วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) และระบบประสาทรอบนอก


คำถามก่อนเรียน
1. อวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการตอบสนองของระบบประสาทคืออะไร
2. สมองมีน้ำหนักเท่าใด3. สมองส่วนที่เรียกว่าซีรีเบลลัม (cerebellum ) ทำหน้าที่อะไร
4. ถ้าสมองขาดออกซิเจนมาเลี้ยงเป็นเวลา 4-5 นาทีจะเกิดผลอย่างไร
5. โครงสร้างของสมองและไขสันหลังเหมาะสมต่อการทำหน้าที่อย่างไร
ระบบประสาทส่วนกลาง
ระบบประสาทส่วนกลางประกอบด้วย สมองและไขสันหลังซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง
ของการตอบสนอง โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่า สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังขณะที่ยังเป็นตัว
อ่อนอยู่ จะมีลักษณะเป็นหลอดกลวงเรียกว่านิวรัลทิวบ์ (neural tube ) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า ส่วนกลางและส่วนหลัง
ภาพที่ 2-1 สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังขณะเป็นตัวอ่อน
 ภาพที่ 2-2 การพัฒนาสมองขณะอยู่ในครรภ์มารดาตั้งแต่ 3 สัปดาห์จนเป็นทารก
สมองและไขสันหลังมีเยื่อหุ้มเชื่อมกัน 3 ชั้นโดยชั้นนอกสุด (dura mater) มีลักษณะ
หนา เหนียว และแข็งแรง ทำหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือนให้กับส่วนที่เป็นเนื้อสมองและ
ไขสันหลัง ชั้นกลาง (arachnoid mater) เป็นแผ่นบาง ๆ ติดกับเยื่อหุ้มสมองชั้นนอกสุด (dura mater) ส่วนชั้นในสุด (pia mater) เป็นชั้นที่แนบสนิทไปตามรอยโค้งเว้าของสมองและไขสันหลัง มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากที่สุด เพื่อนำสารอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงสมองและไขสันหลัง
ภาพที่ 2-3 แผนภาพสมอง ไขสันหลังและเยื่อหุ้มสมอง
ระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นกลางกับชั้นในเป็นช่องว่าง (subarachnoid space) ซึ่ง เป็นที่อยู่ของน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid:CSF) โดยเป็นช่องค่อนข้างใหญ่ ติดต่อกับช่องภายในไขสันหลัง และโพรงในสมอง น้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลังมีหน้าที่นำออกซิเจนและสารอาหารมาหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาท และยังนำของเสียออกจากเซลล์ ด้วยซึ่งถ้าสมองขาดออกซิเจนเพียง 3-5 นาที เซลล์ประสาทในสมองอาจตายได้
สมอง (Brain)
สมองของคนมีพัฒนาการสูงที่สุดเพราะมี ขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวและมีรอยหยักบนสมองมากกว่าสัตว์อื่น ๆ โดยมีน้ำหนักประมาณ 1.4 กิโลกรัม บรรจุอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ เพื่อป้องกันสมองไม่ให้ได้รับการกระทบกระเทือน สมองประกอบด้วยเซลล์ประสาทร้อยละ 90 ของเซลล์ประสาททั้งหมดในร่างกาย โดยเป็นเซลล์ประสาทประสานงานเป็นส่วนใหญ่
ภาพที่ 2-4 สมองอยู่ภายในกะโหลกศีรษะเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน
ฉะนั้นคนจึงมีควาสามารถในการเรียนรู้มากกว่าสัตว์อื่น ๆ เนื่องจาก รอยหยักบนสมอง (gyrus) และอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักสมองต่อน้ำหนักตัว จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการเรียนรู้
สมองนอกจากเป็นศูนย์กลางใหญ่ของระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมและปรับสภาพการทำงานของระบบประสาท ให้ดำเนินไปได้ตามปกติแล้ว ยังมีหน้าที่สำคัญอีก 2 อย่างคือ
1. ผสมผสานกระแสความรู้สึกที่รับเข้าจากอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ และนำออกไปที่อวัยวะตอบสนองคล้ายกับไขสันหลัง
2. ผสมผสานและเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งที่อยู่นอกอำนาจจิตใจและใต้อำนาจจิตใจในทุกส่วนของร่างกาย โดยศูนย์ควบคุมจะอยู่ที่บริเวณต่าง ๆ ของสมอง
ผลจากโครงสร้างของสมองช่วยให้มนุษย์สามารถควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนและแต่ละส่วนมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายแตกต่างกันดังนี้ 
1.สมองส่วนหน้า (forebrain) ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ของสมองได้แก่
1.1 ออลแฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) สมองส่วนนี้ของคนจะเป็นส่วนที่อยู่ทางด้านหน้าสุดและไม่ค่อยเจริญ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น
1.2 ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ความดันเลือดและความต้องการพื้นฐานของร่างกาย เช่น น้ำ อาหาร การพักผ่อน ความต้องการทางเพศ และการสร้างฮอร์โมนหลายชนิด ซึ่งควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า 
1.3 ทาลามัส (thalamus) อยู่เหนือไฮโพทาลามัส มีหน้าที่เป็นศูนย์รวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้าออกแล้วแยกกระแสประสาทไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้นๆ
1.4 ซีรีบรัม (cerebrum) หรือสมองใหญ่ แบ่งเป็น 2 ซีกโดยสมองใหญ่ซีกซ้ายจะควบคุม ร่างกายซีกขวาสมองใหญ่ซีกขวาจะควบคุมร่างกายซีกซ้าย นอกจากนี้สมองส่วนซีรีบรัมยังแบ่งเป็น 5 พู เพื่อควบคุมการทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง ในส่วนต่าง ๆ ได้แก่การควบคุมเกี่ยวกับความคิด ความจำ เชาว์ปัญญา ซึ่งจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดต่อไป
2. สมองส่วนกลาง (mid brain) สมองส่วนนี้พัฒนาลดรูปเหลือเฉพาะออพติกโลบ (optic lobe) มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกตากลอกไปมา ควบคุมการปิดเปิดของ รูม่านตา ให้เหมาะสมกับปริมาณแสงสว่างที่เข้ามากระทบ โดยถ้าแสงมาก รูม่านตาจะเล็กแสงสว่างน้อยรูม่านตาจะขยาย
3.สมองส่วนหลัง (hind brain) สมองส่วนนี้ประกอบด้วย
3.1 ซีรีเบลลัม (cerebellum) ทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ราบรื่น เที่ยงตรง สามารถทำงานที่ละเอียดอ่อน และควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
3.2 เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata ) เป็นสมองส่วนสุดท้าย ซึ่งตอนปลายอยู่ติดต่อกับไขสันหลัง ทำหน้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ การหายใจ ความดันเลือด การกลืน การจาม การสะอึกและการอาเจียน
3.3 พอนส์ (pons) ควบคุมการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของใบหน้า การหายใจสมองส่วนกลาง พอนส์ และเมดัลลาออบลองกาตา รวมเรียกว่า ก้านสมอง (brain stem) ซึ่งภายในก้านสมองจะมีกลุ่มเซลล์ประสาทและใยประสาท เชื่อมโยงระหว่างเมดัลลาออบลองกาตากับทาลามัส ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมการนอนหลับ ความรู้สึกตื่นตัว หรือความมีสติสัมปชัญญะ เรียกว่า เร็ตติคิวรา แอกติเวติ้ง ซีสเต็ม (reticular activating system)
 ภาพที่ 2-5 ส่วนของสมองส่วนหน้า (ซีรีบรัมและทาลามัส) สมองส่วนกลาง และสมองส่วนหลัง (พอนส์.ซีรีเบลลัมและเมดัลลา ออบลองกาตา)


ภาพที่ 2-6 ภาพสมองคน ก.ด้านล่างของสมอง ข.ด้านข้างผ่าตามยาว
รู้ไหมทำไมบางคนจึงถนัดข้างขวาบางคนถนัดซ้าย 
ในส่วนของสมองใหญ่หรือซีรีบรัม เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดใหญ่ ผิวด้านนอกเป็น สีเทา (gray matter) มีส่วนเนื้อสีขาว (white matter) อยู่ด้านใน แบ่งเป็น 2 ซีกโดยสมองซีกซ้าย จะทำหน้าที่ควบคุมการพูด อ่าน เขียน ความเข้าใจภาษา ความสามารถทางคณิตศาสตร์ การมีเหตุผลและการแก้ปัญหา ส่วนซีกขวาจะควบคุมการจดจำเกี่ยวกับความสามารถด้านดนตรี ศิลปะ การแสดงออกทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ การที่คนเราจะถนัดซ้ายหรือขวาขึ้นอยู่กับว่าใช้สมองซีกไหนควบคุมการเขียนหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ มากกว่ากัน
ภาพที่ 2-7 ภาพจำลองหน้าที่ของซีรีบรัม ซ้ายและขวา
ส่วนของสมองใหญ่ยังแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ เรียกว่า พู (lobe) เพื่อทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงในการควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกายดังนี้
ภาพที่ 2-8 พู (lobe) ของสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมส่วนต่างๆกัน
พูด้านหน้า (frontal lobe) ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลาย ทำงานเกี่ยวกับความคิดที่ค่อน ข้างสูง เช่น การมีสมาธิ การวางแผน การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
การตัดสินใจ
พูด้านข้างกระหม่อม (parietal lobe) ควบคุมเกี่ยวกับการรับความรู้สึกด้านอุณหภูมิ สัมผัส รับรู้รส ความเจ็บปวด การพูด การใช้ถ้อยคำ
พูด้านขมับ (temporal lobe) รับความรู้สึกเกี่ยวกับการได้ยิน การได้กลิ่น และมีเซลล์ประสาทประสานงานที่ใช้ในการแปลประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้สึก
พูด้านท้ายทอย (occipital lobe) รับความรู้สึกเกี่ยวกับ การมองเห็น รวมภาพที่เห็นเข้ากับประสบการณ์ด้านความรู้สึก
พูด้านในของพูด้านขมับ (insular lobe) เป็นส่วนที่อยู่ด้านในของ พูด้านขมับ (temporal lobe) ซึ่งมีร่อง (lateral fissure ) อยู่ด้านข้าง ส่วนนี้ทำงานเล็กน้อยเกี่ยวกับความจำ
สรุป
ภาพที่ 2-9  ภาพจำลองส่วนต่าง ๆ ของสมองที่ควบคุมการทำหน้าที่ต่าง ๆ
ไขสันหลัง
 เหตุใดแพทย์จึงฉีดยาเข้าไขสันหลังหรือเจาะน้ำไขสันหลังมาตรวจได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อเส้นประสาทไขสันหลังของผู้ป่วย ?
อยากรู้หรือไม่ว่าไขสันหลังบริเวณใดที่เจาะแล้วเป็นอันตรายน้อยที่สุด
เนื่องจากไขสันหลังเป็นส่วนต่อจากสมอง อยู่ภายในกระดูกสันหลังตั้งแต่กระดูกสันหลังบริเวณคอข้อแรกถึงกระดูกสันหลังบริเวณเอวข้อที่ 2 โดยมีส่วนของไขสันหลังที่โป่งออกอยู่ 2 แห่ง คือบริเวณระดับกระดูกคอซึ่งมีเส้นประสาทไปเลี้ยงแขน และบริเวณระดับกระดูกเอวซึ่งมีเส้นประสาทไปเลี้ยงขา บริเวณส่วนปลายของไขสันหลังมีลักษณะยื่นลงเป็นรูปกรวย (conus medullaris) เรียวเล็กจนเหลือแต่เพียงส่วนของเยื่อหุ้มไขสันหลัง ดังนั้นแพทย์จึงนิยม
เจาะน้ำไขสันหลังหรือฉีดยาเข้าบริเวณที่ต่ำกว่ากระดูกบั้นเอวข้อที่ 2 ลงไป เพราะเป็นบริเวณ ที่ไม่มีไขสันหลังแล้ว จึงมีโอกาสที่จะทำอันตรายต่อไขสันหลังน้อยกว่าบริเวณอื่น ๆ
ภาพที่ 2-10 ภาพบริเวณที่เจาะน้ำไขสันหลัง (ก) ไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง (ข)
ระบบประสาทรอบนอก
เป็นระบบประสาทที่ทำงานประสานกับระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วย เส้นประสาทไขสันหลัง 31 คู่ และเส้นประสาทสมอง 12 คู่
ภาพที่ 2-11 ตำแหน่งเส้นประสาทสมองจากสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง
เส้นประสาทไขสันหลังอยู่ที่ใด
เมื่อเราตัดไขสันหลังตามขวาง จะเห็นเนื้อสีเทา (gray matter) อยู่ด้านใน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเซลล์ประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก โดยตรงกลางของไขสันหลังภายในส่วนของเนื้อสีเทา (gray matter) จะมีช่องกลวง (central canal) ที่มีน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังบรรจุอยู่ ส่วนบริเวณที่อยู่ด้านนอกเป็นเนื้อสีขาว (white matter) และเป็นบริเวณที่เป็นทางเดินของกระแสประสาทต่าง ๆ ในส่วนเนื้อสีเทาของไขสันหลัง มีลักษณะคล้ายตัวอักษร “H” หรือ ปีกผีเสื้อซึ่งมี 4 ปีกโดย 2 ปีกด้านหลังเรียกว่า ดอร์ซัลฮอร์น (dorsal horn) ส่วน2 ปีกด้านหน้าเรียกว่า เวนทรัลฮอร์น (ventral horn) และเส้นประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังเรียกว่าเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) โดยส่วนที่อยู่ต่อกับดอร์ซัลฮอร์น (dorsal horn) ของไขสันหลังจะแยกเป็นแขนงเส้นประสาททางด้านหลัง (dorsal root) และส่วนที่อยู่ต่อจากเวนทรัลฮอร์น (ventral horn) แยกเป็นแขนงเส้นประสาททางด้านหน้า (ventral root)
ภาพที่ 2-12 โครงสร้างภาพตัดขวางของไขสันหลัง
 เส้นประสาทไขสันหลังสามารถรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างไร
เส้นประสาทไขสันหลังรับรู้ต่อสิ่งเร้าและตอบสนองได้โดยอาศัยกระบวนการดังนี้
เมื่อร่างกายได้รับสิ่งเร้า กระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกจะเข้าสู่ไขสันหลัง จากนั้นกระแสประสาทสั่งการตอบสนองจะออกจากไขสันหลังโดยผ่านเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่ง
แต่ละเส้นจะประกอบไปด้วยเส้นใยเล็ก ๆที่มีทั้งเส้นใยประสาทสั่งการและเส้นใยประสาทรับความรู้สึก ดังนั้นเส้นประสาทไขสันหลังทุกเส้นจึงเป็นเส้นประสาทผสม
เส้นประสาทสมอง
สมองทุกส่วนจะมีเส้นประสาทแยกออกมาเป็นคู่ๆ เพื่อรับสัญญาณ ความรู้สึก และออกคำสั่งควบคุมหน่วยปฏิบัติงาน เรียกว่า เส้นประสาทสมอง (cranial nerve) เส้นประสาทสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม นกและสัตว์เลื้อยคลานมีจำนวน 12 คู่ แต่พวกปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีอยู่เพียง 10 คู่ โดยเส้นประสาทสมองอาจเป็นเส้นประสาทรับความรู้สึก เส้นประสาทสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจเป็นเส้นประสาทผสม ซึ่งทำหน้าที่รับความรู้สึกและสั่งการในเส้นเดียวกัน เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
ภาพที่ 2-13 เส้นประสาทสมองที่ส่งกระแสประสาทเพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
คงจะเห็นแล้วว่า ระบบประสาทมีความสำคัญต่อร่างกายของเราอย่างไร เปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของการควบคุมให้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยในการประสานงานกับอวัยวะอื่น ๆ ให้ทำงานร่วมกันอย่างสมดุลเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ซึ่งเมื่อใดที่ร่างกายขาดภาวะสมดุลก็มักจะก่อปัญหาให้กับผู้เป็นเจ้าของได้ ฉะนั้นเราจึงควรระมัดระวังไม่ให้มีสารใดหรือปัจจัยใดๆ มาทำลายสมองซึ่งเป็นส่วนสำคัญยิ่งในระบบประสาท
สารที่มีผลต่อระบบประสาท
มนุษย์รู้จักการใช้ยาต่าง ๆ เช่นยาเม็ด ยาฉีด ในการรักษาโรค คุมกำเนิด บำรุงร่างกายและระงับประสาทที่ตึงเครียด รวมถึงการใช้ยาสลบเพื่อระงับความเจ็บปวดในการผ่าตัด นอกจากนี้การดื่ม ของมึนเมา สารเสพย์ติดต่าง ๆ ซึ่งมีหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อระบบ ประสาท อันตรายที่เกิดอาจไม่แสดงผลทันที แต่จะแสดงผลในระยะยาวต่อความสามารถในการปฏิบัติงาน ทำให้อายุสั้น และนำไปสู่โรคอื่น ๆ อีกมากมายสารเคมีและยาที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบประสาทได้แก่ แอลกอฮอล์ ฝิ่นและอนุพันธ์จากฝิ่น สารที่ทำให้ประสาทหลอน คาเฟอีน ยาทีโอไฟลิน (theophylline) และนิโคติน สารพิษบางชนิดที่กดประสาทหรือกระตุ้นประสาท ดังตัวอย่าง
ภาพที่ 2-14 ตัวอย่างสารที่มีผลทำลายระบบประสาท
1. แอลกอฮอล์ เป็นอินทรีย์สารที่มีหมู่ -OH และสามารถเกิดปฏิกิริยากับกรดอินทรีย์ ได้สารเอสเทอร์แอลกอฮอล์ที่รู้จักในหมู่ชาวบ้านคือ เหล้า เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ ที่พบว่าเป็นองค์ประกอบของเหล้าไวน์เบียร์ ฯลฯ ซึ่งเป็นที่นิยมดื่มกันทั่วโลก โดยอันตรายที่เกิดจากการดื่มเหล้า จะมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) มากกว่าอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย คล้ายๆกับการได้รับยาสลบ โดยระยะแรกจะไปลดการทำงานของสมองส่วนที่ซับซ้อนที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีซิแนปส์มากที่สุด รวมทั้งบริเวณอื่นๆของสมองส่วนซีรีบรัม ทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับความคิด ในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง คุณภาพในการทำงานละเอียดความจำ ความตั้งใจหรือสมาธิในการทำงานจะลดต่ำลง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นผลมาจากเซลล์ประสาทรับและส่งความรู้สึกถูกรบกวน การตอบสนองของระบบประสาทในไขสันหลังจะเสียไป มีสภาพอ่อนเปลี้ย เสมือนกับสภาพที่ถูกวางยาสลบ โดยทั่วไปผลของเอทิล แอลกอฮอล์ต่อระบบประสาทส่วนกลางจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณที่พบในเลือด โดยแอลกอฮอล์แต่ละออนซ์ที่ดื่ม สามารถทำลายเซลล์ประสาทได้ถึง 10,000 เซลล์ จึงเป็นสาเหตุของการทำให้สมองเสื่อมในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง
2. ฝิ่นและอนุพันธ์ของฝิ่น ในศตวรรษที่ 17 ชาวโลกยอมรับว่า ฝิ่นเป็นสารช่วยระงับความเจ็บปวดของมนุษย์ได้ แต่ในปัจจุบันพบว่า ฝิ่นไม่ได้เป็นยาช่วยรักษาให้หายจากความเจ็บปวดทรมานในทุกกรณี และการให้ในปริมาณสูง จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบบการควบคุมการหายใจ ฝิ่นเป็นสารที่ได้จากยางของผลฝิ่น ซึ่งแห้งและเป็นก้อนเหนียวสีน้ำตาลแก่ที่ประกอบด้วยแอลคาลอย์ ประมาณ 25 ชนิด โดยแอลคาลอย์ที่พบมากที่สุดคือ มอร์ฟีน (morphine) ที่มีความร้ายแรงกว่าฝิ่น 8-10 เท่า มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น รสขมมาก และละลายน้ำได้ดีมาก นอกจากนี้ยังมีสารที่สกัดจากฝิ่นคือ โคเดอีน (codeine) และสารอีกชนิดที่ผลิตจากมอร์ฟีนคือ เฮโรอีน (heroine) เฮโรอีนที่บริสุทธิ์คือ เฮโรอีนเบอร์ เป็นผงละเอียดสีขาว ไม่มีกลิ่น รสขมจัดถ้านำมาผสมกับสารอื่น เช่นสารหนู สติกนิน ยานอนหลับ น้ำประสานทอง น้ำกัญชาต้ม ฯลฯ จะมีลักษณะเป็นเกล็ดไม่มีกลิ่นนำมาเสพย์ โดยวิธีสูบ จะมีฤทธิ์มากกว่าฝิ่นถึง 80 เท่า สารอนุพันธ์ของฝิ่นจะมีผลต่อระบบประสาทของมนุษย์ โดยช่วยลดความเจ็บปวด ทำให้ซึมเศร้า มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ที่ไม่สามารถควบคุมสติและสมาธิได้ ร่างกายมีอาการเคลื่อนไหวน้อย ตาพร่า เฉื่อยชาและเกียจคร้าน เฮโรอีนเป็นสารที่มีอันตรายสูงกว่าฝิ่นและมอร์ฟีนมาก สารนี้จะติดง่ายแต่่เลิกยากมากระยะที่ติดสารนี้จะทำให้ร่างกายทรุดโทรมมากเนื่องจากสารนี้ไปทำลายเนื้อเยื่อสมองและระบบประสาท ทำให้การควบคุมการทำงานของระบบต่างๆเสียไป คนที่ขาดเฮโรอีนจะทรมานมาก จะมีอาการ น้ำมูก น้ำตาไหลเหงื่อแตก ปวดกระดูกและกล้ามเนื้อปวดท้องอย่างรุนแรงบางครั้งอาจชักและหมดสติ
ภาพที่ 2-15 ภาพดอกฝิ่น อนุพันธ์ฝิ่น และผลต่อคนที่เสพย์ติด
3. สารที่ทำให้ประสาทหลอน เป็นสารในกลุ่มที่มีผลทำให้ความรู้สึกนึกคิดเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ ได้แก่ เมสคาไลส์ (mescaline) สกัดได้จากกระบองเพชรเพโยคนอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ ที่มีผลต่อ ระบบประสาทอีกหลายชนิด ได้แก่ คาเฟอีน ทีโอไฟลิน ที่มีอยู่ในชาและกาแฟ เป็นสารที่กระตุ้นสมองส่วนซีรีบรัม และเมดัลลาออบลองกาตา ทำให้ประสาทตื่นตัว ส่วนนิโคตินในยาสูบ ทำหน้าที่กระตุ้นระบบประสาทเช่นเดียวกัน โดยกระตุ้นการทำงานของอะเซทิลคอลีน แต่สารพิษจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม โบทูรินัม (Clostridium botulinum) ที่ปนเปื้อนมาในอาหารกระป๋อง จะยับยั้งการปล่อยแอซิติลโคลีนที่บริเวณซิแนปส์ ทำให้กล้ามเนื้อไม่หดตัวและเกิดอัมพาต ได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

The Human Respiratory System

This system includes the lungs, pathways connecting them to the outside environment, and structures in the chest involved with moving air in...