อินซูลิน
เป็นฮอร์โมนที่สำคัญและเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง สร้างจากกลุ่มเซลล์ภายในตับอ่อน
ตับอ่อนเป็นอวัยวะภายในช่องท้องโดยอยู่ทางด้านหลังของกระเพาะอาหาร
นอกจากผลิตฮอร์โมนอินซูลินแล้ว ตับอ่อนยังผลิตน้ำย่อยและฮอร์โมนชนิดอื่นอีกด้วย อาหารประเภทแป้งและน้ำตาลเมื่อถูกดูดซึมจากลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดจะกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลิน
เซลล์ทั่วร่างกายมีตัวรับอินซูลินที่เยื่อหุ้มเซลล์เรียกว่า insulin
receptor ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดขบวนการดึงกลูโคสจากเลือดเข้าสู่ภายในเซลล์
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่หนึ่งร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน
ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกาย
อินซูลินเป็นฮอร์โมนชนิดแรกที่สังเคราะห์ขึ้นได้
ค้นพบโดย Banting และ Best ในปี 1922
ซึ่งถือเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การแพทย์ยุคใหม่
การศึกษาครั้งนั้นเขาได้ทำการผูกท่อภายในตับอ่อนสุนัขจำนวนมาก รอเวลาจนกระทั่งเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยในตับอ่อนสุนัขเหล่านั้นตายจนหมดสิ้นและถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันตามกลไกทางธรรมชาติ
จากนั้นจึงได้นำกลุ่มเซลล์ที่สร้างฮอร์โมนมาสกัด
พบว่าเป็นโปรตีนโมเลกุลเล็กที่ต่อมาได้มีการศึกษาวิจัยส่วนประกอบทางเคมีเพิ่มเติมอีกมากมาย
จนพบว่าอินซูลินมีน้ำหนักโมเลกุลเพียง 5808 ดาลตัน
ประกอบขึ้นด้วยกรดอะมิโนทั้งหมด 51 ตัว
โมเลกุลของอินซูลินประกอบด้วยกรดอะมิโนเรียงตัวกันเป็นโซ่เอ chain A และโซ่บี chain B และมีเปปไทด์เชื่อมให้เป็นสายเดียวกัน
สายเอมีกรดอะมิโน 21 ตัว สายบีมีกรดอะมิโน 30 ตัว สายเอและสายบีเชื่อมกันโดย disulfide bond สองพันธะภายในสายเอยังมี
disulfide bond อีกหนึ่งพันธะ
ต่อมาในปี 1955
Sanger ค้นพบโครงสร้างปฐมภูมิของอินซูลิน
และได้รับรางวัลโนเบลจากผลงานดังกล่าว
อินซูลินถือว่าเป็นโปรตีนชนิดแรกในโลกที่มนุษย์รู้จักลำดับของกรดอะมิโนอย่างสมบูรณ์ที่สุด
และในปี 1969 ได้มีการศึกษาโครงสร้างสามมิติของอินซูลินนำมาซึ่งการศึกษาโปรตีนชนิดอื่นๆอีกมากมาย
ศาสตร์แขนงนี้ปัจจุบันเรียกว่า proteomics ซึ่งจะเป็นความท้าทายการศึกษาวิจัยทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพในยุคหลังจีโนมิกส์ที่กำลังจะมาถึงในเร็ววันนี้
อินซูลินเป็นฮอร์โมนใน family หรือกลุ่มเดียวกันกับไอจีเอฟ insulin-like
growth factors (IGF-1 and IGF-2) และรีแล็กซิน relaxin ซึ่งกำลังทวีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน
ได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวางและนำมาประยุกต์ใช้ในการบำบัดรักษาหลายโรคหลายภาวะด้วยกัน
ฮอร์โมนในตระกูลนี้ทั้งสี่ชนิดมีความสามารถในการช่วยให้เซลล์เจริญเติบโต
ข้อแตกต่างที่สำคัญเพียงประการเดียวคือ อินซูลินมีบทบาทเด่นเกี่ยวกับเมตาบอลิก
หมายถึงการใช้พลังงานของเซลล์
ในขณะที่ไอจีเอฟและรีแล็กซินมีบทบาทเด่นในเรื่องการเจริญเติบโตของเซลล์และการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปร่างหน้าที่ของเซลล์
ในอนาคตอันใกล้เราจะได้ยินเรื่องราวของสารกลุ่มนี้มากขึ้นอย่างแน่นอน
ผู้ป่วยเบาหวาน
จำเป็นต้องมีการปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบหมุนเวียนเลือดของขา
และเท้าโดยการออกกำลังกายเป็นประจำ และการอดบุหรี่ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
1. การเดิน
ควรเดินวันละครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง และพยายามเพิ่มระยะทางการเดินทีละน้อยทุกวัน
2. การเดินขึ้นบันได
เดินขึ้นบันไดในลักษณะก้าวเขย่ง
3.
การเหยียดกล้ามเนื้อน่อง ยืนโน้มตัวไปข้างหน้าโดยใช้มือเกาะผนังไว้
ยืนเท้าห่างกันเล็กน้อย
ให้ส้นเท้าอยู่บนพื้น พับแขน และเหยียดแขน 10
ครั้ง โดยให้หลังและขาอยู่ในแนวตรง
ตลอดเวลา
4. นั่งเก้าอี้ กอดอก
นั่งเก้าอี้ และลุกขึ้น-ลง 10 ครั้ง
5. บริหารปลายเท้า
ยืนเอามือเกาะเก้าอี้ เดินย่ำอยู่กับที่ โดยยกส้นเท้าขึ้น-ลง และให้ปลายเท้าแตะพื้นตลอดเวลา
6. งอเข่า งอเข่าลุกขึ้นและลง
10 ครั้ง โดยใช้มือเกาะเก้าอี้ และให้หลังตรงตลอดเวลา
7. เขย่งส้นเท้า
ยกส้นเท้าขึ้นลง ประมาณ 20 ครั้ง
พยายามลงน้ำหนักตัวที่ปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วเปลี่ยนไปอีกข้างหนึ่ง
8. แกว่งขา
ยืนลงน้ำหนักตัวบนขาข้างหนึ่ง ใช้มือเกาะเก้าอี้หรือโต๊ะ แกว่งเท้าอีกข้างประมาณ 10
ครั้ง แล้วเปลี่ยนข้างทำเหมือนกัน
9. สะบัดเท้า
นั่งบนพื้น โน้มตัวไปข้างหน้า สะบัดเท้า 2 ข้างไปมาหลาย ๆ
ครั้ง
โรคเบาหวาน
เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ
เกิดขึ้นเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน และ/หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน
มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และมีน้ำตาลรั่วออกมาในปัสสาวะ
เบาหวานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น
1.
โรคหัวใจ
2.
โรคตา
3.
โรคระบบประสาท
4.
โรคไต
โดยมีปัจจัยเสี่ยง
เช่น
1.
มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง),
2.
เป็นโรคอ้วน
(ดัชนีมวลกายมีค่าตั้งแต่ 27 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป)
3.
โรคความดันโลหิตสูง
เป็นโรคความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิตมีค่าตั้งแต่ 140/90
มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป)
4.
ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (เอช ดี แอล โคเลสเตอรอลมีค่าน้อยกว่า หรือเท่ากับ 35
มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และ/หรือไตรกลีเซอไรด์มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ
250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
5.
ไม่ออกกำลังกาย สภาวะความเครียด
ดูโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ
เชื้อชาติบางเชื้อชาติ
เช่น แอฟริกัน-อเมริกัน เคยตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ
หรือเคยตรวจพบความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จัดเป็นเบาหวาน
เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
เป็นโรคที่รังไข่มีถุงน้ำหลายถุง (Polycystic
ovarian syndrome)
หลักการรักษาโรคเบาหวาน
การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
1.
การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
2.
การออกกำลังกาย ลดสภาวะความเครียด
3.
หลีกเลี่ยงการนั่งดูโทรทัศน์
หรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ
การใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด
1. ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน
2. อินซูลิน
2. อินซูลิน
การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีทั้งชนิด
และปริมาณที่เหมาะสม ตรงตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้ได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
และพลังงานที่สมดุลกับการใช้แรงงาน และยาที่แพทย์กำหนดให้
ซึ่งมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดรวมถึงน้ำหนักตัว ความดันโลหิต
และระดับไขมันในเลือดที่มักพบว่ามีความผิดปกติร่วมกันกับความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดด้วย
ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนจึงควรให้ความสนใจ
และพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกชนิด และปริมาณอาหารที่เหมาะสม
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย
ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอาหารได้หลากหลายเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซากจำเจ
และให้มีความสุขในการรับประทานอาหารมากขึ้น
โดยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนในอาหารหมู่เดียวกัน ในปริมาณที่มีพลังงานเทียบเท่ากัน
เช่น อาหารหมู่ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์ พบว่าการรับประทานข้าวต้ม 2 ทัพพี จะให้พลังงานเทียบเท่ากับข้าวสวย 1 ทัพพี
หรือข้าวเหนียวนึ่ง 3 ช้อนโต๊ะ อาหารหมู่ผัก
พบว่าการรับประทานผักสด 1 ถ้วยตวงจะให้พลังงานเทียบเท่ากับผักสุกครึ่งถ้วยตวง
อาหารหมู่ผลไม้ พบว่าการรับประทานกล้วยน้ำว้า 1 ผล
จะให้พลังงานเทียบเท่ากับเงาะ 6 ผล ชมพู่ 4 ผล ทุเรียน 1 เม็ดกลาง มะม่วงครึ่งผล เป็นต้น
อาหารหมู่เนื้อสัตว์ ไข่ และนม พบว่าการรับประทานเนื้อหมู 2 ช้อนโต๊ะ
จะให้พลังงานเทียบเท่ากับเนื้อไก่ 2 ช้อนโต๊ะ ไข่ 1 ฟอง ลูกชิ้น 5-6 ลูก เป็นต้น
หมวดไขมัน พบว่าการรับประทานน้ำมันหมู 1 ช้อนชา
จะให้พลังงานเทียบเท่ากับเนยสด 1 ช้อนชา มายองเนส 1 ช้อนชา น้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ
หมายเหตุ
1.
ควรเลือกอาหารที่มีใยอาหารสูง
2.
ควรหลีกเลี่ยงผลไม้เชื่อม ผลไม้กวน ผลไม้ดอง ผลไม้บรรจุกระป๋อง ผลไม้สดที่มีเครื่องจิ้ม
ควรหลีกเลี่ยงนมที่มีการปรุงแต่งรสทุกชนิด และเครื่องดื่มประเภทโอวัลติน
ไมโล และโกโก้ที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
3.
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ กะทิ
น้ำมันมะพร้าว
4. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินดีขึ้น
เป็นผลให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
ควบคุมน้ำหนักได้ดี ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ลดอัตราการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้
และยังช่วยลดความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังสามารถลดระดับไขมันเส้นเลือด
โดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์ได้อีกด้วย
ที่มา : พญ.อรัญญา สว่างอริยะสกุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรม สาขาต่อมไร้ท่อ และเมตาบอลิสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น