วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563

ระบบประสาท (Nervous System) - 2020


1. ระบบประสาท (Nervous System)
               1.1 ระบบประสาทของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสัตว์ชั้นต่ำ
                สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น พารามีเซียมสามารถเคลื่อนที่เข้าหาหรือหนีแสงสว่าง อุณหภูมิ หรือสารเคมีได้ แสดงว่าสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ แต่เนื่องจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวไม่มีเซลล์ประสาท สิ่งที่น่าสงสัย สิ่งมีชีวิตดังกล่าวตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
                เซลล์พาราเซียมมีเส้นใย เชื่อมโยงระหว่างโคนซิเลีย เรียกว่า เส้นใยประสาทงาน (coordinating fiber)
ภาพที่ 1 เส้นใยประสานงานของพารามีเซียม
                ฟองน้ำ มีการรับรู้และการตอบสนองแต่ไม่มีการประสานงานระหว่างเซลล์
                ไฮดรามีร่างแหประสาท (nerve net) ประกอบด้วยเซลล์ประสาทเชื่อมโยงกันเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจะเกิดกระแสประสาทเคลื่อนที่ไปตามเซลล์ประสาทที่สานกันเป็นร่างแหจากจุดที่ถูกกระตุ้นและกระจายไปทั่วทั้งตัว ทำให้ไฮดรานั้นสามารถ รับรู้และตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้
 ภาพที่ 2 ร่างแหประสาทของไฮดรา
                พลานาเรีย เซลล์ประสาทรวมตัวเป็นกลุ่ม โดยเฉพาะส่วนหัว เรียกว่า ปมประสาท (nerve ganglion) อาจเรียกว่า สมอง ( brain ) มีเส้นประสาทใหญ่ (nerve cord) ขนานไปตามด้านข้างจากหัวจรดท้ายในลักษณะขั้นบันได ( ladder type ) เส้นประสาทเชื่อมโยงติดกันด้วยเส้นประสาทที่วนรอบลำตัวแบบวงแหวน ( nerve ring )
                สัตว์พวกไส้เดือนดิน กุ้ง หอย แมลง มีปมประสาทใหญ่ขึ้น ทำหน้าที่เป็นสมองอยู่ที่หัวมีปมประสาทตามปล้องของลำตัว และมีเส้นประสาทเชื่อมต่อปมประสาทที่มีอยู่ตามปล้องแมลง มีปมประสาทหลายปมเรียงตัวตามแนวยาวของลำตัวทางด้านท้อง

ภาพที่ 3 ระบบประสาทของพลานาเรีย ไส้เดือนดินและแมลง
               1.2 ระบบประสาทในคนและสัตว์มีกระดูุกสันหลัง
                มีระบบประสาทพัฒนามาก เซลล์เกือบทั้งหมดรวมกันอยู่ที่ส่วนหัว มีขนาดใหญ่ และเจริญเติบโต มีการพัฒนาไปเป็นสมอง ส่วนที่ทอดยาวตามลำตัวทางด้านหลัง เรียกว่า ไขสันหลัง (spinal cord)
                สมองและไขสันหลังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทโดยมีเส้นประสาทแยกออกมาจากสมองและไขสันหลัง
                สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังขณะที่ยังเป็นเอ็มบริโอมีลักษณะ เป็นหลอดกลวงเรียกว่า นิวรัลทิวบ์ (neural tube) ที่โป่งออก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลางและสมองส่วนหลัง ซึ่งอยู่ก่อนไขสันหลัง ต่อมาสมองส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะสมองส่วนหน้าและสมองส่วนหลังได้พัฒนาเป็นส่วนต่าง ๆ

ภาพที่ 4 สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลางและสมองส่วนหลัง
ภาพที่ 5 เปรียบเทียบสมองของปลา กบ นก และคน (ที่มา  : http://www.solarnavigator.net/biology/biology_images/brain_animal_comparisons.jpg )
                จากการศึกษาเปรียบเทียบระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดต่าง ๆ ทำให้ทราบว่า สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังมีพัฒนาการเป็นสมองส่วนหน้าสมองส่วนกลางและสมองส่วนหลังเหมือนกัน แต่มีรูปร่างของสมองแตกต่างกันไปตามระดับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต  
               1.3 เซลล์ประสาท (neuron , nerve cell )
                ร่างกายคนมีเซลล์ประสาท (nerve cell) หรือนิวรอน (neuron) จำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้และการตอบสนอง แต่ละเซลล์อาจมีการเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับเซลล์ประสาทอื่นเป็นพัน ๆ เซลล์ เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มากที่เซลล์์จำนวนมากสามารถทำงานเกี่ยวกับการรับส่งสัญญาณระหว่างสิ่งเร้าภายนอกและภายในร่างกายได้อย่างมีระบบ
               เซลล์ประสาท ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญสองส่วน คือ ตัวเซลล (cell body) และใยประสาท (nerve fiber)
               ตัวเซลล์ เป็นส่วนของไซโทพลาซึมและนิวเคลียส ตัวเซลล์มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 - 25 ไมโครเมตร ภายในมีออร์แกเนลล์ที่สำคัญ คือ ไมโทคอนเดรีย เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมและกอลจิคอมเพล็กซ์ จำนวนมาก
               ใยประสาท ที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ เรียกว่า เดนไดรต (dendrite) ใยประสาทนำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ เรียกว่า แอกซอน (axon) เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์จะมีีเดนไดรต์แยกจากตัวเซลล์หนึ่งใยหรือหลายใย ส่วนแอกซอนมีเพียงใยเดียวเท่านั้น
ภาพที่ 6 ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท (ที่มา : http://www.epilepsyfoundation.org/about/science/images/Neuron.jpg )
                กรณีใยประสาทยาวซึ่งมักเป็นใยประสาทของแอกซอนจะมี เยื่อไมอีลิน (myelin sheath) มาหุ้มใยประสาท
                เยื่อไมอีลินมีสารจำพวกลิพิดเป็นองค์ประกอบเมื่อตรวจดูภาพตัดขวางของเยื่อไมอีลินด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่าเยื่อไมอีลินติดต่อกับ เซลล์ชวันน์ (Schwann cell)  ซึ่งเป็นเซลล์ค้ำจุนชนิดหนึ่งแสดงว่าเยื่อไมอีลินเป็นส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มของเซลล์ชวันน์                 ส่วนของแอกซอนตรงบริเวณร่อยต่อระหว่างเซลล์ชวันน์แต่ละเซลล์เป็นบริเวณที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้มเรียกว่า โนดออฟแรนเวียร์  (node of Ranvier)
ภาพที่ 7 ส่วนของแอกซอนที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม
               1.4 ชนิดของเซลล์ประสาท
ภาพที่ 8 เซลล์ประสาท 3 ชนิด แบ่งตามหน้าที่
                เซลล์ประสาทจำแนกตามหน้าที่ได้ 3 ชนิด ได้แก่
               1. เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neuron) คือ เซลล์ประสาทที่รับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึก แล้วถ่ายทอดกระแสประสาทไปยังเซลล์ประสาทสั่งการ อาจผ่านเซลล์ประสาทประสานงานหรือไม่ผ่านก็ได้ เซลล์เหล่านี้มีตัวเซลล์อยู่ที่ปมประสาทรากบนของไขสันหลัง
                2. เซลล์ประสาทสั่งการ(motor neuron) มักมีใยประสาทแอกซอนยาวกว่าเดนไดรต์ อาจยาวถึง 1 เมตร เพราะเซลล์ประสาทสั่งการที่อยู่ในไขสันหลังต้องส่งกระแสประสาทออกจากไขสันหลัง เพื่อนำกระแสประสาทไปยังหน่วยปฏิบัติงาน เช่น กล้ามเนื้อแขนขา ซึ่งอยู่ห่างไกลจากไขสันหลังมาก
                3. เซลล์ประสาทประสานงาน (association neuron) เซลล์ประสาทชนิดนี้อยู่ภายในสมองและไขสันหลัง จะเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทรับความรู้สึก กับเซลล์ประสาทสั่งการใยประสาทของเซลล์ประสาทประสานงานอาจมีความยาวเพียง 4 - 5 ไมโครเมตรเท่านั้น
ภาพที่ 9 การทำงานของเซลล์ประสาท (ที่มา : http://medical-dictionary.thefreedictionary.com/_/viewer.aspx?path=dorland&name=arc_reflex.jpg )
                เซลล์ประสาทแบ่งตามจำนวนแขนงที่แยกออกจากตัวเซลล์ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
                1. เซลล์ประสาทขั้วเดียว (unipolar neuron) เซลล์ประสาทประเภทนี้ส่วนของแอกซอนและเดนไดรต์ที่ใกล ้ๆ ตัวเซลล์จะรวมเป็นเส้นเดียวกัน ทำให้มีแขนงแยกออกจากตัวเซลล์เพียงแขนงเดียว เดนไดรต์มักจะยาวกว่าแอกซอนมากพบที่ปมประสาทรากบน (dorsal root ganglion) ของไขสันหลัง
                2. เซลล์ประสาทสองขั้ว (bipolar neuron) เซลล์ประสาทมีแขนงแยกออกมาเป็น 2 แขนง โดยแขนงหนึ่งเป็นแอกซอน และอีกแขนงหนึ่งเป็นเดนไดรต์ ความยาวของแขนงทั้งสองนี้ใกล้เคียงกัน พบได้ที่เรตินาของลูกตา คอเคลียของหูและเยื่อดมกลิ่นของจมูก เซลล์ประสาทขั้วเดียวและเซลล์ประสาทสองขั้ว มักจะทำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทรับความรู้สึก
                3. เซลล์ประสาทหลายขั้ว (multipolar neuron) เซล์ประสาทจะมีหลายแขนงโดยเป็นแอกซอน 1 แขนง และเป็นเดนไดรต์ 2 หรือมากกว่า เซลล์ประสาทส่วนใหญ่ของร่างกายเป็นเซลล์ประสาทหลายขั้ว พบได้ในสมอง และไขสันหลัง มีแอกซอนยาว และเดนไดรต์สั้น ทำหน้าที่นำคำสั่งไปยังอวัยวะตอบสนอง

ภาพที่ 10 ชนิดของเซลล์ประสาท(ที่มา : http://www.cals.ncsu.edu/course/ent425/tutorial/neurons.gif )
               1.5. การทำงานของเซลล์ประสาท
ภาพที่ 11 การทำงานของเซลล์ประสาท (ที่มา : http://club.yenta4.com/club_data/692/29692/file_data/NeuroneSystem/7.jpg)
                การเคลื่อนที่ของกระแสประสาทภายในเซลล์
                นักวิทยาศาสตร์พบว่า กระแสประสาทเคลื่อนที่ไปได้โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าเกิดขึ้นและเมื่อนักวิทยาศาสตร์์ใช้เครื่องมือวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ในสภาพปกติและขณะเกิดกระแสประสาท จึงสรุปได้ว่าการเคลื่อนที่ของกระแสประสาท เป็นการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ทางไฟฟ้าและ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีพร้อมกันไป การเปลี่ยนแปลงนี้ต้องการออกซิเจนและพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย การเคลื่อนของกระแสประสาท แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
                1. ระยะก่อนถูกกระตุ้น (polarization)
                สารละลายภายในและภายนอกเซลล์ประสาทจะมีประจุไฟฟ้าต่างกันประมาณ -60 มิลลิโวลต์ โดยนอกเซลล์จะมีประจุไฟฟ้าบวก และสารละลายภายนอกเซลล์ส่วนใหญ่ประกอบด้วย Na+ และ Cl- ส่วนภายในเซลล์มีประจุไฟฟ้าลบ เนื่องจากประกอบด้วย K+ และอินทรียสารซึ่งมีประจุลบ
                ในสภาปกติจะพบ K+อยู่ภายในเซลล์มากกว่าภายนอก (ไม่ต่ำกว่า 25 เท่า) และพบ Na+ อยู่ภายนอกเซลล์มากกว่าภายใน (มากกว่า 10 เท่า) แสดงว่าเยื่อหุ้มเซลล์จะดึง K+ เข้ามาภายในเซลล์ และส่ง Na+ ออกนอกเซลล์ ตลอดเวลาด้วยวิธี แอกทีฟทรานสปอร์ต (active transport) เรียกขบวนการนี้ว่า โซเดียม-โพแทสเซียมปั๊ม (sodium potassium pump)
ภาพที่ 12 การเกิดกระแสประสาท (ที่มา : http://static.howstuffworks.com/gif/nerve-12.gif )
ภาพที่ 13 โซเดียม-โพแทสเซียมปั้ม (ที่มา : http://student.ccbcmd.edu/~gkaiser/biotutorials/eustruct/images/sppump.gif )
                2. ระยะเมื่อถูกกระตุ้น (depolarization)
                เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นเซลล์ประสาท จะทำให้คุณสมบัติของเยื่อหุ้มเซลล์ตรงนั้นเปลี่ยนไปชั่วคราว คือยอมให้ Na+ ภายนอกแพร่เข้าไปภายในเซลล์ได้ ผิวในของเยื่อหุ้มเซลล์ตรงที่ Na+ เข้าไปจะมีประจุบวกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเปลี่ยนเป็นประจุบวกและผิวนอกที่สูญเสีย Na+จะเปลี่ยนเป็นประจุลบ(การเปลี่ยนแปลงประจุนี้ใช้เวลา 1/100 วินาที)
                เมื่อความต่างศักย์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนแปลงจาก -60มิลลิโวลต์ เป็น +60 มิลลิโวลต์ ทันทีที่ บริเวณหนึ่งมีศักย์ไฟฟ้าต่างจากบริเวณถัดไป จะกระตุ้นเซลล์ประสาทบริเวณถัดไปทั้ง 2 ข้าง ให้เกิดสลับขั้วต่อไปเรื่อย ๆ ปรากฏการณ์เช่นนี้ คือสัญญาณที่แสดงถึงการเคลื่อนที่ของกระแสประสาท (nerve impulse action potential) อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าและทางเคมี
                3. การกลับเข้าสู่สภาพปกติ (repolarization)
                เมื่อ Na+ ผ่านเข้ามาในเซลล์ K+ ก็จะแพร่ออกจากเซลล์ทำให้ประจุไฟฟ้าที่ผิวนอกและผิวในของเยื่อหุ้มเซลล์กลับคืนสู่สภาพเดิม และในช่วงเวลาใกล้เคียงกันเมื่อกระแสประสาทผ่านไปแล้ว เซลล์ประสาทจะขับ  Na+ ออกและดึง K+ เข้าเซลล์ด้วยกระบวนการโซเดียม - โพแทสเซียมปั๊ม เพื่อให้เซลล์์กลับคืนสู่สภาพปกติ สามารถนำกระแสประสาทต่อไปได้
ภาพที่ 14 การเกิดกลับเข้าสู่สภาวะปกติ (ที่มา : http://cwx.prenhall.com/bookbind/pubbooks/morris5/chapter2/custom1/deluxe-content.html )
                ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในเซลล์ประสาทรวดเร็วมาก และใยประสาทชนิดที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มจะนำกระแสประสาทได้รวดเร็ว เพราะการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าจะเกิดขึ้นที่ โนดออฟเรนเวียร์เท่านั้นส่วนใยประสาทชนิดที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าจะเกิดขึ้นทุกตำเหน่ง ถัดกันไป
                ความเร็วของกระแสประสาทยังขึ้นอยู่กับเส้นผ่านศูนย์กลางของใยประสาทด้วย โดยทั่วไปความเร็วของกระแสประสาทจะเพิ่มขึ้น1เมตรต่อวินาที เมื่อเส้นผ่านศูนย์กลางเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1ไมครอน ดังนั้นใยประสาทได้เร็วคือ ใยประสาทที่มีขนาดใหญ่และมีเยื่อไมอีลินหุ้ม
                เซลล์ประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้มนำกระแสประสาทด้วยความเร็ว 12 เมตรต่อวินาที ส่วนเซลล์ประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มนำกระแสประสาทด้วยความเร็ว 120 เมตรต่อวินาท
ภาพที่ 15 การเกิดกระแสประสาทในใยประสาทชนิดที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม (ที่มา : http://www.coolschool.ca/lor/BI12/unit12/U12L03/Saltatorycondn.png )
               1.6 การถ่ายทอดกระแสประสาท
ภาพที่ 16 การถ่ายทอดกระแสประสาท (ที่มา : http://www.freewebs.com/soaring_sphincter_travel_agency/nervoussystem.htm)
               เมื่อศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่ารอยต่อระหว่างเซลล์ประสาทที่เรียกว่าไซแนปส์์นั้นจะมีขนาด 0.02 ไมโครเมตร คั่นอยู่ ทำให้กระแสประสาทไม่สามารถข้ามผ่านไซแนปส์ไปได้ ที่ปลายแอกซอนจะมีถุงขนาดเล็กและไมโทคอนเดรียสะสมอยู่มาก
                ภายในถุงเหล่านี้จะบรรจุสารสื่อประสาท เมื่อกระแสประสาทเคลื่อนที่มาถึงที่ปลายแอกซอน ถุงเล็ก ๆ ดังกล่าวจะเคลื่อนตัวไปรวมกับเยื่อหุ้มเชลล์ตรงบริเวณไซแนปส์ และปล่อยสารสื่อประสาทออกมาเพื่อกระตุ้นเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ถัดไป ทำให้เซลล์ประสาทที่ถูกกระตุ้นมีกระแสประสาทเกิดขึ้นและถูกถ่ายทอดต่อจนไปถึงปลายทาง เมื่อสารสื่อประสาทถูกปล่อยออกมาจากถุงบรรจุสารสื่อประสาทที่เยื่อหุ้มปลายประสาทแอกซอนเข้าสู่ ช่องไซแนปส์ สารสื่อประสาทจะไปจับกับโปรตีนตัวรับที่เยื่อหุ้มเชลล์ประสาทหลังไซแนปส์
                ทำให้เกิดการเคลื่่อนที่ของไอออนผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ที่เดนไดรต์ของเซลล์ประสาทของไซแนปส์ และทำให้เกิดการส่งกระแสประสาทต่อไป
ภาพที่ 17 การถ่ายทอดกระแสประสาท (ที่มา : http://universe-review.ca/I10-40-synapse.jpg)
ภาพที่ 18 การถ่ายทอดกระแสประสาท (ที่มา : http://cwx.prenhall.com/bookbind/pubbooks/morris5/chapter2/custom1/deluxe-content.html)
 ภาพที่ 19 การถ่ายทอดกระแสประสาท (ที่มา : http://universe-review.ca/I10-87-synapse.jpg )
                สารสื่อประสาทที่เหลืออยู่ในช่องไซแนปส์ จะถูกสลายโดยเอนไซม์ สารที่ได้จากการสลายอาจจะนำกลับเข้าไปสร้างสารสื่อประสาทใหม่ บางส่วนกำจัดออกทางระบบเลือด เอนไซม์จึงถูกกระตุ้นเฉพาะเวลาที่แอกซอนปล่อยสารสื่อประสาทออกมาในช่วงสั้น ๆ เท่านั้น 
                สารสื่อประสาทพบมากบริเวณปลายแอกซอน ทำหน้าที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดกระแสประสาทจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง
                ปัจจุบันพบว่าสารสื่อประสาทมีหลายชนิด เช่น แอซิติลโคลีน (acetylcholine) นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) เอนดอร์ฟิน (endorphin)
                สารเคมีและยาหลายชนิดมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทโดยไปมีผลต่อการถ่ายทอดกระแสประสาทที่ไซแนปส์ เช่น สารพิษจากแบคทีเรียบางชนิดไปยับยั้งการปล่อยสารสื่อประสาทจากแอกซอนทำให้กระแสประสาทถ่ายทอดไม่ได้ จึงเกิดอาการอัมพาตขึ้น
                ยาระงับประสาททำให้สารสื่อประสาทที่ปล่อยออกมีน้อย กระแสประสาทจึงส่งไปยังสมองน้อยลง ทำให้มีอาการสงบ ไม่วิตกกังวล
                สารจำำพวกนิโคติน คาเฟอีน แอมเฟตามีนจะไปกระตุ้นให้แอกซอนปล่อยสารสื่อประสาทออกมามาก ทำให้เกิดการตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว
                ยาฆ่าแมลงบางชนิดสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่จะมาสลายสารสื่อประสารทำให้สารสื่อประสาทยังคงอยู่ การนำกระแสประสาทจึงเกิดขึ้นใหม่ไม่ได้ การทำงานของระบบประสาทจึงผิดปกติและเป็นอันตราย
               1.7 โครงสร้างของระบบประสาท
                ระบบประสาทแบ่งตามตำแหน่งและโครงสร้างได้เป็น 2 ระบบ คือ
                1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervousหรือ CNS) ได้แก่ สมองและไขสันหลัง
ภาพที่ 20 โครงสร้างของระบบประสาท (ที่มา : http://www.clarian.org/ADAM/doc/NeurologyCenter/2/8679.htm )
2. โครงสร้างของระบบประสาท ประกอบด้วย
               ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) และระบบประสาทรอบนอก (peripheral nervous sytem: PNS)
 ภาพที่ 21 โครงสร้างของระบบประสาท
               2.1 ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System)
                ระบบประสาทส่วนกลางประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง
                โครงสร้างของสมองแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลางและสมองส่วนหลัง ทั้งสมองและไขสันหลังมีเนื้อหุ้ม 3 ชั้น คือชั้นนอกสุดมีลักษณะหนาเหนียวและแข็งแรง ทำหน้าที่ีป้องกันการกระทบกระเทือนแก่ส่วนที่เป็นเนื้อสมองและไขสันหลัง ส่วนชั้นกลางเป็นเยื่อบาง ๆ  
                ส่วนชั้นในสุดแนบสนิทไปตามรอยโค้งเว้าของสมองและไขสันหลัง จึงมีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงอยู่มาก เพื่อนำสารอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์ของสมองและไขสันหลัง
                ระหว่างเยื่อหุ้มสมอง ชั้นกลางกับชั้นในเป็นที่อยู่ของน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง(cerebrospinal fluid)  ซึ่งช่องนี้มีทางติดต่อกับช่องตามยาวซึ่งติดต่อกับช่องภายในไขสันหลังและโพรงภายในสมอง
                น้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลังมีหน้าที่นำออกซิเจนและสารอาหารมาหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทและนำของเสียออกจากเซลล์

ภาพที่ 22 โครงสร้างของสมองและไขสันหลัง (ที่มา : https://eapbiofield.wikispaces.com/PR,+Nervous+System,+WD )
                น้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง      
                น้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลังสร้างมาจากเส้นเลือดฝอยบริเวณโพรงสมอง และไหลติดต่อกับระบบหมุนเวียนเลือด โดยทำหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอและให้อาหาร แก๊สออกซิเจนแก่เซลล์ประสาท ในขณะเดียวกันก็ถ่ายเทของเสียออกจากเซลล์ประสาท
                ถ้าช่องที่ติดต่อระหว่างโพรงสมองกับไขสันหลังอุดตัน จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในโพรงสมอง ถ้าเป็นในเด็กจะทำให้สมองไม่เจริญเติบโต เนื่องจากถูกน้ำกดสมองไว้ และดันให้กะโหลกศีรษะขยายขึ้นทำให้หัวโตมากเรียกว่าเป็น โรคน้ำคั่งในสมอง (hydrocephalus) ถ้าไม่รีบเจาะน้ำออก เด็กจะตายในเวลาไม่นานนัก ถ้าหากเป็นในผู้ใหญ่จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างมาก
 ภาพที่ 23 การเจาะน้ำเลี้ยงไขสันหลัง (ที่มา : http://www.meb.uni-bonn.de/cancer.gov/Media/CDR0000539773.jpg )
                     2.1.1 สมอง (Brain)
                      สมองเป็นระบบประสาทที่มีความซับซ้อนมากที่สุด สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังอยู่ในกะโหลกศีรษะ ชั้นนอกมีสีเทา (gray matter) เป็นส่วนของเชลล์ที่ไม่มีเยื้อไมอีลินห่อหุ้มส่วนชั้นในเป็นสีขาว (white matter) เป็นส่วนที่อยู่ของเส้นประสาท เเละมีเยื่อไมอีลินห่อหุ้ม
                      สมองเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทบรรจุอยู่ใน Cranial Cavity โดยทั่วไปมีน้ำหนักประมาณ 1.4 กิโลกรัม ประกอบด้วยเชลล์ประสาทมากกว่าร้อยละ 90 ของเชลล์ประสาททั้งหมดบรรจุอยู่ในกะโหลกศีรษะเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน
                      สัตว์ชั้นสูงมีพัฒนาการทางสมองดี และพบว่ารอยหยักบนสมองสัมพันธ์กับความสามารถในการเรียนรู้ อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักสมองต่อน้ำหนักตัวมีแนวโน้มที่จะทำให้ฉลาดและ เรียนรู้ได้ดี  
ภาพที่ 24 สมองส่วนต่าง ๆ (ที่มา : http://addiandcassi.com/wordpress/wp-content/uploads/human-brain-3.jpg)
                      สมองเป็นอวัยวะสำคัญทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย สารเคมีมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ง่วงนอนหรือควบคุมอารมณ์ไม่ได้
                      การดื่มสุราในปริมาณมาก ๆ ทุกวันจะทำลายเซลล์ประสาทในสมอง ทำให้้เซลล์ประสาทลดลงอาจเป็นโรคสมองฝ่อหรืออัลไซเมอร์ (alzheimer’s disease)      
                      โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ความจำเสื่อม เซลล์ประสาทในสมองเสื่อมลงหรือถูกทำลายทำให้เนื้อสมอง ฝ่อเล็กน้อย รอยหยักของสมองน้อยลง น้ำเลี้ยงสมองเพิ่มมากขึ้น อาจเกิดมาจากสาเหตุทางพันธุกรรมของยีนเด่น เนื่องจากขาดยีนควบคุมการสร้างเอนไซม์หรือบางรายอาจเกิดจากการสะสมของสารอะลูมิเนียมในสมองมากกว่าปกติ
                      ความพิการของสมองในเด็กอาจเป็นได้จากสาเหตุต่าง ๆ หลายประการ เช่น ได้รับสารตะกั่วจากสิ่งแวดล้อมมากเกินไป โดยอาจได้รับจากอากาศ อาหาร น้ำดื่ม ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย
                      การขาดธาตุไอโอดีนในขณะเป็นเด็กจะทำให้สมองไม่พัฒนาอาจทำให้เป็น โรคเอ๋อ (endemic goiter) คือมีสติปัญญาต่ำหรือเป็นปัญญาอ่อนได้
                      ความผิดปกติของโครโมโซมทั้งออโตโซมและโครโมโซมเพศก็อาจทำให้เกิดโรคปัญญาอ่อนได้
                      สมองคนเรา แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า  สมองส่วนกลางและสมองส่วนหลัง สมองแต่ละส่วนมีการควบคุมการทำงานของร่างกายแตกต่างกัน ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
                      1. สมองส่วนหน้า (forebrain) ประกอบด้วย ออลแฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulm) เซรีบรัม (cerebrum) ไฮโปทาลามัส (hypothalamus)  ทาลามัส (thalamus)
                      2. สมองส่วนกลาง (midbrain) พัฒนาลดรูปเหลือแค่ออพติกโลบ (optic lobe)                            3. สมองส่วนหลัง (hindbrain) ประกอบด้วย เซรีเบลลัม (cerebellum)  เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) พอนส์ (pons)
ภาพที่ 25 สมองหน้า ส่วนกลางและส่วนหลัง (ที่มา : http://library.thinkquest.org/25500/emotions/media/divisions.gif)
                     สมองส่วนหน้า (forebrain)
                      สมองส่วนหน้าประกอบด้วย เซรีบรัม (cerebrum) ทาลามัส (thalamus)  ออลแฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulm) ไฮโปทาลามัส (hypothalamus)
ภาพที่ 26 สมองส่วนหน้า (ที่มา : http://cwx.prenhall.com/bookbind/pubbooks/morris5/chapter2/custom1/deluxe-content.html)
                      ออลแฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulm)
                      สมองส่วนนี้ของคนไม่เจริญมาก จึงรับกลิ่นได้ไม่ดี เเต่ในปลาส่วนนี้เจริญมากเป็นส่วนที่อยู่หน้าสุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น มีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ                                  
                     เซรีบรัม (
cerebrum)

                      เป็นสมองที่มีการเจริญเปลี่ยนเปลงมากที่สุดและมีขนาดใหญ่โตมากที่สุด มีเชลล์์ประสาทมาก  ความฉลาดของสัตว์ขึ้นอยู่กับจำนวนเชลล์สมอง
                      มีหน้าที่่่การทำงานเกี่ยวกับ ความคิดความจำ เชาวน์ปัญญา ศูนย์กลางควบคุมการทำงานด้านต่าง ๆ การสัมผัส การพูด การมองเห็น รับรส การไดยิน การดมกลิ่นการทำงานของกล้ามเนื้อ
                      ไฮโปทาลามัส (hypotalamus)
                      เป็นสมองส่วนที่มีขนาดเล็ก
                      เป็นบริเวณที่สำคัญในการควบคุมขบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย   เช่น ควบคุมการรทำงานของร่างกาย ควบคุมการเต้นของหัวใจ ควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกาย เช่น น้ำ อาหาร ความต้องการทางเพศ สร้างฮอร์โมนประสาทมาควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่องใต้สมองส่วนหน้า
                      ทาลามัส (thalamus )
                      เป็นส่วนที่อยู่ห่างจากซีรีบรััม
                      ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้าออกและแยกกระแสประสาทไปยังสมองที่เกี่ยวกับกระแสประสาทนั้น
                     สมองส่วนกลาง (
midbrain) เป็นสมองส่วนที่เล็ก เพราะถูกส่วนอื่น ๆ บดบังไว้ มีหน้าที่ถ่ายทอดกระเเสประสาทจากสมองส่วนท้ายไปยังซีรีบรัม ส่วนบนจะแบ่งออกเป็น 4 พู เรียกการพัฒนาลดรูปที่เหลืออยู่นี้ว่าออพติกโลบ (optic lobe) โดยมีเส้นประสาทเเยกไปยังลูกตาทั้งสองข้าง
                      สมองส่วนกลางของ สัตว์ที่มีวิวัฒนา่่การต่ำ เช่น ปลา จะมีีขนาดใหญ่มาก ส่วนสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูง เช่น คน เเละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไปจะมีขนาดเล็กตามวิวัฒนาการ
ภาพที่ 27 เปรียบเทียบการพัฒนาสมองส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ชนิดต่าง ๆ
                      ออพติกโลบ (optic lobe)่ ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกนัยน์ตากลอกไปมาได้ควบคุมการปิดเปิดของรูม่านตาในเวลาที่มี่แสงสว่างเข้ามากและน้อย
                     สมองส่วนหลัง (hindbrain)

                      ประกอบด้วยเซรีเบลลัม (cerebellum) เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) และพอนส์ (pons)
ภาพที่ 28 สมองส่วนหลัง (ที่่มา : http://addiandcassi.com/wordpress/wp-content/uploads/human-brain-3.jpg )
                      เซรีเบลลัม (cerebellum) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ชั้นนอกเรียกว่า คอร์เทกซ (cortex) มีสีเทา ชั้นในมีสีขาวแตกกิ่่งก้านสาขาคล้ายกิ่งไม้
                      ทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวของร่างกาย ให้สามารถทำงานได้อย่างละเอียดอ่อน ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
                      พอนส์ (pons) อยู่ทางด้ายหลังของเซรีบรัม ประกอบด้วยมัดของเเถบประสาทเป็นทางผ่านของกระเเสประสาทระหว่างซีรีบรัมเเละซีรีเบลลัม
                      ทำหน้าที่ควบคุมการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของใบหน้า ควบคุมการหายใจเป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างเซรีบรัมกับเซรีเบลลัม และเซรีเบลรัมกับไขสันหลัง
                      เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) เป็นส่วนสุดท้ายของสมองต่อจากพอนส์ตอนปลายติดกับไขสันหลัง สมองส่วนนี้มีการเปลี่ยนรูปร่างจากเดิมน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสมองส่วนอื่น
                      ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ เป็นทางผ่านของกระเเสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง ควบคุมการเต้นของหัวใจ การหายใจ ความดันเลือด การกลืน การจาม การสะอึก   การอาเจียน
                     2.1.2 ไขสันหลัง (spinal cord)
                      ไขสันหลัง (spinal cord) เป็นส่วนของระบบประสาทที่ต่อออกมาจากเมดัลลาออบลองกาตาอยู่ภายในกระดูกสันหลัง ตั้งแต่กระดูกสันหลังข้อแรกจนถึงกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอวข้อที่ 2 และมีเยื่อหุ้มเช่นเดียวกับสมอง
                      ไขสันหลังบริเวณอกและเอวขยายกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ เมื่อเลยกระเบนเหน็บลงไปแล้ว จะเรียวเล็กจนมีลักษณะเป็นเส้นไม่มีเยื่อหุ้ม ดังนั้นการฉีดยาเข้าที่บริเวณไขสันหลังและเจาะน้ำบริเวณไขสันหลังจึงทำกันต่ำกว่ากระดูกสันหลังเอวข้อที่สองลงมา
                      เส้นประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังมีทั้งหมด 31 คู่ เป็นเส้นประสาทประสม (mixed never) แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 บริเวณ ดังนี้
                      เส้นประสาทบริเวณคอ (cervical never) 8 คู่
                      เส้นประสาทบริเวณอก (thoracal never) 12 คู่
                      เส้นประสาทบริเวณเอว (lumbar never) 5 คู่
                      เส้นประสาทบริเวณกระเบนเหน็บ (sacral never) 5 คู่
                      เส้นประสาทบริเวณก้นกบ (coccygeal never) 1 คู่
ภาพที่ 29 เส้นประสาทไขสันหลัง (ที่มา : http://www.daviddarling.info/encyclopedia/S/spinal_cord.html)
                      เส้นประสาทที่ไขสันหลังไปเลี้ยงแขนและขาจะมีความยาวมากกว่าไปเลี้ยงลำตัว
                     ถ้าตัดไขสันหลังออกตามขวางจะพบว่าแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
                      1. ส่วนที่เป็นสีเทา เนื้อสีเทา (gray matter) อยู่ทางด้านใน มีลักษณะเป็นรูปผีเสื้อเป็นที่อยู่ของเซลล์ประสาทและ ใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม ส่วนตรงกลางของไขสันหลัง บริเวณเนื้อสีเทาจะมีช่องในไขสันหลัง เรียกว่า ช่องกลวงตรงกลางไขสันหลัง (central canal) เป็นที่อยู่ของ น้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebo-spinal fluid)
                      ส่วนของไขสันหลังสีเทาที่ยื่นไปข้างหลัง เรียกว่า ปีกบน (posterior gray horn) จะมีแอกซอนของเซลล์ประสาทพวกรับความรู้สึกจากอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ เข้าสู่ปีกบนทาง รากบน (dorsal root) ของเส้นประสาทไขสันหลัง
                      ส่วนไขสันหลังสีเทาที่ยื่นออกมาข้างหน้าเรียกว่าปีกล่าง(anterior gray horn vetral gray horn) เป็นที่อยูู่่่ของ เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron ) นำกระแสประสาทออกทาง รากล่าง (ventral root) ของเส้นประสาทไขสันหลัง  
ภาพที่ 30 ไขสันหลัง (ที่มา : http://www2.neuroscience.umn.edu/brainscience/BrainU/BU2000.htm)
                      ไขสันหลังส่วนสีเทาแบ่งตามหน้าที่ สามารถจำแนกได้ 4 บริเวณ คือ                                          1. โซมาติกเซนซอรีคอลัมน์ (somatic motor column) เป็นบริเวณที่ทำหน้าที่ในการรับความรู้สึก คือ รับความรู้สึกจากผิวหนังและกล้ามเนื้อทั่วร่างกายได้แก่ส่วนของปีกบน (posterior gray horn) ด้านใน ซึ่งอยู่ชิดกับร่องทางด้านหลังของไขสันหลัง
                      2. โซมาติก มอเตอร์ คอลัมน์ (somatic motor column ) เป็นบริเวณที่ทำหน้าที่สั่งการออกจากไขสันหลังไปสู่กล้ามเนื้อของอวัยวะตอบสนองต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ได้แก่ ส่วนของปีกล่าง (anterior gray horn ) ด้านใน ซึ่งชิดกับร่องทางด้นหลังของไขสันหลัง
                      3. วิสเซอรัล เซนเซอรี คอลัมน์ (visceral sensory column ) เป็นบริเวณที่รับความรู้สึกจากอวัยวะภายในต่าง ๆ ได้แก่ ส่วนของปีกบนด้านนอก ซึ่งอยู่ชิดกับด้านข้างของเนื้อสีขาว (white matter )
                      4. วิสเซอรัลมอเตอร์คอลัมน์ (visceral motor column ) เป็นบริเวณที่ทำหน้าที่สั่งการออกไปสู่กล้ามเนื้อของอวัยวะภายในต่าง ๆได้แก่ส่วนของปีกล่างด้านนอกซึ่งอยู่ชิดกับด้านข้างของเนื้อสีขาว
 ภาพที่ 31 ไขสันหลัง (ที่มา : http://thalamus.wustl.edu/course/spinal.html)
                      2. เนื้อสีขาว (white matter ) เป็นส่วนที่อยู่ด้านนอก เป็นพวกใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มอยู่หนาแน่น จึงมีสีขาวทำหน้าที่เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างไขสันสันหลังกับสมองกลุ่มเส้นประสาทแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
                            1. กลุ่มเส้นประสาทนำกระแสประสาทเข้าสู่สมอง (ascending tract )
                            2. กลุ่มเส้นประสาทสั่งการจากสมองผ่านไขสันหลังไปยังอวัยวะตอบสนองต่าง ๆ (descending tract )
ภาพที่ 32 การทำงานของระบบประสาท (ที่มา : http://www.atlantainjurylawblog.com/spinal-cord-injury-spinal-cord-injury-trials-and-explanation-of-muscle-spasticity.html)
ภาพที่ 33 การทำงานของระบบประสาท (ที่มา : http://www.prokop.co.uk/Research/LAYMAN/4-reflex-circuit.html)
                      กลุ่มเส้นประสาทนำกระแสประสาทเข้าสู่สมอง (ascending tract) แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ เช่น นำกระแสประสาทจากกล้ามเนื้อเข้าสู่ไขสันหลังและสมอง นำกระแสประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการสัมผัส ความดัน ไปสู่สมองส่วนที่ทำหน้าที่นั้น ๆ นำกระแสประสาทเกี่ยวกับความรู้สึกเจ็บและอุณหภูมิจากอวัยวะ รับสัมผัสต่าง ๆ เข้าสู่สมอง
                      กลุ่มเส้นประสาทสั่งการจากสมองผ่านไขสันหลังไปยังอวัยวะตอบสนองต่าง ๆ (descending tract) ได้แก่ กลุ่มเส้นประสาทที่นำคำสั่งจากสมองโดยเฉพาะจากซีรีบัลคอร์เทกซ(cerebral cortex) ลงมาตามไขสันหลังไปสู่กล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในอำนาจจิตใจ (voluntary muscle ) ทั่วร่างกาย
                      เส้นประสาทไขสันหลังแต่ละเส้นประกอบด้วยมัดเส้นใยประสาทหลาย ๆ มัด และมัดเส้นใยประสาทประกอบด้วยใยประสาทจำนวนมาก มัดเส้นใยประสาทมีทั้งเส้นใย ประสาทสั่งการและใยประสาทรับความรู้สึก ดั้งนั้น เส้นประสาทไขสันหลังจึงเป็นเส้นประสาทประสม (mixed nerve) ทั้งหมด
               2.2 ระบบประสาทรอบนอก นอก (peripheral nervous sytem: PNS) ประกอบด้วย
                      2.2.1 เส้นประสาทสมอง (cranial nerve ) เป็นเส้นประสาทที่แยกออกจากสมอง ในปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีจำนวน 10 คู่ ส่วน พวกในสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีจำนวน 12 คู่ สำหรับคนเรามี 12 คู่  คือ คู่ที่ 1 – 12
                      เส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 เส้นประสาท ออลแฟกทอร (olfactory nerve) รับความรู้สึกเกี่ยวกับกลิ่น เยื่อหุ้มจมูก เข้าสู่ทอรีบัลล์ แล้วเข้าสู่ออลแฟกทอรีโลบของสมองส่วนซีรีบรัมอีกที่หนึ่ง
                      เส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 เส้นประสาทออพติก (optic nerve) รับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็นจากเรตินาของลูกตาเข้าสู่ออพติกโลบ แล้วส่งไปยังออพซิพิทัลโลบของซีรีบรัมอีกที่หนึ่ง
                      เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 เส้นประสาทออคิวโลมอเตอร (oculomotor nerve ) เส้นประสาทสั่งการจากสมองส่วนกลางไปยังกล้ามเนื้อลูกตา 4 มัด ทำให้ลูกตาเคลื่อนไหวกลอกตาไปมาได้ และยังไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ทำให้ลืมตาทำให้ม่านตาหรี่หรือขยายและไปยังกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตาอีกด้วย
                      เส้นประสาทสมองคู่ที่ 4 เส้นประสาททอเคลีย (trochlea nerve ) เป็นเส้นประสาทสั่งการไปยังกล้ามเนื้อลูกตา มองลงและมองไปทางหางตา
                      เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 เส้นประสาทไตรเจอมินัล (trigerminal nerve) แบ่งออกเป็น 3 แขนงทำหน้าที่รับความรู้สึกจากใบหน้า ลิ้นฟัน ปากเหงือก กลับเข้าสู่สมอง ส่วนพาเรียทัลโลบ และทำหน้าที่สั่งการไปควบคุมกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร
                      เส้นประสาทสมองคู่ที่ 6  เส้นประสาทแอบดิวเซนส (abducens nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการออกจากพอนส์ไปยังกล้ามเนื้อลูกตาทำให้เกิดการชำเลือง
                      เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 เส้นประสาทเฟเชียล (facial nerve) เป็นเส้นประสาทที่สั่งการไปยังกล้ามเนื้อหน้าทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน และยังเป็นเส้นประสาทรับความรู้สึกรับรสจากปลายลิ้นเข้าสู่ซีรีบรัมส่วนพาเรียทัลโลบ
                      เส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 เส้นประสาททออดิทอร (auditory nerve) เส้นประสาทรับความรู้สึก แยกออกเป็น 2 แขนง แขนงหนึ่งจากคลอเคลียของหู ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินเข้าสู่ซีรีบรัม ส่วนเทมพอรัลโลบ อีกแขนงหนึ่งนำความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวจากเซมิเซอร์์คิวลาร์แคแนล เข้าสู่ซีรีเบลลัม
ภาพที่ 34 การทำงานของเส้นประสาทสมอง (ที่มา : http://cwx.prenhall.com/bookbind/pubbooks/morris5/ chapter2/custom1/deluxe-content.html)
ภาพที่ 35 การทำงานของเส้นประสาทสมอง (ที่มา : http://cwx.prenhall.com/bookbind/pubbooks/morris5/ chapter2/custom1/deluxe-content.html)
                      เส้นประสาทสมองคู่ที่ 9 เส้นประสาทกลอสโซฟารินเจียล (glossopharyngeal nerve) เป็นเส้นประสาท รับความรู้สึกจากช่องคอ เช่น ร้อน เย็น และรับรสจากโคนลิ้นเข้าสู่ซีรีบรัมส่วนพาเรียทัลโลบ และนำกระแสประสาทสั่งการจากสมองไปยังกล้ามเนื้อบริเวณคอหอยที่เกี่ยวกับการกลืน และต่อมน้ำลายใต้หูให้หลั่งน้ำลาย
                      เส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 เส้นประสาทเวกัส (vegus nerve) เป็นเส้นประสาทรับความรู้สึกจากลำคอ กล่องเสียง ช่องอก ช่องท้อง ส่วนเส้นประสาทสั่งการจะออกจากเมดัลลาออบลองกาตาไปยังกล้ามเนื้อลำคอ กล่องเสียง อวัยวะภายใน ช่องปาก และช่องท้อง
                      เส้นประสาทสมองคู่ที่ 11 เส้นประสาทแอกเซสซอรี (accessory nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการจากเมดัลลาออบลองกาตา และไขสันหลัง ไปยังกล้ามเนื้อคอ ช่วยในการเอียงคอและยกไหล่
                      เส้นประสาทสมองคู่ที่ 12 เส้นประสารทไฮโพกลอสซัล (hypoglossal nerve) เป็นเส้นประสาทสั่งการไปยังกล้ามเนื้อลิ้นทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของลิ้น
ภาพที่ 36 การทำงานของเส้นประสาทสมอง (ที่มา : http://www.phschool.com/atschool/science_activity_library/images/path_nerve_impulse.jpg)
                      เส้นประสาทสมองทั้ง 12 คู่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
                      1.  กลุ่มเส้นประสาทรับความรู้สึกอย่างเดียว เรียกว่า เส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) เส้นประสาทกลุ่มนี้มีตัวเซลล์ประสาทอยู่ในปมประสาทเซลล์สมอง ได้แก่  เส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 คู่ที่ 2 และคู่ที่ 8
                      2.  กลุ่มเส้นประสาทสั่งการอย่างเดียว โดยสั่งการจากสมองไปยังอวัยวะตอบสนอง เรียกว่า เส้นประสาทสั่งการหรือนำคำสั่ง (motor nerve) เส้นประสาทกลุ่มนี้มีตัวเซลล์ประสาทอยู่ที่เปลือกสมองหรือซีรีบัลคอร์เทกซ์ (cerebral cortex) ได้แก่ เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 คู่ที่ 4 คู่ที่ คู่ที่ 11 และคู่ที่12
                      3.  กลุ่มเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ทั้งรับความรู้สึกและสั่งการ เรียกว่าเส้นประสาทประสม (mixed nerve) ได้แก่ เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 คู่ที่ 7 คู่ที่ 9 และคู่ที่ 10
ภาพที่ 37 หน้าที่ของเส้นประสาทสมองและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
                     2.2.2 เส้นประสาทไขสันหลัง (spinal   nerve) เป็นเส้นประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังมีทั้งหมด 31 คู่ เป็นเส้นประสาทประสม (mixed never)แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5บริเวณดังนี้
                      เส้นประสาทบริเวณคอ (cervical never) 8 คู่
                      เส้นประสาทบริเวณอก (thoracal never) 12 คู่
                      เส้นประสาทบริเวณอว (lumbar never) 5 คู่
                      เส้นประสาทบริเวณกระเบนเหน็บ (sacral never) 5 คู่
                      เส้นประสาทบริเวณก้นกบ (coccygeal never) 1 คู่
                      เส้นประสาทที่ไขสันหลังไปเลี้ยงแขนและขาจะมีความยาวมากกว่าไปเลี้ยงลำตัว
 ภาพที่ 38 เส้นประสาทไขสันหลัง (ที่มา : http://www.daviddarling.info/encyclopedia/S/spinal_cord.html)
3. การทำงานของระบบประสาท
                3.1 ระบบประสาทสั่งการ
                การทำงานของเส้นประสาทในระบบประสาทรอบนอกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
                ส่วนที่รับความรู้สึก (sensory division) จะรับความรู้สึกจากภายในหรือภายนอกร่างกายและส่วนที่สั่งการ (motor division)
                ถ้าการสั่งการเกิดขึ้นกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับได้ เช่น กล้ามเนื้อยึดกระดูก ก็จัดเป็น ระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system : SNS)
                ถ้าการสั่งการเกิดกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับไม่ได้ เช่น อวัยวะภายในและต่อมต่าง ๆ ก็จัดเป็น ระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system : ANS)
                ระบบประสาทอัตโนวัติแบ่งออกเป็นระบบย่อย 2 ระบบ คือ
               ระบบประสาทซิมพาเทติก
(sympathetic nervous system)
               ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก
(parasympathetic nervous system)
ภาพที่ 39 การทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ (ที่มา : http://universe-review.ca/I10-13-nerves2.jpg)
                3.2 ระบบประสาทโซมาติก (somaticnervous system : SNS)
                ระบบประสาทโซมาติก ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูก โดยเซลล์ประสาทรับความรู้สึกจะรับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทไขสันหลังหรือเส้นประสาทสมองเข้าสู่ไขสันหลังหรือสมอง และกระแสประสาทจะถูกส่งผ่านเส้นประสาทไขสันหลังหรือเส้นประสาทสมองไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อยึดกระดูก บางครั้งอาจทำงานโดยผ่านไขสันหลังเท่านั้น เช่น การกระตุกขาเมื่อเคาะหัวเข่าเบา ๆ
                ระบบประสาทโซมาติก เป็นระบบที่ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลายหรือระบบประสาทในอำนาจจิตใจ (voluntary nervous system) ได้แก่ เส้นประสาทสมอง และเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งมีใยประสาทนำคำสั่งไปควบคุมกล้ามเนื้อลาย
                การตอบสนองสิ่งเร้าที่มากระตุ้น เช่น การกระตุกขาเมื่อเคาะหัวเข่าจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนวัติ เรียกว่า รีเฟล็กซ (reflex) กิริยาิอาการที่แสดงออกมา้้เมื่อมีสีิงเร้ามากระตุ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เรียกว่า รีเฟล็กซ์แอกชัน (reflex action) เป็นการตอบสนองของหน่วยปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด โดยไม่มีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า เป็นการสั่งการของไขสันหลัง โดยไม่ต้องอาศัยคำสั่งจากสมอง
ภาพที่ 40 รีเฟลกซ์แอกชัน (ที่มา : http://www.promma.ac.th/special_science/supplementary/hormone(9)/chapter1/chapter1.1_3.htm)
 ภาพที่ 41 รีเฟลกซ์แอกชัน (ที่มา : http://porpax.bio.miami.edu/~cmallery/150/neuro/c7.48.4.kneejerk.jpg)
                ในเวลาที่เราเดินเท้าเปล่า แล้วบังเอิญไปเหยียบเศษแก้ว เราจะชักเท้าออกทันที โดยที่่สมองยังไม่ทันได้คิดหรือสั่งการ สมองเองยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่ามีอะไรเกิดขึ้น จนอีกเสี้ยวเวลาต่อมาจึงจะรู้สึกเจ็บและรับรู้ว่าสิ่งที่เหยียบนั้นคืออะไร
ภาพที่ 42 การเกิดรีเฟลกซ์แอกชัน
                การทำงานของระบบประสาทที่เป็นวงจรนี้เีรียกว่า รีเฟล็กซ์อาร์ก (reflex arc) ประกอบด้วยหน่วยย่อยใหญ่ 5 หน่วย
ภาพที่ 43 รีเฟล็กซ์อาร์ก (reflex arc)
                บางครั้งรีเฟล็กซ์อาร์ก อาจไม่จำเป็นต้องมีเซลล์ประสาทประสานงานก็ได้ เช่น การกระตุกเมื่อเคาะที่หัวเข่า จะประกอบด้วยเซลล์ประสาทเพียงสองชนิด
ภาพที่ 44 การทำงานของรีเฟลกซ์แอกชัน (ที่มา : http://content.tutorvista.com/science/CBSEXScience/Ch527/images/img6.jpeg)
                3.2 ระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system : SNS) ระบบประสาทโซมาติก ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูก โดยเซลล์ประสาทรับความรู้สึกจะรับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทไขสันหลังหรือเส้นประสาทสมองเข้าสู่ไขสันหลังหรือสมอง และกระแสประสาทจะถูกส่งผ่านเส้นประสาทไขสันหลังหรือเส้นประสาทสมองไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อยึดกระดูก บางครั้งอาจทำงานโดยผ่านไขสันหลังเท่านั้น เช่น การกระตุกขาเมื่อเคาะหัวเข่าเบา ๆ
                ระบบประสาทโซมาติก เป็นระบบที่ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลายหรือระบบประสาทในอำนาจจิตใจ (voluntary nervous system) ได้แก่ เส้นประสาทสมอง และเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งมีใยประสาทนำคำสั่งไปควบคุมกล้ามเนื้อลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

The Human Respiratory System

This system includes the lungs, pathways connecting them to the outside environment, and structures in the chest involved with moving air in...