเหลวหรือไอน้ำมากกว่าน้ำแข็ง แรงดึงดูดของโลกมีอิทธิพลต่อทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งน้ำ น้ำถูกแรงดึงดูดของโลกดึงให้ไหลลงไปยังบริเวณผิวโลกที่มีระดับต่ำที่สุด ดังนั้นน้ำจากที่สูงทั้งหลายจึงไหลผ่านภูมิประเทศที่มีระดับต่ำลงเรื่อยๆ ไปรวมตัวกันในบริเวณที่เป็นแอ่งลึกกลายเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น ทะเลและมหาสมุทร (มหาสมุทรจะมีระดับความลึกประมาณ 4 กิโลเมตรและบางแห่งอาจลึกถึง 10 กิโลเมตร) แหล่งน้ำในโลกจะมีอยู่ทั่วไปทั้งบนผิวดิน และใต้ดิน
แหล่งน้ำบนผิวดิน
แหล่งน้ำบนผิวดินได้แก่ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ลำธาร ทะเลสาบ ทะเลและมหาสมุทร ดังที่เรารู้จักกันดี
แหล่งน้ำบนผิวดินเริ่มจากสายน้ำเล็ก ๆ จากบริเวณที่สูงในป่าหลายๆ สายรวมทั้งน้ำฝน ไหลมารวมกันเกิดเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อลำน้ำต่าง ๆ มารวมตัวกันมากเข้าในที่สุดก็จะกลายเป็นแม่น้ำ
ถ้าน้ำปริมาณไม่มากไหลไปรวมกันในแอ่งน้ำขนาดเล็กก็จะเกิดเป็นหนองน้ำหรือบึงขนาดเล็กขึ้น และถ้าเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ไหลไปรวมกันในแอ่งขนาดใหญ่ในผืนทวีปก็จะทำให้เกิดเป็นทะเลสาบขึ้น และถ้าไม่มีทะเลสาบน้ำในแม่น้ำก็จะไหลไปลงทะเลหรือมหาสมุทรผ่านทางปากแม่น้ำหรือปากอ่าวในที่สุดแหล่งน้ำใต้ดิน
คือแหล่งน้ำที่สะสมรวมตัวกันอยู่ในช่องว่างระหว่างก้อนหิน เมื่อฝนตกลงสู่พื้นดิน น้ำฝนจะไหลซึมเข้าไปในพื้นดินตามแรงดึงดูดของโลกทั้งนี้เนื่องจากดินมีรูพรุนหรือมีช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ส่วนหินมีทั้งชนิดที่มีรูพรุนและชนิดที่ไม่มีรูพรุน แรงดึงดูดของโลกจะดึงดูดให้น้ำไหลซึมผ่านเข้าไปในหินที่มีรูพรุนได้ และเมื่อดินและหินที่มีรูพรุนซับน้ำจนเต็มในช่องว่างทั้งหมดก็จะไม่สามารถดูดซับน้ำเพิ่มได้อีก พวกมันก็จะปล่อยให้น้ำไหลผ่านลงไปยังชั้นหินที่ไม่มีรูพรุนซึ่งน้ำไม่สามารถไหลต่อไปได้อีก ดังนั้นน้ำจึงเกิดการรวมตัวกันขึ้นเป็นแหล่งน้ำใต้ดินเหนือพื้นหินที่ไม่มีรูพรุนนี้เอง
รูปการเกิดน้ำบาดาล
โลกเราจะมีแหล่งน้ำใต้ดินขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป ซึ่งในบางครั้งน้ำใต้ดินจะถูกดันผ่านช่องหรือรอยแยกในพื้นผิวโลกพุ่งออกมาเป็นน้ำพุ ในบริเวณที่ไม่มีน้ำผิวดินใช้ เราสามารถนำน้ำใต้ดินมาใช้ได้โดยการขุดเจาะลงไปยังแหล่งน้ำใต้ดินนั้น ซึ่งกรณีนี้เราเรียกว่าน้ำบาดาลนั่นเอง
แหล่งน้ำใต้ดิน คือแหล่งน้ำที่สะสมรวมตัวกันอยู่ในช่องว่างระหว่างก้อนหิน เมื่อฝนตกลงสู่พื้นดิน น้ำฝนจะไหลซึมเข้าไปในพื้นดินตามแรงดึงดูดของโลกทั้งนี้เนื่องจากดินมีรูพรุนหรือมีช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ส่วนหินมีทั้งชนิดที่มีรูพรุนและชนิดที่ไม่มีรูพรุน แรงดึงดูดของโลกจะดึงดูดให้น้ำไหลซึมผ่านเข้าไปในหินที่มีรูพรุนได้ และเมื่อดินและหินที่มีรูพรุนซับน้ำจนเต็มในช่องว่างทั้งหมดก็จะไม่สามารถดูดซับน้ำเพิ่มได้อีก พวกมันก็จะปล่อยให้น้ำไหลผ่านลงไปยังชั้นหินที่ไม่มีรูพรุนซึ่งน้ำไม่สามารถไหลต่อไปได้อีก ดังนั้นน้ำจึงเกิดการรวมตัวกันขึ้นเป็นแหล่งน้ำใต้ดินเหนือพื้นหินที่ไม่มีรูพรุนนี้เอง 
รูปการเกิดน้ำบาดาล
โลกเราจะมีแหล่งน้ำใต้ดินขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป ซึ่งในบางครั้งน้ำใต้ดินจะถูกดันผ่านช่องหรือรอยแยกในพื้นผิวโลกพุ่งออกมาเป็นน้ำพุ ในบริเวณที่ไม่มีน้ำผิวดินใช้ เราสามารถนำน้ำใต้ดินมาใช้ได้โดยการขุดเจาะลงไปยังแหล่งน้ำใต้ดินนั้น ซึ่งกรณีนี้เราเรียกว่าน้ำบาดาลนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

THE ENDOCRINE SYSTEM

THE ENDOCRINE SYSTEM Contents Hormones Evolution of Endocrine Systems Endocrine Systems and Feedback Mechanisms of Hormone Action ...