วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การพัฒนากับวิวัฒนาการ

                   วิวัฒนาการร่วมกัน การวิวัฒนาการร่วมกัน (coevolution) อาจเกิดขึ้นรวดเร็วพอที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่มนุษย์ไปรบกวนกระบวนการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
coevolution
ตัวอย่างเช่น การใช้ไวรัสเพื่อการควบคุมประชากรกระต่ายในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้มีผู้นำเอากระต่ายเลี้ยงจากประเทศอังกฤษเข้าไปเลี้ยงในประเทศออสเตรเลีย ที่ซึ่งอาหารการกินอุดมสมบูรณ์และไม่มีศัตรูทำลายกระต่ายจึงทำให้ประชากรกระต่ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากอย่างน่าตกใจจนทำให้กระต่ายเหล่านั้นเป็นตัวทำลายพืชผลของเกษตรกรชาวออสเตรเลียไปโดยมิได้ตั้งใจ เมื่อมีเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นนักวิทยาศาสตร์ก็พยายามหาทางกำจัด หรือควบคุมประชากรกระต่ายโดยใช้ไวรัสพวกมิกโซมาโทซิส (myxxomatosis) ซึ่งทำให้เกิดโรคในกระต่ายอย่างรุนแรงจนถึงตายได้ ทำให้การควบคุมประชากรกระต่ายดังกล่าวได้ผลดียิ่ง โดยมีอัตราการตายของกระต่ายสูงถึงเกือบร้อยละ 99 ในระยะเริ่มต้นของการปล่อยเชื้อไวรัสซึ่งยังความปิติให้แก่นักวิชาการและประชาชนทั่วไปที่คิดว่าประสบความสำเร็จ แต่ก็ดีใจไม่ได้นานเพราะพวกกระต่ายที่สามารถพัฒนาภูมิต้านทานต่อสู้กับเชื้อไวรัสและสามารถรอดตายจากโรคร้ายที่เกิดจากไวรัสนั้นได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และยังคงมีกระต่ายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากยุโรปอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับประชากรกระต่ายดังกล่าวสามารถอธิบายได้โดยหลักวิวัฒนาการ คือ มีการคัดเลือกตามธรรมชาติเกิดขึ้นกับพันธุ์กระต่ายที่สามารถทนทานต่อเชื้อไวรัสนั้นได้ ในขณะเดียวกันการคัดเลือกตามธรรมชาติก็เกิดขึ้นกับเชื้อไวรัสมิกโซมาโทซิสโดยการพัฒนาเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ที่มีฤทธิ์รุนแรงต่อกระต่ายตามติดไปด้วย ซึ่งลักษณะพันธุกรรมที่มีฤทธิ์รุนแรงจะถ่ายทอดจากกระต่ายตัวหนึ่งสู่อีกตัวหนึ่งโดยอาศัยยุงเป็นพาหะ ไวรัสพันธุ์ที่ไม่รุนแรงมากนักจนถึงกับทำให้กระต่ายตายก็จะสามารถดำรงพันธุ์ต่อไปได้โดยถูกถ่ายทอดไปสู่กระต่ายตัวอื่นต่อไปโดยอาศัยยุงที่เป็นพาหะที่มากินเลือดกระต่ายตัวที่ป่วยด้วยไวรัสนั้น ในขณะที่ไวรัสพันธุ์รุนแรงมาก ๆ จนถึงกับเป็นอันตรายต่อชีวิตกระต่ายก็มักจะไม่ค่อยถ่ายทอดต่อไปยังกระต่ายตัวอื่น เพราะยุงที่เป็นพาหะนั้นจะดูดกินเลือดจากกระต่ายที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ดังนั้นการคัดเลือกตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับพันธุ์กระต่ายที่ต้านทานเชื้อไวรัสและที่เกิดขึ้นกับพันธุ์ไวรัสชนิดที่ไม่รุนแรงจนถึงกับทำให้กระต่ายตายนั้นส่งผลให้กระต่ายและไวรัสสามารถปรับตัวร่วมกันและวิวัฒนาการร่วมกันมาได้จนถึงสภาวะสมดุลดังที่เป็นอยู่ในประเทศออสเตรเลียขณะนี้

                การวิวัฒนาการร่วมกันมักพบบ่อยอยู่เสมอ ๆ ในเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสกับพืช หรือสัตว์ที่ถูกอาศัย ที่เรียกว่า โฮสต์ (host) แม้กระทั่งไวรัสชนิดที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ คือ HIV ไวรัสกลุ่มนี้ก็คงจะอยู่ในระหว่างกระบวนคัดเลือกตามธรรมชาติและการปรับตัวไปพร้อม ๆ กันกับการปรับตัวของมนุษย์ในเชิงการพัฒนาภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับภัยจากเชื้อไวรัสเอดส์ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร
                เชื้อโรคที่ดื้อยา
                ยารักษาโรคและยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีตก็สร้างปัญหาให้แก่วงการแพทย์เช่นเดียวกัน เพราะการปรับตัวดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดท้องหรือท้องร่วง แบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรคและหนองหรือฝีต่าง ๆ อันเนื่องจากการคัดตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย นอกจาการปรับตัวของเชื้อแบคมีเรียชนิดที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องเองแล้วยังพบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะผสมเจือปนในอาหารสัตว์เลี้ยง ก็มีส่วนช่วยให้แบคทีเรียที่อยู่ในส่วนของลำไส้คนสามารถพัฒนาการดื้อยาปฏิชีวนะได้อีกทางหนึ่งด้วย ฉะนั้นในบางประเทศจึงมีข้อห้ามมิให้นำเอายาปฏิชีวนะชนิดที่ใช้สำหรับบำบัดรักษาโรคติดเชื้อในคนไปใช้ผสมเจือปนในอาหารเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว เพื่อป้องกันมิให้เชื้อแบคทีเรียชนิดก่อให้เกิดโรคในคนด้วยนั้นพัฒนาปรับตัวดื้อยาปฏิชีวนะนั้นได้อีกทางหนึ่ง
           อย่างไรก็ตามอาจยังโชคดีอยู่บ้างที่เชื้อแบคทีเรียบางชนิดก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการปรับตัวให้ดื้อยาได้ง่ายนักเหมือนอย่างชนิดดังกล่าวมาแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังคงกังขาในคุณสมบัติของพันธุกรรมที่แตกต่างกันระหว่างแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ กัน เป็นที่น่าสังเกตว่าเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่จะสามารถปรับตัวดื้อยาปฏิชีวนะที่นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาและสังเคราะห์ขึ้นมา ยกเว้นเพนิซิลลินซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะทางธรรมชาติชนิดแรกที่ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์และยังคงมีประสิทธิภาพดีอยู่จนถึงทุกวันนี้
                การดื้อสารฆ่าแมลง
                หลังสงครามโลกครั้งที่สองได้มีนำสารเคมีที่เรารู้จักกันดีคือ ดีดีที ที่นำมาใช้ฆ่าแมลงด้วยความหวังอันยิ่งใหญ่ว่าจะสามารถใช้ปราบแมลงศัตรูพืชและแมลงพาหะชนิดต่าง ๆ ให้ราบคาบแต่พอเริ่มนำมาใช้ในไม่ช้าไม่นาน ก็พบว่าแมลงวันบ้านเริ่มมีการดื้อยาดีดีทีในปี พ.ศ. 2489 และอีก 2 ปีต่อมาก็พบว่ามีแมลงไม่น้อยกว่า 12 สปีชีส์ สามารถดื้อสารดีดีทีได้อีกซึ่งเริ่มสร้างความกังวลให้แก่นักวิชาการได้บ้างในขณะนั้นและพยายามติดตามผลการดื้อสารดีดีทีของแมลงชนิดต่าง ๆ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2509 ก็พบว่ามีแมลงดื้อสารดีดีทีมีมากมายถึง 165 สปีชีส์ หรือมากกว่านี้ ในกรณีนี้ถือว่า ดีดีที เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดแรงกดดันทางการคัดเลือกตามธรรมชาติให้แก่แมลงพวกที่มีพันธุกรรมหรือยีนที่มีคุณสมบัติในการดื้อสารดีดีที โดยเฉพาะยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ย่อยสลายสารดีดีที ได้ในร่างกายของแมลงก่อนที่ยานี้จะออกฤทธิ์ เนื่องจากดีดีทีเป็นสารที่มีฤทธิ์ตกค้างและสร้างความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิตนานาชนิดรวมทั้งมนุษย์ด้วยและก่อให้เกิดมลภาวะอย่างมากมาย จึงมีการลดบทบาทการใช้สารดีดีทีลงตามลำดับ และขีดวงการใช้ยาดีดีที อย่างจำกัดภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด บทเรียนจากสารดีดีทีช่วยสอนให้มนุษย์ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากสำหรับการนำสารเคมีใหม่ ๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้ฆ่าแมลงศัตรูและแมลงพาหะในปัจจุบัน สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคือการนำสารเคมีหรือยาธรรมชาติที่สกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้ทั้งในด้านการเกษตรและการแพทย์ ตามแบบเทคโนโลยีที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมานานในสังคมชาวตะวันออก

           ให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ สืบค้นข้อมูลเพื่อช่วยกันหาคำตอบจากคำถามต่อไปนี้
           1. นักเรียนคิดว่าสารฆ่าแมลงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลในประชากรอย่างไร และสิ่งที่ทำให้เกิดการคัดเลือกในประชากรแมลงคืออะไร ?
คำตอบ แมลงที่ไม่มียีนต้านทานสารฆ่าแมลงจะตายไป ส่วนแมลงที่มียีนต้านทานสารฆ่าแมลงก็ยังคงมีชีวิตอยู่ และสืบทอดยีนนี้ให้แก่ลูกหลานต่อไป ฉะนั้นยีนบางยีนถูกคัดทิ้งส่วนยีนที่เหลืออยู่ก็จะมีมากขึ้นในประชากรแมลง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลในประชากร
           2. ถ้านักเรียนเป็นเกษตรกรจะมีวิธีหลีกเลี่ยงการใช้สารฆ่าแมลงอย่างไร ?
คำตอบ ใช้สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ล่าหรือศัตรูของแมลงนั้นกำจัดแมลง จะทำให้จำนวนของแมลงลดลงเรียกว่า ชีววิธี
           3. นักเรียนคิดว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร เพื่อป้องกันการดื้อยาของแบคทีเรีย ?
คำตอบ ทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามที่แพทย์สั่งเพื่อป้องกันการดื้อยาของแบคทีเรีย
           4. นักเรียนคิดว่าการดื้อยาของแบคทีเรียเป็นกลไกการเกิดวิวัฒนาการหรือไม่ เพราะเหตุใด ?
คำตอบ เป็นเนื่องจากแบคทีเรียที่ไม่มียีนต้านทานต่อยาปฏิชีวนะจะตายไป ขณะที่แบคทีเรียที่มียีนต้านทานยาปฏิชีวนะจะยังคงมีชีวิตอยู่และสืบทอดลักษณะดังกล่าวนี้ไปยังรุ่นต่อๆ ไป ทำให้แบคทีเรียมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป หรือเกิดวิวัฒนาการ

74 ความคิดเห็น:

  1. นางสาวพัชรินทร์ บริหาร เลขที่ 28 ม.6/2
    สรุป การพัฒนากับวิวัฒนาการ เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย เช่น
    การดื้อสารฆ่าแมลง
    มนุษย์ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกันมานาน แม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะได้ผล แต่ความเป็นพิษของสารเคมียังตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษอย่างมาก การใช้ยาฆ่าแมลงครั้งแรกอาจกำจัดแมลงได้ผล แมลงตายเกือบหมด แต่แมลงบางตัวมียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงจะมีชีวิตรอดและให้กำเนิดลูกหลานที่มียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในประชากรมากขึ้น ทำให้แมลงดื้อยา จนต้องเปลี่ยนชนิดของยาฆ่าแมลงใหม่
    การดื้อยาปฏิชีวนะ
    การใช้ยาปฏิชีวนะทำให้แบคทีเรียบางสายพันธุ์ตายไป บางสายพันธุ์สามารถต้านทานได้ และมีชีวิตอยู่รอดและสืบทอดไปยังรุ่นต่อไปเจริญขึ้นมาแทนที่ ทำให้มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องคิดยาตัวใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกันกับที่แบคทีเรียมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมในประชากรให้ต้านทานยาปฏิชีวนะด้วยเช่นกัน การดื้อยานอกจากจะเกิดในระหว่างที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคแล้ว ยังเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะที่ติดมากับอาหารได้อีกด้วย

    ตอบลบ
  2. นางสาวประภัสรา เนื่องขันตรี ชั้น ม.6/2 เลขที่ 36
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    1.การดื้อยาสารฆ่าแมลงเช่น การใช้ดีดีที มาฆ่าแมลงศัตรูพืช ครั้งแรกได้ผลเกือบ 100% ต่อมามีแมลง สามารถดื้อยาเพิ่มขึ้นเกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติขึ้น บทเรียนดังกล่าวช่วยสอนให้มนุษย์ต้องใช้ความระวังอย่างมากในการนำสารเคมีชนิดใหม่ ๆมาใช้ฆ่าแมลงศัตรูและแมลงพาหะในปัจจุบัน
    2. การดื้อยาปฏิชีวนะยารักษาโรค และยาปฏิชีวนะที่นำ มาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีต ปัจจุบันพบว่าแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะดังกล่าวจึงรักษาโรคไม่หาย (เพราะเกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย)ยกเว้น เพนนิซิลิน เป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่ยังมีประสิทธิภาพดีอยู่จนถึงปัจจุบัน

    ตอบลบ
  3. น.ส.สุพัตรา เขตเวียง ม.6/2 เลขที่ 24
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    - การดื้อสารฆ่าแมลง
    มนุษย์ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกันมานาน แม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะได้ผล แต่ความเป็นพิษของสารเคมียังตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษอย่างมาก การใช้ยาฆ่าแมลงครั้งแรกอาจกำจัดแมลงได้ผล แมลงตายเกือบหมด แต่แมลงบางตัวมียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงจะมีชีวิตรอดและให้กำเนิดลูกหลานที่มียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในประชากรมากขึ้น ทำให้แมลงดื้อยา จนต้องเปลี่ยนชนิดของยาฆ่าแมลงใหม่
    - การดื้อยาปฏิชีวนะ
    การใช้ยาปฏิชีวนะทำให้แบคทีเรียบางสายพันธุ์ตายไป บางสายพันธุ์สามารถต้านทานได้ และมีชีวิตอยู่รอดและสืบทอดไปยังรุ่นต่อไปเจริญขึ้นมาแทนที่ ทำให้มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องคิดยาตัวใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกันกับที่แบคทีเรียมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมในประชากรให้ต้านทานยาปฏิชีวนะด้วยเช่นกัน การดื้อยานอกจากจะเกิดในระหว่างที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคแล้ว ยังเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะที่ติดมากับอาหารได้อีกด้วย

    ตอบลบ
  4. นางสาวเจนจิรา ภารนาถ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 34
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    วิวัฒนาการร่วมกัน การวิวัฒนาการร่วมกัน (coevolution) อาจเกิดขึ้นรวดเร็วพอที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่มนุษย์ไปรบกวนกระบวนการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
    เชื้อโรคที่ดื้อยา
    ยารักษาโรคและยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีตก็สร้างปัญหาให้แก่วงการแพทย์เช่นเดียวกัน เพราะการปรับตัวดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
    การดื้อสารฆ่าแมลง
    บทเรียนจากสารดีดีทีช่วยสอนให้มนุษย์ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากสำหรับการนำสารเคมีใหม่ ๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้ฆ่าแมลงศัตรูและแมลงพาหะในปัจจุบัน สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคือการนำสารเคมีหรือยาธรรมชาติที่สกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้ทั้งในด้านการเกษตรและการแพทย์ ตามแบบเทคโนโลยีที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมานานในสังคมชาวตะวันออก

    ตอบลบ
  5. การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    ตัวอย่างเช่น การใช้ไวรัสเพื่อการควบคุมประชากรกระต่ายในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้มีผู้นำเอากระต่ายเลี้ยงจากประเทศอังกฤษเข้าไปเลี้ยงในประเทศออสเตรเลีย ที่ซึ่งอาหารการกินอุดมสมบูรณ์และไม่มีศัตรูทำลายกระต่ายจึงทำให้ประชากรกระต่ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากอย่างน่าตกใจจนทำให้กระต่ายเหล่านั้นเป็นตัวทำลายพืชผลของเกษตรกรชาวออสเตรเลียไปโดยมิได้ตั้งใจ เมื่อมีเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นนักวิทยาศาสตร์ก็พยายามหาทางกำจัด หรือควบคุมประชากรกระต่ายโดยใช้ไวรัสพวกมิกโซมาโทซิส (myxxomatosis) ซึ่งทำให้เกิดโรคในกระต่ายอย่างรุนแรงจนถึงตายได้ ทำให้การควบคุมประชากรกระต่ายดังกล่าวได้ผลดียิ่ง โดยมีอัตราการตายของกระต่ายสูงถึงเกือบร้อยละ 99 ในระยะเริ่มต้นของการปล่อยเชื้อไวรัสซึ่งยังความปิติให้แก่นักวิชาการ
    นายกฤษฎา โนวะ เลขที่ 1 ม.6/2

    ตอบลบ
  6. นายสิทธิศักดิ์ ประทุมชาติ เลขที่ 13 ม. 6/2
    วิวัฒนาการร่วมกัน การวิวัฒนาการร่วมกัน (coevolution) อาจเกิดขึ้นรวดเร็วพอที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่มนุษย์ไปรบกวนกระบวนการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การวิวัฒนาการร่วมกันมักพบบ่อยอยู่เสมอ ๆ ในเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสกับพืช หรือสัตว์ที่ถูกอาศัย ที่เรียกว่า โฮสต์ (host) แม้กระทั่งไวรัสชนิดที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ คือ HIV ไวรัสกลุ่มนี้ก็คงจะอยู่ในระหว่างกระบวนคัดเลือกตามธรรมชาติและการปรับตัวไปพร้อม ๆ กันกับการปรับตัวของมนุษย์ในเชิงการพัฒนาภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับภัยจากเชื้อไวรัสเอดส์ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร
    เชื้อโรคที่ดื้อยา
    ยารักษาโรคและยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีตก็สร้างปัญหาให้แก่วงการแพทย์เช่นเดียวกัน เพราะการปรับตัวดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดท้องหรือท้องร่วง แบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรคและหนองหรือฝีต่าง ๆ

    ตอบลบ
  7. นางสาวกาญนาพร แสนชมภู ม6/2 เลขที่32
    วิวัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่ภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น เช่น วิวัฒนาการ
    แห่งมนุษยชาติ วิวัฒนาการแห่งศิลปวัฒนธรรม เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ในระยะยาวนานและต่อเนื่อง

    ส่วน

    พัฒนาการ คือ การทําความเจริญ, การเปลี่ยนแปลงในทางเจริญขึ้น, การคลี่คลายไปในทางดี เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ระยะสั้นกว่า เห็นผลเร็วกว่า

    ตอบลบ
  8. น.ส.พชรพร ศิลาพัฒน์ ม. 6/2 เลขที่ 37
    การวิวัฒนาการร่วมกัน (coevolution) อาจเกิดขึ้นรวดเร็วพอที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่มนุษย์ไปรบกวนกระบวนการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
    การวิวัฒนาการร่วมกันมักพบบ่อยอยู่เสมอ ๆ ในเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสกับพืช หรือสัตว์ที่ถูกอาศัย ที่เรียกว่า โฮสต์ (host) แม้กระทั่งไวรัสชนิดที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ คือ HIV ไวรัสกลุ่มนี้ก็คงจะอยู่ในระหว่างกระบวนคัดเลือกตามธรรมชาติและการปรับตัวไปพร้อม ๆ กันกับการปรับตัวของมนุษย์ในเชิงการพัฒนาภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับภัยจากเชื้อไวรัสเอดส์ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร
    เชื้อโรคที่ดื้อยา
    ยารักษาโรคและยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีตก็สร้างปัญหาให้แก่วงการแพทย์เช่นเดียวกัน เพราะการปรับตัวดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
    การดื้อสารฆ่าแมลง
    หลังสงครามโลกครั้งที่สองได้มีนำสารเคมีที่เรารู้จักกันดีคือ ดีดีที ที่นำมาใช้ฆ่าแมลงด้วยความหวังอันยิ่งใหญ่ว่าจะสามารถใช้ปราบแมลงศัตรูพืชและแมลงพาหะชนิดต่าง ๆ ให้ราบคาบแต่พอเริ่มนำมาใช้ในไม่ช้าไม่นาน ก็พบว่าแมลงวันบ้านเริ่มมีการดื้อยาดีดีทีในปี พ.ศ. 2489

    ตอบลบ
  9. นางสาวตรีรัตน์ ดวงวิสุ่ย เลขที่ 44 ชั้น ม.6/2
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย เช่น
    การดื้อสารฆ่าแมลง
    มนุษย์ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกันมานาน แม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะได้ผล แต่ความเป็นพิษของสารเคมียังตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษอย่างมาก การใช้ยาฆ่าแมลงครั้งแรกอาจกำจัดแมลงได้ผล แมลงตายเกือบหมด แต่แมลงบางตัวมียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงจะมีชีวิตรอดและให้กำเนิดลูกหลานที่มียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในประชากรมากขึ้น ทำให้แมลงดื้อยา จนต้องเปลี่ยนชนิดของยาฆ่าแมลงใหม่

    ตอบลบ
  10. น.ส.กิตติมา ทานนท์ เลขที่ 20 ชั้น ม.6/2
    สรุป : การพัฒนาการกับวิวัฒนาการ
    การวิวัฒนาการร่วมกัน (coevolution) อาจเกิดขึ้นรวดเร็วพอที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่มนุษย์ไปรบกวนกระบวนการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การวิวัฒนาการร่วมกันมักพบบ่อยอยู่เสมอ ๆ ในเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสกับพืช หรือสัตว์ที่ถูกอาศัย ที่เรียกว่า โฮสต์ (host) แม้กระทั่งไวรัสชนิดที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ คือ HIV ไวรัสกลุ่มนี้ก็คงจะอยู่ในระหว่างกระบวนคัดเลือกตามธรรมชาติและการปรับตัวไปพร้อม ๆ กันกับการปรับตัวของมนุษย์ในเชิงการพัฒนาภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับภัยจากเชื้อไวรัสเอดส์ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร
    - เชื้อโรคที่ดื้อยา
    ยารักษาโรคและยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีตก็สร้างปัญหาให้แก่วงการแพทย์เช่นเดียวกัน เพราะการปรับตัวดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดท้องหรือท้องร่วง
    - การดื้อสารฆ่าแมลง
    หลังสงครามโลกครั้งที่สองได้มีนำสารเคมีที่เรารู้จักกันดีคือ ดีดีที ที่นำมาใช้ฆ่าแมลงด้วยความหวังอันยิ่งใหญ่ว่าจะสามารถใช้ปราบแมลงศัตรูพืชและแมลงพาหะชนิดต่าง ๆ ให้ราบคาบแต่พอเริ่มนำมาใช้ในไม่ช้าไม่นาน ก็พบว่าแมลงวันบ้านเริ่มมีการดื้อยาดีดีทีในปี พ.ศ. 2489และอีก 2 ปีต่อมาก็พบว่ามีแมลงไม่น้อยกว่า 12 สปีชีส์ สามารถดื้อสารดีดีทีได้อีก

    ตอบลบ
  11. นางสาวเพ็ญนภา โยธาฤทธิ์ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 39
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    1.การดื้อยาสารฆ่าแมลง เช่น การใช้ดีดีที มาฆ่าแมลงศัตรูพืช ครั้งแรกได้ผลเกือบ 100% ต่อมามีแมลง สามารถดื้อยาเพิ่มขึ้น เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติขึ้น บทเรียนดังกล่าวช่วยสอนให้มนุษย์ต้องใช้ความระวังอย่างมากในการนำสารเคมีชนิดใหม่ ๆ มาใช้ฆ่าแมลงศัตรูและแมลงพาหะในปัจจุบัน (สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือ การนำ สารเคมี หรือยาธรรมชาติที่สกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้ในทางการเกษตรและทางการแพทย์ตามแบบของเทคโนโลยีที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
    2. การดื้อยาปฏิชีวนะ
    ยารักษาโรค และยาปฏิชีวนะที่นำ มาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีต ปัจจุบันพบว่าแบคทีเรีย ดื้อยาปฏิชีวนะดังกล่าวจึงรักษาโรคไม่หาย (เพราะเกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย) ยกเว้น เพนนิซิลิน เป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่ยังมีประสิทธิภาพดีอยู่จนถึงปัจจุบัน

    ตอบลบ
  12. เชื้อโรคที่ดื้อยา
    ยารักษาโรคและยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีตก็สร้างปัญหาให้แก่วงการแพทย์เช่นเดียวกัน เพราะการปรับตัวดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดท้องหรือท้องร่วง
    การดื้อสารฆ่าแมลง
    หลังสงครามโลกครั้งที่สองได้มีนำสารเคมีที่เรารู้จักกันดีคือ ดีดีที ที่นำมาใช้ฆ่าแมลงด้วยความหวังอันยิ่งใหญ่ว่าจะสามารถใช้ปราบแมลงศัตรูพืชและแมลงพาหะชนิดต่าง ๆ ให้ราบคาบแต่พอเริ่มนำมาใช้ในไม่ช้าไม่นาน ก็พบว่าแมลงวันบ้านเริ่มมีการดื้อยาดีดีทีในปี พ.ศ. 2489
    นายอนุพงค์ อุตมสีขันธ์ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 14

    ตอบลบ
  13. นางสาวจริยา ปรึกไธสง เลขที่33 ม. 6/2
    1.การดื้อยาสารฆ่าแมลง
    เช่น การใช้สารเคมีมาฆ่าแมลงศัตรูพืช ครั้งแรกได้ผลเกือบ 100% ต่อมามีแมลง สามารถดื้อยาเพิ่มขึ้น
    เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติขึ้น บทเรียนดังกล่าวช่วยสอนให้มนุษย์ต้องใช้ความระวังอย่างมากในการนำสารเคมีชนิดใหม่ ๆมาใช้ฆ่าแมลงศัตรูและแมลงพาหะในปัจจุบัน สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือ การนำ สารเคมี หรือยาธรรมชาติที่สกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้ในทางการเกษตรและทางการแพทย์ตามแบบของเทคโนโลยีที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่นชาวไทยและชาวเอเชียทั้งหลาย
    2. การดื้อยาปฏิชีวนะ
    ยารักษาโรค และยาปฏิชีวนะที่นำ มาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีต ปัจจุบันพบว่าแบคทีเรีย
    ดื้อยาปฏิชีวนะดังกล่าวจึงรักษาโรคไม่หาย (เพราะเกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย)

    ตอบลบ
  14. นายกิตติ โคตะวินนท์ ชั้น ม. 6/2 เลขที่6
    ตามหลักทางพันธุศาสตร์ สิ่งมีชีวิตจะต้องเกิดจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน หรือเกิดจากสิ่งมีชีวิต สปีชีส์ (species) เดียวกัน ลักษณะ ทางพันธุกรรมจะถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานรุ่นต่อๆ มาโดยผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ซึ่งมีหน่วยพันธุรรมที่เรียกว่า ยีน (gene) เป็นตัวกำหนดลักษณะเช่นรูปร่างและหน้าที่ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิต ยีนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะมีการผันแปรของหน่วยพันธุกรรมเกิดขึ้น จะเห็นได้จากพืชหรือสัตว์ที่มีลักษณะผิดแผกไปจากพ่อแม่ เรียกว่า การผ่าเหล่า หรือ มิวเตชั่น (mutation) ซึ่งอาจได้ลักษณะที่ดีกว่าพ่อแม่ หรืออาจได้ลักษณะที่ไม่ดีเท่าพ่อแม่ก็ได้

    ในปัจจุบันมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมากมายหลายสปีชีส์ นอกจากเกิดจากการผ่าเหล่าแล้วอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น สภาพการดื้อยา ( chemical resistance ) เป็นต้นสภาพดื้อยา (Chemical resistance) ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่นแบคทีเรียชนิด Escherichia coli
    ดื้อยาสเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) และแมลงหวี่ Drosophilia melanogaster ดื้อยา ดีดีที สัตว์ทั้งสองนี้จะมีพฤติกรรมเหมือนกัน คือเมื่อได้รับยาครั้งแรกแบคทีเรียและแมลงหวี่ส่วนใหญ่จะตาย ส่วนน้อยที่เหลืออยู่รอดจะสืบพันธุ์เพิ่มจำนวนอีกหลายชั่วรุ่น ได้ประชากรที่ไม่ตายเพราะพิษของยาอีก เป็นเพราะประชากรส่วนน้อยที่เหลืออยู่ในระยะแรกสามารถต้านทานยาได้ทำให้ไม่ตายหรือรับยาปริมาณน้อยทำให้ยีนเกิดการเปลี่ยนแปลง แบคทีเรียและแมลงหวี่ที่รอดตายจะถ่ายทอดลักษณะต้านทานยาให้กับลูกหลานรุ่นต่อมา ทำให้ลูกหลานรุ่นหลังไม่ตายแม้จะได้รับยา เรียกสภาพนี้ว่าการดื้อยา

    ตอบลบ
  15. การวิวัฒนาการร่วมกัน (coevolution) อาจเกิดขึ้นรวดเร็วพอที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่มนุษย์ไปรบกวนกระบวนการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
    การวิวัฒนาการร่วมกันมักพบบ่อยอยู่เสมอ ๆ ในเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสกับพืช หรือสัตว์ที่ถูกอาศัย ที่เรียกว่า โฮสต์ (host) แม้กระทั่งไวรัสชนิดที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ คือ HIV ไวรัสกลุ่มนี้ก็คงจะอยู่ในระหว่างกระบวนคัดเลือกตามธรรมชาติและการปรับตัวไปพร้อม ๆ กันกับการปรับตัวของมนุษย์ในเชิงการพัฒนาภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับภัยจากเชื้อไวรัสเอดส์ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร
    เชื้อโรคที่ดื้อยา
    ยารักษาโรคและยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีตก็สร้างปัญหาให้แก่วงการแพทย์เช่นเดียวกัน เพราะการปรับตัวดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
    นายวาสุเทพ คำไสย์ ม.6/2 เลขที่ 12

    ตอบลบ
  16. นายชินภัทร ลับแล เลขที่ 4 ม. 6/2
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    จะเห็นได้ว่าปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโนลีนั้นก้าวหน้า สิ่งที่สามารถลดหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึนจึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งสารฆ่าแมลง สารเร่งการเติบโต ยาปฏิชีวนะต่างๆ รวมไปถึงสารอาหารที่เรารับประทานกันในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ลดปัญหา เพิ่มศักยภาพการอยู่รอดให้กับสรรพสัตว์ได้ แต่ในอนาคตอาจเกิดการดื้อยา การทนต่อสภาพที่ถูกบีบบังคับของเชื้อโรคต่างๆที่เราฝ้ากำจัดอยู่ในปัจจุบันก็เป้นได้

    ตอบลบ
  17. น.ส.มินตรา โลหะพรม ม.6/2 เลขที่ 41

    วิวัฒนาการ (อังกฤษ: Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน

    ตอบลบ
  18. นางสาวพรพรรณ กาวี เลขที่ 38 ม.6/2
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้ามากขึ้น และสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมากมายหลายสปีชีส์ นอกจากเกิดจากการผ่าเหล่าแล้วอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น สภาพดื้อยา (Chemical resistance) ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่นแบคทีเรียชนิด Escherichia coli ดื้อยาสเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) และแมลงหวี่ Drosophilia melanogaster ดื้อยา ดีดีที สัตว์ทั้งสองนี้จะมีพฤติกรรมเหมือนกัน คือเมื่อได้รับยาครั้งแรกแบคทีเรียและแมลงหวี่ส่วนใหญ่จะตาย ส่วนน้อยที่เหลืออยู่รอดจะสืบพันธุ์เพิ่มจำนวนอีกหลายชั่วรุ่น ได้ประชากรที่ไม่ตายเพราะพิษของยาเรียกสภาพนี้ว่าการดื้อยา

    ตอบลบ
  19. นายอภินันท์ การสวน ม.6/2 เลขที่ 16
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย เช่น
       1.การดื้อยาสารฆ่าแมลง
    เช่น การใช้ดีดีที มาฆ่าแมลงศัตรูพืช ครั้งแรกได้ผลเกือบ 100% ต่อมามีแมลง สามารถดื้อยาเพิ่มขึ้นเกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติขึ้น บทเรียนดังกล่าวช่วยสอนให้มนุษย์ต้องใช้ความระวังอย่างมากในการนำสารเคมีชนิดใหม่ ๆ มาใช้ฆ่าแมลงศัตรูและแมลงพาหะในปัจจุบัน (สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือ การนำ สารเคมี หรือยาธรรมชาติ ที่สกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้ในทางการเกษตรและทางการแพทย์ตามแบบของเทคโนโลยีที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ชาวไทยและชาวเอเชียทั้งหลาย

       2. การดื้อยาปฏิชีวนะ
    ยารักษาโรค และยาปฏิชีวนะที่นำ มาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีต ปัจจุบันพบว่าแบคทีเรีย ดื้อยาปฏิชีวนะดังกล่าวจึงรักษาโรคไม่หาย (เพราะเกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย) ยกเว้น เพนนิซิลิน เป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่ยังมีประสิทธิภาพดีอยู่จนถึงปัจจุบัน

    ตอบลบ
  20. นางสาวสุทธิกานต์ ลายโถ เลขที่17 ม.6/2
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ การดื้อสารฆ่าแมลง และการดื้อยาปฏิชีวนะ
    . การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
    การดื้อสารฆ่าแมลง
    มนุษย์ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกันมานาน แม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะได้ผล แต่ความเป็นพิษของสารเคมียังตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษอย่างมาก การใช้ยาฆ่าแมลงครั้งแรกอาจกำจัดแมลงได้ผล แมลงตายเกือบหมด แต่แมลงบางตัวมียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงจะมีชีวิตรอดและให้กำเนิดลูกหลานที่มียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในประชากรมากขึ้น ทำให้แมลงดื้อยา จนต้องเปลี่ยนชนิดของยาฆ่าแมลงใหม่
    การดื้อยาปฏิชีวนะ
    การใช้ยาปฏิชีวนะทำให้แบคทีเรียบางสายพันธุ์ตายไป บางสายพันธุ์สามารถต้านทานได้ และมีชีวิตอยู่รอดและสืบทอดไปยังรุ่นต่อไปเจริญขึ้นมาแทนที่ ทำให้มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องคิดยาตัวใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกันกับที่แบคทีเรียมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมในประชากรให้ต้านทานยาปฏิชีวนะด้วยเช่นกัน การดื้อยานอกจากจะเกิดในระหว่างที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคแล้ว ยังเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะที่ติดมากับอาหารได้

    ตอบลบ
  21. นายภิสิทธิ์ เพียกคะ ชั้น ม.6/2 เลขที่ 11
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
    การดื้อสารฆ่าแมลง
    มนุษย์ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกันมานาน แม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะได้ผล แต่ความเป็นพิษของสารเคมียังตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษอย่างมาก การใช้ยาฆ่าแมลงครั้งแรกอาจกำจัดแมลงได้ผล แมลงตายเกือบหมด แต่แมลงบางตัวมียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงจะมีชีวิตรอดและให้กำเนิดลูกหลานที่มียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในประชากรมากขึ้น ทำให้แมลงดื้อยา จนต้องเปลี่ยนชนิดของยาฆ่าแมลงใหม่
    การดื้อยาปฏิชีวนะ
    การใช้ยาปฏิชีวนะทำให้แบคทีเรียบางสายพันธุ์ตายไป บางสายพันธุ์สามารถต้านทานได้ และมีชีวิตอยู่รอดและสืบทอดไปยังรุ่นต่อไปเจริญขึ้นมาแทนที่ ทำให้มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องคิดยาตัวใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกันกับที่แบคทีเรียมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมในประชากรให้ต้านทานยาปฏิชีวนะด้วยเช่นกัน การดื้อยานอกจากจะเกิดในระหว่างที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคแล้ว ยังเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะที่ติดมากับอาหารได้อีกด้วย

    ตอบลบ
  22. นางสาวอภิญญา โคตะวินนท์ เลขที่ 25 ชั้น ม.6/2
    สรุป 1.การดื้อยาสารฆ่าแมลง
    เช่น การใช้สารเคมีมาฆ่าแมลงศัตรูพืช ครั้งแรกได้ผลเกือบ 100% ต่อมามีแมลง สามารถดื้อยาเพิ่มขึ้น
    เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติขึ้น บทเรียนดังกล่าวช่วยสอนให้มนุษย์ต้องใช้ความระวังอย่างมากในการนำสารเคมีชนิดใหม่ ๆมาใช้ฆ่าแมลงศัตรูและแมลงพาหะในปัจจุบัน สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือ การนำ สารเคมี หรือยาธรรมชาติที่สกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้ในทางการเกษตรและทางการแพทย์ตามแบบของเทคโนโลยีที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่นชาวไทยและชาวเอเชียทั้งหลาย
    2. การดื้อยาปฏิชีวนะ
    ยารักษาโรค และยาปฏิชีวนะที่นำ มาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีต ปัจจุบันพบว่าแบคทีเรีย
    ดื้อยาปฏิชีวนะดังกล่าวจึงรักษาโรคไม่หาย (เพราะเกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย)

    ตอบลบ
  23. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  24. นางสาวละอองดาว มาตช่วง เลขที่ 46 ชั้น ม.6/2

    สรุป 1.การดื้อสารฆ่าแมลง
    มนุษย์ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกันมานาน แม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะได้ผล แต่ความเป็นพิษของสารเคมียังตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษอย่างมาก การใช้ยาฆ่าแมลงครั้งแรกอาจกำจัดแมลงได้ผล แมลงตายเกือบหมด แต่แมลงบางตัวมียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงจะมีชีวิตรอดและให้กำเนิดลูกหลานที่มียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในประชากรมากขึ้น ทำให้แมลงดื้อยา จนต้องเปลี่ยนชนิดของยาฆ่าแมลงใหม่
    2.การดื้อยาปฏิชีวนะ
    การใช้ยาปฏิชีวนะทำให้แบคทีเรียบางสายพันธุ์ตายไป บางสายพันธุ์สามารถต้านทานได้ และมีชีวิตอยู่รอดและสืบทอดไปยังรุ่นต่อไปเจริญขึ้นมาแทนที่ ทำให้มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องคิดยาตัวใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกันกับที่แบคทีเรียมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมในประชากรให้ต้านทานยาปฏิชีวนะด้วยเช่นกัน การดื้อยานอกจากจะเกิดในระหว่างที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคแล้ว ยังเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะที่ติดมากับอาหารได้อีกด้วย

    ตอบลบ
  25. นางสาวชไมพร ภักสินิสิทธิ์ เลขที่ 35 ชั้น ม.6/2
    สรุป 1.การดื้อสารฆ่าแมลง
    มนุษย์ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกันมานาน แม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะได้ผล แต่ความเป็นพิษของสารเคมียังตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษอย่างมาก การใช้ยาฆ่าแมลงครั้งแรกอาจกำจัดแมลงได้ผล แมลงตายเกือบหมด แต่แมลงบางตัวมียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงจะมีชีวิตรอดและให้กำเนิดลูกหลานที่มียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในประชากรมากขึ้น ทำให้แมลงดื้อยา จนต้องเปลี่ยนชนิดของยาฆ่าแมลงใหม่
    2.การดื้อยาปฏิชีวนะ
    การใช้ยาปฏิชีวนะทำให้แบคทีเรียบางสายพันธุ์ตายไป บางสายพันธุ์สามารถต้านทานได้ และมีชีวิตอยู่รอดและสืบทอดไปยังรุ่นต่อไปเจริญขึ้นมาแทนที่ ทำให้มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องคิดยาตัวใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกันกับที่แบคทีเรียมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมในประชากรให้ต้านทานยาปฏิชีวนะด้วยเช่นกัน การดื้อยานอกจากจะเกิดในระหว่างที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคแล้ว ยังเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะที่ติดมากับอาหารได้อีกด้วย

    ตอบลบ
  26. 1.การดื้อยาสารฆ่าแมลง
    เช่น การใช้ดีดีที มาฆ่าแมลงศัตรูพืช ครั้งแรกได้ผลเกือบ 100% ต่อมามีแมลง สามารถดื้อยาเพิ่มขึ้น
    เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติขึ้น บทเรียนดังกล่าวช่วยสอนให้มนุษย์ต้องใช้ความระวังอย่างมากในการนำสารเคมีชนิดใหม่ ๆ

    มาใช้ฆ่าแมลงศัตรูและแมลงพาหะในปัจจุบัน (สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือ การนำ สารเคมี หรือยาธรรมชาติที่สกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้ในทางการเกษตรและทางการแพทย์ตามแบบของเทคโนโลยีที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่นชาวไทยและชาวเอเชียทั้งหลาย
    2. การดื้อยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรค และยาปฏิชีวนะที่นำ มาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีต ปัจจุบันพบว่าแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะดังกล่าวจึงรักษาโรคไม่หาย (เพราะเกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย) ยกเว้น เพนนิซิลิน เป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่ยังมีประสิทธิภาพดีอยู่จนถึงปัจจุบัน

    ตอบลบ
  27. นางสาวสุดารัตน์ เทียมทนงค์ ม.6/2 เลขที่48
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
    การดื้อสารฆ่าแมลง
    มนุษย์ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกันมานาน แม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะได้ผล แต่ความเป็นพิษของสารเคมียังตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษอย่างมาก การใช้ยาฆ่าแมลงครั้งแรกอาจกำจัดแมลงได้ผล แมลงตายเกือบหมด แต่แมลงบางตัวมียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงจะมีชีวิตรอดและให้กำเนิดลูกหลานที่มียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในประชากรมากขึ้น ทำให้แมลงดื้อยา จนต้องเปลี่ยนชนิดของยาฆ่าแมลงใหม่
    การดื้อยาปฏิชีวนะ
    การใช้ยาปฏิชีวนะทำให้แบคทีเรียบางสายพันธุ์ตายไป บางสายพันธุ์สามารถต้านทานได้ และมีชีวิตอยู่รอดและสืบทอดไปยังรุ่นต่อไปเจริญขึ้นมาแทนที่ ทำให้มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องคิดยาตัวใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกันกับที่แบคทีเรียมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมในประชากรให้ต้านทานยาปฏิชีวนะด้วยเช่นกัน การดื้อยานอกจากจะเกิดในระหว่างที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคแล้ว ยังเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะที่ติดมากับอาหารได้อีกด้วย

    ตอบลบ
  28. น.ส.ชัชฎาภรณ์ วริวรรณ เลขที่ 52 ม.6/2
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย ได้แก่
    1.การดื้อยาสารฆ่าแมลงเช่น การใช้ดีดีที มาฆ่าแมลงศัตรูพืช ครั้งแรกได้ผลเกือบ 100% ต่อมามีแมลง สามารถดื้อยาเพิ่มขึ้น เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติขึ้น 2. การดื้อยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรค และยาปฏิชีวนะที่นำ มาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีต ปัจจุบันพบว่าแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะดังกล่าวจึงรักษาโรคไม่หาย (เพราะเกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย)ยกเว้น เพนนิซิลิน เป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่ยังมีประสิทธิภาพดีอยู่จนถึงปัจจุบัน

    ตอบลบ
  29. น.ส.ศศินีย์ โคตะวินนท์ เลขที่23 ม6/2.
    วิวัฒนาการร่วมกัน การวิวัฒนาการร่วมกัน (coevolution) อาจเกิดขึ้นรวดเร็วพอที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่มนุษย์ไปรบกวนกระบวนการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น การใช้ไวรัสเพื่อการควบคุมประชากรกระต่ายในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้มีผู้นำเอากระต่ายเลี้ยงจากประเทศอังกฤษเข้าไปเลี้ยงในประเทศออสเตรเลีย ที่ซึ่งอาหารการกินอุดมสมบูรณ์และไม่มีศัตรูทำลายกระต่ายจึงทำให้ประชากรกระต่ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากอย่างน่าตกใจจนทำให้กระต่ายเหล่านั้นเป็นตัวทำลายพืชผลของเกษตรกรชาวออสเตรเลียไปโดยมิได้ตั้งใจ เมื่อมีเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นนักวิทยาศาสตร์ก็พยายามหาทางกำจัด หรือควบคุมประชากรกระต่ายโดยใช้ไวรัสพวกมิกโซมาโทซิส

    ตอบลบ
  30. น.ส.ศิลาลักษณ์ ตรีเหลา ม.6/2 เลขที่ 31
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
     เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
    การดื้อสารฆ่าแมลง
          มนุษย์ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกันมานาน แม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะได้ผล แต่ความเป็นพิษของสารเคมียังตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษอย่างมาก การใช้ยาฆ่าแมลงครั้งแรกอาจกำจัดแมลงได้ผล แมลงตายเกือบหมด แต่แมลงบางตัวมียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงจะมีชีวิตรอดและให้กำเนิดลูกหลานที่มียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในประชากรมากขึ้น ทำให้แมลงดื้อยา จนต้องเปลี่ยนชนิดของยาฆ่าแมลงใหม่
    การดื้อยาปฏิชีวนะ
          การใช้ยาปฏิชีวนะทำให้แบคทีเรียบางสายพันธุ์ตายไป บางสายพันธุ์สามารถต้านทานได้ และมีชีวิตอยู่รอดและสืบทอดไปยังรุ่นต่อไปเจริญขึ้นมาแทนที่ ทำให้มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องคิดยาตัวใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกันกับที่แบคทีเรียมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมในประชากรให้ต้านทานยาปฏิชีวนะด้วยเช่นกัน การดื้อยานอกจากจะเกิดในระหว่างที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคแล้ว ยังเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะที่ติดมากับอาหารได้อีกด้วย

    ตอบลบ
  31. นางสาววราภรณ์ เทศารินทร์ เลขที่ 47 ม.6/2
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
    การดื้อสารฆ่าแมลง
    มนุษย์ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกันมานาน แม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะได้ผล แต่ความเป็นพิษของสารเคมียังตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษอย่างมาก การใช้ยาฆ่าแมลงครั้งแรกอาจกำจัดแมลงได้ผล แมลงตายเกือบหมด แต่แมลงบางตัวมียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงจะมีชีวิตรอดและให้กำเนิดลูกหลานที่มียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในประชากรมากขึ้น ทำให้แมลงดื้อยา จนต้องเปลี่ยนชนิดของยาฆ่าแมลงใหม่
    การดื้อยาปฏิชีวนะ
    การใช้ยาปฏิชีวนะทำให้แบคทีเรียบางสายพันธุ์ตายไป บางสายพันธุ์สามารถต้านทานได้ และมีชีวิตอยู่รอดและสืบทอดไปยังรุ่นต่อไปเจริญขึ้นมาแทนที่ ทำให้มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องคิดยาตัวใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกันกับที่แบคทีเรียมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมในประชากรให้ต้านทานยาปฏิชีวนะด้วยเช่นกัน การดื้อยานอกจากจะเกิดในระหว่างที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคแล้ว ยังเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะที่ติดมากับอาหารได้อีกด้วย

    ตอบลบ
  32. นางสาวพัชราภรณ์ วังนันท์ ม.6/2 เลขที่18
    เชื้อโรคที่ดื้อยา
    ยารักษาโรคและยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีตก็สร้างปัญหาให้แก่วงการแพทย์เช่นเดียวกัน เพราะการปรับตัวดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดท้องหรือท้องร่วง แบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรคและหนองหรือฝีต่าง ๆ อันเนื่องจากการคัดตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย นอกจาการปรับตัวของเชื้อแบคมีเรียชนิดที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องเองแล้วยังพบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะผสมเจือปนในอาหารสัตว์เลี้ยง ก็มีส่วนช่วยให้แบคทีเรียที่อยู่ในส่วนของลำไส้คนสามารถพัฒนาการดื้อยาปฏิชีวนะได้อีกทางหนึ่งด้วย ฉะนั้นในบางประเทศจึงมีข้อห้ามมิให้นำเอายาปฏิชีวนะชนิดที่ใช้สำหรับบำบัดรักษาโรคติดเชื้อในคนไปใช้ผสมเจือปนในอาหารเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว เพื่อป้องกันมิให้เชื้อแบคทีเรียชนิดก่อให้เกิดโรคในคนด้วยนั้นพัฒนาปรับตัวดื้อยาปฏิชีวนะนั้นได้อีกทางหนึ่ง

    ตอบลบ
  33. นางสาวอรุณลักษณ์ ฆารละออง ม.6/2 เลขที่ 42
    1.การดื้อยาสารฆ่าแมลง
    ดีดีที เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดแรงกดดันทางการคัดเลือกตามธรรมชาติให้แก่แมลงพวกที่มีพันธุกรรมหรือยีนที่มีคุณสมบัติในการดื้อสารดีดีที โดยเฉพาะยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ย่อยสลายสารดีดีที ได้ในร่างกายของแมลงก่อนที่ยานี้จะออกฤทธิ์ เนื่องจากดีดีทีเป็นสารที่มีฤทธิ์ตกค้างและสร้างความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิตนานาชนิดรวมทั้งมนุษย์ด้วยและก่อให้เกิดมลภาวะอย่างมากมาย

    2. การดื้อยา
    ยารักษาโรคและยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีตก็สร้างปัญหาให้แก่วงการแพทย์เช่นเดียวกัน เพราะการปรับตัวดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดท้องหรือท้องร่วง แบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรคและหนองหรือฝีต่าง ๆ อันเนื่องจากการคัดตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย

    ตอบลบ
  34. นางสาวศิรินาท คำไชยโย ชั้นม.6/2 เลขที่ 30
    การวิวัฒนาการร่วมกัน (coevolution) อาจเกิดขึ้นรวดเร็วพอที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่มนุษย์ไปรบกวนกระบวนการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
    การวิวัฒนาการร่วมกันมักพบบ่อยอยู่เสมอ ๆ ในเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสกับพืช หรือสัตว์ที่ถูกอาศัย ที่เรียกว่า โฮสต์(host) แม้กระทั่งไวรัสชนิดที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ คือ HIV ไวรัสกลุ่มนี้ก็คงจะอยู่ในระหว่างกระบวนคัดเลือกตามธรรมชาติและการปรับตัวไปพร้อม ๆ กันกับการปรับตัวของมนุษย์ในเชิงการพัฒนาภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับภัยจากเชื้อไวรัสเอดส์ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร
    -เชื้อโรคที่ดื้อยา
    เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดท้องหรือท้องร่วง แบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรคและหนองหรือฝีต่าง ๆ อันเนื่องจากการคัดตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย

    ตอบลบ
  35. นายทิวา พุทธสาราษฎร์ ชั้น ม. 6/2 เลขที่ 8 การวิวัฒนาการร่วมกัน (coevolution)
    อาจเกิดขึ้นรวดเร็วพอที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่มนุษย์ไปรบกวนกระบวนการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
    การวิวัฒนาการร่วมกันมักพบบ่อยอยู่เสมอ ๆ ในเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสกับพืช หรือสัตว์ที่ถูกอาศัย ที่เรียกว่า โฮสต์ (host) แม้กระทั่งไวรัสชนิดที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ คือ HIV ไวรัสกลุ่มนี้ก็คงจะอยู่ในระหว่างกระบวนคัดเลือกตามธรรมชาติและการปรับตัวไปพร้อม ๆ กันกับการปรับตัวของมนุษย์ในเชิงการพัฒนาภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับภัยจากเชื้อไวรัสเอดส์ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร
    เชื้อโรคที่ดื้อยา
    ยารักษาโรคและยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีตก็สร้างปัญหาให้แก่วงการแพทย์เช่นเดียวกัน เพราะการปรับตัวดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด

    ตอบลบ
  36. นางสาวหัตทยา จรนามน เลขที่ 49 ชั้น ม.6/2
    สรุปว่า การพัฒนากับวิวัฒนาการ เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย เช่นการดื้อสารฆ่าแมลงมนุษย์ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกันมานาน แม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะได้ผล แต่ความเป็นพิษของสารเคมียังตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษอย่างมาก การใช้ยาฆ่าแมลงครั้งแรกอาจกำจัดแมลงได้ผล แมลงตายเกือบหมด แต่แมลงบางตัวมียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงจะมีชีวิตรอดและให้กำเนิดลูกหลานที่มียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในประชากรมากขึ้น ทำให้แมลงดื้อยา จนต้องเปลี่ยนชนิดของยาฆ่าแมลงใหม่
    การดื้อยาปฏิชีวนะการใช้ยาปฏิชีวนะทำให้แบคทีเรียบางสายพันธุ์ตายไป บางสายพันธุ์สามารถต้านทานได้ และมีชีวิตอยู่รอดและสืบทอดไปยังรุ่นต่อไปเจริญขึ้นมาแทนที่ ทำให้มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องคิดยาตัวใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกันกับที่แบคทีเรียมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมในประชากรให้ต้านทานยาปฏิชีวนะด้วยเช่นกัน การดื้อยานอกจากจะเกิดในระหว่างที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคแล้ว ยังเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะที่ติดมากับอาหารได้อีกด้วย

    ตอบลบ
  37. นางสาวจุฬารัตน์ มิคะ ม.6/7 เลขที่ 20
    #การพัฒนากับวิวัฒนาการ#

    ยารักษาโรคและยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีตก็สร้างปัญหาให้แก่วงการแพทย์เช่นเดียวกัน เพราะการปรับตัวดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคปอดท้องหรือท้องร่วง แบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรคและหนองหรือฝีต่าง ๆ อันเนื่องจากการคัดตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย นอกจาการปรับตัวของเชื้อแบคมีเรียชนิดที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องเองแล้วยังพบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะผสมเจือปนในอาหารสัตว์เลี้ยง ก็มีส่วนช่วยให้แบคทีเรียที่อยู่ในส่วนของลำไส้คนสามารถพัฒนาการดื้อยาปฏิชีวนะได้อีกทางหนึ่งด้วย ฉะนั้นในบางประเทศจึงมีข้อห้ามมิให้นำเอายาปฏิชีวนะชนิดที่ใช้สำหรับบำบัดรักษาโรคติดเชื้อในคนไปใช้ผสมเจือปนในอาหารเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว เพื่อป้องกันมิให้เชื้อแบคทีเรียชนิดก่อให้เกิดโรคในคนด้วยนั้นพัฒนาปรับตัวดื้อยาปฏิชีวนะนั้นได้อีกทางหนึ่ง

    ตอบลบ
  38. นายกรวิทย์ จงมีสัตย์ ชั้น ม.6/7 เลขที่ 1***#การพัฒนากับวิวัฒนาการ#**
    การวิวัฒนาการร่วมกัน (coevolution)
    อาจเกิดขึ้นรวดเร็วพอที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่มนุษย์ไปรบกวนกระบวนการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
    การวิวัฒนาการร่วมกันมักพบบ่อยอยู่เสมอ ๆ ในเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสกับพืช หรือสัตว์ที่ถูกอาศัย ที่เรียกว่า โฮสต์ (host) แม้กระทั่งไวรัสชนิดที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ คือ HIV ไวรัสกลุ่มนี้ก็คงจะอยู่ในระหว่างกระบวนคัดเลือกตามธรรมชาติและการปรับตัวไปพร้อม ๆ กันกับการปรับตัวของมนุษย์ในเชิงการพัฒนาภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับภัยจากเชื้อไวรัสเอดส์ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร
    เชื้อโรคที่ดื้อยา
    ยารักษาโรคและยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีตก็สร้างปัญหาให้แก่วงการแพทย์เช่นเดียวกัน เพราะการปรับตัวดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด

    ตอบลบ
  39. นางสาวอภัสรา ลุนใต้ ชั้น ม.6/7 เลขที่ 18
    ***การพัฒนากับวิวัฒนาการ****
    1.การดื้อยาสารฆ่าแมลง เช่น การใช้ดีดีที มาฆ่าแมลงศัตรูพืช ครั้งแรกได้ผลเกือบ 100% ต่อมามีแมลง สามารถดื้อยาเพิ่มขึ้น เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติขึ้น บทเรียนดังกล่าวช่วยสอนให้มนุษย์ต้องใช้ความระวังอย่างมากในการนำสารเคมีชนิดใหม่ ๆ มาใช้ฆ่าแมลงศัตรูและแมลงพาหะในปัจจุบัน (สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือ การนำ สารเคมี หรือยาธรรมชาติที่สกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้ในทางการเกษตรและทางการแพทย์ตามแบบของเทคโนโลยีที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
    2. การดื้อยาปฏิชีวนะ
    ยารักษาโรค และยาปฏิชีวนะที่นำ มาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีต ปัจจุบันพบว่าแบคทีเรีย ดื้อยาปฏิชีวนะดังกล่าวจึงรักษาโรคไม่หาย (เพราะเกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย) ยกเว้น เพนนิซิลิน เป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่ยังมีประสิทธิภาพดีอยู่จนถึงปัจจุบัน

    ตอบลบ
  40. ***นายอภิสิทธิ์ มังคะรัตน์ ม6/7 เลขที่ 3***
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    การใช้ไวรัสเพื่อการควบคุมประชากรกระต่ายในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้มีผู้นำเอากระต่ายเลี้ยงจากประเทศอังกฤษเข้าไปเลี้ยงในประเทศออสเตรเลีย ที่ซึ่งอาหารการกินอุดมสมบูรณ์และไม่มีศัตรูทำลายกระต่ายจึงทำให้ประชากรกระต่ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากอย่างน่าตกใจจนทำให้กระต่ายเหล่านั้นเป็นตัวทำลายพืชผลของเกษตรกรชาวออสเตรเลียไปโดยมิได้ตั้งใจ เมื่อมีเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นนักวิทยาศาสตร์ก็พยายามหาทางกำจัด หรือควบคุมประชากรกระต่ายโดยใช้ไวรัสพวกมิกโซมาโทซิส (myxxomatosis) ซึ่งทำให้เกิดโรคในกระต่ายอย่างรุนแรงจนถึงตายได้ ทำให้การควบคุมประชากรกระต่ายดังกล่าวได้ผลดียิ่ง โดยมีอัตราการตายของกระต่ายสูงถึงเกือบร้อยละ 99 ในระยะเริ่มต้นของการปล่อยเชื้อไวรัสซึ่งยังความปิติให้แก่นักวิชาการและประชาชนทั่วไปที่คิดว่าประสบความสำเร็จ แต่ก็ดีใจไม่ได้นานเพราะพวกกระต่ายที่สามารถพัฒนาภูมิต้านทานต่อสู้กับเชื้อไวรัสและสามารถรอดตายจากโรคร้ายที่เกิดจากไวรัสนั้นได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ

    ตอบลบ
  41. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  42. ***นายอภิสิทธิ์ มังคะรัตน์ ม6/7 เลขที่ 3***
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    การใช้ไวรัสเพื่อการควบคุมประชากรกระต่ายในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้มีผู้นำเอากระต่ายเลี้ยงจากประเทศอังกฤษเข้าไปเลี้ยงในประเทศออสเตรเลีย ที่ซึ่งอาหารการกินอุดมสมบูรณ์และไม่มีศัตรูทำลายกระต่ายจึงทำให้ประชากรกระต่ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากอย่างน่าตกใจจนทำให้กระต่ายเหล่านั้นเป็นตัวทำลายพืชผลของเกษตรกรชาวออสเตรเลียไปโดยมิได้ตั้งใจ เมื่อมีเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นนักวิทยาศาสตร์ก็พยายามหาทางกำจัด หรือควบคุมประชากรกระต่ายโดยใช้ไวรัสพวกมิกโซมาโทซิส (myxxomatosis) ซึ่งทำให้เกิดโรคในกระต่ายอย่างรุนแรงจนถึงตายได้ ทำให้การควบคุมประชากรกระต่ายดังกล่าวได้ผลดียิ่ง โดยมีอัตราการตายของกระต่ายสูงถึงเกือบร้อยละ 99 ในระยะเริ่มต้นของการปล่อยเชื้อไวรัสซึ่งยังความปิติให้แก่นักวิชาการและประชาชนทั่วไปที่คิดว่าประสบความสำเร็จ แต่ก็ดีใจไม่ได้นานเพราะพวกกระต่ายที่สามารถพัฒนาภูมิต้านทานต่อสู้กับเชื้อไวรัสและสามารถรอดตายจากโรคร้ายที่เกิดจากไวรัสนั้นได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ

    ตอบลบ
  43. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  44. นายปฏิภาณ สมคะเนย์ ม.6/7 เลขที่2
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ
    เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย เช่นการดื้อสารฆ่าแมลงมนุษย์ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกันมานาน แม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะได้ผล แต่ความเป็นพิษของสารเคมียังตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษอย่างมาก การใช้ยาฆ่าแมลงครั้งแรกอาจกำจัดแมลงได้ผล แมลงตายเกือบหมด แต่แมลงบางตัวมียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงจะมีชีวิตรอดและให้กำเนิดลูกหลานที่มียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในประชากรมากขึ้น ทำให้แมลงดื้อยา จนต้องเปลี่ยนชนิดของยาฆ่าแมลงใหม่
    การดื้อยาปฏิชีวนะการใช้ยาปฏิชีวนะทำให้แบคทีเรียบางสายพันธุ์ตายไป บางสายพันธุ์สามารถต้านทานได้ และมีชีวิตอยู่รอดและสืบทอดไปยังรุ่นต่อไปเจริญขึ้นมาแทนที่ ทำให้มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องคิดยาตัวใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกันกับที่แบคทีเรียมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมในประชากรให้ต้านทานยาปฏิชีวนะด้วยเช่นกัน การดื้อยานอกจากจะเกิดในระหว่างที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคแล้ว ยังเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะที่ติดมากับอาหารได้อีกด้วย

    ตอบลบ
  45. นายชิตณรงค์ กุลมงกฏ ม.6/7เลขที่13
    ***การพัฒนากับวิวัฒนาการ****
    1.การดื้อยาสารฆ่าแมลง เช่น การใช้ดีดีที มาฆ่าแมลงศัตรูพืช ครั้งแรกได้ผลเกือบ 100% ต่อมามีแมลง สามารถดื้อยาเพิ่มขึ้น เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติขึ้น บทเรียนดังกล่าวช่วยสอนให้มนุษย์ต้องใช้ความระวังอย่างมากในการนำสารเคมีชนิดใหม่ ๆ มาใช้ฆ่าแมลงศัตรูและแมลงพาหะในปัจจุบัน (สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือ การนำ สารเคมี หรือยาธรรมชาติที่สกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้ในทางการเกษตรและทางการแพทย์ตามแบบของเทคโนโลยีที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
    2. การดื้อยาปฏิชีวนะ
    ยารักษาโรค และยาปฏิชีวนะที่นำ มาใช้รักษาโรคที่ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างได้ผลในอดีต ปัจจุบันพบว่าแบคทีเรีย ดื้อยาปฏิชีวนะดังกล่าวจึงรักษาโรคไม่หาย (เพราะเกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย) ยกเว้น เพนนิซิลิน เป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกที่ยังมีประสิทธิภาพดีอยู่จนถึงปัจจุบัน

    ตอบลบ
  46. ชไมพร ผลชื่น ม.6/7 เลขที่26
    การพัฒนากับวิวัฒนาการ เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย เช่นการดื้อสารฆ่าแมลงมนุษย์ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกันมานาน แม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะได้ผล แต่ความเป็นพิษของสารเคมียังตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาทางด้านมลพิษอย่างมาก การใช้ยาฆ่าแมลงครั้งแรกอาจกำจัดแมลงได้ผล แมลงตายเกือบหมด แต่แมลงบางตัวมียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงจะมีชีวิตรอดและให้กำเนิดลูกหลานที่มียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในประชากรมากขึ้น ทำให้แมลงดื้อยา จนต้องเปลี่ยนชนิดของยาฆ่าแมลงใหม่
    การดื้อยาปฏิชีวนะการใช้ยาปฏิชีวนะทำให้แบคทีเรียบางสายพันธุ์ตายไป บางสายพันธุ์สามารถต้านทานได้ และมีชีวิตอยู่รอดและสืบทอดไปยังรุ่นต่อไปเจริญขึ้นมาแทนที่ ทำให้มีการดื้อต่อยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องคิดยาตัวใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกันกับที่แบคทีเรียมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางพันธุกรรมในประชากรให้ต้านทานยาปฏิชีวนะด้วยเช่นกัน การดื้อยานอกจากจะเกิดในระหว่างที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคแล้ว ยังเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะที่ติดมากับอาหารได้อีกด้วย

    ตอบลบ
  47. ชื่อ นางสาวจุฬารัตน์ ไชยสัตย์ ม.6/7 เลขที่ 25
    ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้ามากขึ้น และสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมากมายหลายสปีชีส์ นอกจากเกิดจากการผ่าเหล่าแล้วอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น สภาพดื้อยา (Chemical resistance) ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่นแบคทีเรียชนิด Escherichia coli ดื้อยาสเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) และแมลงหวี่ Drosophilia melanogaster ดื้อยา ดีดีที สัตว์ทั้งสองนี้จะมีพฤติกรรมเหมือนกัน คือเมื่อได้รับยาครั้งแรกแบคทีเรียและแมลงหวี่ส่วนใหญ่จะตาย ส่วนน้อยที่เหลืออยู่รอดจะสืบพันธุ์เพิ่มจำนวนอีกหลายชั่วรุ่น ได้ประชากรที่ไม่ตายเพราะพิษของยาเรียกสภาพนี้ว่าการดื้อยา

    ตอบลบ

THE ENDOCRINE SYSTEM

THE ENDOCRINE SYSTEM Contents Hormones Evolution of Endocrine Systems Endocrine Systems and Feedback Mechanisms of Hormone Action ...