วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ

แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการมีมานานแล้ว มีนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณให้แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิวัฒนาการด้วยกันหลายกลุ่ม เช่น
           อานักซีมันเดอร์ (Anaximander) มีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นหรือเป็นสัจจธรรมของสรรพสิ่งทั้งมวล ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้มากว่า 2547 ปีแล้ว
           ส่วนนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่ง นำโดย พลาโต (Plato) และลูกศิษย์รุ่นต่อ ๆ มา รวมทั้งอริสโตเติล (Aristotle) มีแนวความคิดว่า โลกนี้มีสภาพการณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น หากพิจารณาแนวความคิดทั้งสองกลุ่มจะเห็นได้ว่า แนวความคิดที่เชื่อสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการนั้นมีอิทธิพลน้อยมากต่อความคิดของคนในยุคต้น แต่แนวความคิดประเด็นหลังที่ว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนส่วนใหญ่ในแถบยุโรปและอเมริกาเป็นเวลายาวนาน
           ในกลุ่มนี้นักชีววิทยาหลายคนที่มีบทบาทสำคัญต่อความเชื่อในรูปแบบคงที่ของสัตว์และพืช ซึ่งนำไปสู่แนวความคิดเกี่ยวกับสปีชีส์ หรือชนิดของสิ่งมีชีวิตที่เห็นเด่นชัดที่สุดในคริสศตวรรษที่ 18 (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 23) ได้แก่นักอนุกรมวิธานชาวสวีเดนชื่อ คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) ผู้ซึ่งเชื่อว่า สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันชัดเจนนั้นจะมีความแตกต่างกันคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง และสมควรให้ชื่อที่เป็นภาษาลาตินแก่สปีชีส์อย่างชัดเจน โดยแต่ละชื่อของสปีชีส์จะมีสองส่วน คือ ส่วนแรกเป็นชื่อจีนัส ซึ่งเป็นชื่อร่วมกันของลักษณะที่คล้ายกัน และส่วนที่สองเป็นชื่อสปีชีส์ที่มีความจำเพาะและเป็นเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ เช่น ลินเนียสให้ชื่อทางวิทยาศาสตร์แก่พวกสิงโตว่า Felis  leo และพวกเสือว่า Felis  tigris ซึ่งหลักการของลินเลียสถูกนำมาใช้จวบจนปัจจุบัน ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 (พุทธศตวรรษที่ 24) กลุ่มที่เชื่อในความคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงของสปีชีส์ยังคงมีอิทธิพลอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีนักธรรมชาติวิทยาหลายคนที่เริ่มคิกเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างเช่น
          ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกๆที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์ ลามาร์กได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญในสองประเด็นอันเป็นที่ถกเถียงกันอย่างแพร่หลาย
 
Jean Lamarck and Charles Darwin



          แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 1
          แนวคิดของลามาร์กประเด็นแรกกล่าวว่า สิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปมีความซับซ้อนมากขึ้นและสิ่งมีชีวิตมีความพยายามที่จะอยู่รอดในธรรมชาติซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสรีระไปในทิศทางนั้น “หากอวัยวะใดที่มีการใช้งานมากในการดำรงชีวิตจะมีขนาดใหญ่ ส่วนอวัยวะใดที่ไม่ใช้จะค่อยๆลดขนาดและอ่อนแอลง และเสื่อมไปในที่สุด” แนวคิดดังกล่าวนี้ เรียกว่า กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse)
 
 
          แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 2
          ประเด็นที่สองมีความเกี่ยวเนื่องต่อจากประเด็นแรกที่ว่า “การเปลี่ยนแปลงของ
สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการใช้และไม่ใช้นั้นจะคงอยู่ได้ และสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลักษณะที่เกิดใหม่นี้ไปสู่รุ่นลูกได้” แนวคิดดังกล่าว เรียกว่า กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่ได้มาขณะมีชีวิตอยู่ (Law of inheritance of acquired characteristic)
          ลามาร์กได้ใช้แนวคิดทั้งสองมาอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของยีราฟซึ่งมีคอยาว ลามาร์กอธิบายว่าจากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ ยีราฟในอดีตจะมีคอสั้นแต่เนื่องจากอาหารขาดแคลนไม่พอกิน จึงต้องกินใบไม้จากต้นไม้สูงแทนหญ้า และเนื่องจากยืดคออย่างเดียวนั้นยังไม่พอจึงต้องมีการเขย่งขาเพิ่มด้วย จึงทำให้ยีราฟมีคอและขาที่ยาวขึ้น ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปนี้สามารถถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลานยีราฟรุ่นต่อมา
          ในสัตว์พวกงูที่เราจะไม่เห็นขาของมัน แต่หลักฐานจากการศึกษาโครงกระดูกพบว่ายังมีส่วนของกระดูกที่สันนิษฐานว่าเป็นขาหลงเหลืออยู่ ซึ่งลามาร์กอธิบายว่า งูจะอาศัยอยู่ในพงหญ้ารกจึงใช้การเลื้อยพาให้ตัวเคลื่อนไป จึงไม่ต้องใช้ขาและการเลื้อยทำให้ลำตัวยาวขึ้น เมื่อขาไม่ได้ใช้จึงค่อยๆลดเล็กลงจนหายไป ลักษณะนี้ถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆไปได้ เราจึงเห็นว่างูรุ่นต่อมานั้นไม่มีขา
          จากแนวคิดของลามาร์ก ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะอะไร และจะมีวิธีการอย่างไรในการทดลองเพื่อพิสูจน์แนวคิดของลามาร์ก คำถามเหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากลามาร์กได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตออกมา นักวิทยาศาสตร์สมัยนั้นดูจะไม่ค่อยยอมรับแนวคิดของลามาร์กเพราะไม่สามารถพิสูจน์ได้ในทุกกรณี เช่นในการทดลองของออกัส 

กิจกรรมถาม-ตอบ 
ข้อกำหนด  ให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์และค้นหาคำตอบจากคำถามต่อไปนี้
1. ลามาร์กเชื่อว่าอะไรเป็นแรงผลักดันที่ทำให้สิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง ?
คำตอบ สภาพแวดล้อมเป็นแรงผลักดันทำให้สิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง
2. นักเรียนยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตเพื่ออธิบายกฎการใช้และไม่ใช้ได้อย่างไร ?
คำตอบ ตัวอย่างเช่น นักกีฬาวีลแชร์ใช้กล้ามเนื้อแขนในการผลักรถวีลแชร์ในการเคลื่อนที่ทำให้แขนมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนกรณีคนไข้ที่ได้รับอุบัติเหตุขาหักต้องเข้าเฝือกขานานหลายเดือนหรือคนที่เป็นอัมพาตไม่สามารถขยับขาเคลื่อนไหวได้เหมือนปกติ ขาจะลีบเล็กลง
3. นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากกฎการใช้และไม่ใช้สามารถถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวไปยังรุ่นต่อไปได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ?
คำตอบ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงจากกฎการใช้และไม่ใช้ ไม่สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเซลล์ร่างกาย ไม่ได้เกิดกับเซลล์สืบพันธุ์
4. นักเรียนจะใช้แนวคิดของลามาร์กในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของยีราฟที่มีลักษณะคอและขายาวขึ้นได้อย่างไร ?
คำตอบ จากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์พบว่ายีราฟในอดีตมีลักษณะคอและขาสั้น เมื่ออาหารบริเวณพื้นดินมีไม่เพียงพอทำให้ยีราฟต้องยืดคอและเขย่งขาเพื่อกินใบไม้บนต้นไม้สูง ๆ อยู่เสมอทำให้มีคอและขายาวขึ้น และลักษณะดังกล่าวนี้มีการถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปทำให้ยีราฟในปัจจุบันมีลักษณะคอและขายาว
5. นักเรียนจะออกแบบการทดลองอย่างไรเพื่อพิสูจน์แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของลามาร์ก ?
คำตอบ ทดลองโดยตัดอวัยวะของสัตว์ที่มีช่วงอายุสั้น เช่น ตัดหางหนูแล้วปล่อยให้หนูที่ถูกตัดหางมีการผสมพันธ์ุกันแล้ววัดความยาวของหางรุ่นลูกที่เกิดขึ้น แล้วตัดหางหนูในรุ่นต่อ ๆ ไป และปล่อยให้ผสมพันธ์ุกันพร้อมทั้งวัดความยาวหางของรุ่นลูกที่เกิดขึ้นในทุก ๆ รุ่น

          ไวส์มาน (August Weisman, พ.ศ. 2377-2457) ได้ทดลองตัดหางหนู 20 รุ่นให้สั้นลง แต่ปรากฏว่าหนูรุ่นที่ 21 ก็ยังคงมีหาง ไวส์มานจึงได้เสนอแนวคิดค้านลามาร์กว่า ลักษณะที่ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานได้นั้นต้องเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ไม่ใช่เซลล์ร่างกาย หรือหากทฤษฎีของลามาร์กถูกต้อง ทำไมจึงยังมีสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ไม่ซับซ้อนเจริญอยู่ในสิ่งแวดล้อม
          อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีบางสถานการณ์ที่แนวคิดของลามาร์กดูเหมือนจะถูกต้อง เช่น การเกิดมะเร็งบางชนิดที่สามารถถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้ โดยเฉพาะการค้นพบการถ่ายทอดลักษณะไปยังลูกหลานโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมซึ่งพบเป็นครั้งแรกในข้าวโพดและเรียกว่า epigenetics จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าไปมากในปัจจุบัน ทำให้แนวคิดของลามาร์กที่แต่ก่อนดูเหมือนจะหมดความหมายทางวิชาการกลับมาคงอยู่และท้าทายต่อการพิสูจน์ต่อไป
          ลามาร์ก (Jean Baptiste de Lamarck) นักปราชญ์และนักวิชาการชาวฝรั่งเศษผู้ซึ่งมีแนวความคิดที่ซับซ้อนและลุ่มลึกเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการด้วย ซึ่งในส่วนนี้ช่วยให้ลามาร์กโด่งดังขึ้นในยุคนั้น ลามาร์กมีแนวความคิดเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ส่วนใดของร่างกายที่ถูกใช้ก็จะมีความแข็งแกร่งและมีบทบาทมากยิ่งขึ้น และสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นถัดไปได้ ส่วนที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ก็จะลดบทบาทมากยิ่งขึ้น และสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นถัดไปได้ ส่วนที่ไม่ถูกใช้นี้ก็จะลดบทบาทและมีขนาดเล็กลงจนหายไปในที่สุด แนวความคิดนี้เรียกว่า กฎแห่งการใช้และไม่ใช้ (Law of Use and Disuse) ดังตัวอย่างของยีราฟที่คอยาวขึ้นกว่าเดิมนั้น ลามาร์กจินตนาการและให้คำอธิบายว่ายีราฟที่มีคอยาวขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละชั่วอายุนั้นเป็นเพราะ ยีราฟต้องยืดคอเพื่อกินยอดไม้เป็นอาหาร ลักษณะคอยาวจึงถ่ายทอดสู่รุ่นถัด ๆ ไป ส่วนพวกที่คอสั้นก็จะหากินได้ลำบากและสูญหายตายจากไป ดังภาพที่ 19-1
           ลามาร์ค (Lamark,J.B.:1774-1829) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของสภาพแวดล้อมว่า สภาพแวดล้อมทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ลามาร์คได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการโดยอาศัยหลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ซึ่งมีรูปร่างไม่สลับซับซ้อนโดยเชื่อว่าสภาพแวดล้อมและอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะ การเกิดอวัยวะใหม่ ๆ ของสิ่งมีชีวิตเป็นผลเนื่องมาจากความต้องการของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ตราบใดที่มีการใช้ อวัยวะนั้นจะยังคงอยู่และเจริญแข็งแรง ถ้าไม่มีการใช้อวัยวะนั้นจะค่อยๆ หดหายไป ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้สามารถถ่ายทอดให้ลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไปได้ลามาร์ค ยกตัวอย่างยีราฟ เขากล่าวว่าเดิมบรรพบุรุษของยีราฟ มีคอสั้น ขาสั้น กินหญ้าตามพื้นดินเป็นอาหาร ต่อมาหญ้าตามพื้นดินมีไม่เพียงพอ ต้องยืดคอกินใบไม้ที่อยู่สูง ซึ่งต้องใช้ขาเขย่งเท้าให้สูง คอและขาจึงยาวขึ้นกว่าเดิม และลักษณะดังกล่าวถ่ายทอดให้ลูกหลานทำให้ยีราฟปัจจุบันมีคอยาว
           แนวความคิดด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตก็ยังไม่ก้าวหน้าไปมากนักจนกระทั่งนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ 2 ท่าน คือ
           ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) กับ อัลเฟรด วอลเลซ (Alfred Russel Wallace) ได้เสนอข้อมูลและคำอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่น่าประทับใจและน่าจูงใจอย่างยิ่ง
 
 
           แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่ดูจะเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนั้นเป็นของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin, พ.ศ. 2352-2428) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ปีที่ดาร์วินเกิดอยู่ในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 และในอีก 50 ปีต่อมาดาร์วินได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง กำเนิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตโดยการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (The Origin of Species by Means of Natural Selection) ที่เขย่าวงการวิทยาศาสตร์และกระทบความเชื่อชาวตะวันตก จนได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย
           ดาร์วินเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrewsbury) ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวที่มีฐานะมั่งคั่ง บิดาของดาร์วินอยากให้เขาเรียนแพทย์แต่เนื่องจากนั่นไม่ได้มาจากความชอบส่วนตัว เขาจึงไม่สนใจเรียนเพราะฝักใฝ่สนใจกับการศึกษาธรรมชาติรอบตัว และมักชอบเดินทางเป็นระยะทางไกลเพื่อเก็บสะสมแมลงต่างๆ ดาร์วินเรียนแพทย์ได้เพียงสองปีเท่านั้นก็ลาออกมา บิดาจึงส่งให้ดาร์วินไปเรียนต่อวิชาเกี่ยวกับศาสนาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์จนจบการศึกษา
          ในปีพ.ศ. 2374 ดาร์วินซึ่งมีอายุเพียง 22 ปี ได้รับการฝากฝังโดยศาสตราจารย์จอห์น เฮนสโลว์ (John Henslow) ให้เดินทางไปกับเรือหลวงบีเกิ้ล (H.M.S.Beagle) ในฐานะนักธรรมชาติวิทยาประจำเรือ การเดินทางครั้งนี้เป็นโครงการของราชนาวีอังกฤษ ซึ่งมีเป้าหมายในการเดินทางเพื่อสำรวจภูมิประเทศบริเวณชายฝั่งทะเลของทวีปอเมริกาใต้และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งยังไม่มีใครเคยไปสำรวจมาก่อน
          ในระหว่างการเดินทางดาร์วินได้สังเกตเห็นความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันรวมไปถึงวิถีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไปของกลุ่มคนในที่ต่างๆ นอกจากนี้ระหว่างการรอนแรมอยู่ในเรือดาร์วินยังได้ศึกษาแนวคิดของญาติผู้ใหญ่ชื่อชาร์ลส์ ไลแอลล์ (Charles Lyell, พ.ศ. 2340-2518) จากหนังสือเรื่อง หลักธรณีวิทยา (The Principles of Geology) ที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าจะโลกจะเกิดขึ้นมานานหลายพันล้านปีก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งนี่เองนับเป็นการจุดประกายความสงสัยของดาร์วินว่าสิ่งมีชีวิตเองก็น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เช่นเดียวกับเปลือกโลกเช่นกัน
          ในปี พ.ศ.2378 เรือหลวงบีเกิ้ลเดินทางมาถึงหมู่เกาะกาลาปากอส ซึ่งเป็นหมู่เกาะที่อยู่ห่างจากแผ่นดินทวีปอเมริกาใต้ไปทางตะวันตกประมาณ 900 กิโลเมตร ที่หมู่เกาะนี้ดาร์วินได้พบสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์หลากชนิดที่ไม่เคยพบจากที่ใดมาก่อน เขาได้สังเกตนกฟินช์ (finch) ที่พบแพร่กระจายอยู่ตามหมู่เกาะต่างๆ ถึง 14 ชนิด ในขณะที่บนแผ่นดินใหญ่เขาพบเพียง 1 ชนิด ดาร์วินพบว่านกฟินช์แต่ละชนิดมีขนาดและรูปร่างของจงอยปากที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมแก่การที่จะใช้กินอาหารแต่ละประเภท ตามสภาพแวดล้อมของเกาะนั้นๆ ดาร์วินเชื่อว่าบรรพบุรุษของนกฟินช์บนเกาะกาลาปากอสน่าจะสืบเชื้อสายมาจากนกฟินช์บนแผ่นดินใหญ่ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาจนทำให้หมู่เกาะแยกออกจากแผ่นดินใหญ่ ทำให้เกิดการแปรผันทางพันธุกรรมของบรรพบุรุษนกฟินช์ เมื่อเวลายิ่งผ่านยาวนานขึ้นทำให้เกิดวิวัฒนาการกลายเป็นนกฟินช์สปีชีส์ใหม่ขึ้น
           ภายหลังจากการเดินทางกับเรือหลวงบีเกิ้ลยาวนานถึง 5 ปี เมื่อเดินทางกลับมาถึงประเทศอังกฤษ ดาร์วินจึงได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เขาได้บันทึกและเก็บรวบรวบข้อมูลมายาวนานตลอดการเดินทาง รวมถึงการอ่านบทความของโทมัส มัลทัส (Thomas Malthus, พ.ศ. 2309-2377) ที่กล่าวถึงอัตราการเพิ่มของประชากรว่ามีอัตราที่เร็วกว่าการเพิ่มของอาหารหลายเท่า โดยที่อัตราการเกิดของประชากรเพิ่มในอันดับเรขาคณิต ส่วนอัตราการเพิ่มของอาหารเพิ่มตามอันดับเลขคณิต จากบทความนี้ทำให้ดาร์วินคิดว่าการที่สิ่งมีชีวิตนั้นมีจำนวนเกือบคงที่แทนที่จะมีจำนวนลูกหลานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั้นน่าจะต้องมีปัจจัยบางอย่างมาจำกัดจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิต
           จากข้อมูลข้างต้นนี้เองทำให้ดาร์วินเริ่มเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่เขาคิดว่าสิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายตามธรรมชาติ และปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น ปริมาณอาหารและน้ำที่จำกัด ทำให้สิ่งมีชีวิตตัวที่เหมาะสมเท่านั้นที่จะมีชีวิตอยู่รอด (survival of the fittest) และถ่ายทอดลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นไปสู่ลูกหลาน แนวคิดของดาร์วินดังกล่าว เรียกว่า ทฤษฏีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (theory of natural selection)
            ในเวลาต่อมามีนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษอีกคนหนึ่งคือ อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ (Alfred Russel Wallace, พ.ศ. 2366 - 2456) ผู้ศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตแถบหมู่เกาะอินโดนีเซีย เขาได้เขียนจดหมายเล่าให้ดาร์วินฟังถึงแนวคิดเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการของเขาเองซึ่งตรงกับแนวคิดของดาร์วินในเรื่องของกลไกของวิวัฒนาการที่เกิดจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ในปี พ.ศ.2401 ทั้งสองจึงได้นำเสนอผลงานดังกล่าวนี้ในที่ประชุมวิทยาศาสตร์ และในปี พ.ศ.2402 ดาร์วินก็ได้ตีพิมพ์หนังสือ เรื่อง กำเนิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตโดยการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (The Origin of Species by Means of Natural Selection) ซึ่งแม้ในเนื้อหาจะขัดต่อความเชื่อของชาวตะวันตกอย่างรุนแรง เพราะดาร์วินแสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงมาจากบรรพบุรุษ และนำไปสู่ความคิดที่ว่ามนุษย์เองก็ไม่ได้มีหน้าตาอย่างที่เห็นในปัจจุบันมาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่เนื่องด้วยข้อมูลและหลักฐานประกอบที่เป็นไปตามระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ทำให้สิ่งที่ดาร์วินเสนอได้รับความสนใจและเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเช่นกัน

76 ความคิดเห็น:

  1. นางสาวพัชรินทร์ บริหาร เลขที่ 28 ม.6/2
    สรุป แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    ได้มีการสรุปไว้หลายท่าน
    1.อะแนกซีมานเดอร์ (Anaximander) โดยเสนอทฤษฎีพัฒนาการของอินทรีย์ ซึ่งมีรากฐานจากหลักของการให้ชีวิตอยู่รอดโดยการปรับตัวให้เข้ากับภาวะแวดล้อม
    2. ส่วนนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่ง นำโดย พลาโต (Plato) และลูกศิษย์รุ่นต่อ ๆ มา รวมทั้งอริสโตเติล (Aristotle) มีแนวความคิดว่า โลกนี้มีสภาพการณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
    3.คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) ผู้ซึ่งเชื่อว่า สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันชัดเจนนั้นจะมีความแตกต่างกันคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
    4. ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกๆที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์ ลามาร์กได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญในสองประเด็นอันเป็นที่ถกเถียงกันอย่างแพร่หลาย
    สรป แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 1 กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse) , แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 2 กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่ได้มาขณะมีชีวิตอยู่ (Law of inheritance of acquired characteristic)
    5.ชาร์ลส์ ดาร์วิน กับแนวคิดของดาร์วินดังกล่าว เรียกว่า ทฤษฏีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (theory of natural selection)

    ตอบลบ
  2. นางสาวประภัสรา เนื่องขันตรี เลขที่ 36 ชั้นม. 6/2
    ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory)
    เป็นแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการทางชีววิทยาของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ซึ่งกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับ จากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง ในลักษณะที่มีการพัฒนาและก้าวหน้ากว่าขั้นที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีรูปแบบ เรียบง่ายไปสู่รูปแบบที่สลับซับซ้อนมากขึ้น และมีความเจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นสังคม ที่มีความสมบูรณ์
    Auguste Comte (ค.ศ. 1798 – 1857) เสนอว่า สังคมมนุษย์มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ (Knowledge) ผ่าน 3 ขั้นตอนตามลำดับ คือ จากขั้นเทววิทยา (Theological stage) ไปสู่ขั้นอภิปรัชญา (Metaphysical stage) และไปสู่ขั้นวิทยาศาสตร์ (Positivistic stage)
    Lewis Henry Morgan (ค.ศ. 1818 – 1881) เสนอว่า สังคมจะมีขั้นของการพัฒนา 3 ขั้นคือ จากสังคมคนป่า (Savage) ไปสู่สังคมอนาอารยชน (Barbarian) และไปสู่สังคมอารยธรรม (Civilized)
    Herbert Spencer (ค.ศ. 1820 – 1903) เสนอว่า วิวัฒนากรของสังคมมนุษย์เป็นแบบสายเดียว (Uni-linear) ที่ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกันด้วยและมารวมกันด้วยกระบวนการสังเคราะห์ (Synthesis) ทำให้เกิดพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น การพัฒนาของสังคมจะมีวิวัฒนาการเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ กล่าวคือ มนุษย์ที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดีจะมีชีวิตอยู่รอดตลอดไป และนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นต่อไป
    Ferdinand Tonnies (ค.ศ. 1855 – 1936) เสนอว่า สังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบ Gemeinschaft (Community) ไปสู่สังคมแบบ Gesellschaft (Society, Groups)
    Robert Redfield (ค.ศ. 1857 – 1958) เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมจะเริ่มจากสภาพของสังคมชาวบ้าน (Folk) เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแบบเมือง (Urban)

    ตอบลบ
  3. แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการมีมานานแล้ว มีนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณให้แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิวัฒนาการด้วยกันหลายกลุ่ม เช่น
    อานักซีมันเดอร์ (Anaximander) มีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นหรือเป็นสัจจธรรมของสรรพสิ่งทั้งมวล ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้มากว่า 2547 ปีแล้ว
    ส่วนนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่ง นำโดย พลาโต (Plato) และลูกศิษย์รุ่นต่อ ๆ มา รวมทั้งอริสโตเติล (Aristotle) มีแนวความคิดว่า โลกนี้มีสภาพการณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น หากพิจารณาแนวความคิดทั้งสองกลุ่มจะเห็นได้ว่า แนวความคิดที่เชื่อสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการนั้นมีอิทธิพลน้อยมากต่อความคิดของคนในยุคต้น แต่แนวความคิดประเด็นหลังที่ว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนส่วนใหญ่ในแถบยุโรปและอเมริกาเป็นเวลายาวนาน
    นายกฤษฎา โนวะ เลขที่ 1 ม.6/2

    ตอบลบ
  4. นางสาวเจนจิรา ภารนาถ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 34
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต มีหลายคน ให้แนวคิดต่างๆ เช่น
    ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck) อวัยวะส่วนใดที่มีการใช้งานมากในการดำรงชีวิตจะมีขนาดใหญ่และเข็งแรงขึ้น ขณะที่อวัยวะที่ไม่ค่อยได้ใช้งานจะอ่อนแอและเสื่อมลงไป แนวคิดดังกล่าวนี้เรียกว่า กฎการใช้และไม่ใช้
    ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)สิ่งชีวิตที่พบแพร่กระจายอยู่บนโลกนี้เกิดจากการสะสมลักษณะที่แตกต่างไปจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขณะนั้นและถูกคัดเลือดให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมนั้น
    อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ (Alfred Russel Wallace)นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษได้เสนอผลงานที่มีเนื้อหาตรงกันกับแนวคิดของดาร์วินที่ว่าวิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ เป็นต้น

    ตอบลบ
  5. นางสาวกาญจนาพร แสนชมภู ม.6/2เลขที่32
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
    แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 1
    แนวคิดของลามาร์กประเด็นแรกกล่าวว่า สิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปมีความซับซ้อนมากขึ้นและสิ่งมีชีวิตมีความพยายามที่จะอยู่รอดในธรรมชาติซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสรีระไปในทิศทางนั้น “หากอวัยวะใดที่มีการใช้งานมากในการดำรงชีวิตจะมีขนาดใหญ่ ส่วนอวัยวะใดที่ไม่ใช้จะค่อยๆลดขนาดและอ่อนแอลง และเสื่อมไปในที่สุด” แนวคิดดังกล่าวนี้ เรียกว่า กฎการใช้และไม่ใช้แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 2
    ประเด็นที่สองมีความเกี่ยวเนื่องต่อจากประเด็นแรกที่ว่า “การเปลี่ยนแปลงของ
    สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการใช้และไม่ใช้นั้นจะคงอยู่ได้ และสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลักษณะที่เกิดใหม่นี้ไปสู่รุ่นลูกได้” แนวคิดดังกล่าว เรียกว่า กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่ได้มาขณะมีชีวิตอย

    ตอบลบ
  6. นายสิทธิศักดิ์ ประทุมชาติ เลขที่ 13 ม.ุ/2
    อานักซีมันเดอร์ (Anaximander) มีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นหรือเป็นสัจจธรรมของสรรพสิ่งทั้งมวล ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้มากว่า 2547 ปีแล้ว
    ส่วนนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่ง นำโดย พลาโต (Plato) และลูกศิษย์รุ่นต่อ ๆ มา รวมทั้งอริสโตเติล (Aristotle) มีแนวความคิดว่า โลกนี้มีสภาพการณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น หากพิจารณาแนวความคิดทั้งสองกลุ่มจะเห็นได้ว่า แนวความคิดที่เชื่อสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการนั้นมีอิทธิพลน้อยมากต่อความคิดของคนในยุคต้น แต่แนวความคิดประเด็นหลังที่ว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนส่วนใหญ่ในแถบยุโรปและอเมริกาเป็นเวลายาวนาน

    ตอบลบ
  7. น.ส.พชรพร ศิลาพัฒน์ ม.6/2 เลขที่ 37

    อานักซีมันเดอร์ (Anaximander) มีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นหรือเป็นสัจจธรรมของสรรพสิ่งทั้งมวล ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้มากว่า 2547 ปีแล้ว
    พลาโต (Plato) และลูกศิษย์รุ่นต่อ ๆ มา รวมทั้งอริสโตเติล (Aristotle) มีแนวความคิดว่า โลกนี้มีสภาพ
    การณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น หากพิจารณาแนวความคิดทั้งสองกลุ่มจะเห็นได้ว่า แนวความคิดที่เชื่อสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการนั้นมีอิทธิพลน้อยมากต่อความคิดของคนในยุคต้น แต่แนวความคิดประเด็นหลังที่ว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนส่วนใหญ่ในแถบยุโรปและอเมริกาเป็นเวลายาวนาน
    คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) ผู้ซึ่งเชื่อว่า สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันชัดเจนนั้นจะมีความแตกต่างกันคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง และสมควรให้ชื่อที่เป็นภาษาลาตินแก่สปีชีส์อย่างชัดเจน โดยแต่ละชื่อของสปีชีส์จะมีสองส่วน คือ ส่วนแรกเป็นชื่อจีนัส ซึ่งเป็นชื่อร่วมกันของลักษณะที่คล้ายกัน และส่วนที่สองเป็นชื่อสปีชีส์ที่มีความจำเพาะและเป็นเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
    ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกๆที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์ ลามาร์กได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญในสองประเด็นอันเป็นที่ถกเถียงกันอย่างแพร่หลาย

    ตอบลบ
  8. นางสาวตรีรัตน์ ดวงวิสุ่ย เลขที่44 ชั้น ม.6/2
    แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการมีมานานแล้ว มีนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณให้แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิวัฒนาการด้วยกันหลายกลุ่ม เช่น
    อานักซีมันเดอร์ (Anaximander) มีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นหรือเป็นสัจจธรรมของสรรพสิ่งทั้งมวล ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้มากว่า 2547 ปีแล้ว
    ส่วนนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่ง นำโดย พลาโต (Plato) และลูกศิษย์รุ่นต่อ ๆ มา รวมทั้งอริสโตเติล (Aristotle) มีแนวความคิดว่า โลกนี้มีสภาพการณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น หากพิจารณาแนวความคิดทั้งสองกลุ่มจะเห็นได้ว่า แนวความคิดที่เชื่อสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการนั้นมีอิทธิพลน้อยมากต่อความคิดของคนในยุคต้น

    ตอบลบ
  9. อานักซีมันเดอร์ (Anaximander) มีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นหรือเป็นสัจจธรรมของสรรพสิ่งทั้งมวล ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้มากว่า 2547 ปีแล้ว
    ส่วนนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่ง นำโดย พลาโต (Plato) และลูกศิษย์รุ่นต่อ ๆ มา รวมทั้งอริสโตเติล (Aristotle) มีแนวความคิดว่า โลกนี้มีสภาพการณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น หากพิจารณาแนวความคิดทั้งสองกลุ่มจะเห็นได้ว่า แนวความคิดที่เชื่อสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการนั้นมีอิทธิพลน้อยมากต่อความคิดของคนในยุคต้น แต่แนวความคิดประเด็นหลังที่ว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนส่วนใหญ่ในแถบยุโรปและอเมริกาเป็นเวลายาวนาน
    นายอนุพงค์ อุตมสีขันธ์ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 14

    ตอบลบ
  10. น.ส.กิตติมา ทานนท์ เลขที่ 20 ชั้น ม.6/2
    สรุป : แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการมีมานานแล้ว มีนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณให้แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิวัฒนาการด้วยกันหลายกลุ่ม เช่น
    อานักซีมันเดอร์ (Anaximander) มีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นหรือเป็นสัจจธรรมของสรรพสิ่งทั้งมวล ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้มากว่า 2547 ปีแล้ว
    ส่วนนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่ง นำโดย พลาโต (Plato) และลูกศิษย์รุ่นต่อ ๆ มา รวมทั้งอริสโตเติล (Aristotle) มีแนวความคิดว่า โลกนี้มีสภาพการณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น หากพิจารณาแนวความคิดทั้งสองกลุ่มจะเห็นได้ว่า แนวความคิดที่เชื่อสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการนั้นมีอิทธิพลน้อยมากต่อความคิดของคนในยุคต้น แต่แนวความคิดประเด็นหลังที่ว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนส่วนใหญ่ในแถบยุโรปและอเมริกาเป็นเวลายาวนาน
    ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกๆที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่ดูจะเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนั้นเป็นของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin, พ.ศ. 2352-2428) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ปีที่ดาร์วินเกิดอยู่ในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 และในอีก 50 ปีต่อมาดาร์วินได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง กำเนิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตโดยการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (The Origin of Species by Means of Natural Selection) ที่เขย่าวงการวิทยาศาสตร์และกระทบความเชื่อชาวตะวันตก จนได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย

    ตอบลบ
  11. นางสาวเพ็ญนภา โยธาฤทธิ์ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 39
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการมีมานานแล้ว มีนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณให้แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิวัฒนาการด้วยกันหลายกลุ่ม เช่น
    -อานักซีมันเดอร์ (Anaximander) มีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นหรือเป็นสัจธรรมของสรรพสิ่งทั้งมวล
    -นักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่ง นำโดย พลาโต (Plato) และลูกศิษย์รุ่นต่อ ๆ มา รวมทั้งอริสโตเติล (Aristotle) มีแนวความคิดว่า โลกนี้มีสภาพการณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น
    -คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) ผู้ซึ่งเชื่อว่า สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันชัดเจนนั้นจะมีความแตกต่างกันคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง และสมควรให้ชื่อที่เป็นภาษาลาตินแก่สปีชีส์อย่างชัดเจน
    -ลามาร์ค (Jean Lamarck) นักวิวัฒนาการชาวฝรั่งเศสได้เสนอความคิดในเรื่อง วิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตไว้เป็น 2 ข้อ คือ
    1. กฎแห่งการใช้ และไม่ใช้ (law of use and disuse) 2. กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ (law of inheritance of acquired characteristics)
    - ชาร์ลส์ ดาร์วิน ( Charles Darwin) ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วินดังนี้คือ “ความแปรผันที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตใด ๆ ก็ตามย่อมมีส่วนช่วยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตได้ ในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ส่วนความแปรผันที่ไม่เหมาะสม ทําให้สิ่งมีชีวิตถูกกําจัดไปด้วย เหตุนี้เมื่อเวลา ล่วงเลยไปนานขึ้นลักษณะที่เหมาะสมก็จะสะสมไปนานขึ้น ลักษณะที่เหมาะสม ก็จะสะสมไปนานขึ้น เกิดสิ่งมีชีวิตแตกต่าง จากเดิมมากมาย จนในที่สุดก็เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่”

    ตอบลบ
  12. นายกิตติ โคตะวินนท์ ชั้น ม. 6/2 เลขที่ 6

    สรุปได้ว่านักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ดังนี้

    ลามาร์ค (Lamarck) เป็นนักชีววิทยาชาวฝรั่งเศสได้เสนอแนวคิดสรุปเป็นกฎ 2 ข้อ ดังนี้

    กฎแห่งการใช้และไม่ใช้ มีใจความว่า “สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อรูปร่างของสัตว์ อวัยวะที่ต้องใช้บ่อย ๆ ในสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ จะเจริญและขยายพันธุ์ขึ้น แต่อวัยวะที่ไม่จำเป็นต้องใช้จะอ่อนแอลงและเสื่อมหายไป”
    กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ มีใจความว่า “ลักษณะที่ได้มาหรือเสียไป เนื่องจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม โดยการใช้และไม่ใช้จะคงอยู่ และสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ โดยการสืบพันธุ์”
    จากความรู้ทางพันธุศาสตร์ ปัจจุบัน สรุปได้ว่า ลักษณะที่เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมไม่สามารถถ่ายทอดโดยการสืบพันธุ์ได้ ลักษณะกรรมพันธุ์ที่จะถ่ายทอดทางการสืบพันธุ์ได้คือลักษณะที่กำหนดโดยยีนส์ในโครโมโซมของเซลล์สืบพันธุ์เท่านั้น

    ตอบลบ
  13. นางสาวจริยา ปรึกไธสง เลขที่ 33 ม. 6/2
    ทฤษฎีวิวัฒนาการ คือแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามจะอธิบายว่าวิวัฒนาการมีจริงและเกิดขึ้น ได้อย่างไรโดยอาศัยหลักฐานทางด้านต่างๆประกอบและยืนยันแนวโน้มของวิวัฒนาการคือ 1. เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไปข้างหน้าไม่ย้อนกลับ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากแบบ ง่าย ๆ เป็นซับซ้อนจากแบบโบราณเป็นแบบก้าวหน้าและจากแบบทั่วไปเป็นแบบจำเพาะเจาะจงเช่น การลดจํานวนของกระดูก ก้นกบหรือการเชื่อมของ กลีบดอกเป็นต้น 2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจะถูกกำจัด หรือสูญหายไป ทฤษฎีวิวัฒนาการของนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่
    1. ทฤษฏีของลามาร์ค (Jean Lamarck) 2. ทฤษฎีของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ( Charles Darwin) 3. ทฤษฏีของดาร์วิน และ วอลเลช (Alfred Russel Wallace)

    ตอบลบ
  14. การณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น หากพิจารณาแนวความคิดทั้งสองกลุ่มจะเห็นได้ว่า แนวความคิดที่เชื่อสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการนั้นมีอิทธิพลน้อยมากต่อความคิดของคนในยุคต้น แต่แนวความคิดประเด็นหลังที่ว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนส่วนใหญ่ในแถบยุโรปและอเมริกาเป็นเวลายาวนาน
    วาสุเทพ คำไสย์ ม.6/2 เลขที่ 12

    ตอบลบ
  15. นายชินภัทร ลับแล เลขที่4 ม.6/2
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วิน สิ่งชีวิตที่พบแพร่กระจายอยู่บนโลกนี้เกิดจากการสะสมลักษณะที่แตกต่างไปจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขณะนั้นและถูกคัดเลือดให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมนั้น ลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็น การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ขึ้น แนวคิดของดาร์วิน ดังกล่าว เรียกว่าทฤษฎีการคัดเลือดโดยธรรมชาติ
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของลามาร์ก สิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมขณะเกิดวิวัฒนาการ แนวคิดของลามาร์กคือ อวัยวะส่วนใดที่มีการใช้งานมากในการดำรงชีวิตจะมีขนาดใหญ่และเข็งแรงขึ้น ขณะที่อวัยวะที่ไม่ค่อยได้ใช้งานจะอ่อนแอและเสื่อมลงไป แนวคิดดังกล่าวนี้เรียกว่า กฎการใช้และไม่ใช้ และ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นภายในชั่วรุ่นนั้น สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ แนวคิดดังกล่าวนี้เรียกว่า กฎการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นมาใหม่

    ตอบลบ
  16. น.ส.มินตรา โลหะพรม ม.6/2 เลขที่ 41

    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรก ที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์ ลามาร์กได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญ 2 ประเด็น
    1. ทฤษฎี การใช้ และ ไม่ใช้
    คือ อวัยวะส่วนในส่วนใดที่ใช้บ่อย ๆ จะขยายใหญ่ขึ้น ส่วนอวัยวะใดที่ไม่ได้ใช้จะเล็กลง และอ่อนแอลง
    2. กฎแห่งการถ่ายทอด ลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่
    คือลักษณะที่ได้ใหม่โดยเปลี่ยนไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม โดยการใช้และไม่ใช้ยังคงอยู่และสามารถถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ไปสู่รุ่นลูกหลานต่อไปได้

    ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เป็นบิดาแห่ง ทฤษฎีวิวัฒนาการ โดยการคัดเลือกทางธรรมชาติ
    ทฤษฏีวิวัฒนาการโดยธรรมชาติคือการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตโดยธรรมชาติเป็นผู้คัดเลือกจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมเพราะสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะเปลี่ยนแปลงตัวมันเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มันอยู่เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตอยุ่รอดได้และสิ่งมีชีวิตเมืออยู่ต่างที่กันก็จะไม่เหมือนกันอยู่ต่างที่กันก็เริ่มที่จะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมที่มันอยู่เกิดเป็นสปีชีส์หม่ขึ้นมาและสปีชีหม่นี้อาจจะไม่สามารถผสมพุนธุ์กับสปีชีส์เดิมได้

    ตอบลบ
  17. นางสาวพรพรรณ กาวี เลขที่ 38 ม.6/2
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของลามาร์กมีดังนี้ อวัยวะส่วนใดที่มีการใช้งานมากในการดำรงชีวิตจะมีขนาดใหญ่และเข็งแรงขึ้น ขณะที่อวัยวะที่ไม่ค่อยได้ใช้งานจะอ่อนแอและเสื่อมลงไป แนวคิดดังกล่าวนี้เรียกว่า กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse) และ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นภายในชั่วรุ่นนั้น สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ แนวคิดดังกล่าวนี้เรียกว่า กฎการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นมาใหม่ (Law of inheritance of acquired characteistic)แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วิน1.การคัดเลือกโดยธรรมชาติทำให้สิ่งมีชีวิตแต่ละตัวมีความสามารถในการอยู่รอด และมีความสามารถในการให้กำเนิดลูกหลานแตกต่างกัน2. การคัดเลือกโดยธรรมชาติเกิดขึ้นจากปฏิส้มพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมที่ประชากรอาศัยกับลักษณะความแปรผันทางพันธุ์กรรมของสมาชิกในประชากร3. ผลการจากคัดเลือดโดยธรรมชาติทำให้ประชากรมีการปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้น

    ตอบลบ
  18. นายอภินันท์ การสวน ม.6/2 เลขที่ 16
    สรุป แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    ในอดีตโดยเฉพาะในวัฒนธรรมของคนตะวันตกมีความเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลกนี้เกิดจากอานุภาพเหนือธรรมชาติทำให้จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิตคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง จนกระทั่งสมัยกรีกโบราณมีนักปรัชญาหลายท่านได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตซึ่งขัดแย้งกับความเชื่อของคนส่วนในยุคนั้น ต่อมาได้มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตในชั้นหินทำให้เห็นถึงร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อีกทั้งสภาพภูมิศาสตร์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในแต่ละยุคสมัยทำให้ยอมรับว่าสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการประเด็จที่สงสัยต่อมาคือ  วิวัฒนาการเกิดขึ้นได้อย่างไร มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้เสนอแนวคิด และให้เหตุผลในการอธิบายการเกิดวิวัฒนาการดังนี้ - ลามาร์กได้เสนอแนวคิดเพื่ออธิบายว่าสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมขณะเกิดวิวัฒนาการ
            - ชาลส์  ดาร์วิน  (Charles Darwin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับวิวัฒนาการการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

    ตอบลบ
  19. นางสาวละอองดาว มาตช่วง เลขที่ 46 ชั้น ม.6/2

    สรุป แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการมีมานานแล้ว มีนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณให้แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิวัฒนาการด้วยกันหลายกลุ่ม เช่น
    อานักซีมันเดอร์ (Anaximander) มีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นหรือเป็นสัจจธรรมของสรรพสิ่งทั้งมวล ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้มากว่า 2547 ปีแล้ว
    ส่วนนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่ง นำโดย พลาโต (Plato) และลูกศิษย์รุ่นต่อ ๆ มา รวมทั้งอริสโตเติล (Aristotle) มีแนวความคิดว่า โลกนี้มีสภาพการณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น หากพิจารณาแนวความคิดทั้งสองกลุ่มจะเห็นได้ว่า แนวความคิดที่เชื่อสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการนั้นมีอิทธิพลน้อยมากต่อความคิดของคนในยุคต้น แต่แนวความคิดประเด็นหลังที่ว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนส่วนใหญ่ในแถบยุโรปและอเมริกาเป็นเวลายาวนาน

    ตอบลบ
  20. นางสาวอภิญญา โคตะวินนท์ เลขที่ 25 ชั้น ม.6/2
    สรุป แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    ในอดีตโดยเฉพาะในวัฒนธรรมของคนตะวันตกมีความเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลกนี้เกิดจากอานุภาพเหนือธรรมชาติทำให้จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิตคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง จนกระทั่งสมัยกรีกโบราณมีนักปรัชญาหลายท่านได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตซึ่งขัดแย้งกับความเชื่อของคนส่วนในยุคนั้น ต่อมาได้มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตในชั้นหินทำให้เห็นถึงร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อีกทั้งสภาพภูมิศาสตร์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในแต่ละยุคสมัยทำให้ยอมรับว่าสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการประเด็จที่สงสัยต่อมาคือ วิวัฒนาการเกิดขึ้นได้อย่างไร มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้เสนอแนวคิด และให้เหตุผลในการอธิบายการเกิดวิวัฒนาการดังนี้ - ลามาร์กได้เสนอแนวคิดเพื่ออธิบายว่าสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมขณะเกิดวิวัฒนาการ
    - ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับวิวัฒนาการการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

    ตอบลบ
  21. นางสาวชไมพร ภักสอนิสิทธิ์ เลขที่ 35 ชั้น ม.6/2
    สรุป ลามาร์ก (Jean Baptiste de Lamarck) นักปราชญ์และนักวิชาการชาวฝรั่งเศษผู้ซึ่งมีแนวความคิดที่ซับซ้อนและลุ่มลึกเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการด้วย ซึ่งในส่วนนี้ช่วยให้ลามาร์กโด่งดังขึ้นในยุคนั้น ลามาร์กมีแนวความคิดเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ส่วนใดของร่างกายที่ถูกใช้ก็จะมีความแข็งแกร่งและมีบทบาทมากยิ่งขึ้น และสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นถัดไปได้ ส่วนที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ก็จะลดบทบาทมากยิ่งขึ้น และสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นถัดไปได้ ส่วนที่ไม่ถูกใช้นี้ก็จะลดบทบาทและมีขนาดเล็กลงจนหายไปในที่สุด แนวความคิดนี้เรียกว่า กฎแห่งการใช้และไม่ใช้ (Law of Use and Disuse) ดังตัวอย่างของยีราฟที่คอยาวขึ้นกว่าเดิมนั้น ลามาร์กจินตนาการและให้คำอธิบายว่ายีราฟที่มีคอยาวขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละชั่วอายุนั้นเป็นเพราะ ยีราฟต้องยืดคอเพื่อกินยอดไม้เป็นอาหาร ลักษณะคอยาวจึงถ่ายทอดสู่รุ่นถัด ๆ ไป ส่วนพวกที่คอสั้นก็จะหากินได้ลำบากและสูญหายตายจากไป

    ตอบลบ
  22. นางสาวสุทธิกานต์ ลายโถ ม.6/2 เลขที่17
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วิน สิ่งชีวิตที่พบแพร่กระจายอยู่บนโลกนี้เกิดจากการสะสมลักษณะที่แตกต่างไปจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขณะนั้นและถูกคัดเลือดให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมนั้น ลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็น การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ขึ้น แนวคิดของดาร์วิน ดังกล่าว เรียกว่าทฤษฎีการคัดเลือดโดยธรรมชาติ
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของลามาร์ก สิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมขณะเกิดวิวัฒนาการ แนวคิดของลามาร์กคือ อวัยวะส่วนใดที่มีการใช้งานมากในการดำรงชีวิตจะมีขนาดใหญ่และเข็งแรงขึ้น ขณะที่อวัยวะที่ไม่ค่อยได้ใช้งานจะอ่อนแอและเสื่อมลงไป แนวคิดดังกล่าวนี้เรียกว่า กฎการใช้และไม่ใช้ และ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นภายในชั่วรุ่นนั้น สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ แนวคิดดังกล่าวนี้เรียกว่า กฎการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นมาใหม่

    ตอบลบ
  23. นางสาวอนุวรรณ อันเนตร์ เลขที่19 ม.6/2
    ดาร์วินแสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงมาจากบรรพบุรุษ และนำไปสู่ความคิดที่ว่ามนุษย์เองก็ไม่ได้มีหน้าตาอย่างที่เห็นในปัจจุบันมาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่เนื่องด้วยข้อมูลและหลักฐานประกอบที่เป็นไปตามระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ทำให้สิ่งที่ดาร์วินเสนอได้รับความสนใจและเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง

    ตอบลบ
  24. ชองบัปติสต์ เดลามาร์ก อวัยวะส่วนใดที่มีการใช้งานมากในการดำรงชีวิตจะมีขนาดใหญ่และเข็งแรงขึ้น ขณะที่อวัยวะที่ไม่ค่อยได้ใช้งานจะอ่อนแอและเสื่อมลงไป สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ แนวคิดดังกล่าวนี้เรียกว่า กฎการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นมาใหม่
    ดาร์วิน สิ่งชีวิตที่พบแพร่กระจายอยู่บนโลกนี้เกิดจากการสะสมลักษณะที่แตกต่างไปจากบรรพบุรุษซึ่งเป็นลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขณะนั้นและถูกคัดเลือดให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมนั้น ลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็น การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ขึ้น

    ตอบลบ
  25. นางสาวสุดารัตน์ เทียมทนงค์ ม.6/2
    ทฤษฎีของดาร์วิน และวอลเลช

    ดาร์วิน และวอลเลชได้เสนอทฤษฎีการเกิดสปีชีส์ใหม่อันเนื่องมาจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (theory of natural selection) มีสาระสำคัญ ดังนี้

    1. สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันย่อมแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เรียกว่า variation
    2. สิ่งมีชีวิตมีลูกหลานจํานวนมากตามลําดับเรขาคณิต แต่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดก็มี จํานวนเกือบคงที่ เพราะมีจํานวนหนึ่งตายไป
    3.สิ่งมีชีวิตจําเป็นต้องมีการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด (struggle of existence) โดยลักษณะ ที่แปรผันบางลักษณะ ที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม ย่อมดํารงชีวิตอยู่ได้ และสืบพันธุ์ถ่ายทอด ไปยังลูกหลาน
    4.สิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้นที่อยู่รอด(survival the fittest ) และดํารง เผ่าพันธุ์ของตนไว้และทําให้เกิด การคัดเลือกตามธรรมชาติเกิดความแตกต่าง ไปจากสปีชีส์เดิมมากขึ้นจนเกิดสปีชีส์ใหม่

    ตอบลบ
  26. น.ส.ชัชฎาภรณ์ วริวรรณ เลขที่ 52 ม.6/2
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ อานักซีมันเดอร์ (Anaximander) มีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นหรือเป็นสัจจธรรมของสรรพสิ่งทั้งมวล ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้มากว่า 2547 ปีแล้ว
    1.ทฤษฎีของลามาร์ก (Lamarck's Theory)ก่อตั้งโดย ฌอง แบพติสท์ เดอ ลามาร์ก (JEAN BAPTISTE DE LAMARCK) (1744 – 1829) วิศวกรชาวฝรั่งเศสซึ่งในบั้นปลายชีวิตได้ศึกษาชีววิทยา ได้เป็นผู้วางรากฐานเกี่ยวกับวิวัฒนาการเป็นคนแรกได้เสนอกฎ 2 ข้อ คือกฎการใช้และไม่ใช้ (LAW OF USE AND DISUSE)กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ (LAW OF INHERITANCE OF ACQUIRED CHARACTERISTICS)
    2.ทฤษฎีการเลือกสรรโดยธรรมชาติของดาร์วิน ค.ศ. 1859 ดาร์วินได้เสนอ ทฤษฎีการเกิดสิ่งมีชีวิตใหม่ เป็นผลอันเนื่องมาจากการคัดเลือกทางธรรมชาติ ทำให้สามารถเข้าใจการกระจายของพืชและสัตว์ ที่มีอยู่ประจำแต่ละท้องถิ่นตามหลักซึ่งภูมิศาสตร์

    ตอบลบ
  27. น.ส.ศสินีย์ โคตะวินนท์ เลขที่23 ม.6/2
    สิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปมีความซับซ้อนมากขึ้นและสิ่งมีชีวิตมีความพยายามที่จะอยู่รอดในธรรมชาติซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสรีระไปในทิศทางนั้น “หากอวัยวะใดที่มีการใช้งานมากในการดำรงชีวิตจะมีขนาดใหญ่ ส่วนอวัยวะใดที่ไม่ใช้จะค่อยๆลดขนาดและอ่อนแอลง และเสื่อมไปในที่สุด” แนวคิดดังกล่าวนี้ เรียกว่า กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse)
    การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการใช้และไม่ใช้นั้นจะคงอยู่ได้ และสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลักษณะที่เกิดใหม่นี้ไปสู่รุ่นลูกได้” แนวคิดดังกล่าว เรียกว่า กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่ได้มาขณะมีชีวิตอยู่ (Law of inheritance of acquired characteristic)

    ตอบลบ
  28. นางสาวอุทุมพร พรมสอน เลขที่50 ชั้น ม.6/2
    ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory)
    เป็นแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการทางชีววิทยาของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ซึ่งกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับ จากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง ในลักษณะที่มีการพัฒนาและก้าวหน้ากว่าขั้นที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีรูปแบบ เรียบง่ายไปสู่รูปแบบที่สลับซับซ้อนมากขึ้น และมีความเจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นสังคม ที่มีความสมบูรณ์
    Auguste Comte (ค.ศ. 1798 – 1857) เสนอว่า สังคมมนุษย์มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ (Knowledge) ผ่าน 3 ขั้นตอนตามลำดับ คือ จากขั้นเทววิทยา (Theological stage) ไปสู่ขั้นอภิปรัชญา (Metaphysical stage) และไปสู่ขั้นวิทยาศาสตร์ (Positivistic stage)
    Lewis Henry Morgan (ค.ศ. 1818 – 1881) เสนอว่า สังคมจะมีขั้นของการพัฒนา 3 ขั้นคือ จากสังคมคนป่า (Savage) ไปสู่สังคมอนาอารยชน (Barbarian) และไปสู่สังคมอารยธรรม (Civilized)
    Herbert Spencer (ค.ศ. 1820 – 1903) เสนอว่า วิวัฒนากรของสังคมมนุษย์เป็นแบบสายเดียว (Uni-linear) ที่ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกันด้วยและมารวมกันด้วยกระบวนการสังเคราะห์ (Synthesis) ทำให้เกิดพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น การพัฒนาของสังคมจะมีวิวัฒนาการเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ กล่าวคือ มนุษย์ที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดีจะมีชีวิตอยู่รอดตลอดไป และนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นต่อไป
    Ferdinand Tonnies (ค.ศ. 1855 – 1936) เสนอว่า สังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบ Gemeinschaft (Community) ไปสู่สังคมแบบ Gesellschaft (Society, Groups)
    Robert Redfield (ค.ศ. 1857 – 1958) เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมจะเริ่มจากสภาพของสังคม

    ตอบลบ
  29. นายภิสิทธิ์ เพียกคะ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 11
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    -คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) ผู้ซึ่งเชื่อว่า สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันชัดเจนนั้นจะมีความแตกต่างกันคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง และสมควรให้ชื่อที่เป็นภาษาลาตินแก่สปีชีส์อย่างชัดเจน
    -ลามาร์ค (Jean Lamarck) นักวิวัฒนาการชาวฝรั่งเศสได้เสนอความคิดในเรื่อง วิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตไว้เป็น 2 ข้อ คือ
    1. กฎแห่งการใช้ และไม่ใช้ (law of use and disuse) 2. กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ (law of inheritance of acquired characteristics)
    - ชาร์ลส์ ดาร์วิน ( Charles Darwin) ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วินดังนี้คือ “ความแปรผันที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตใด ๆ ก็ตามย่อมมีส่วนช่วยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตได้ ในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ส่วนความแปรผันที่ไม่เหมาะสม ทําให้สิ่งมีชีวิตถูกกําจัดไปด้วย เหตุนี้เมื่อเวลา ล่วงเลยไปนานขึ้นลักษณะที่เหมาะสมก็จะสะสมไปนานขึ้น ลักษณะที่เหมาะสม ก็จะสะสมไปนานขึ้น เกิดสิ่งมีชีวิตแตกต่าง จากเดิมมากมาย จนในที่สุดก็เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่”

    ตอบลบ
  30. น.ส.ศิลาลักษณ์ ตรีเหลา ม.6/2 เลขที่ 31
    แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการมีมานานแล้ว มีนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณให้แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิวัฒนาการด้วยกันหลายกลุ่ม เช่น
               อานักซีมันเดอร์ (Anaximander) มีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นหรือเป็นสัจจธรรมของสรรพสิ่งทั้งมวล ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้มากว่า 2547 ปีแล้ว
               ส่วนนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่ง นำโดย พลาโต (Plato) และลูกศิษย์รุ่นต่อ ๆ มา รวมทั้งอริสโตเติล (Aristotle) มีแนวความคิดว่า โลกนี้มีสภาพการณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น หากพิจารณาแนวความคิดทั้งสองกลุ่มจะเห็นได้ว่า แนวความคิดที่เชื่อสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการนั้นมีอิทธิพลน้อยมากต่อความคิดของคนในยุคต้น แต่แนวความคิดประเด็นหลังที่ว่าสิ่งมีชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนส่วนใหญ่ในแถบยุโรปและอเมริกาเป็นเวลายาวนาน

    ตอบลบ
  31. นางสาววราภรณ์ เทศารินทร์ เลขที่ 47 ม.6/2
    สรุป แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    ได้มีการสรุปไว้หลายท่าน
    1.อะแนกซีมานเดอร์ (Anaximander) โดยเสนอทฤษฎีพัฒนาการของอินทรีย์ ซึ่งมีรากฐานจากหลักของการให้ชีวิตอยู่รอดโดยการปรับตัวให้เข้ากับภาวะแวดล้อม
    2. ส่วนนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่ง นำโดย พลาโต (Plato) และลูกศิษย์รุ่นต่อ ๆ มา รวมทั้งอริสโตเติล (Aristotle) มีแนวความคิดว่า โลกนี้มีสภาพการณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
    3.คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) ผู้ซึ่งเชื่อว่า สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันชัดเจนนั้นจะมีความแตกต่างกันคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
    4. ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกๆที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์ ลามาร์กได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญในสองประเด็นอันเป็นที่ถกเถียงกันอย่างแพร่หลาย
    สรป แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 1 กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse) , แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 2 กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่ได้มาขณะมีชีวิตอยู่ (Law of inheritance of acquired characteristic)
    5.ชาร์ลส์ ดาร์วิน กับแนวคิดของดาร์วินดังกล่าว เรียกว่า ทฤษฏีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (theory of natural selection)

    ตอบลบ
  32. ชื่อนางสาวอภัสรา ลุนใต้ ชั้น ม.6/7 เลขที่ 18
    สรุปเรื่องวิวัฒนาการ
    ทฤษฎีวิวัฒนาการ คือแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามจะอธิบายว่าวิวัฒนาการมีจริงและเกิดขึ้น ได้อย่างไรโดยอาศัยหลักฐานทางด้านต่างๆประกอบและยืนยันแนวโน้มของวิวัฒนาการมีดังนี้

    1. เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไปข้างหน้าไม่ย้อนกลับ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากแบบ ง่าย ๆ เป็นซับซ้อนจากแบบโบราณเป็นแบบก้าวหน้าและจากแบบทั่วไปเป็นแบบจำเพาะเจาะจงเช่น การลดจํานวนของกระดูก ก้นกบหรือการเชื่อมของ กลีบดอกเป็นต้น

    2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจะถูกกำจัด หรือสูญหายไป

    ทฤษฎีวิวัฒนาการของนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่

    1. ทฤษฏีของลามาร์ค (Jean Lamarck)

    2. ทฤษฎีของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ( Charles Darwin)

    3. ทฤษฏีของดาร์วิน และ วอลเลช (Alfred Russel Wallace)



    ตอบลบ
  33. นางสาวจุฬารัตน์ มิคะ 6/7 เลขที่ 20
    *แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ*

    1.ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกๆที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์
    2.ไวส์มาน (August Weisman, พ.ศ. 2377-2457) ได้ทดลองตัดหางหนู 20 รุ่นให้สั้นลง แต่ปรากฏว่าหนูรุ่นที่ 21 ก็ยังคงมีหาง ไวส์มานจึงได้เสนอแนวคิดค้านลามาร์กว่า ลักษณะที่ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานได้นั้นต้องเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ไม่ใช่เซลล์ร่างกาย
    3.ลามาร์ก (Jean Baptiste de Lamarck) นักปราชญ์และนักวิชาการชาวฝรั่งเศษผู้ซึ่งมีแนวความคิดที่ซับซ้อนและลุ่มลึกเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการด้วย ซึ่งในส่วนนี้ช่วยให้ลามาร์กโด่งดังขึ้นในยุคนั้น ลามาร์กมีแนวความคิดเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต
    4.ลามาร์ค (Lamark,J.B.:1774-1829) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของสภาพแวดล้อมว่า สภาพแวดล้อมทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
    5. ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) กับ อัลเฟรด วอลเลซ (Alfred Russel Wallace) ได้เสนอข้อมูลและคำอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่น่าประทับใจและน่าจูงใจอย่างยิ่ง##

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. นางสาวจุฬารัตน์ มิคะ 6/7 เลขที่ 20
      *แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ*

      1.ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกๆที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์
      2.ไวส์มาน (August Weisman, พ.ศ. 2377-2457) ได้ทดลองตัดหางหนู 20 รุ่นให้สั้นลง แต่ปรากฏว่าหนูรุ่นที่ 21 ก็ยังคงมีหาง ไวส์มานจึงได้เสนอแนวคิดค้านลามาร์กว่า ลักษณะที่ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานได้นั้นต้องเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ไม่ใช่เซลล์ร่างกาย
      3.ลามาร์ก (Jean Baptiste de Lamarck) นักปราชญ์และนักวิชาการชาวฝรั่งเศษผู้ซึ่งมีแนวความคิดที่ซับซ้อนและลุ่มลึกเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการด้วย ซึ่งในส่วนนี้ช่วยให้ลามาร์กโด่งดังขึ้นในยุคนั้น ลามาร์กมีแนวความคิดเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต
      4.ลามาร์ค (Lamark,J.B.:1774-1829) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของสภาพแวดล้อมว่า สภาพแวดล้อมทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
      5. ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) กับ อัลเฟรด วอลเลซ (Alfred Russel Wallace) ได้เสนอข้อมูลและคำอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่น่าประทับใจและน่าจูงใจอย่างยิ่ง##

      ลบ
  34. นางสาวจุฬารัตน์ มิคะ 6/7 เลขที่ 20
    *แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ*

    1.ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกๆที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์
    2.ไวส์มาน (August Weisman, พ.ศ. 2377-2457) ได้ทดลองตัดหางหนู 20 รุ่นให้สั้นลง แต่ปรากฏว่าหนูรุ่นที่ 21 ก็ยังคงมีหาง ไวส์มานจึงได้เสนอแนวคิดค้านลามาร์กว่า ลักษณะที่ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานได้นั้นต้องเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ไม่ใช่เซลล์ร่างกาย
    3.ลามาร์ก (Jean Baptiste de Lamarck) นักปราชญ์และนักวิชาการชาวฝรั่งเศษผู้ซึ่งมีแนวความคิดที่ซับซ้อนและลุ่มลึกเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการด้วย ซึ่งในส่วนนี้ช่วยให้ลามาร์กโด่งดังขึ้นในยุคนั้น ลามาร์กมีแนวความคิดเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต
    4.ลามาร์ค (Lamark,J.B.:1774-1829) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของสภาพแวดล้อมว่า สภาพแวดล้อมทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
    5. ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) กับ อัลเฟรด วอลเลซ (Alfred Russel Wallace) ได้เสนอข้อมูลและคำอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่น่าประทับใจและน่าจูงใจอย่างยิ่ง##

    ตอบลบ
  35. นายกรวิทย์ จงมีสัตย์ ชั้น ม.6/7 เลขที่ 1 **วิวัฒนาการ**การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรมในประชากรสิ่งมีชีวิตจากบรรพบุรุษสืบทอดมานาน

    ตอบลบ
  36. นายกรวิทย์ จงมีสัตย์ ชั้น ม.6/7 เลขที่ 1 **แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต***1.ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกๆที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์
    2.ไวส์มาน (August Weisman, พ.ศ. 2377-2457) ได้ทดลองตัดหางหนู 20 รุ่นให้สั้นลง แต่ปรากฏว่าหนูรุ่นที่ 21 ก็ยังคงมีหาง ไวส์มานจึงได้เสนอแนวคิดค้านลามาร์กว่า ลักษณะที่ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานได้นั้นต้องเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ไม่ใช่เซลล์ร่างกาย
    3.ลามาร์ก (Jean Baptiste de Lamarck) นักปราชญ์และนักวิชาการชาวฝรั่งเศษผู้ซึ่งมีแนวความคิดที่ซับซ้อนและลุ่มลึกเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการด้วย ซึ่งในส่วนนี้ช่วยให้ลามาร์กโด่งดังขึ้นในยุคนั้น ลามาร์กมีแนวความคิดเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต
    4.ลามาร์ค (Lamark,J.B.:1774-1829) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของสภาพแวดล้อมว่า สภาพแวดล้อมทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

    ตอบลบ
  37. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  38. นายอภิสิทธิ์ มังคะรัตน์ ม6/7 เลขที่ 3
    ***แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ***


    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่ดูจะเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนั้นเป็นของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin, พ.ศ. 2352-2428) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ปีที่ดาร์วินเกิดอยู่ในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 และในอีก 50 ปีต่อมาดาร์วินได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง กำเนิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตโดยการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (The Origin of Species by Means of Natural Selection) ที่เขย่าวงการวิทยาศาสตร์และกระทบความเชื่อชาวตะวันตก จนได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย
    ดาร์วินเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrewsbury) ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวที่มีฐานะมั่งคั่ง บิดาของดาร์วินอยากให้เขาเรียนแพทย์แต่เนื่องจากนั่นไม่ได้มาจากความชอบส่วนตัว เขาจึงไม่สนใจเรียนเพราะฝักใฝ่สนใจกับการศึกษาธรรมชาติรอบตัว และมักชอบเดินทางเป็นระยะทางไกลเพื่อเก็บสะสมแมลงต่างๆ ดาร์วินเรียนแพทย์ได้เพียงสองปีเท่านั้นก็ลาออกมา บิดาจึงส่งให้ดาร์วินไปเรียนต่อวิชาเกี่ยวกับศาสนาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์จนจบการศึกษา

    ตอบลบ
  39. นายอภิสิทธิ์ มังคะรัตน์ ม6/7 เลขที่ 3
    ***แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ***
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่ดูจะเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนั้นเป็นของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin, พ.ศ. 2352-2428) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ปีที่ดาร์วินเกิดอยู่ในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 และในอีก 50 ปีต่อมาดาร์วินได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง กำเนิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตโดยการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (The Origin of Species by Means of Natural Selection) ที่เขย่าวงการวิทยาศาสตร์และกระทบความเชื่อชาวตะวันตก จนได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย
    ดาร์วินเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 ที่เมืองชรูเบอรี่ (Shrewsbury) ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวที่มีฐานะมั่งคั่ง บิดาของดาร์วินอยากให้เขาเรียนแพทย์แต่เนื่องจากนั่นไม่ได้มาจากความชอบส่วนตัว เขาจึงไม่สนใจเรียนเพราะฝักใฝ่สนใจกับการศึกษาธรรมชาติรอบตัว และมักชอบเดินทางเป็นระยะทางไกลเพื่อเก็บสะสมแมลงต่างๆ ดาร์วินเรียนแพทย์ได้เพียงสองปีเท่านั้นก็ลาออกมา บิดาจึงส่งให้ดาร์วินไปเรียนต่อวิชาเกี่ยวกับศาสนาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์จนจบการศึกษา

    ตอบลบ
  40. นางสาว พัชราวรรณ ใจศิริ ม.6/7 เลขที่35
    สรุป ***แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ***
    1.อะแนกซีมานเดอร์ (Anaximander) โดยเสนอทฤษฎีพัฒนาการของอินทรีย์ ซึ่งมีรากฐานจากหลักของการให้ชีวิตอยู่รอดโดยการปรับตัวให้เข้ากับภาวะแวดล้อม
    2. ส่วนนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่ง นำโดย พลาโต (Plato) และลูกศิษย์รุ่นต่อ ๆ มา รวมทั้งอริสโตเติล (Aristotle) มีแนวความคิดว่า โลกนี้มีสภาพการณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
    3.คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) ผู้ซึ่งเชื่อว่า สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันชัดเจนนั้นจะมีความแตกต่างกันคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
    4. ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกๆที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์ ลามาร์กได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญในสองประเด็นอันเป็นที่ถกเถียงกันอย่างแพร่หลาย
    สรป แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 1 กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse) , แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 2 กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่ได้มาขณะมีชีวิตอยู่ (Law of inheritance of acquired characteristic)
    5.ชาร์ลส์ ดาร์วิน กับแนวคิดของดาร์วินดังกล่าว เรียกว่า ทฤษฏีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (theory of natural selection)

    ตอบลบ
  41. น.ส.อัญชลี มีคะ ม.6/7เลขที่ 19
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    * แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 1
    แนวคิดของลามาร์กประเด็นแรกกล่าวว่า สิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปมีความซับซ้อนมากขึ้นและสิ่งมีชีวิตมีความพยายามที่จะอยู่รอดในธรรมชาติซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสรีระไปในทิศทางนั้น “หากอวัยวะใดที่มีการใช้งานมากในการดำรงชีวิตจะมีขนาดใหญ่ ส่วนอวัยวะใดที่ไม่ใช้จะค่อยๆลดขนาดและอ่อนแอลง และเสื่อมไปในที่สุด” แนวคิดดังกล่าวนี้ เรียกว่า กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse)
    ** แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 2
    ประเด็นที่สองมีความเกี่ยวเนื่องต่อจากประเด็นแรกที่ว่า “การเปลี่ยนแปลงของ
    สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการใช้และไม่ใช้นั้นจะคงอยู่ได้ และสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลักษณะที่เกิดใหม่นี้ไปสู่รุ่นลูกได้” แนวคิดดังกล่าว เรียกว่า กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่ได้มาขณะมีชีวิตอยู่ (Law of inheritance of acquired characteristic)

    ตอบลบ
  42. นาย ณัฐพงษ์ อำนักขันธ์ ม.6/7 เลขที่4
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    * แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 1
    แนวคิดของลามาร์กประเด็นแรกกล่าวว่า สิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปมีความซับซ้อนมากขึ้นและสิ่งมีชีวิตมีความพยายามที่จะอยู่รอดในธรรมชาติซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสรีระไปในทิศทางนั้น “หากอวัยวะใดที่มีการใช้งานมากในการดำรงชีวิตจะมีขนาดใหญ่ ส่วนอวัยวะใดที่ไม่ใช้จะค่อยๆลดขนาดและอ่อนแอลง และเสื่อมไปในที่สุด” แนวคิดดังกล่าวนี้ เรียกว่า กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse)
    ** แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 2
    ประเด็นที่สองมีความเกี่ยวเนื่องต่อจากประเด็นแรกที่ว่า “การเปลี่ยนแปลงของ
    สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการใช้และไม่ใช้นั้นจะคงอยู่ได้ และสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลักษณะที่เกิดใหม่นี้ไปสู่รุ่นลูกได้” แนวคิดดังกล่าว เรียกว่า กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่ได้มาขณะมีชีวิตอยู่ (Law of inheritance of acquired characteristic)

    ตอบลบ
  43. นายชิตณรงค์ กุลมงกฏ ม.6/7เลขที่13
    แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    * แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 1
    แนวคิดของลามาร์กประเด็นแรกกล่าวว่า สิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปมีความซับซ้อนมากขึ้นและสิ่งมีชีวิตมีความพยายามที่จะอยู่รอดในธรรมชาติซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสรีระไปในทิศทางนั้น “หากอวัยวะใดที่มีการใช้งานมากในการดำรงชีวิตจะมีขนาดใหญ่ ส่วนอวัยวะใดที่ไม่ใช้จะค่อยๆลดขนาดและอ่อนแอลง และเสื่อมไปในที่สุด” แนวคิดดังกล่าวนี้ เรียกว่า กฎการใช้และไม่ใช้ (Law of use and disuse)
    ** แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 2
    ประเด็นที่สองมีความเกี่ยวเนื่องต่อจากประเด็นแรกที่ว่า “การเปลี่ยนแปลงของ
    สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการใช้และไม่ใช้นั้นจะคงอยู่ได้ และสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลักษณะที่เกิดใหม่นี้ไปสู่รุ่นลูกได้” แนวคิดดังกล่าว เรียกว่า กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่ได้มาขณะมีชีวิตอยู่ (Law of inheritance of acquired characteristic)

    ตอบลบ
  44. ชไมพร ผลชื่น ม.6/7 เลขที่26
    ***แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ***
    1.ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกๆที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์
    2.ไวส์มาน (August Weisman, พ.ศ. 2377-2457) ได้ทดลองตัดหางหนู 20 รุ่นให้สั้นลง แต่ปรากฏว่าหนูรุ่นที่ 21 ก็ยังคงมีหาง ไวส์มานจึงได้เสนอแนวคิดค้านลามาร์กว่า ลักษณะที่ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานได้นั้นต้องเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ไม่ใช่เซลล์ร่างกาย
    3.ลามาร์ก (Jean Baptiste de Lamarck) นักปราชญ์และนักวิชาการชาวฝรั่งเศษผู้ซึ่งมีแนวความคิดที่ซับซ้อนและลุ่มลึกเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการด้วย ซึ่งในส่วนนี้ช่วยให้ลามาร์กโด่งดังขึ้นในยุคนั้น ลามาร์กมีแนวความคิดเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต
    4.ลามาร์ค (Lamark,J.B.:1774-1829) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของสภาพแวดล้อมว่า สภาพแวดล้อมทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

    ตอบลบ
  45. ชไมพร ผลชื่น ม.6/7 เลขที่26
    ***แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ***
    1.ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกๆที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์
    2.ไวส์มาน (August Weisman, พ.ศ. 2377-2457) ได้ทดลองตัดหางหนู 20 รุ่นให้สั้นลง แต่ปรากฏว่าหนูรุ่นที่ 21 ก็ยังคงมีหาง ไวส์มานจึงได้เสนอแนวคิดค้านลามาร์กว่า ลักษณะที่ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานได้นั้นต้องเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ไม่ใช่เซลล์ร่างกาย
    3.ลามาร์ก (Jean Baptiste de Lamarck) นักปราชญ์และนักวิชาการชาวฝรั่งเศษผู้ซึ่งมีแนวความคิดที่ซับซ้อนและลุ่มลึกเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการด้วย ซึ่งในส่วนนี้ช่วยให้ลามาร์กโด่งดังขึ้นในยุคนั้น ลามาร์กมีแนวความคิดเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต
    4.ลามาร์ค (Lamark,J.B.:1774-1829) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของสภาพแวดล้อมว่า สภาพแวดล้อมทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

    ตอบลบ
  46. ชไมพร ผลชื่น ม.6/7 เลขที่26
    ***แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ***
    1.ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck, พ.ศ. 2287-2372) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกๆที่ได้นำเสนอแนวคิดปฏิวัติเรื่องวิวัฒนาการจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้นกับหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ในพิพิธภัณฑ์
    2.ไวส์มาน (August Weisman, พ.ศ. 2377-2457) ได้ทดลองตัดหางหนู 20 รุ่นให้สั้นลง แต่ปรากฏว่าหนูรุ่นที่ 21 ก็ยังคงมีหาง ไวส์มานจึงได้เสนอแนวคิดค้านลามาร์กว่า ลักษณะที่ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานได้นั้นต้องเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ไม่ใช่เซลล์ร่างกาย
    3.ลามาร์ก (Jean Baptiste de Lamarck) นักปราชญ์และนักวิชาการชาวฝรั่งเศษผู้ซึ่งมีแนวความคิดที่ซับซ้อนและลุ่มลึกเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการด้วย ซึ่งในส่วนนี้ช่วยให้ลามาร์กโด่งดังขึ้นในยุคนั้น ลามาร์กมีแนวความคิดเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต
    4.ลามาร์ค (Lamark,J.B.:1774-1829) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของสภาพแวดล้อมว่า สภาพแวดล้อมทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

    ตอบลบ
  47. ชื่อ นางสาวจุฬารัตน์ ไชยสัตย์ ม.6/7 เลขที่ 25
    แนวคิดของลามาร์กประเด็นแรกกล่าวว่า สิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปมีความซับซ้อนมากขึ้นและสิ่งมีชีวิตมีความพยายามที่จะอยู่รอดในธรรมชาติซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสรีระไปในทิศทางนั้น “หากอวัยวะใดที่มีการใช้งานมากในการดำรงชีวิตจะมีขนาดใหญ่ ส่วนอวัยวะใดที่ไม่ใช้จะค่อยๆลดขนาดและอ่อนแอลง และเสื่อมไปในที่สุด” แนวคิดดังกล่าวนี้ เรียกว่า กฎการใช้และไม่ใช้แนวคิดของลามาร์ก ประเด็นที่ 2
    ประเด็นที่สองมีความเกี่ยวเนื่องต่อจากประเด็นแรกที่ว่า “การเปลี่ยนแปลงของ
    สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการใช้และไม่ใช้นั้นจะคงอยู่ได้ และสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลักษณะที่เกิดใหม่นี้ไปสู่รุ่นลูกได้” แนวคิดดังกล่าว เรียกว่า กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่ได้มาขณะมีชีวิตอย

    ตอบลบ
  48. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  49. ฉัตรฤดี ไตรราช 6/7 37

    ตอบลบ

The Human Respiratory System

This system includes the lungs, pathways connecting them to the outside environment, and structures in the chest involved with moving air in...