วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ

วิวัฒนาการ (Evolution) คือ อะไร และทำไมต้องศึกษาวิวัฒนาการ


           ธีโอโดซีอุส โดบแซนสกี (Theodosius Dobzhansky) กล่าวว่า “ไม่มีคำตอบใดในทางชีววิทยาที่จะฟังดูเข้าท่า ถ้าไม่อธิบายด้วยวิวัฒนาการ
           ก่อนที่เราจะอธิบายการเกิดวิวัฒนาการได้ เราจะต้องตอบให้ได้เสียก่อนว่า "โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มเกิดขึ้นมาได้อย่างไร" 

           นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัว บรรยากาศของโลกในสมัยแรกยังไม่มีแก๊สออกซิเจน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแก๊สเฉื่อย นอกจากนี้ผิวโลกยังไม่มีน้ำในสภาพของเหลวเลย จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของโลกยุคดึกดำบรรพ์นี้มีความแตกต่างจากโลกยุคปัจจุบันมาก อย่างไรก็ตามเมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1,000 ล้านปีหลังจากกำเนิดโลก สิ่งมีชีวิตก็ถือกำเนิดขึ้นและเกิดวิวัฒนาการเรื่อยมา จนในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าความหลากหลายในธรรมชาติเกิดมากมายเพียงใด

           สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร?

           ไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้อย่างแน่นอนว่าจริงๆ แล้วสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่นักวิทยาศาสตร์หลายท่านก็ตั้งสมมติฐานหรือทำการทดลองเพื่ออธิบายถึงกำเนิดของสิ่งมีชีวิต เช่น ในปี พ.ศ. 2467 เอ ไอ โอพาริน (A.I.Oparin) นักเคมีชาวรัสเซียมีแนวคิดว่าบรรยากาศของโลกสมัยแรกนั้นมีแก๊สไฮโดรเจนในปริมาณมาก และสามารถรวมตัวกับแก๊สอื่นๆ ในบรรยากาศ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ จนเกิดเป็นสารประกอบต่างๆ เช่น มีเทนและแอมโมเนีย และเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น สารประกอบเหล่านี้สามารถรวมตัวกันเป็นสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลซับซ้อน เช่น โมเลกุลของกรดอะมิโน กลีเซอรอล กรดไขมันและน้ำตาลเชิงเดี่ยว กระบวนการวิวัฒนาการทางเคมีนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและใช้เวลานานจนในที่สุดก็เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตขึ้น


           ในปี พ.ศ.2496 สแตนลีย์ มิลเลอร์ (Stanley Miller) ทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก มิลเลอร์ต้องการพิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตเกิดจากการรวมกันของโมเลกุลต่างๆในรูปแก็สซึ่งมาจากการระเบิดของภูเขาไฟในบรรยากาศที่ไร้ออกซิเจนและมีไฟฟ้าจากฟ้าผ่าเป็นแหล่งพลังงานที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา มิลเลอร์ทำการจำลองสภาพการทดลองให้คล้ายคลึงกับโลกเมื่อเกิดขึ้นใหม่ๆ โดยใส่แก๊สมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจนและไอน้ำ ลงในชุดทดลองที่มีขั้วไฟฟ้า เพื่อให้เกิดประกายคล้ายฟ้าแลบและฟ้าผ่า หลังจากนั้นก็นำของเหลวที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์ พบว่าเกิดสารประกอบอย่างง่ายของสิ่งมีชีวิต เช่น กรดอะมิโนหลายชนิด กรดอินทรีย์และยูเรียด้วย จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สารประกอบอินทรีย์สามารถเกิดขึ้นได้ในสภาพแวดล้อมของโลกระยะเริ่มแรก นอกจากนี้สารประกอบยังสามารถรวมตัวกันเกิดเป็นโมเลกุลที่ซับซ้อนขึ้นได้ด้วย
Stanley Miller Experiment


Stanley Miller
          ถึงแม้ว่าการทดลองของมิลเลอร์เป็นการแสดงให้เห็นว่าโมเลกุลของชีวิตนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรในโลกระยะเริ่มแรก
           ได้มีการเสนอแนวคิด 2 แนวทางเกี่ยวกับกำเนิดเซลล์เริ่มแรกคือ 
           1. เชื่อกันว่าเซลล์แรกเริ่มนั้นเกิดจากการที่โมเลกุลพื้นฐานของชีวิต เช่น กรดอะมิโนและน้ำตาลเชิงเดี่ยว เป็นต้น ถูกชะล้างลงมาอยู่ในมหาสมุทรและมีการรวมกลุ่มกันจนมีขนาดใหญ่ แล้วแตกตัวออกซึ่งถือเป็นการเพิ่มจำนวนให้ได้โมเลกุลจำนวนมากในความเข้มข้นสูง เมื่อระยะเวลาผ่านไปโมเลกุลเหล่านี้สามารถนำสารประกอบอื่นเข้าไปสะสมภายในและถูกจำกัดบริเวณด้วยด้วยโครงสร้างซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นเยื่อหุ้มเซลล์
           2. เซลล์แรกเริ่มเกิดจากโมเลกุลที่มีความสามารถในการสร้างและเพิ่มจำนวนตัวเองได้ เมื่อระยะเวลาผ่านไป โมเลกุลเหล่านี้จึงค่อยๆวิวัฒนาการกระบวนการเมแทบอลิซึมและสร้างเยื่อหุ้มเซลล์จนเกิดเป็นเซลล์ขึ้นได้ในที่สุด เชื่อกันว่าโมเลกุลพวกโพลีนิวคลีโอไทด์ (กรดนิวคลีอิก) เช่น RNA น่าจะเป็นโมเลกุลเริ่มแรกของการเกิดเซลล


         นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าสิ่งมีชีวิตพวกแรกๆ นั้นน่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพวกโพรคาริโอต (prokaryote) โพรคาริโอตประกอบด้วย แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มนี้ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และดำรงชีวิตโดยไม่ใช้ออกซิเจนเนื่องจากบรรยากาศของโลกในยุคนั้นยังไม่มีออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อยมาก ต่อมาสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียเริ่มมีวิวัฒนาการในการสร้างอาหารเองได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศมีมากขึ้น ทำให้สิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ถือกำเนิดจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอต (eukaryote) ในที่สุด
          จากการวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรมในเซลล์และออร์แกเนล ทำให้เราทราบว่า จีโนมคลอโรพลาสต์ในพืชและจีโนมไมโทคอนเดรียที่พบในพืชและสัตว์นั้นมีความใกล้เคียงกับจีโนมของแบคทีเรียซึ่งเป็นพวกโพรคาริโอต  ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์อาจเคยเป็นเซลล์โพรคาริโอตขนาดเล็กที่ถูกเซลล์ ยูคาริโอตกินเข้าไปแต่ไม่ย่อยและอยู่รวมในเซลล์ยูคาริโอตขนาดใหญ่ ความแตกต่างอยู่ที่ ไมโทคอนเดรียนั้นมาจากเซลล์โพรคาริโอตที่สังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้ แต่คลอโรพลาสต์มาจากเซลล์โพรคาริโอตที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้
          ยุคทางธรณีวิทยา
          เมื่อสิ่งมีชีวิตถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว ก็มีวิวัฒนาการจนมีความหลากหลายในธรรมชาติ เมื่อเวลาผ่านไปมีทั้งการถือกำเนิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ขึ้นและการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตเดิมเช่นกัน
          ในปัจจุบันนักธรณีวิทยาและนักบรรพชีวินวิทยาสามารถแบ่งยุคทางธรณีวิทยาออกเป็น 4 มหายุค ตามชนิดของซากดึกดำบรรพ์ที่พบได้ดังนี้
          1. มหายุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Era) เป็นช่วงของ 4,600 – 543 ล้านปีก่อน โลกก่อกำเนิดขึ้น เมื่อโลกเริ่มเย็นตัวลง จึงเกิดสิ่งมีชีวิตพวกแบคทีเรีย และเริ่มมีออกซิเจนในบรรยากาศซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงในพวกแบคทีเรียสีเขียวแกมน้ำเงิน มีการเกิดขึ้นของสัตว์หลายเซลล์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำ เช่น ฟองน้ำ
          2. มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic Era) เป็นช่วงของ 543 – 245 ล้านปีก่อน เริ่มมีสัตว์พวกที่ไม่มีกระดูกสันหลังซึ่งมีทั้งที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ไตรโลไบต์ (trilobite) แอมโมไนต์ (ammonite) หอย ปลา รวมทั้งแมลง สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เริ่มพบสาหร่าย เห็ดรา พืชบกชั้นต่ำ เริ่มจากพืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง เฟิร์น ไปจนถึงพืชมีเนื้อเยื่อลำเลียง มหายุคพาลีโอโซอิกสิ้นสุดลงเมื่อมีการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ซึ่งอาจเกิดเนื่องจากการเกิดยุคน้ำแข็งฉับพลันหรือเกิดภูเขาไฟระเบิด ทำให้มีการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งในทะเลและบนพื้นดินจำนวนมาก
Precambrian Era and Paleozoic Era
          3. มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era) เป็นช่วงของ 245 – 65 ล้านปีก่อน ไดโนเสาร์ชนิดแรกเกิดขึ้นและกลายเป็นกลุ่มเด่น ในยุคนี้เริ่มมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกมีกระเป๋าหน้าท้องและรก รวมทั้งแมลงต่างๆ และเกิดการกระจายพันธุ์อย่างมากมายของพืช ในช่วงแรกของมหายุคมีโซโซอิกมีพืชเมล็ดเปลือยมาก ทั้งเฟิร์นและสน เกิดพืชดอกชนิดแรก เชื่อกันว่าภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่หรือการพุ่งชนของอุกกาบาต ทำให้มีการสูญพันธุ์จำนวนมากและมหายุคมีโซโซอิกสิ้นสุดลง
Life in Mesozoic Era
          4. มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era) เป็นช่วงของ 65 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์เปิดทางให้เกิดการกระจายพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนานาชนิดทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ เช่น ม้า สุนัข และหมี พบลิงไม่มีหาง (ape) และในราว 5-1.8 ล้านปีก่อน พบบรรพบุรุษของมนุษย์ ส่วนบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบันนั้นพบในช่วง 1.8 ล้านปี - 11,000 ปีก่อน ในมหายุคซีโนโซอิกนี้พืชดอกกลายเป็นพืชกลุ่มเด่น
Cenozoic Era
          กว่าสี่พันล้านปีที่ผ่านมา โลกในสมัยนั้นกับโลกในปัจจุบันเหมือนหรือต่างกันหรือไม่ อย่างไร?
          นับตั้งแต่โลกถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณสี่พันหกร้อยล้านปีก่อนโลกได้มีการ เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาจากเดิมในอดีตที่เชื่อกันว่ากำเนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลกนั้นเริ่มจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็กมาก เมื่อหันกลับมามองในปัจจุบัน โลกของเรามีสมาชิกทั้งพืชและสัตว์ที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปนับล้านชนิดหรือแม้แต่จากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตเราเชื่อว่าสมัยหนึ่งไดโนเสาร์เคยครองโลก แต่ทำไมในศตวรรษที่  21 นี้ตำแหน่งผู้ครอบครองโลกกลับกลายมาเป็นของกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แล้วไดโนเสาร์หายไปไหน
          ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับโลกของเราที่เห็นเป็นทวีปต่างๆในปัจจุบันนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงผ่านระยะเวลาอันยาวนานเช่นกัน
          ในปี พ . ศ . 2458 อัลเฟรด เวกเกอเนอร์ นักธรณีวิทยาและนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันเสนอทฤษฎีทวีปเลื่อน (Continental Drift) เป็นครั้งแรก เขาเชื่อว่าแผ่นดินลอยอยู่บนของเหลวซึ่งหุ้มแกนโลกอยู่ การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ในทวีปที่อยู่ห่างไกลกันสนับสนุนทฤษฎีนี้ เวกเกอเนอร์เสนอว่าเมื่อ 200 ล้านปีที่แล้ว โลกมีทวีปเดียวขนาดใหญ่เรียกว่าพันเจีย (Pangaea-- แปลว่าทั้งโลก ) จนกระทั่งถึง
ยุคจูแรสซิกซึ่งอยู่ในมหายุคมีโซโซอิก (ยุคที่ไดโนเสาร์รุ่งเรือง) แผ่นดินจึงเริ่มแยกจากกันเป็น 2 ส่วนเรียกว่า กอนวานาแลนด์ (Gonwanaland) ทางซีกใต้ของโลก และลอเรเซีย (Laurasia) ทางซีกเหนือ โดยมีทะเลทีธิส (Tethys) คั่นกลาง เมื่อสิ้นสุดยุคครีเทเชียส (ในมหายุคมีโซโซอิก) แผ่นดินก็แตกออกเป็นทวีปต่างๆ และค่อยๆเคลื่อนตัวมายังตำแหน่งที่เราเห็นในปัจจุบัน
          เอ็ดวาร์ด ซูส (Eduard Suess) นักธรณีวิทยาชาวออสเตรีย เป็นผู้พบหลักฐานที่ทำให้เขาเชื่อว่าแผ่นดินของทวีปอเมริกา แอฟริกา อินเดีย ออสเตรเลีย และแอนตาร์กติกา เคยเชื่อมต่อกัน เขาเป็นผู้ตั้งชื่อแผ่นดินนี้ว่ากอนวานาแลนด์ ตามชื่อเขตที่พบซากดึกดำบรรพ์ของพืชกลอสส็อปเทอริส ( Glossopteris ) เป็นครั้งแรก และต่อมาก็พบในทวีปอื่นๆด้วย นอกจากนั้นยังมีซากสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์มีโซซอรัส (Mesosaurus) ที่พบในอเมริกาใต้ และแอฟริกาใต้อีกด้วย
การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
          นับตั้งแต่โลกได้ถือกำเนิดขึ้นจนกระทั่งมีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตขึ้นมามากมายนั้น ตลอดช่วงเวลาราวสี่พันล้านปีที่ผ่านมามีทั้งการเกิดของสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่และการสูญพันธุ์ไป การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่ยอมรับกันมากที่สุดมี 5 ครั้งด้วยกัน ซึ่งใช้หลักฐานซาก
ดึกดำบรรพ์ที่พบในช่วงเวลาต่างๆในการยืนยัน
          ครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในช่วงปลายยุคแคมเบรียนถึงยุคออร์โดวิเชียน (488 ล้านปีก่อน) ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในทะเลพวก brachiopod, conodont และ trilobite มากมาย สาเหตุการสูญพันธุ์ อาจเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เกิดยุคน้ำแข็งฉับพลัน ทำให้ปริมาณน้ำและออกซิเจนในน้ำน้อยลงจึงส่งผลอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
          ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงปลายยุคออร์โดวิเชียนถึงยุคซิลูเรียน (447-444 ล้านปีก่อน) ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายทั้งพืช สัตว์ในทะเลมากมาย สาเหตุการสูญพันธุ์อาจเนื่องจากการเกิดยุคน้ำแข็ง ทำให้อากาศเปลี่ยนแปลง ปริมาณน้ำทะเลลดลงส่งผลอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ นักวิทยาศาสตร์จัดว่าการสูญพันธุ์ในช่วงนี้ทำให้สูญเสียสิ่งมีชีวิตในน้ำครั้งใหญ่เป็นอันดับสอง
          ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นในช่วงปลายยุคดีโวเนียน (364 ล้านปีก่อน) เป็นการสูญพันธุ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่เกิดอย่างต่อเนื่องราว 20 ล้านปี ส่งผลต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในน้ำ สาเหตุการสูญพันธุ์อาจเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่หนาวเย็นต่อเนื่องมาจากยุคออร์โดวิเชียน แต่บางแนวคิดยังคงถกเถียงกันว่าอาจเป็นเพราะการพุ่งชนของอุกกาบาตมายังโลก
          ครั้งที่ 4 เกิดขึ้นในช่วงปลายยุคเพอร์เมียนถึงยุคไทรแอสซิก (251.4 ล้านปีก่อน) เป็นการ
สูญพันธุ์ครั้งที่รุนแรงที่สุด ส่งผลต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในน้ำถึง 96% และสิ่งมีชีวิตบนบก เช่น พืช แมลง สัตว์มีกระดูกสันหลังต่างๆ ถึง 70% ส่งผลให้รูปแบบของสิ่งมีชีวิตบนโลกเปลี่ยนไป จนเกิดสัตว์พวกไดโนเสาร์ขึ้นมากมายบนโลกในยุคต่อมา สาเหตุการ
สูญพันธุ์ยังคงเป็นที่ถกเถียง และเสนอสมมติฐานหลายแนวทาง เช่น การสูญพันธุ์อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลก วัตถุนอกโลกพุ่งชนโลก ผลกระทบจาก
ซุปเปอร์โนวาหรือการระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟ
          ครั้งที่ 5 เกิดขึ้นในช่วงปลายยุคครีเทเชียสถึงยุคเทอเทียรี (65.5 ล้านปีก่อน) เป็นการสูญพันธุ์ครั้งที่รุนแรงเป็นอันดับสองรองจากช่วงปลายยุคเพอร์เมียน ส่งผลต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในทะเลจำนวนมากและสิ่งมีชีวิตบนบกถึง 50% รวมทั้งไดโนเสาร์ซึ่งเป็นสัตว์กลุ่มเด่นในขณะนั้น ส่งผลให้ยุคต่อมาเกิดการวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเข้ามาแทน สาเหตุการสูญพันธุ์มีผู้เสนอสมมติฐานหลายแนวทาง เช่น การเกิดภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่จึงทำให้เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือการมีวัตถุนอกโลกพุ่งชนโลก ซึ่งในประเด็นหลังดูจะมีหลักฐานสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ เพราะในปี พ.ศ.2523 มีการพบแร่อิรีเดียมในชั้นหินยุคครีเตเชียส ซึ่งแร่ชนิดนี้ปกติไม่พบในโลก แต่จะพบมากในลูกอุกกาบาตหรือดาวเคราะห์น้อย และในปี พ.ศ.2534 มี การค้นพบหลุมอุกกาบาตขนาดยักษ์ใต้เมือง ชิกชูลุบ (Chicxulub) บริเวณอ่าวเม็กซิโก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 180 กิโลเมตร ทำให้สันนิษฐานได้ว่าในราว  65 ล้านปีก่อน มีดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก ทำให้เกิดคลื่นยักษ์และการฟุ้งกระจายของฝุ่นผงจากพื้นผิวโลกในวงกว้าง ฝุ่นเหล่านี้ขึ้นไปจับกันเป็นชั้นหนาในบรรยากาศชั้นสูงอยู่นานส่งผลให้อุณหภูมิของผิวโลกชั้นต่ำลดลงและไม่มีแสงแดดส่องมายังผิวโลกด้านล่างเป็นเวลานาน เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศครั้งใหญ่จนทำให้ไดโนเสาร์และสิ่งมีชีวิตส่วนหนึ่งในยุคนั้นสูญพันธุ์ไปในที่สุด
          สิ่งมีชีวิตชนิดใดบ้างที่สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้ว?
          โดโด (dodo) เป็นนกที่มีลักษณะคล้ายนกพิราบ แต่มีขนาดใหญ่กว่ามากและบินไม่ได้ ถือได้ว่าโดโดเป็นสัญลักษณ์สำคัญของ การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเลยทีเดียว คาดว่าโดโดมีถิ่นอาศัยอยู่ที่เกาะมอริเชียส (Mauritius) ในมหาสมุทรอินเดีย ปัจจุบันโดโดได้สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ยังคงให้ความสนใจ ต่อการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของโดโด โดยเฉพาะการศึกษาว่าเป็นเพราะการรุกรานของมนุษย์หรือเหตุผลจากธรรมชาติจึงทำให้โดโดสูญพันธุ์ไป (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในวารสาร Nature 443, 138-140, (2006))
          ในปัจจุบันเราจะเห็นว่าในธรรมชาติมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีลักษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นในอดีตนักวิทยาศาสตร์จึงใช้ความคล้ายคลึงกันของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ อันได้แก่ลักษณะทางกายวิภาค ลักษณะทางสัณฐานวิทยาหรือสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบในสิ่งมีชีวิต เป็นต้น ในการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตและในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ลำดับเบสของสารพันธุกรรมหรือ  DNA มาสร้างเป็นภาพแสดงสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในระดับที่เหนือกว่าอาณาจักร (kingdom) โดยสามารถแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็น 3 โดเมน (domain) ได้แก่
          แบคทีเรีย (bacteria)
          อาร์เคีย (archaea)
          ยูคาเรีย (eukarya)
          โดยโดเมนแบคทีเรียนั้นประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตกลุ่มโพรคาริโอตที่เรารู้จักกันเป็นส่วนใหญ่แล้ว โดเมนอาร์เคีย ประกอบด้วยกลุ่มสิ่งมีชีวิตพวกโพรคาริโอตที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วๆไป และโดเมนยูคาเรีย ประกอบด้วยกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ในเซลล์จะมีนิวเคลียสที่แท้จริง ซึ่งจะเห็นได้ว่าโดเมนนี้จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่เป็นจำนวนมาก ดังแสดงรายละเอียดในภาพด้านบน
          วิวัฒนาการ คืออะไร ?
"What is Evolution"
         “วิวัฒนาการ” ในความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนั้นหมายถึง กระบวนการเปลี่ยแปลงหรือคลี่คลายไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น  และหากกล่าวเฉพาะลงไปถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแล้ว สามารถให้ความหมายได้ว่ามันคือการที่สิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
          ในความเป็นจริงแล้ววิวัฒนาการเกิดขึ้นทั้งในสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต และเกิดนับตั้งแต่โลกของเรายังไม่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น จนเริ่มมีสิ่งมีชีวิต จวบจนถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการก็ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา  ดังนั้นสิ่งต่างๆบนโลกที่เราพบเห็นในปัจจุบันจึงมีความแตกต่างจากเดิมในอดีต และแน่นอนว่าในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆก็ยังคงต้องดำเนินต่อไปตามกาลเวลา
            การเกิดวิวัฒนาการ เกิดได้จากเหตุผล 3 ประการ คือ
            1. มีความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variability) สมาชิกในกลุ่มของประชากร มีลักษณะพันธุกรรมที่แตกต่างกันออกไป
genetic variability
            2. การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection) การคัดเลือกตามธรรมชาตินี้ในบริเวณหนึ่ง ประชากรลักษณะหนึ่งอาจจะเหมาะสมกว่าประชากรหนึ่ง แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจกลับกันได้
natural selection 
            3. การแยกพวกผสมพันธุ์ (reproductive isolation) หากประชากรสองกลุ่มซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้ ในที่สุดประชากรทั้งสองกลุ่มนั้นจะกลายเป็นคนละชนิด (species) ไป การแยกพวกผสมพันธุ์นี้โดยปกติจะมีเครื่องกีดขวางกั้นไม่ให้สิ่งมีชีวิตเข้ามารวมกลุ่มเดิมของประชากร เครื่องกีดขวางอาจได้แก่ ภูเขาสูง ทะเล ทะเลสาบ ทะเลทราบ หากมีสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นสมาชิกขแงกลุ่มประชากรหลุดไปอยู่ทางใดทางหนึ่งของสิ่งเหล่านั้นแล้วไม่มารวมกับกลุ่มเดิม ในระยะเวลานาน ๆ ทำให้ไม่สามารถผสมกับกลุ่มเดิมได้ในที่สุด
        ทำไมต้องศึกษาวิวัฒนาการ
         สำหรับคำถามที่ว่าทำไมเราจึงต้องศึกษาวิวัฒนาการนั้น  คำตอบส่วนใหญ่จาก
นักชีววิทยาทั่วโลกจะเห็นพ้องว่า การศึกษาวิวัฒนาการเป็นเสมือนโครงสร้างหลักของ
กระบวนการคิดและการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพทั้งมวล ทำให้เข้าใจธรรมชาติของ
สิ่งมีชีวิตบนโลกนานาชนิดเทียบเท่ากับทฤษฏีสัมพัทธภาพของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ที่เป็นแกนหลักของศาสตร์ด้านกายภาพเลยทีเดียว
         นอกจากนี้การศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ในสมัยก่อนจะใช้เพียงการศึกษาจากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ แต่เมื่อมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้นจึงมีการใช้หลักฐานสมัยใหม่ เช่น หลักฐานทางชีววิทยาระดับโมเลกุลหรือข้อมูลสนับสนุนอื่นๆที่สามารถนำมาใช้อธิบายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆได้
         วิชาวิวัฒนาการมีความซับซ้อนและลึกซึ้ง และเป็นแกนหลักสำคัญสำหรับรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิวัฒนาการเปรียบเสมือนสายเชือกที่เชื่อมโยงชีววิทยาทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชา พฤติกรรม นิเวศวิทยา ประชากร อนุกรมวิธาน พันธุศาสตร์ สรีรวิทยา สัณฐานวิทยาและชีววิทยาเชิงโมเลกุล หากเราไม่เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการแล้วเราก็มิอาจเข้าใจพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดได้อย่างถ่องแท้ ดังคำกล่าวของนักชีววิทยาคนหนึ่ง คือ ที. ดอบซานสกี (Th. Dobzhansky) ที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาชีววิทยาจะไม่มีความหมายถ้าไม่สัมพันธ์กับแนวความคิดวิวัฒนาการ “Nothing in biology makes sense except in the light of evolution” การนำเอาวิชาความรู้ทางชีววิทยาไปประยุกต์ใช้ในการทางการแพทย์ การเกษตร ตลอดจนเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษย์เพื่อการอยู่กินดีอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหากปราศจากความเข้าใจหลักพื้นฐานวิวัฒนาการแล้วก็มักจะนำไปสู่ผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพโดยตรง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวดังเป็นที่ประจักษ์อยู่ในกลุ่มประเทศที่ดอ้ยพัฒนาและประเทศที่กำลังพัฒนาในขณะนี้
            จากประจักษ์พยานที่กล่าวมาแล้วนั้นแสดงให้เห็นว่าการคัดเลือกตามธรรมชาติเป็นพลังสำคัญสำหรับทุกชีวิตที่อุบัติขึ้นมาบนโลกนี้ ถึงแม้ว่าจะมีนักชีววิทยาอีกกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่าความผกผันทางพันธุกรรมอย่างฉับพลันที่เรียกว่า จีเนติกดริฟต์ (genetic drif) มีความสำคัญมากกว่าการคัดเลือกตามธรรมชาติในบางกรณีก็ตาม การศึกษาวิวัฒนาการไม่เพียงแต่ต้องการอยากรู้กำเนิดและประวัติความเป็นมาของมนุษย์รวมทั้งสัตว์และพืชหลากหลายชนิดเท่านั้น แต่เราต้องการรู้ว่าวิวัฒนาการเกิดขึ้นได้อย่างไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่เป็นพลังผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงของประชากรที่อาจนำไปสู่วิวัฒนาการ หรือไม่ก็นำไปสู้การสูญพันธุ์ ข้อมูลจากประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตสะท้อนให้เรารู้ว่า การสูญพันธุ์เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากกว่าการเกิดวิวัฒนาการ  ในความเป็นจริงแล้วบุคคลทั่วไปที่เลื่อมใสพุทธศาสนา ได้ตระหนักถึงความอนิจจังตามคำสอนของพระพุทธองค์ และทางด้านนักชีววิทยาหรือนักวิจัยประยุกต์จะต้องให้ความสนใจในเรื่องวิวัฒนาการอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะเราต้องไม่ลืมว่าความรู้พื้นฐานด้านวิวัฒนาการมีคุณค่าอยู่ในตัวเองอย่างแท้จริง เพราะว่า
            1. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องวิวัฒนาการเป็นความพึงพอใจของนักวิทยาศาสตร์ที่มีความอยากรู้อยากเห็นในปรากฎการณ์ธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่ว่าทำไมนกจึงมีปีก แมลงจึงมีตาประกอบ มนุษย์จึงมีสมองที่ล้ำเลิศ ทำไมดอกไม้จึงมีสีสวยสดงดงาม เป็นต้น ซึ่งคำถามเหล่านี้สามารถหาคำตอบได้จากทฤษฎีวิวัฒนาการ
            2. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องวิวัฒนาการสามารถนำประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาระยะยาวไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการแพทย์เกี่ยวกับเรื่องดื้อยาของเชื้อโรค หรือปรสิตต่าง ๆ หรือปัญหาทางการเกษตรเกี่ยวกับการดื้อยาของแมลงศัตรูพืช ซึ่งเป็นเรื่องของวิวัฒนาการร่วมกันมา (coevolution) ของสิ่งมีชีวิตที่มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น
            3. เราต้องรู้ให้ถ่องแท้ว่าวิวัฒนาการของมนุษย์ได้รุดหน้ามาอยู่ ณ ที่จุดใดในระบบนิเวศที่เป็นอยู่ในโลกปัจจุบัน มนุษย์จะวิวัฒนาการต่อไปในทิศทางใด ในเมื่อเรามีวิวัฒนาการทางด้านสังคม และวัฒนธรรม (cultural evolution) เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการวิวัฒนาการทางด้านชีววิทยา (biological evolution) ในขณะที่มีการพัฒนาประเทศแบบไม่ยั่งยืน สิ้นเปลือง และทำลายสิ่งแวดล้อมทั้งทางด้านกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน การทำลายหน้าดิน และทางด้านชีวภาพได้แก่ การทำลายพืช สัตว์ จุลินทรีย์ที่มีความหลากหลายภายในประชากรที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการตามธรรมชาติ ซึ่งล้วนแต่มีผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อการอยู่รอดของประชากรมนุษย์ทั้งสิ้น ปัจจุบันมนุษย์ชาติได้ย่างก้าวมาถึงจุดวิกฤติที่มิอาจย้อนกลับไปสู่อดีตที่สวยสดงดงามในตอนที่มนุษย์สามารถปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งต่างจากในขณะที่มนุษย์สามารถปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ปรุงแต่งขึ้นมาโดยวิทยาการสมัยใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับตัวเอง มนุษย์เราจะสามารถวิวัฒนาการเผ่าพันธุ์ของตนเองให้หลุดพ้นจากระบบนิเวศที่ถูกทำลายสมดุลไปได้หรือไม่คงไม่มีใครให้คำตอบได้

68 ความคิดเห็น:

  1. กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ

    ตอบลบ
  2. นางสาวพัชรินทร์ บริหาร เลขที่ 28 ม.6/2
    กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ
    สรุปได้ ในปี พ.ศ.2496 สแตนลีย์ มิลเลอร์ (Stanley Miller) ทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก พิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตเกิดจากการรวมกันของโมเลกุลต่างๆในรูปแก็สซึ่งมาจากการระเบิดของภูเขาไฟในบรรยากาศที่ไร้ออกซิเจนและมีไฟฟ้าจากฟ้าผ่าเป็นแหล่งพลังงานที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาหลังจากนั้นก็นำของเหลวที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์ พบว่าเกิดสารประกอบอย่างง่ายของสิ่งมีชีวิต เช่น กรดอะมิโนหลายชนิด กรดอินทรีย์และยูเรียด้วย จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สารประกอบอินทรีย์สามารถเกิดขึ้นได้ในสภาพแวดล้อมของโลกระยะเริ่มแรก นอกจากนี้สารประกอบยังสามารถรวมตัวกันเกิดเป็นโมเลกุลที่ซับซ้อนขึ้นได้ด้วย ส่วนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเป็นการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยจากสิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิมสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันไปจากเดิมทั้งด้านรูปร่าง

    ตอบลบ
  3. น.ส.สุพัตรา เขตเวียง ม.6/2 เลขที่ 24
    วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและการกำเนิดชีวิต
    วิวัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น และหากกล่าวเฉพาะลงไปถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแล้ว สามารถให้ความหมายได้ว่ามันคือการที่สิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
    การกำเนิดสิ่งมีชีวิต ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกๆที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์ ลามาร์กได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญในสองประเด็นอันเป็นที่ถกเถียงกันอย่างแพร่หลาย

    ตอบลบ
  4. นางสาวประภัสรา เนื่องขันตรี ชั้นม.6/2 เลขที่ 36
    กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัว บรรยากาศของโลกในสมัยแรกยังไม่มีแก๊สออกซิเจน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแก๊สเฉื่อย นอกจากนี้ผิวโลกยังไม่มีน้ำในสภาพของเหลวเลย จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของโลกยุคดึกดำบรรพ์นี้มีความแตกต่างจากโลกยุคปัจจุบันมาก
    วิวัฒนาการ คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก

    ตอบลบ
  5. นางสาวเจนจิรา ภารนาถ เลขที่34 ชั้นม.6/2
    การวิวัฒนาการในทางชีววิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของพันธุกรรมของประชากรสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของประชากรหลายชั่วอายุ (โดยมิได้เริ่มขึ้นจากสิ่งมีชีวิตตัวใดตัวหนึ่ง)ชีวิตแต่ละชีวิตต้องมีโปรโทพลาซึม และที่สำคัญที่สุดคือ มี DNA และโปรตีน

    ตอบลบ
  6. วิวัฒนาการ (Evolution) คือ อะไร และทำไมต้องศึกษาวิวัฒนาการ
    ก่อนที่เราจะอธิบายการเกิดวิวัฒนาการได้ เราจะต้องตอบให้ได้เสียก่อนว่า "โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มเกิดขึ้นมาได้อย่างไร"
    
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัว บรรยากาศของโลกในสมัยแรกยังไม่มีแก๊สออกซิเจน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแก๊สเฉื่อย นอกจากนี้ผิวโลกยังไม่มีน้ำในสภาพของเหลวเลย จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของโลกยุคดึกดำบรรพ์นี้มีความแตกต่างจากโลกยุคปัจจุบันมาก อย่างไรก็ตามเมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1,000 ล้านปีหลังจากกำเนิดโลก สิ่งมีชีวิตก็ถือกำเนิดขึ้นและเกิดวิวัฒนาการเรื่อยมา จนในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าความหลากหลายในธรรมชาติเกิดมากมายเพียงใด
    นายกฤษฎา โนวะ เลขที่ 1 ม.6/2

    ตอบลบ
  7. นายสิทธิศักดิ์ ประทุมชาติ เลขที่ 13 ม. 6/2
    วิวัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น และหากกล่าวเฉพาะลงไปถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแล้ว สามารถให้ความหมายได้ว่ามันคือการที่สิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่
    เหมาะสม
    ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
    1. ความแปรผัน
    2. การคัดเลือก
    3. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

    ตอบลบ
  8. นางสาวกาญจนาพร แสนชมภู ม.6/2 เลขที่ 32
    กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ
    1. เชื่อกันว่าเซลล์แรกเริ่มนั้นเกิดจากการที่โมเลกุลพื้นฐานของชีวิต เช่น กรดอะมิโนและน้ำตาลเชิงเดี่ยว เป็นต้น ถูกชะล้างลงมาอยู่ในมหาสมุทรและมีการรวมกลุ่มกันจนมีขนาดใหญ่ แล้วแตกตัวออกซึ่งถือเป็นการเพิ่มจำนวนให้ได้โมเลกุลจำนวนมากในความเข้มข้นสูง เมื่อระยะเวลาผ่านไปโมเลกุลเหล่านี้สามารถนำสารประกอบอื่นเข้าไปสะสมภายในและถูกจำกัดบริเวณด้วยด้วยโครงสร้างซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นเยื่อหุ้มเซลล์
    2. เซลล์แรกเริ่มเกิดจากโมเลกุลที่มีความสามารถในการสร้างและเพิ่มจำนวนตัวเองได้ เมื่อระยะเวลาผ่านไป โมเลกุลเหล่านี้จึงค่อยๆวิวัฒนาการกระบวนการเมแทบอลิซึมและสร้างเยื่อหุ้มเซลล์จนเกิดเป็นเซลล์ขึ้นได้ในที่สุด เชื่อกันว่าโมเลกุลพวกโพลีนิวคลีโอไทด์ (กรดนิวคลีอิก) เช่น RNA น่าจะเป็นโมเลกุลเริ่มแรกของการเกิดเซลล์

    ตอบลบ
  9. นายสิทธิศักดิ์ ประทุมชาติ เลขที่ 13 ม. 6/2
    “วิวัฒนาการ” ในความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนั้นหมายถึง กระบวนการเปลี่ยแปลงหรือคลี่คลายไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น
    1. มีความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variability) สมาชิกในกลุ่มของประชากร มีลักษณะพันธุกรรมที่แตกต่างกันออกไป
    2. การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection) การคัดเลือกตามธรรมชาตินี้ในบริเวณหนึ่ง ประชากรลักษณะหนึ่งอาจจะเหมาะสมกว่าประชากรหนึ่ง แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจกลับกันได้
    3. การแยกพวกผสมพันธุ์ (reproductive isolation) หากประชากรสองกลุ่มซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้

    ตอบลบ
  10. น.ส.พชรพร ศิลาพัฒน์ ม. 6/2 เลขที่ 37
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัว บรรยากาศของโลกในสมัยแรกยังไม่มีแก๊สออกซิเจน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแก๊สเฉื่อย นอกจากนี้ผิวโลกยังไม่มีน้ำในสภาพของเหลวเลย
    “วิวัฒนาการ”หมายถึง กระบวนการเปลี่ยแปลงหรือคลี่คลายไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น
    1. มีความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variability) สมาชิกในกลุ่มของประชากร มีลักษณะพันธุกรรมที่แตกต่างกันออกไป
    2. การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection) การคัดเลือกตามธรรมชาตินี้ในบริเวณหนึ่ง ประชากรลักษณะหนึ่งอาจจะเหมาะสมกว่าประชากรหนึ่ง แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจกลับกันได้
    3. การแยกพวกผสมพันธุ์ (reproductive isolation) หากประชากรสองกลุ่มซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้

    ตอบลบ
  11. นางสาวตรีรัตน์ ดวงวิสุ่ย เลขที่ 44 ชั้นม.6/2
    วิวัฒนาการ (Evolution) คือ อะไร และทำไมต้องศึกษาวิวัฒนาการ
    ก่อนที่เราจะอธิบายการเกิดวิวัฒนาการได้ เราจะต้องตอบให้ได้เสียก่อนว่า "โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มเกิดขึ้นมาได้อย่างไร"
    

    ตอบลบ
  12. น.ส.กิตติมา ทานนท์ เลขที่ 20 ชั้น ม.6/2
    สรุป : กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัว บรรยากาศของโลกในสมัยแรกยังไม่มีแก๊สออกซิเจน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแก๊สเฉื่อย นอกจากนี้ผิวโลกยังไม่มีน้ำในสภาพของเหลวเลย จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของโลกยุคดึกดำบรรพ์นี้มีความแตกต่างจากโลกยุคปัจจุบันมาก อย่างไรก็ตามเมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1,000 ล้านปีหลังจากกำเนิดโลก สิ่งมีชีวิตก็ถือกำเนิดขึ้นและเกิดวิวัฒนาการเรื่อยมา จนในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าความหลากหลายในธรรมชาติเกิดมากมายเพียงใด
    ในความเป็นจริงแล้ววิวัฒนาการเกิดขึ้นทั้งในสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต และเกิดนับตั้งแต่โลกของเรายังไม่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น จนเริ่มมีสิ่งมีชีวิต จวบจนถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการก็ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งต่างๆบนโลกที่เราพบเห็นในปัจจุบันจึงมีความแตกต่างจากเดิมในอดีต และแน่นอนว่าในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆก็ยังคงต้องดำเนินต่อไปตามกาลเวลา
    การเกิดวิวัฒนาการ เกิดได้จากเหตุผล 3 ประการ คือ
    1. มีความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variability)
    2. การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection)
    3. การแยกพวกผสมพันธุ์ (reproductive isolation)

    ตอบลบ
  13. นายกิตติ โคตะวินนท์ ชั้น ม. 6/2 เลขที่ 6
    สรุปได้ว่าโลกโดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัวโดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัวสารประกอบเหล่านี้สามารถรวมตัวกันเป็นสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลซับซ้อน เช่น โมเลกุลของกรดอะมิโน กลีเซอรอล กรดไขมันและน้ำตาลเชิงเดี่ยว กระบวนการวิวัฒนาการทางเคมีนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและใช้เวลานานจนในที่สุดก็เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตขึ้น

    ตอบลบ
  14. นางสาวเพ็ญนภา โยธาฤทธิ์ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 39
    กำเนิดสิ่งมีชีวิต
    1. ทฤษฏีการเกิดขึ้นเอง นักปราชญ์กรีกหลายท่าน เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตบางอย่างที่กำลังเน่าเปื่อยกลายเป็นสิ่งมีชีวิต ได้โดยกระบวนการเกิดขึ้นเอง เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ จึงไม่เป็นที่ยอมรับ
    2. ทฤษฏีสิ่งมีชีวิตมาจากนอกโลก พ.ศ. 2450 อาร์รีเนียส (Arrhenius) นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนได้เสนอซึ่งกล่าวว่า สิ่งมีชีวิตนั้นมาจากนอกโลก โดยเกิดจากจุลินทรีย์เล็กๆ ที่ล่องลอยไปมาระหว่างดาวเคราะห์จากแสงของดวงดาว
    3. ทฤษฏีวิวัฒนาการทางเคมี เชื่อกันว่าชีวิตบนโลกอุบัติขึ้น ครั้งแรกบนโลกนี้เอง หลังจากเกิดวิวัฒนาการทางเคมี ในระยะแรกโลกยังไม่มีออกซิเจน สารอนินทรีย์ที่มีโมเลกุลไม่ซับซ้อน ได้ทำปฏิกิริยากับสารอนินทรีย์ที่เกิดจากวิวัฒนาการทางเคมีมารวมตัวกันเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ เกิดเป็นเซลล์ชีวิตแรกขึ้น จนกระทั่งมีคุณสมบัติสองประการ คือ กระบวนการเมเทบอลิซึมและกระบวนการสืบพันธุ์

    ความหมายวิวัฒนาการ
    วิวัฒนาการ (evolution) คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับลักษณะทางพันธุกรมในประชาการสิ่งมีชีวิตจากบรรพบุรุษ สืบทอดเป็นเวลายาวนานและไม่มีที่สิ้นสุด

    ตอบลบ
  15. วิวัฒนาการความหมายได้ว่ามันคือการที่สิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
    การเกิดวิวัฒนาการ เกิดได้จากเหตุผล 3 ประการ คือ
    1. มีความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variability)
    2. การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection)
    3. การแยกพวกผสมพันธุ์ (reproductive isolation)
    นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าสิ่งมีชีวิตพวกแรกๆ นั้นน่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพวกโพรคาริโอต (prokaryote) โพรคาริโอตประกอบด้วย แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มนี้ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และดำรงชีวิตโดยไม่ใช้ออกซิเจนเนื่องจากบรรยากาศของโลกในยุคนั้นยังไม่มีออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อยมาก ต่อมาสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียเริ่มมีวิวัฒนาการในการสร้างอาหารเองได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศมีมากขึ้น ทำให้สิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ถือกำเนิดจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอต (eukaryote) ในที่สุด

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่มีชื่อนี้ ให้คะแนนไม่ได้

      ลบ
  16. นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัว บรรยากาศของโลกในสมัยแรกยังไม่มีแก๊สออกซิเจน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแก๊สเฉื่อย นอกจากนี้ผิวโลกยังไม่มีน้ำในสภาพของเหลวเลย จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของโลกยุคดึกดำบรรพ์นี้มีความแตกต่างจากโลกยุคปัจจุบันมาก อย่างไรก็ตามเมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1,000 ล้านปีหลังจากกำเนิดโลก สิ่งมีชีวิตก็ถือกำเนิดขึ้นและเกิดวิวัฒนาการเรื่อยมา จนในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าความหลากหลายในธรรมชาติเกิดมากมายเพียงใด
    นายวาสุเทพ คำไสย์ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 12

    ตอบลบ
  17. น.ส.มินตรา โลหะพรม ม.6/2 เลขที่ 41

    วิวัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น และหากกล่าวเฉพาะลงไปถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแล้ว สามารถให้ความหมายได้ว่ามันคือการที่สิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่
    เหมาะสม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. ความแปรผัน 2. การคัดเลือก 3. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โดยมีหลักฐานการวิวัฒนาการ คือ 1.หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ 2.หลักฐานทางกายวิภาคเปรียบเทียบ 3.หลักฐานจากการเจริญเติบโตของเอมบริโอ 4.หลักฐานทางพันธุศาสตร์ 5.หลักฐานจากการศึกษาในระดับโมเลกุล

    ตอบลบ
  18. นางสาวพรพรรณ กาวี เลขที่ 38 ม.6/2
    กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ
    ฮัลเดน (J.B.S. Haldane) 1924, มูทเนอร์ (R. Bentner) และ โอปาริน (A.I. oparin) บุคคลทั้งสามได้กล่าวทำนองเดียวกันว่า สิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นด้วยสารอินทรีย์ซึ่งต้องมีธาตุคาร์บอน ไนโทรเจนไฮโดรเจน และออกซิเจนประกอบอยู่ ทำให้เชื่อว่า โลกในสมัยแรกระยะหนึ่งนั้นมีภาวะเหมาะสมที่ทำให้ธาตุทั้ง 4 ชนิดมาประกอบกันได้แล้วกลายเป็นสารประกอบส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต และ ความหมายของวิวัฒนาการ กระบวนการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมของประชากรสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    ตอบลบ
  19. นายอภินันท์ การสวน ม.6/2 เลขที่ 16 สรุปกำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ
    วิวัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น  และหากกล่าวเฉพาะลงไปถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแล้ว สามารถให้ความหมายได้ว่ามันคือการที่สิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่
    เหมาะสม
       ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
    1. ความแปรผัน
    2. การคัดเลือก
    3. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
    วิวัฒนาการ (evolution) คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับลักษณะทางพันธุกรมในประชาการสิ่งมีชีวิตจากบรรพบุรุษ สืบทอดเป็นเวลายาวนานและไม่มีที่สิ้นสุด

    ตอบลบ
  20. นางสาวละอองดาว มาตช่วง เลขที่ 46 ชั้น ม.6/2

    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัว บรรยากาศของโลกในสมัยแรกยังไม่มีแก๊สออกซิเจน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแก๊สเฉื่อย นอกจากนี้ผิวโลกยังไม่มีน้ำในสภาพของเหลวเลย จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของโลกยุคดึกดำบรรพ์นี้มีความแตกต่างจากโลกยุคปัจจุบันมาก อย่างไรก็ตามเมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1,000 ล้านปีหลังจากกำเนิดโลก สิ่งมีชีวิตก็ถือกำเนิดขึ้นและเกิดวิวัฒนาการเรื่อยมา จนในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าความหลากหลายในธรรมชาติเกิดมากมายเพียงใด

    ตอบลบ
  21. นางสาวอภิญญา โคตะวินนท์ เลขที่ 25 ชั้น ม.6/2
    วิวัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น และหากกล่าวเฉพาะลงไปถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแล้ว สามารถให้ความหมายได้ว่ามันคือการที่สิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่
    เหมาะสม
    ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
    1. ความแปรผัน
    2. การคัดเลือก
    3. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
    วิวัฒนาการ (evolution) คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับลักษณะทางพันธุกรมในประชาการสิ่งมีชีวิตจากบรรพบุรุษ สืบทอดเป็นเวลายาวนานและไม่มีที่สิ้นสุด

    ตอบลบ
  22. นางสาวสุทธิกานต์. ลายโถ. ชั้น6/2. เลขที่17
     “วิวัฒนาการ” ในความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนั้นหมายถึง กระบวนการเปลี่ยแปลงหรือคลี่คลายไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น และหากกล่าวเฉพาะลงไปถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแล้ว สามารถให้ความหมายได้ว่ามันคือการที่สิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
    ในความเป็นจริงแล้ววิวัฒนาการเกิดขึ้นทั้งในสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต และเกิดนับตั้งแต่โลกของเรายังไม่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น จนเริ่มมีสิ่งมีชีวิต จวบจนถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการก็ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งต่างๆบนโลกที่เราพบเห็นในปัจจุบันจึงมีความแตกต่างจากเดิมในอดีต และแน่นอนว่าในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆก็ยังคงต้องดำเนินต่อไปตามกาลเวลา

    ตอบลบ
  23. นางสาวชไมพร ภักสอนิสิทธิ์ เลขที่ 35 ชั้น ม.6/2
    สรุป นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าสิ่งมีชีวิตพวกแรกๆ นั้นน่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพวกโพรคาริโอต (prokaryote) โพรคาริโอตประกอบด้วย แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มนี้ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และดำรงชีวิตโดยไม่ใช้ออกซิเจนเนื่องจากบรรยากาศของโลกในยุคนั้นยังไม่มีออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อยมาก ต่อมาสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียเริ่มมีวิวัฒนาการในการสร้างอาหารเองได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศมีมากขึ้น ทำให้สิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ถือกำเนิดจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอต (eukaryote) ในที่สุด

    ตอบลบ
  24. นางสาวอนุวรรณ อันเนตร์ เลขที่ 19 ม.6/2
    สรุปนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัว บรรยากาศของโลกในสมัยแรกยังไม่มีแก๊สออกซิเจน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแก๊สเฉื่อย นอกจากนี้ผิวโลกยังไม่มีน้ำในสภาพของเหลวเลย จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของโลกยุคดึกดำบรรพ์นี้มีความแตกต่างจากโลกยุคปัจจุบันมาก อย่างไรก็ตามเมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1,000 ล้านปีหลังจากกำเนิดโลก สิ่งมีชีวิตก็ถือกำเนิดขึ้นและเกิดวิวัฒนาการเรื่อยมา จนในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าความหลากหลายในธรรมชาติเกิดมากมายเพียงใด

    ตอบลบ
  25. วิวัฒนาการ (Evolution) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่ฐานะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น เป็นเปลี่ยนแปลงในทางชีววิทยาจากสิ่งที่ง่าย ๆ ไปสู่สิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องเปลี่ยน ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และต้องใช้เวลานาน

    ตอบลบ
  26. กำเนิดของสิ่งมีชีวิต
    สิ่งมีชีวิตมีกำเนิดมาบนโลกนี้เมื่อไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นความอยากรู้ของมนุษย์มานานแล้ว ในสมัยโบราณ มีความเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมีกำเนิดมาจากพระเจ้าสร้างขึ้น บ้างก็เชื่อว่า ชีวิตเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แล้วเปลี่ยนแปลงมาเป็นสิ่งมีชีวิตตามทฤษฎีการเกิดเองโดยธรรมชาติ
    วิวัฒนาการ คือ การดำเนินการที่ค่อยเป็นค่อยไป ในเวลาปรกติก็จะพัฒนาไป ต่อเมื่อพบสภาววิกฤตก็จะทำการปฏิรูปจริงจัง
    นางสาวสุดารัตน์ เทียมทนงค์

    ตอบลบ
  27. น.ส.ชัชฎาภรณ์ วริวรรณ เลขที่ 52 ม.6/2
    กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ
    กำเนิดสิ่งมีชีวิต ฮัลเดน (J.B.S. Haldane) 1924, มูทเนอร์ (R. Bentner) และ โอปาริน (A.I. oparin) บุคคลทั้งสามได้กล่าวทำนองเดียวกันว่า สิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นด้วยสารอินทรีย์ซึ่งต้องมีธาตุคาร์บอน ไนโทรเจน ไฮโดรเจน และออกซิเจนประกอบอยู่ โลกในสมัยแรกระยะหนึ่งนั้นมีภาวะเหมาะสมที่ทำให้ธาตุทั้ง 4 ชนิดมาประกอบกันได้แล้วกลายเป็นสารประกอบส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ความหมายวิวัฒนาการ คือกระบวนการเปลี่ยแปลงหรือคลี่คลายไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น

    ตอบลบ
  28. น.ส.ศศินีย์ โคตะวินนท์ เลขที่23 ม6/2.
    วิวัฒนาการ” ในความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนั้นหมายถึง กระบวนการเปลี่ยแปลงหรือคลี่คลายไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น และหากกล่าวเฉพาะลงไปถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแล้ว สามารถให้ความหมายได้ว่ามันคือการที่สิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม

    ตอบลบ
  29. นางสาวอุทุมพร พรมสอน เลขที่ 50 ชั้น 6/2
    สรุป : กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัว บรรยากาศของโลกในสมัยแรกยังไม่มีแก๊สออกซิเจน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแก๊สเฉื่อย นอกจากนี้ผิวโลกยังไม่มีน้ำในสภาพของเหลวเลย จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของโลกยุคดึกดำบรรพ์นี้มีความแตกต่างจากโลกยุคปัจจุบันมาก อย่างไรก็ตามเมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1,000 ล้านปีหลังจากกำเนิดโลก สิ่งมีชีวิตก็ถือกำเนิดขึ้นและเกิดวิวัฒนาการเรื่อยมา จนในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าความหลากหลายในธรรมชาติเกิดมากมายเพียงใด
    ในความเป็นจริงแล้ววิวัฒนาการเกิดขึ้นทั้งในสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต และเกิดนับตั้งแต่โลกของเรายังไม่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น จนเริ่มมีสิ่งมีชีวิต จวบจนถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการก็ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งต่างๆบนโลกที่เราพบเห็นในปัจจุบันจึงมีความแตกต่างจากเดิมในอดีต และแน่นอนว่าในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆก็ยังคงต้องดำเนินต่อไปตามกาลเวลา
    การเกิดวิวัฒนาการ เกิดได้จากเหตุผล 3 ประการ คือ
    1. มีความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variability)
    2. การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection)
    3. การแยกพวกผสมพันธุ์ (reproductive isolation)

    ตอบลบ
  30. น.ส.ศิลาลักษณ์ ตรีเหลา ม.6/2 เลขที่ 31
    วิวัฒนาการ (Evolution)คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน

    ตอบลบ
  31. นางสาววราภรณ์ เทศารินทร์ เลขที่ 47 ม.6/2
    สรุป : กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัว บรรยากาศของโลกในสมัยแรกยังไม่มีแก๊สออกซิเจน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแก๊สเฉื่อย นอกจากนี้ผิวโลกยังไม่มีน้ำในสภาพของเหลวเลย จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของโลกยุคดึกดำบรรพ์นี้มีความแตกต่างจากโลกยุคปัจจุบันมาก อย่างไรก็ตามเมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ 1,000 ล้านปีหลังจากกำเนิดโลก สิ่งมีชีวิตก็ถือกำเนิดขึ้นและเกิดวิวัฒนาการเรื่อยมา จนในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าความหลากหลายในธรรมชาติเกิดมากมายเพียงใด
    ในความเป็นจริงแล้ววิวัฒนาการเกิดขึ้นทั้งในสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต และเกิดนับตั้งแต่โลกของเรายังไม่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น จนเริ่มมีสิ่งมีชีวิต จวบจนถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการก็ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งต่างๆบนโลกที่เราพบเห็นในปัจจุบันจึงมีความแตกต่างจากเดิมในอดีต และแน่นอนว่าในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆก็ยังคงต้องดำเนินต่อไปตามกาลเวลา
    เกิดได้จากเหตุผล 3 ประการ คือ
    1. มีความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variability)
    2. การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection)
    3. การแยกพวกผสมพันธุ์ (reproductive isolation)

    ตอบลบ
  32. นางสาวพัชราภรณ์ วังนันท์ ม.6/2 เลขที่18
    “วิวัฒนาการ” ในความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนั้นหมายถึง กระบวนการเปลี่ยแปลงหรือคลี่คลายไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น และหากกล่าวเฉพาะลงไปถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแล้ว สามารถให้ความหมายได้ว่ามันคือการที่สิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
    ในความเป็นจริงแล้ววิวัฒนาการเกิดขึ้นทั้งในสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต และเกิดนับตั้งแต่โลกของเรายังไม่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น จนเริ่มมีสิ่งมีชีวิต จวบจนถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการก็ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งต่างๆบนโลกที่เราพบเห็นในปัจจุบันจึงมีความแตกต่างจากเดิมในอดีต และแน่นอนว่าในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆก็ยังคงต้องดำเนินต่อไปตามกาลเวลา

    ตอบลบ
  33. นางสาวศิรินาท คำไชยโย ชั้นม.6/2 เลขที่ 30
    การเกิดวิวัฒนาการ เกิดได้จากเหตุผล 3 ประการ คือ
    1.มีความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variability) สมาชิกในกลุ่มของประชากร มีลักษณะพันธุกรรมที่แตกต่างกันออกไป
    2. การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection) การคัดเลือกตามธรรมชาตินี้ในบริเวณหนึ่ง ประชากรลักษณะหนึ่งอาจจะเหมาะสมกว่าประชากรหนึ่ง แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจกลับกันได้
    3. การแยกพวกผสมพันธุ์ (reproductive isolation) หากประชากรสองกลุ่มซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้ ในที่สุดประชากรทั้งสองกลุ่มนั้นจะกลายเป็นคนละชนิด (species) ไป การแยกพวกผสมพันธุ์นี้โดยปกติจะมีเครื่องกีดขวางกั้นไม่ให้สิ่งมีชีวิตเข้ามารวมกลุ่มเดิมของประชากร เครื่องกีดขวางอาจได้แก่ ภูเขาสูง ทะเล ทะเลสาบ ทะเลทราบ หากมีสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นสมาชิกขแงกลุ่มประชากรหลุดไปอยู่ทางใดทางหนึ่งของสิ่งเหล่านั้นแล้วไม่มารวมกับกลุ่มเดิม ในระยะเวลานาน ๆ ทำให้ไม่สามารถผสมกับกลุ่มเดิมได้ในที่สุด

    ตอบลบ
  34. นายทิวา พุทธสาราษฎร์ ชั้น ม. 6/2 เลขที่ 8 กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ
    วิวัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น และหากกล่าวเฉพาะลงไปถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแล้ว สามารถให้ความหมายได้ว่ามันคือการที่สิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่
    เหมาะสม
    ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
    1. ความแปรผัน
    2. การคัดเลือก
    3. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
    วิวัฒนาการ (evolution) คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับลักษณะทางพันธุกรมในประชาการสิ่งมีชีวิตจากบรรพบุรุษ สืบทอดเป็นเวลายาวนานและไม่มีที่สิ้นสุด

    ตอบลบ
  35. การเกิดวิวัฒนาการ เกิดได้จากเหตุผล 3 ประการ คือ
    1. มีความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variability)
    2. การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection)
    3. การแยกพวกผสมพันธุ์ (reproductive isolation)
    นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าสิ่งมีชีวิตพวกแรกๆ นั้นน่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพวกโพรคาริโอต (prokaryote) โพรคาริโอตประกอบด้วย แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มนี้ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และดำรงชีวิตโดยไม่ใช้ออกซิเจนเนื่องจากบรรยากาศของโลกในยุคนั้นยังไม่มีออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อยมาก ต่อมาสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียเริ่มมีวิวัฒนาการในการสร้างอาหารเองได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศมีมากขึ้น ทำให้สิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ถือกำเนิดจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอต (eukaryote) ในที่สุด
    นายอนุพงค์ อุตมสีขันธ์ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 14

    ตอบลบ
  36. นางสาวหัตทยา จรนามน เลขที่ 49 ชั้น ม.6/2
    สรุปคือ ในปี พ.ศ.2496 สแตนลีย์ มิลเลอร์ (Stanley Miller) ทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก พิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตเกิดจากการรวมกันของโมเลกุลต่างๆในรูปแก็สซึ่งมาจากการระเบิดของภูเขาไฟในบรรยากาศที่ไร้ออกซิเจนและมีไฟฟ้าจากฟ้าผ่าเป็นแหล่งพลังงานที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาหลังจากนั้นก็นำของเหลวที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์ พบว่าเกิดสารประกอบอย่างง่ายของสิ่งมีชีวิต เช่น กรดอะมิโนหลายชนิด กรดอินทรีย์และยูเรียด้วย จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สารประกอบอินทรีย์สามารถเกิดขึ้นได้ในสภาพแวดล้อมของโลกระยะเริ่มแรก นอกจากนี้สารประกอบยังสามารถรวมตัวกันเกิดเป็นโมเลกุลที่ซับซ้อนขึ้นได้ด้วย ส่วนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเป็นการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยจากสิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิมสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันไปจากเดิมทั้งด้านรูปร่าง

    ตอบลบ
  37. นางสาวจุฬารัตน์ มิคะ ม6/7 เลขที่ 20
    #กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ#
    แนวคิด 2 แนวทางเกี่ยวกับกำเนิดเซลล์เริ่มแรกคือ
    1. เชื่อกันว่าเซลล์แรกเริ่มนั้นเกิดจากการที่โมเลกุลพื้นฐานของชีวิต เช่น กรดอะมิโนและน้ำตาลเชิงเดี่ยว เป็นต้น ถูกชะล้างลงมาอยู่ในมหาสมุทรและมีการรวมกลุ่มกันจนมีขนาดใหญ่ แล้วแตกตัวออกซึ่งถือเป็นการเพิ่มจำนวนให้ได้โมเลกุลจำนวนมากในความเข้มข้นสูง เมื่อระยะเวลาผ่านไปโมเลกุลเหล่านี้สามารถนำสารประกอบอื่นเข้าไปสะสมภายในและถูกจำกัดบริเวณด้วยด้วยโครงสร้างซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นเยื่อหุ้มเซลล์
    2. เซลล์แรกเริ่มเกิดจากโมเลกุลที่มีความสามารถในการสร้างและเพิ่มจำนวนตัวเองได้ เมื่อระยะเวลาผ่านไป โมเลกุลเหล่านี้จึงค่อยๆวิวัฒนาการกระบวนการเมแทบอลิซึมและสร้างเยื่อหุ้มเซลล์จนเกิดเป็นเซลล์ขึ้นได้ในที่สุด เชื่อกันว่าโมเลกุลพวกโพลีนิวคลีโอไทด์ (กรดนิวคลีอิก) เช่น RNA น่าจะเป็นโมเลกุลเริ่มแรกของการเกิดเซลล์

    ตอบลบ
  38. นายกรวิทย์ จงมีสัตย์ ชั้น ม.6/7 เลขที่ 1**กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ#
    การเกิดวิวัฒนาการ เกิดได้จากเหตุผล 3 ประการ คือ
    1. มีความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variability)
    2. การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection)
    3. การแยกพวกผสมพันธุ์ (reproductive isolation)
    นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าสิ่งมีชีวิตพวกแรกๆ นั้นน่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพวกโพรคาริโอต (prokaryote) โพรคาริโอตประกอบด้วย แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มนี้ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และดำรงชีวิตโดยไม่ใช้ออกซิเจนเนื่องจากบรรยากาศของโลกในยุคนั้นยังไม่มีออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อยมาก ต่อมาสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียเริ่มมีวิวัฒนาการในการสร้างอาหารเองได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศมีมากขึ้น ทำให้สิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ถือกำเนิดจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอต (eukaryote) ในที่สุด

    ตอบลบ
  39. ไม่ระบุชื่อ16 กันยายน 2557 เวลา 06:27

    นายพรพงศ์ ศรีสว่างวงศ์ ชั้น ม 6/7 เลขที่ 8 **กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ**กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ
    วิวัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น และหากกล่าวเฉพาะลงไปถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแล้ว สามารถให้ความหมายได้ว่ามันคือการที่สิ่งมีชีวิตแบบดั้งเดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยอย่างต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่
    เหมาะสม
    ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
    1. ความแปรผัน
    2. การคัดเลือก
    3. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
    วิวัฒนาการ (evolution) คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับลักษณะทางพันธุกรมในประชาการสิ่งมีชีวิตจากบรรพบุรุษ สืบทอดเป็นเวลายาวนานและไม่มีที่สิ้นสุด

    ตอบลบ
  40. นางสาวอภัสรา ลุนใต้ ชั้น ม.6/7 เลที่ 18
    ***กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ****
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัว บรรยากาศของโลกในสมัยแรกยังไม่มีแก๊สออกซิเจน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแก๊สเฉื่อย นอกจากนี้ผิวโลกยังไม่มีน้ำในสภาพของเหลวเลย จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของโลกยุคดึกดำบรรพ์นี้มีความแตกต่างจากโลกยุคปัจจุบันมาก
    วิวัฒนาการ คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก

    ตอบลบ
  41. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  42. ***นายอภิสิทธิ์ มังคะรัตน์ ม6/7 เลขที่ 3***
    กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ
    ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับโลกของเราที่เห็นเป็นทวีปต่างๆในปัจจุบันนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงผ่านระยะเวลาอันยาวนานเช่นกัน
    ในปี พ . ศ . 2458 อัลเฟรด เวกเกอเนอร์ นักธรณีวิทยาและนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันเสนอทฤษฎีทวีปเลื่อน (Continental Drift) เป็นครั้งแรก เขาเชื่อว่าแผ่นดินลอยอยู่บนของเหลวซึ่งหุ้มแกนโลกอยู่ การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ในทวีปที่อยู่ห่างไกลกันสนับสนุนทฤษฎีนี้ เวกเกอเนอร์เสนอว่าเมื่อ 200 ล้านปีที่แล้ว โลกมีทวีปเดียวขนาดใหญ่เรียกว่าพันเจีย (Pangaea-- แปลว่าทั้งโลก ) จนกระทั่งถึง
    ยุคจูแรสซิกซึ่งอยู่ในมหายุคมีโซโซอิก (ยุคที่ไดโนเสาร์รุ่งเรือง) แผ่นดินจึงเริ่มแยกจากกันเป็น 2 ส่วนเรียกว่า กอนวานาแลนด์ (Gonwanaland) ทางซีกใต้ของโลก และลอเรเซีย (Laurasia) ทางซีกเหนือ โดยมีทะเลทีธิส (Tethys) คั่นกลาง เมื่อสิ้นสุดยุคครีเทเชียส (ในมหายุคมีโซโซอิก) แผ่นดินก็แตกออกเป็นทวีปต่างๆ และค่อยๆเคลื่อนตัวมายังตำแหน่งที่เราเห็นในปัจจุบัน



    ตอบลบ
  43. ***นายอภิสิทธิ์ มังคะรัตน์ ม6/7 เลขที่ 3***
    กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ
    ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับโลกของเราที่เห็นเป็นทวีปต่างๆในปัจจุบันนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงผ่านระยะเวลาอันยาวนานเช่นกัน
    ในปี พ . ศ . 2458 อัลเฟรด เวกเกอเนอร์ นักธรณีวิทยาและนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันเสนอทฤษฎีทวีปเลื่อน (Continental Drift) เป็นครั้งแรก เขาเชื่อว่าแผ่นดินลอยอยู่บนของเหลวซึ่งหุ้มแกนโลกอยู่ การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ในทวีปที่อยู่ห่างไกลกันสนับสนุนทฤษฎีนี้ เวกเกอเนอร์เสนอว่าเมื่อ 200 ล้านปีที่แล้ว โลกมีทวีปเดียวขนาดใหญ่เรียกว่าพันเจีย (Pangaea-- แปลว่าทั้งโลก ) จนกระทั่งถึง
    ยุคจูแรสซิกซึ่งอยู่ในมหายุคมีโซโซอิก (ยุคที่ไดโนเสาร์รุ่งเรือง) แผ่นดินจึงเริ่มแยกจากกันเป็น 2 ส่วนเรียกว่า กอนวานาแลนด์ (Gonwanaland) ทางซีกใต้ของโลก และลอเรเซีย (Laurasia) ทางซีกเหนือ โดยมีทะเลทีธิส (Tethys) คั่นกลาง เมื่อสิ้นสุดยุคครีเทเชียส (ในมหายุคมีโซโซอิก) แผ่นดินก็แตกออกเป็นทวีปต่างๆ และค่อยๆเคลื่อนตัวมายังตำแหน่งที่เราเห็นในปัจจุบัน

    ตอบลบ
  44. นายปฏิภาณ สมคะเนย์ ม.6/7 เลขที่2
    ***กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ****
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเกิดจากกลุ่มแก๊สและฝุ่นผงในอวกาศที่มีการควบแน่นจนเป็นก้อน ผิวโลกในช่วงนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่ร้อนจัดต่อมาเย็นตัวลงจนเกิดการแข็งตัว บรรยากาศของโลกในสมัยแรกยังไม่มีแก๊สออกซิเจน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแก๊สเฉื่อย นอกจากนี้ผิวโลกยังไม่มีน้ำในสภาพของเหลวเลย จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของโลกยุคดึกดำบรรพ์นี้มีความแตกต่างจากโลกยุคปัจจุบันมาก
    วิวัฒนาการ คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก

    ตอบลบ
  45. นาย ณัฐพงษ์ อำนักขันธ์ ม.6/7 เลขที่4 นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าสิ่งมีชีวิตพวกแรกๆ นั้นน่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพวกโพรคาริโอต (prokaryote) โพรคาริโอตประกอบด้วย แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มนี้ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และดำรงชีวิตโดยไม่ใช้ออกซิเจนเนื่องจากบรรยากาศของโลกในยุคนั้นยังไม่มีออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อยมาก ต่อมาสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียเริ่มมีวิวัฒนาการในการสร้างอาหารเองได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศมีมากขึ้น ทำให้สิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ถือกำเนิดจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอต (eukaryote) ในที่สุด

    ตอบลบ
  46. ชไมพร ผลชื่น ม.6/7 เลขที่26
    ***กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ****

    การเกิดวิวัฒนาการ เกิดได้จากเหตุผล 3 ประการ คือ
    1.มีความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variability) สมาชิกในกลุ่มของประชากร มีลักษณะพันธุกรรมที่แตกต่างกันออกไป
    2. การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection) การคัดเลือกตามธรรมชาตินี้ในบริเวณหนึ่ง ประชากรลักษณะหนึ่งอาจจะเหมาะสมกว่าประชากรหนึ่ง แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจกลับกันได้
    3. การแยกพวกผสมพันธุ์ (reproductive isolation) หากประชากรสองกลุ่มซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้ ในที่สุดประชากรทั้งสองกลุ่มนั้นจะกลายเป็นคนละชนิด (species) ไป การแยกพวกผสมพันธุ์นี้โดยปกติจะมีเครื่องกีดขวางกั้นไม่ให้สิ่งมีชีวิตเข้ามารวมกลุ่มเดิมของประชากร เครื่องกีดขวางอาจได้แก่ ภูเขาสูง ทะเล ทะเลสาบ ทะเลทราบ หากมีสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นสมาชิกขแงกลุ่มประชากรหลุดไปอยู่ทางใดทางหนึ่งของสิ่งเหล่านั้นแล้วไม่มารวมกับกลุ่มเดิม ในระยะเวลานาน ๆ ทำให้ไม่สามารถผสมกับกลุ่มเดิมได้ในที่สุด

    ตอบลบ
  47. ชไมพร ผลชื่น ม.6/7 เลขที่26
    ***กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ****

    การเกิดวิวัฒนาการ เกิดได้จากเหตุผล 3 ประการ คือ
    1.มีความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variability) สมาชิกในกลุ่มของประชากร มีลักษณะพันธุกรรมที่แตกต่างกันออกไป
    2. การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection) การคัดเลือกตามธรรมชาตินี้ในบริเวณหนึ่ง ประชากรลักษณะหนึ่งอาจจะเหมาะสมกว่าประชากรหนึ่ง แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจกลับกันได้
    3. การแยกพวกผสมพันธุ์ (reproductive isolation) หากประชากรสองกลุ่มซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้ ในที่สุดประชากรทั้งสองกลุ่มนั้นจะกลายเป็นคนละชนิด (species) ไป การแยกพวกผสมพันธุ์นี้โดยปกติจะมีเครื่องกีดขวางกั้นไม่ให้สิ่งมีชีวิตเข้ามารวมกลุ่มเดิมของประชากร เครื่องกีดขวางอาจได้แก่ ภูเขาสูง ทะเล ทะเลสาบ ทะเลทราบ หากมีสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นสมาชิกขแงกลุ่มประชากรหลุดไปอยู่ทางใดทางหนึ่งของสิ่งเหล่านั้นแล้วไม่มารวมกับกลุ่มเดิม ในระยะเวลานาน ๆ ทำให้ไม่สามารถผสมกับกลุ่มเดิมได้ในที่สุด

    ตอบลบ
  48. ชไมพร ผลชื่น ม.6/7 เลขที่26
    ***กำเนิดสิ่งมีชีวิตและความหมายวิวัฒนาการ****

    การเกิดวิวัฒนาการ เกิดได้จากเหตุผล 3 ประการ คือ
    1.มีความแปรผันทางพันธุกรรม (genetic variability) สมาชิกในกลุ่มของประชากร มีลักษณะพันธุกรรมที่แตกต่างกันออกไป
    2. การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection) การคัดเลือกตามธรรมชาตินี้ในบริเวณหนึ่ง ประชากรลักษณะหนึ่งอาจจะเหมาะสมกว่าประชากรหนึ่ง แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจกลับกันได้
    3. การแยกพวกผสมพันธุ์ (reproductive isolation) หากประชากรสองกลุ่มซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้ ในที่สุดประชากรทั้งสองกลุ่มนั้นจะกลายเป็นคนละชนิด (species) ไป การแยกพวกผสมพันธุ์นี้โดยปกติจะมีเครื่องกีดขวางกั้นไม่ให้สิ่งมีชีวิตเข้ามารวมกลุ่มเดิมของประชากร เครื่องกีดขวางอาจได้แก่ ภูเขาสูง ทะเล ทะเลสาบ ทะเลทราบ หากมีสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นสมาชิกขแงกลุ่มประชากรหลุดไปอยู่ทางใดทางหนึ่งของสิ่งเหล่านั้นแล้วไม่มารวมกับกลุ่มเดิม ในระยะเวลานาน ๆ ทำให้ไม่สามารถผสมกับกลุ่มเดิมได้ในที่สุด

    ตอบลบ
  49. ชื่อ นางสาวจุฬารัตน์ ไชยสัตย์ ม.6/7 เลขที่ 25
    วิวัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่ฐานะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงในทางชีววิทยาจากสิ่งที่ง่ายๆไปสู่สิ่งที่ยุ่งยาก ซับซ้อนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องเปลี่ยนในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปและต้องใช้เวลานาน

    ตอบลบ

The Human Respiratory System

This system includes the lungs, pathways connecting them to the outside environment, and structures in the chest involved with moving air in...