ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)
สัตว์จำเป็นต้องได้รับอาหารเพื่อนำมาสร้างพลังงานในการดำรงชีวิต จึงจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพิเศษทั้งเพื่อให้ได้รับสารอาหารเข้าสู่เซลล์ ซึ่งขึ้นอยู่กับ 2 กระบวนการคือการกิน (feeding) และการย่อยอาหาร (digestion)
สัตว์จำเป็นต้องได้รับอาหารเพื่อนำมาสร้างพลังงานในการดำรงชีวิต จึงจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพิเศษทั้งเพื่อให้ได้รับสารอาหารเข้าสู่เซลล์ ซึ่งขึ้นอยู่กับ 2 กระบวนการคือการกิน (feeding) และการย่อยอาหาร (digestion)
1. รูปแบบการกินอาหารของสัตว์ (Types
of feeding)
สัตว์จัดว่าเป็น hetrotrophs สร้างอาหารเองไม่ได้ จึงต้องกินอาหารหรือดูดซึมจากแหล่งอาหารเท่านั้น
สัตว์ส่วนใหญ่จัดว่าเป็น ingestive eaters คือมีการกลืนกินอาหารผ่านทางปากเป็นหลัก
จึงสามารถจำแนกกลุ่มของสัตว์ตามรูปแบบการกินอาหารได้เป็นดังนี้
1. Absorptive feeders เป็นพวกที่ดูดซึมอาหารผ่านทางผนังลำตัว
ตัวอย่างเช่น
พยาธิตัวตืด
2. Filter feeders เป็นพวกที่กรองกินอนุภาคของอาหารที่มีขนาดเล็กที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ
ตัวอย่างเช่น หอยนางรม หอยแมลงภู่
3. Substrate feeders หรือ Deposit
feeders เป็นพวกที่กินที่อยู่อาศัยที่ตัวเองเกาะอยู่ เช่น
ตัวหนอนของแมลงกินใบไม้ที่ตัวเองเกาะอยู่
4. Fluid feeders เป็นพวกที่ดูดกินของเหลวจากสัตว์อื่น
เช่น ยุง เหลือบ ริ้น ไร
5. Bulb feeders เป็นพวกที่กินอาหารที่เป็นชิ้นโต
ๆ ได้แก่สัตว์ส่วนใหญ่
2. ความต้องการสารอาหารของสัตว์ (Nutrition
requirement)
สัตว์ต้องการสารอาหารซึ่งนอกจากจะใช้ไปเพื่อผลิตพลังงานในรูปของ ATP แล้วยังใช้เพื่อเป็นโครงสร้างของร่างกาย ซ่อมเสริมทดแทนส่วนที่สึกหรอ และยังเป็นแหล่งของ essential nutrient อีกด้วยสารอาหารที่ได้จากการรับประทานได้แก่คาร์โบเดรต ซึ่งมีองค์ประกอบเป็น CHO ถึงแม้ว่าสารอาหารคาร์โบเดรตจะเป็นตัวที่สำคัญที่สุดในการผลิตพลังงานของเซลล์ แต่คาร์โบไฮเดรตก็ไม่จัดว่าเป็น essential nutrient เนื่องจากสัตว์สามารถที่จะสร้างจากสารอาหารอื่นได้เอง ส่วนสารอาหารที่จัดว่าเป็น essential nutrients ได้แก่ โปรตีน(ให้กรดอะมิโน) ลิพิด(ให้กรดไขมัน) เกลือแร่ และวิตามิน
สัตว์ต้องการสารอาหารซึ่งนอกจากจะใช้ไปเพื่อผลิตพลังงานในรูปของ ATP แล้วยังใช้เพื่อเป็นโครงสร้างของร่างกาย ซ่อมเสริมทดแทนส่วนที่สึกหรอ และยังเป็นแหล่งของ essential nutrient อีกด้วยสารอาหารที่ได้จากการรับประทานได้แก่คาร์โบเดรต ซึ่งมีองค์ประกอบเป็น CHO ถึงแม้ว่าสารอาหารคาร์โบเดรตจะเป็นตัวที่สำคัญที่สุดในการผลิตพลังงานของเซลล์ แต่คาร์โบไฮเดรตก็ไม่จัดว่าเป็น essential nutrient เนื่องจากสัตว์สามารถที่จะสร้างจากสารอาหารอื่นได้เอง ส่วนสารอาหารที่จัดว่าเป็น essential nutrients ได้แก่ โปรตีน(ให้กรดอะมิโน) ลิพิด(ให้กรดไขมัน) เกลือแร่ และวิตามิน
สัตว์สร้างโปรตีนซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบในร่างกายคือพวกที่เป็นโปรตีนโครงสร้าง
(structural proteins) และโปรตีนที่เป็นเอนไซม์ (enzymatic
proteins) ขึ้นมาจากกรดอะมิโน 20 ชนิด
กรดอะมิโนส่วนใหญ่สัตว์จะสร้างเองได้เรียกว่าเป็น non-essential amino
acids แต่จะมีกรดอะมิโนบางตัวที่ร่างกายสร้างไม่ได้ต้องได้รับจากอาหารเรียกว่า
essential amino acids ซึ่งในคนมี 8 ตัว
ได้แก่ Try, Met, Val, Thr, Phe, Leu, Iso, Lys สำหรับทากรกมีอีก
1 ตัวที่เป็น essential amino acid คือ
histidine ส่วน essential fatty acid ของคนคือ
Lenoleic acid
3. กระบวนการกินอาหาร (Food
processing)
สัตว์ส่วนใหญ่กินอาหารชิ้นโต
จึงต้องมีกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ได้โมเลกุลสารอาหารขนาดเล็กพอที่เซลล์จะนำไปใช้ได้
กระบวนการที่จะให้ได้มาซึ่งสารอาหารขนาดเล็กดังกล่าวประกอบด้วย
1. การกิน (ingestion)
2. การย่อย (digestion)
3. การดูดซึม (absorption)
4. การขับออก (elimination)
4. การย่อยอาหาร
(Digestion)
เป็นกระบวนการทางเคมีที่มีเอนไซม์เข้าร่วมปฏิกิริยา
(enzymatic hydrolysis) เพื่อสลายอาหารให้เป็นสารอาหารโมเลกุลเดี่ยว
(monomers) ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์ได้
การย่อยอาหารของสัตว์จำแนกตามแหล่งที่เกิดการย่อยได้เป็น 2 ประเภท
1. การย่อยภายในเซลล์ (intracellular
digestion) พบในโปรติสท์ (อะมีบา พารามีเซียม) และสัตว์ชั้นต่ำชนิดเดียวที่พบว่ามีการย่อยอาหารภายในเซลล์คือฟองน้ำ
โดยมีการหลั่ง hydrolytic enzyme จาก lysosome มาย่อยอาหาร
สัตว์พวกนี้นำอนุภาคอาหารซึ่งมีขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์โดยวิธีฟาโกไซโตซิสและสร้างเป็นถุงอาหาร
(food vacuole) ดังแสดงในรูปที่ 3 ถุงอาหารจะเคลื่อนตัวไปรวมกับ
ไลโซโซมซึ่งมี hydrolytic enzyme อยู่ การย่อยอาหารเกิดในถุงอาหาร
อาหารอนุภาคเล็ก ๆ ที่ได้จากการย่อยจะถูกดูดซึมไปใช้ในเซลล์
ส่วนกากอาหารจะถูกขับทิ้งโดยวิธีเอกโซไซโตซิส ในกลุ่มนี้พารามีเซียมจัดว่าเป็นโปรติสท์ที่มีโครงสร้างเกี่ยวกับการย่อยอาหารที่แน่นอนคือมีการนำอาหารเข้าสู่เซลล์ผ่านทาง
oral groove ก่อนที่จะส่งเข้า food vacuole และกากอาหารมีการขับออกทาง anal pore
ภาพที่ 1 intracellular digestion
3.2 การย่อยอาหารภายนอกเซลล์ (Extracellular
digestion) สัตว์ส่วนใหญ่มีการย่อยอาหารภายนอกเซลล์โดยปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารภายในช่องลำตัว
ในสัตว์ชั้นต่ำเช่นพวกซีเลนเทอเรต และแพลธีเฮลมินธ์ที่ดำรงชีพอิสระ
เรียกสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ว่า free-living plathyhelmenths เช่น พลานาเรีย
มีช่องลำตัวที่มีรูเปิดทางเดียว เรียกว่า กัสโตรวาสคิวลาร์ คาวิตี (gastrovascular
cavity) (รูปที่ 2) ซึ่งทำหน้าที่ทั้งย่อยอาหารและการลำเลียง
เซลล์ที่บุช่องกัสโตรวาสคิวลาร์ของไฮดรา (gastrodermis) จะมีทั้งเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์ออกมาย่อยอาหารและเซลล์ที่รับอนุภาคอาหารเข้าไปย่อยภายใน
(nutritive or diestive cell) ดังนั้นไฮดราจึงเป็นสัตว์ที่มีการย่อยอาหารทั้งแบบภายนอกและภายในเซลล์
ภาพที่ 2 ช่องทางเดินอาหาร (gastrovascular cavity) ของไฮดรา
และพลานาเรีย
4. ประเภทของทางเดินอาหารของสัตว์
ทางเดินอาหารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ
1. ทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์
(incomplete digestive tract) มีลักษณะเป็นถุงที่มีช่องเปิดทางเดียวเช่นที่พบในไฮดราและพลานาเรีย
ดังนั้นช่องเปิดนี้จึงทำหน้าที่เป็นทั้งปากและทวารหนักไปพร้อม ๆ กัน
2. ทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์
(complete digestive tract) พบในสัตว์ส่วนใหญ่ตั้งแต่หนอนตัวกลมจนถึงสัตว์มีกระดูกสันหลัง
ลักษณะประกอบด้วยท่อที่มีช่องเปิด 2 ทาง
ด้านหนึ่งเป็นทางเข้าของอาหารและอีกด้านหนึ่งเป็นทางออกของกากอาหารหรือทวารหนัก
5. องค์ประกอบของระบบทางเดินอาหารของสัตว์มีกระดูกสันหลังและคน
(Components of
the digestive system)
the digestive system)
ทางเดินอาหารของคนมีลักษณะเป็นท่อของกล้ามเนื้อเรียบขดม้วนไปมา
มีความยาวประมาณ 6-9
เมตรเมื่อยืดออกเต็มที่
ตามความยาวของท่อนี้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนที่มีลักษณะพิเศษอยู่หลายส่วนได้แก่
ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ จนถึงทวารหนัก
กล้ามเนื้อเรียบบางบริเวณมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นหูรูด (sphincter) เพื่อช่วยในการเก็บกักอาหาร
และยังช่วยให้อาหารลำเลียงไปในทิศทางเดียวอีกด้วย
การบีบรัดของกล้ามเนื้อเรียบมีลักษณะเป็นจังหวะเรียกว่า เพอริสตัลซิส (peristalsis)
นอกจากการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะต่าง ๆ ตามความยาวของท่อแล้ว
ยังมีต่อมต่าง ๆ ที่สร้างและหลั่งเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหาร เช่น ต่อมน้ำลาย ตับอ่อน
ตับ และถุงน้ำดี เป็นองค์ประกอบของทางเดินอาหารอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น