วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

บทที่ 4 โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ (Cell Structure and Function)

หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตคือ เซลล์ (Cell) โดยปี ค.ศ. 1665 Robert Hooke เป็นผู้เริ่มใช้คำว่าเซลล์เป็นครั้งแรก
 1. Cell Theory
ค.ศ. 1838 – 1839 Schwann กับ Schleiden ชาวเยอรมันได้ศึกษาเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ และร่วมกันตั้ง Cell theory ซึ่งกล่าวว่า สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยเซลล์ และเซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่ได้ค.ศ. 1855 Rudolf Virchaw เป็นผู้เสนอว่าสิ่งมีชีวิตต้องเกิดมาจากสิ่งมีชีวิต (biogenesis) ดังนั้นเซลล์ทุกเซลล์ต้องเกิดมาจากเซลล์เก่าที่มีอยู่แล้วโดยกระบวนการแบ่งเซลล์
ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีเซลล์จึงมี 3 หัวข้อ คือ
               1. สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยหนึ่งเซลล์หรือหลายเซลล์
               2. เซลล์เป็นหน่วยที่มีโครงสร้างและทำหน้าที่ได้
               3. เซลล์ทุกชนิดเกิดจากเซลล์เก่าที่มีอยู่ก่อน
เนื่องจากเซลล์มีขนาดเล็กมาก จึงต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์มาช่วยในการศึกษา ทั้งชนิดที่ใช้แสง (light microscope) และ ชนิดที่ใช้ลำแสงอิเล็กตรอน (electron microscope) นอกจากนี้ ความรู้เกี่ยวกับเซลล์ได้มาจากการศึกษาด้วยวิธีการต่างๆ ร่วมกัน วิธีหนึ่งที่สามารถแยกชิ้นส่วนต่างๆ ของเซลล์ออกจากกันได้เรียกว่า cell fractionation
2. ขนาด และรูปร่างของเซลล์
ก. ขนาด
เซลล์แต่ละชนิดทั้งพืช และสัตว์ และแบคทีเรีย มีขนาดแตกต่างกัน เช่น เซลล์แบคทีเรียขนาด 0.1 - 10 ไมครอน เซลล์ยูคารีโอตขนาดเฉลี่ย 10 - 100 ไมครอน เซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ชื่อ Mycoplasma ขนาด 0.1 - 1 ไมครอน เซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กต้องศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ การที่เซลล์มีขนาดเล็ก ทำให้นิวเคลียสสามารถควบคุมการทำงานของเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การขนส่งสารจากไซไทพลาสซึมไปยังส่วนต่างๆ ของเซลล์จะใช้เวลาน้อยกว่าเซลล์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้เซลล์ขนาดเล็กมีอัตราส่วนของพื้นที่ผิวต่อปริมาตรมากกว่าเซลล์ขนาดใหญ่ ดังนั้นการแลกเปลี่ยนสารกับสิ่งแวดล้อมเกิดได้ดีกว่าเซลล์ขนาดใหญ่
ข. เซลล์มีการแบ่งพื้นที่เป็นแต่ละส่วน (compartmentalization)
ถึงแม้ว่าเซลล์ยูคารีโอต มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์โพรคารีโอต 10 เท่า แต่เซลล์ยูคารีโอตมีการเจริญของเยื่อหุ้มเข้าไปในเซลล์ ทำให้มีการแบ่งส่วนพื้นที่ภายในเซลล์ และเกิดเป็น organelles ต่างๆ ที่สามารถทำหน้าที่เฉพาะอย่างได้ จึงมีผลทำให้เซลล์ยูคารีโอตมีประสิทธิภาพในการทำงานได้ดี
ค. รูปร่าง
เซลล์แต่ละชนิดมีรูปร่างไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กันหลายอย่างดังนี้ คือ 1. หน้าที่ 2. ความหนืด (viscosity) ของไซโทพลาสซึม 3. แรงตึงผิวของเซลล์ (surface tension) 4. Organelles ที่เรียกว่า cytoskeleton
ง. หน่วยที่ใช้วัดขนาด
               1 เซนติเมตร (cm) = 10-2 เมตร
               1 มิลลิเมตร (mm) = 10-3 เมตร
               1 ไมโครเมตร (mm) = 10-6 เมตร (10-3 mm)
               1 นาโนเมตร (nm) = 10-9 เมตร (10-3 mm)
               1 อังสตรอม (A) = 10-10 เมตร (10-4 mm)

3. โครงสร้างของเซลล์
ภาพที่ 1
 แบ่งเซลล์เป็น 2 ชนิดคือ prokaryotic cell และ eukaryotic cell ข้อแตกต่างระหว่างเซลล์ทั้งสองดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ข้อแตกต่างระหว่าง prokaryotic cell กับ eukaryotic cell (+ = มี - = ไม่มี)
โครงสร้าง
Prokaryote
Animal cell
Plant cell
1.Plasma membrane
2.Cell wall
3.Nuclear membrane
4.Chromosome
5.Cytoplasm
   - ER

   - Golgi complex
 
   - Lysosome

   - Peroxisome

   - Glyoxysome

   - Vacuole

   - Mitochondria

   - Ribosome

   - Centriole

6.Flagella
+
+
-
1, circular
+
-
-
-
-
-
-
-
ขนาดเล็ก 70 S
-
โครงสร้างอย่างง่าย
+
-
+
หลายแท่ง
+
+
+
+
+
-
ขนาดเล็กหรือไม่มี
+
80 S
+
เรียงตัว 9+2
+
+
+
หลายแท่ง
+
+
+
+
+
+
ขนาดใหญ่ 1 อัน
+
80S
-
พบใน sperm พืชบางชนิด
3.1 Cell membrane (Plasma membrane)
มีลักษณะสำคัญคือ  
               1. เป็นเยื่อบางมีความหนา 75 - 100 A
               2. ประกอบด้วยสารเคมีพวกโปรตีน และไขมันชนิด phospholipid ซึ่งมีส่วนที่ชอบน้ำ และไม่ชอบน้ำ
โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์
มีผู้เสนอแบบจำลอง อธิบายโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ 2 แบบจำลอง คือ แบบจำลอง Danielli - Davson และ แบบจำลอง Fluid Masaic
1. Danielli – Davson Model เสนอโดยนาย Danielli และ Davson ปี ค.ศ. 1935 กล่าวว่า โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์เป็น phospholipid bilayer ที่หันส่วนหัวออกนอก และมีส่วนหางชนกัน และมีโปรตีนขนาบชั้นไขมัน 2 ด้าน
2. Fluid Mosaic Model เสนอโดยนาย Singer และ Nicolson ปี ค.ศ. 1972 กล่าวว่ามี phospholipid bilayer และมีโปรตีนแทรก (integral) และโปรตีนขอบ (peripheral)
ภาพที่ 2
                      The Davson-Danielli membrane model.              The fluid mosaic membrane model
ปัจจุบันยอมรับแบบจำลอง Fluid Mosaic และพบว่า มีคาร์โบไฮเดรทจับที่โปรตีน เรียกว่า glycoprotein หรือจับกับไขมันเรียกว่า glycolipid นอกจากนี้มีคอเลสเตอรอลที่เยื่อหุ้มเซลล์ด้วย
ภาพที่ 3

จากการศึกษาเยื่อหุ้มเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนพบว่า เยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยแถบ  3 แถบ คือ ทึบ จาง ทึบ โครงสร้าง ทึบ จาง ทึบ นี้เรีย กว่า unit membrane โดยส่วนทึบเป็นสารเคมีพวกโปรตีนกับไขมันที่มีประจุ (hydrophilic zone) ส่วนจางเป็นสารเคมีพวกโปรตีนกับไขมันที่ไม่มีประจุ  
แสดงส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ส่วนทึบ จาง ทึบ  

ภาพที่ 4 The plasma membrane. 
โครงสร้างของเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ต่างๆ ในไซโทพลาสซึมเป็นตามแบบจำลองนี้เช่นกัน แต่แตกต่างกันที่ชนิด กับจำนวนรวมทั้งการกระจายของไขมัน และโปรตีน หน้าที่ของโปรตีนที่เยื่อหุ้มมีหลายอย่าง คือ

               1. เป็นตัวขนส่งสาร (transporter) 

               2. เป็นเอนไซม์ 
               3. เป็นตัวรับ (receptor) 
               4. เป็นตัวบ่งชี้ชนิดของเซลล์ (marker) 
               5. ช่วยให้เซลล์ติดกัน (cell adhesion) 
               6. จับกับ cytoskeleton ทำให้เกี่ยวข้องกับรูปร่างเซลล์
หน้าที่ของโปรตีนที่ membrane
ภาพที่ 5 
              หน้าที่ของเยื่อหุ้มเซลล์

              1. เป็นขอบเขตหรือห่อหุ้มเซลล์
              2. ควบคุมการเข้าออกของเซลล์ มีสมบัติเป็น semipermeable membrane คือ ยอมให้บางอย่างผ่านได้ บางอย่างผ่านไม่ได้ เช่น โมเลกุลขนาดเล็ก (H2O , CO2) หรือพวกไม่ชอบน้ำ สามารถแพร่ผ่านชั้นไขมันได้ ขณะที่พวกอิออน และกลูโคสผ่านไม่ได้ต้องอาศัยตัวพา เป็นต้น
               3.2  ไซโทพลาสซึม
                Oganelles ที่พบในไซโทพลาสซึม จำแนกเป็นกลุ่มดังนี้
               1. พวกที่มีเยื่อหุ้ม 1 ชั้น
               2. พวกที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น
               3. พวกที่ไม่มีเยื่อหุ้ม
               ลักษณะโครงสร้าง และหน้าที่ของออร์แกเนลล์ สรุปดังตาราง
               สรุปโครงสร้าง และหน้าที่ของออร์แกเนลล์ต่าง ๆ
ออร์แกเนลล์
โครงสร้าง
หน้าที่
1. Endoplasmic 
    Reticulum (รูปที่1)
   1.1 RER
 
 
   1.2 SER
เป็นเยื่อหุ้ม (membrane) ที่มีลักษณะเป็นร่างแห , ท่อ กระจาย ตลอดเซลล์
1.1 มีไรโบโซมเกาะอยู่
1.2 ไม่มีไรโบโซม
1.1 - สังเคราะห์โปรตีน และ
      - ขนส่งสาร
1.2 - สลายไกลโคเจน
      - สังเคราะห์ฮอร์โมนพวก
         สเตียรอยด์
      - กำจัดสารพิษ
2. Golgi complex
    (รูปที่ 2)
เป็นถุงเยื่อหุ้มแบนมาเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ (Cisternae) และมี vesicle
- สร้างสารหลั่ง (secretion)
  (รูปที่ 3)*
- สังเคราะห์คาร์โบไฮเดรท
   โมเลกุลใหญ่
- สร้างผนังเซลล์พืช
3. Lysosome
   (รูปที่ 4)
ถุงเยื่อหุ้ม 1 ชั้น มี hydrolytic enzyme
- ย่อยองค์ประกอบตัวเอง
- ย่อยสิ่งแปลกปลอม , เชื้อโรค
4. Peroxisome
ถุงเยื่อหุ้ม 1 ชั้น มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดและสลาย H2O2
- กำจัดสารพิษ H2O2



ออร์แกเนลล์
โครงสร้าง
หน้าที่
5. Vacuole
ถุงเยื่อหุ้ม 1 ชั้น เรียกเยื่อหุ้มว่า tonoplast , สะสมสารต่างๆ ในพืชจะมี vacuole ขนาดใหญ่เกือบเต็มเซลล์
- สะสมผลึก ของเสีย และน้ำ
- สะสมอาหาร (food vacuole)
- ขับน้ำออกจากเซลล์
   (contractile vacuole)
6. Mitochondria
   (รูปที่ 5)
- มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น
- ชั้นนอกเรียบ ชั้นในหยักไปมา เรียก 
   cristae
- ตรงกลางเรียก matrix
- มี DNA , RNA
- การสร้าง ATP โดยการถ่าย
  ทอดอิเล็คตรอนเกิดที่ cristae
  ส่วนวัฏจักรเครปส์เกิดที่ 
  matrix
- เพิ่มจำนวนได้
7. Plastid
   7.1 Chloroplast
        (รูปที่ 6)*
 
 
 
 
 
   7.2 Chromoplast
   7.3 Leucoplast
- มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น
- มีถุง thylakold เรียงซ้อนกัน เรียก
  grana
- ส่วนที่เหลือใน chloroplast เรียก 
  stroma
- มีคลอโรฟิลมาก
- มี DNA , RNA
- มี carotenoid มาก
- ไม่มีเม็ดสี
- การสังเคราะห์ด้วยแสง โดย
  ปฏิกิริยาใช้แสงเกิดที่ thylakoid
  หรือ grana ส่วนปฏิกิริยาที่ไม่
  ใช้แสงเกิดที่ stroma
- เพิ่มจำนวนได้


- การเกิดสีดอก ผลไม้สุก
- สะสมอาหาร โปรตีน ไขมัน 
  แป้ง (Amyloplast )



ออร์แกเนลล์
โครงสร้าง
หน้าที่
8. ribosome (รูปที่ 7)
- ไม่มีเยื่อหุ้ม
- ribosomal RNA + โปรตีน
- สังเคราะห์โปรตีน
9. Cytoskeleton
   (รูปที่ 8)*
   9.1 microtubule

   9.2 microfilament
- ท่อกลวง เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 nm
- โปรตีน tubulin

- เส้นใย เส้นผ่าศูนย์กกลาง 7 nm
- โปรตีน actin , myosin
- เป็นส่วนประกอบของ cilia ,centriole , fragella และ
 สปินเดิลไฟเบอร์
- การเคลื่อนที่ของเซลล์ ,
  โครโมโซม , ออร์แกเนลล์
- รูปร่างของเซลล์
- การหดตัวของกล้ามเนื้อ
- การเคลื่อนที่ของ
ไซโทพลาสซึม
10. Contriole กับ  
      basal body 
      (สัตว์) 
- microtubule 9 + 2
- มี 2 อันวางตั้งฉากกันเรียกว่า centrosome
- เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ 
   (centriole)
- อยู่ที่ฐานของ cilia กับ flagella (basal body)

               inclusion ได้แก่พวกผลึกต่าง ๆ ไขมัน และเม็ดแป้ง เป็นต้น
               3.3  นิวเคลียส
 
               ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้
                             1. nuclear membrane มี 2 ชั้น คือ ชั้นนอก และชั้นใน ชั้นนอกติดต่อกับ ER จึงเห็นไรโบโซมเกาะที่เยื่อหุ้มชั้นนอก
                             2. nucleolus ไม่มีเยื่อหุ้มล้อมรอบ เป็นบริเวณที่มีการสังเคราะห์ไรโบโซม เป็นสารเคมีพวก ribosomal RNA กับโปรตีน
                             3. chromatin มีลักษณะเป็นเส้นด้าย เป็นสารเคมีพวก DNA + โปรตีน เมื่อแบ่งเซลล์เส้นใย chromatin จะขดตัวกลายเป็นแท่งโครโมโซม

               3.4  ผนังเซลล์และสารเคลือบเซลล์
               เซลล์พืช รา สาหร่าย รวมทั้งพวก prokaryote มีผนังเซลล์ล้อมรอบเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้ป้องกันอันตรายให้กับเซลล์ ผนังเซลล์พืชมี 2 ชนิด คือ
                             1. primary wall เป็นผนังเซลล์เกิดก่อน ขณะที่เซลล์มีการเจริญเติบโต เป็นสารเคมีพวก cellulose , pectin และ hemicellulose
                             2. secondary wall พบในเซลล์บางชนิด ผนังเซลล์หนา สุดท้ายเซลล์จะตาย เป็นสารเคมีพวก cellulose , lignin
               การพอกของผนังเซลล์จะไม่สม่ำเสมอ ช่องที่ผนังเซลล์ไม่ได้พอก และเซลล์ที่อยู่ติดกันสามารถติดต่อถึงกันได้ เรียกช่องที่ไซโทพลาสซึมติดต่อกันได้ว่า plasmodesmata (รูปที่ 10)
               เซลล์สัตว์จะมีสารเคลือบเซลล์ ซึ่งเป็นสารพวกโปรตีนคอลลาเจน และอื่นๆ           3.5 Cilia และ Flagella
               เป็นโครงสร้างที่ยื่นออกมาจากเยื่อหุ้มเซลล์ โดยเจริญออกมาจาก basal body ซึ่งเป็นออร์แกเนลล์ที่มีโครงสร้างคล้าย centriole คือประกอบด้วย microtubule จัดเรียงตัวแบบ 9 + 0 ส่วน cilia และ flagella เรียงตัวแบบ 9 + 2 (รูปที่ 11)*
4.  Prokaryotic cell

               เซลล์พวกนี้ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ผนังเซลล์เป็นสารพวก peptidoglycan มี DNA เป็นวงแหวน 1 อัน อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า nucleoid มีออร์แกเนลล์เฉพาะ ribosome ขนาดเล็ก 70S ส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์อาจเจริญเข้าไปใน cytoplasm ได้เรียกว่า mesosome ซึ่งเชื่อว่ามีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างผนังเซลล์ และการแยกของโครโมโซมขณะที่มีการแบ่งเซลล์ cilia หรือ flagella จะมีโครงสร้างง่ายๆ ไม่ใช่เป็น 9 + 2 เหมือนใน eukaryote ข้อแตกต่างระหว่าง prokaryote และ eukaryote แสดงดังตาราง
5. การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเซลล์

               วิธีการส่งสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ จำแนกเป็นการขนส่งสารขนาดเล็กและขนาดใหญ่
               การขนส่งสารขนาดเล็กมี 2 วิธี คือ
               1. Passive transport เป็นการขนส่งสารจากที่มีความเข้มข้นมากไปยังน้อย โดยไม่อาศัยพลังงาน (รูปที่ 12)
                             1.1  diffusion เป็นการแพร่ของสารอิออน หรือโมเลกุลจากที่มีความเข้มข้นมากไปน้อย เช่น การแพร่ของ O2 จากนอกเซลล์ที่มีความเข้มข้นมากเข้าไปยังในเซลล์ที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า
                             1.2  osmosis เป็นการแพร่ของน้ำหรือตัวทำละลายจากที่สารละลายเจือจาง (มีน้ำมาก) ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ไปยังที่มีสารละลายเข้มข้น (มีน้ำน้อย) แบ่งชนิดของสารละลายเป็น 3 ชนิด คือ
                             ก.  hypertonic เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าภายในเซลล์ น้ำจึง osmosis ออกจากเซลล์ มีผลทำให้เซลล์เหี่ยว ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเรียกว่า plasmolysis
                             ข. isotonic เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากับภายในเซลล์ น้ำจึงเข้าและออกจากเซลล์ในอัตราเท่ากัน เซลล์ยังคงปกติ
                             ค. hypotonic เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าภายในเซลล์ จึงทำให้น้ำ osmosis เข้าเซลล์ มีผลทำให้เซลล์เต่ง กรณีเซลล์สัตว์น้ำอาจเข้ามากจนเซลล์แตก ขณะที่เซลล์พืชมีผนังเซลล์ เซลล์ยังคงรูปร่างได้
                             1.3  facilitated diffusion เป็นการขนส่งสารจากที่มีความเข้มข้นมากไปน้อย โดยอาศัยโปรตีนเป็นตัวพา เช่น การขนส่งกลูโคสเข้าสู่เซลล์ จากข้างนอกเซลล์ที่มีมากกว่าในเซลล์
               2.  Active transport เป็นการขนส่งสารจากที่มีความเข้มข้นน้อยไปมาก โดยอาศัยพลังงาน และตัวพาเป็นโปรตีนที่มีความจำเพาะเจาะจงกับสาร เช่น การขนส่ง Na+ ออกจากเซลล์ และ K+ เข้าเซลล์ (Na – K+ pump)                   การขนส่งสารขนาดใหญ่ 
               การขนส่งสารเข้าสู่เซลล์เรียกว่า endocytosis และขนส่งสารออกนอกเซลล์เรียกว่า exocytosis
               1. Endocytosis มี 3 วิธี คือ
                             1.1 phagocytosis (cell eating) สารที่เข้าสู่เซลล์มีลักษณะเป็นของแข็ง เช่น อาหาร หรือเชื้อโรค วิธีการคือ ส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์จะยื่น pseudopodium ไปโอบล้อมอาหารไว้ และหลุดขาดออกมาเป็น vacuole เช่น อมีบา โอบล้อมอาหาร หรือเซลล์เม็ดเลือดขาวจับเชื้อโรค
                             1.2 pinocytosis (cell drinking) สารที่เข้าเซลล์เป็นของเหลวหรืออนุภาคขนาดเล็ก มีวิธีการคือส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์จะบุ๋มเว้าเข้าไป และหลุดขาดออกมาเป็นถุง พบได้ในเซลล์หลายชนิด เช่น เซลล์ลิวโคไซต์ (leukocyte) เซลล์ไต (kidney cell) เป็นต้น วิธีนี้สารที่เข้าสู่เซลล์ไม่มีความจำเพาะเจาะจง
                             1.3 receptor mediated pinocytosis วิธีนี้คล้ายกับ pinocytosis แตกต่างกันที่สารที่เข้าสู่เซลล์ มีความจำเพาะกับตัวรับที่เยื่อหุ้มเซลล์ จึงจะเข้าสู่เซลล์ได้ เช่นตัวรับของฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) เป็นต้น
               2. Exocytosis เป็นกระบวนการนำสารออกจากเซลล์ โดยสารนั้นอยู่ใน vesicle ที่มีเยื่อหุ้มล้อมรอบ ต่อมาถุงนี้จะมาติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เยื่อหุ้มของถุงเชื่อมติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้ปล่อยสารออกนอกเซลล์ได้ เช่น การปล่อย secretion ออกนอกเซลล์
PROPERTY
MICROTUBULES
MICROFILAMENTS (ACTION FILAMENTS)
INTERMEDIATE FILAMENTS
Structure
Hollow tubes ; wall consists of 13 columns of tubulin proteins
Two interwined stands of actin
Fibrous proteins supercoiled into thicker cables
Diameter
25 nm with 15 - nm lumen
7 nm
8 - 12 nm
Monomers


Actin
One of several different proteins of the keratin family , depending on cell type
Functions
Cell motility (as in cilia or flagella) Chromosome movements Movement of organelles Maintenance of cell shape
Muscle contraction Cytoplasmic streaming Cell motility (as in pseudopodia) Cell division (cleavage furrow formation) Maintenance of cell shape Changes in cell shape
Structural support Maintenance of cell shape

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

The Human Respiratory System

This system includes the lungs, pathways connecting them to the outside environment, and structures in the chest involved with moving air in...